กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2564
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
15 พฤษภาคม 2564
space
space
space

ภวังคจิต



  235 ภวังคจิต   จิตที่เป็นองค์แห่งภพ,  ตามหลักอภิธรรมว่า  จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิ และจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวาร เป็นต้น  แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตขึ้นแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับไป   ก็เกิดเป็นภวัคจิตขึ้นอย่างเดิม

     ภวังคจิตนี้ คือมโน ที่เป็นมนายตะที่ ๖ หรือมโนทวาร  อันเป็นวิบาก  เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน  ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรับรู้อารมณ์  (เป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ)

     พุทธพจน์ว่า "จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสที่จรมา"   มีความหมายว่า   จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง   มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่   แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา   ฉะนั้น  การชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่ไปได้,  จิตที่ประภัสสรนี้  พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ได้แก่ ภวังคจิต

(เทียบ วิถีจิต)


  235 วิถีจิต   "จิตในวิถี"   คือ   จิตในวิถีแห่งการรับรู้เสพอารมณ์,   จิตซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปในวิถี คือพ้นจากภวังค์ หรือพ้นจากภาวะที่เป็นภวังคจิต (และมิใช่เป็นปฏิสนธิจิต หรือจุติจิต)    พูดอีกอย่างหนึ่งว่า จิต ๑๑ ชื่อ ซึ่งทำกิจ ๑๑ อย่าง นอกจากปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และจุติกิจ, "วิถีจิต" เป็นคำรวม  เรียกจิตทั้งหลาย  ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้อารมณ์ ๖ ทางทวารทั้ง ๖  (คำบาลีว่า วิถีจิตฺต)

     อธิบายอย่างง่าย พอให้เข้าใจเป็นพื้นฐานว่า   สัตว์ทั้งหลาย หลังจากเกิดปฏิสนธิแล้ว จนถึงก่อนตายคือจุติ ระหว่างนั้น ชีวิตเป็นอยู่โดยมีจิตที่เป็นพื้น   เรียกว่า ภวังคจิต (จิตที่เป็นองค์แห่งภพ หรือจิตในภาวะที่เป็นองค์แห่งภพ) ซึ่งเกิดดับสืบเนื่องต่อกันไปตลอดเวลา  (มักเรียกว่า ภวังคโสต คือ กระแสแห่งภวังค์)  ทีนี้   ถ้าจิตอยู่ในภาวะภวังค์ เป็นภวังคจิต และเกิดดับสืบต่อไปเป็นภวังค์โสตเท่านั้น   ก็เพียงแค่ยังมีชีวิตอยู่   เหมือนหลับอยู่ตลอดเวลา   แต่ชีวิตนั้น เป็นอยู่ดำเนินไป โดยมีการรับรู้ และทำกรรมทางทวารต่างๆ   เช่น   เห็น ได้ยิน ดู ฟัง เคลื่อนไหว พูดจา ตลอดจนคิดการต่างๆ จิตจึงมิใช่อยู่เพียงในภาวะที่เป็นภวังค์  คือมิใช่แค่เป็นองค์แห่งภพไว้เท่านั้น  แต่ต้องมีการรับรู้เสพอารมณ์ทำกรรมทางทวารทั้งหลายด้วย ดังนั้น เมื่อมีอารมณ์คือ   รูป   เสียง   ฯลฯ   มาปรากฏแก่ทวาร (มาสู่คลองในทวาร)  คือ  ตา  หู  ฯลฯ  ก็จะมีการรับรู้  โดยภวังคจิตที่กำลังเกิดดับสืบต่อกระแสภพกันอยู่นั้น    แทนที่ว่า   ภวังคจิตหนึ่งดับไป จะเกิดเป็นภวังคจิตใหม่ขึ้นมา    ก็กลายเป็นว่า   ภวังคจิตหนึ่งดับไป   แต่เกิดเป็นจิตหนึ่งที่เข้ามาอยู่ในวิถี แห่งการรับรู้เกิดขึ้นมา   (ตอนนี้ พูดอย่างภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายว่า จิตออกจากภวังค์ หรือจิตขึ้นสู่วิถี)   แล้วก็จะมีจิตที่เรียกชื่อต่างๆ เกิดขึ้นมาทำหน้าที่ต่อๆกันไป ในวิถีแห่งการรับรู้เสพอารมณ์นั้น   จนครบกระบวนจบวิถีไปรอบหนึ่ง แล้วก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นมาอีก  (พูดอย่างภาษาชาวบ้านว่า ตกภวังค์),

     จิตทั้งหลาย   ที่เกิดขึ้นมาทำหน้าที่    แต่ละขณะในวิถีแห่งการรับรู้เสพอารมณ์นั้น  จนจบกระบวน   เรียกว่า   "วิถีจิต"   และจิตแต่ละขณะในวิถีนั้น    มีชื่อเรียกเฉพาะของมัน ตามกิจ คืองาน หรือหน้าที่มันทำ, เมื่อตกภวังค์อย่างที่ว่านั้นแล้ว    ภวังคจิตเกิดดับต่อกันไป   แล้วก็เปลี่ยน (เรียกว่า ตัดกระแสภวังค์)   เกิดเป็นวิถีจิตขึ้นมารับรู้เสพอารมณ์อีก    แล้วพอจบกระบวน ก็ตกภวังค์ เป็นภวังคจิตขึ้นอีก สลับกันหมุนเวียนไป     โดยนัยนี้ชีวิตที่ดำเนินไป    แม้ในกิจกรรมเล็กน้อยหนึ่งๆ จึงเป็นการสลับหมุนเวียนไปของกระแสภวังคจิต (ภวังคโสตะ) กับกระบวนวิถีจิต (วิถีจิตตปวัตติ) ที่เกิดดับสืบต่อไป มากมายไม่อาจนับได้

      ในการรับรู้เสพอารมณ์ทำกรรมครั้งหนึ่งๆ ที่เป็นการเปลี่ยนจากภังคจิต  มาเป็นวิถีจิต จนกระทั่งกลับมาเป็นภังคจิตอีกนั้น    แยกแยะให้เห็นลำดับขั้นตอนแห่งความเป็นไป พอให้ได้ความเข้าใจคร่าวๆ  (ในที่นี้ จะพูดถึงเฉพาะปัญจทวารวิถี คือการรับรู้ทางทวาร ๕  ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ในกรณีที่รับอารมณ์ที่มีกำลังมาก คืออติมหันตารมณ์ เป็นหลัก)  ดังนี้

    ก. ช่วงภังคจิต   (เนื่องจากเมื่อจบวิถี ก็จะกลับเป็นภวังค์อีก ตามปกติจึงเรียกภวังคจิตที่เอาเป็นจุดเริ่มต้นว่า "อตีตภวังค์" คือภวังค์ที่ล่วงแล้ว หรือภวังค์ ก่อน) มี ๓ ขณะ ได้แก่

       ๑. อตีตภวังค์   (ภวังคจิตที่สืบต่อมาจากก่อน)

       ๒. ภวังคจลนะ   (ภวังค์ไหวตัวจากอารมณ์ใหม่ที่กระทบ)

       ๓. ภวังคุปัจเฉท   (ภวังค์ขาดจากอารมณ์)

ข. ช่วงวิถีจิต มี ๑๔ ขณะ ได้แก่

       ๑. ปัญจทวาราวัชชนะ   (การคำนึงอารมณ์ใหม่ทางทวารนั้นๆ ในทวารทั้ง ๕)

       ๒. ปัญจวิญญาณ   (การรู้อารมณ์นั้นๆ ในอารมณ์ทั้ง ๕ คือ เป็นจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณ หรือฆานวิญญาณ หรือชีวิหาวิญญาณ หรือกายวิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง)

       ๓. สัมปฏิจฉนะ   (สัมปฏิจฉันนะ ก็เรียก, การรับอารมณ์จากปัญจวิญญาณ เพื่อเสนอแก่สันตีรณะ)

       ๔. สันตีรณะ   (การพิจารณาไต่สวนอารมณ์)

       ๕. โวฏฐัพพนะ   (ตัดสินอารมณ์)  ๖ - ๑๒ ชวนะ  (การแล่นไปในอารมณ์ คือ รับรู้เสพทำต่ออารมณ์ เป็นช่วงที่ทำกรรม โดยเป็นกุศลชวนะหรืออกุศลชวนะ หรือไม่ก็กิริยา)   ติอต่อกัน ๗ ขณะ   ๑๓ - ๑๔ ตทารมณ์   (ตทาลัมพณะ หรือตทาลัมพนะ ก็เรียก, "มีอารมณ์นั้น" คือมีอารมณ์เดียวกับชวนะ ได้แก่ การเกิดเป็นวิปากจิตที่ได้รับอารมณ์ต่อจากชวนะ เหมือนได้รับผลประมวลจากชวนะมาบันทึกเก็บไว้ ก่อนตกภวังค์) ต่อกัน ๒ ขณะ  แล้วก็สิ้นสุดวิถี คือ จบกระบวนของวิถีจิต   เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นใหม่  (ตกภวังค์)   เมื่อนับตลอดหมดทั้งสองช่วง คือตั้งแต่อตีตภวังค์จุดเริ่ม มาจนจบวิถี ก็มี ๑๗ ขณะจิต

    ในส่วนรายละเอียด วิถีจิตมีความเป็นไปแตกต่างกันหลายแบบ เช่น ในปัญจทวารวิถี ที่พูดมาข้างต้นนั้น เป็นกรณีที่รับอารมณ์ซึ่งมีกำลังเด่นชัดมาก  (อติมหันตารมณ์)   แต่ถ้าอารมณ์ที่ปรากฏเข้ามามีกำลังไม่มากนัก  (เป็นแค่มหันตารมณ์)  ภวังค์จะยังไม่ไหวตัว  จนถึงภวังคจิตขณะที่ ๓ หรือขณะที่ ๔ จึงจะไหวตัวเป็นภวังคจลนะ   ในกรณีอย่างนี้   ก็จะมีอตีตภวังค์ ๒ หรือ ๓ ขณะ และเมื่อขึ้นสู่วิถี   ก็จะไปจบแค่ชวนะที่ ๗ ดับ    แล้วก็ตกภวังค์   โดยไม่มีตทารมณ์เกิดขึ้น, ยิ่งกว่านั้น   ถ้าอารมณ์ที่ปรากฏมีกำลังน้อย (เป็นปริตตารมณ์) ก็จะผ่านอตีตภวังค์ไปหลายขณะ  (ตั้งแต่ ๔ ถึง ๙ ขณะ) จึงเป็นภวังคจลนะ และเมื่อขึ้นสู่วิถีแล้ว   วิถีนั้นก็ไปสิ้นสุดลงแค่โวฏฐัพพนะ ไม่ทันเกิดชวนจิต ก็ตกภวังค์ไปเลย, และถ้าอารมณ์ที่ปรากฏนั้นอ่อนกำลังเกินไป  (เป็นอติปริตตารมณ์) ก็จะผ่านอตีตภวังค์ไปมากหลายขณะ    จนในที่สุดเกิดภวังคจลนะขึ้นมาได้ ๒ ขณะ ก็กลับเป็นภวังค์ตามเดิม   คือภวังค์ไม่ขาด  (ไม่มีภวังคุปัจเฉท) และไม่มีวิถีจิตเกิดขึ้นเลย  จึงเรียกว่าเป็นโมฆวาระ,

     ส่วนในมโนทวารวิถี  เมื่อภวังค์ไหวตัว  (ภวังคจลนะ) และภวังค์ขาด (ภวังคุปัจเฉท) แล้วขึ้นสู่วิถี จะมีเพียงมโนทวาราวัชชนะ  (การคำนึงอารมณ์ใหม่ทางมโนทวาร)  และเกิดเป็นชวนจิต ๗ ขณะต่อไปเลย  (ไม่มีสัมปฏิจฉนจิต เป็นต้น)   เมื่อชวนะครบ ๗ แล้ว   ในกรณีที่อารมณ์ที่ปรากฏเด่นชัด (วิภูตารมณ์) ก็จะเกิดตทารมณ์ ๒ ขณะ แล้วตกภวังค์   แต่ถ้าอารมณ์อ่อนแรงไม่เด่นชัด (อวิภูตารมณ์) พอครบ ๗ ชวนะแล้ว   ก็ตกภวังค์ไปเลย   โดยไม่มีตทารมณ์เกิดขึ้น,

     อนึ่ง    ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นวิถีจิตในกามภูมิทั้งสิ้น   ยังมีวิถีจิตในภูมิที่สูงขึ้นไปอีก ในฝ่ายมโนทวารวิถี (จิตในปัญจทวารวิถี อยู่ในกามภูมิอย่างเดียว)   ซึ่งเป็นจิตที่เป็นสมาธิขั้นอัปปนา และมีความเป็นไปที่แตกต่างจากวิถีจิตในกามภูมิ    เช่น    ชวนะไม่จำกัดเพียงแค่ ๗ ขณะ เมื่อเข้าฌานแล้ว    ตราบใดยังอยู่ในฌาน   ก็มีชวนจิตเกิดดับ สืบต่อกันไปตลอด นับจำนวนไม่ได้ โดยไม่ตกภวังค์เลย   ถ้าเกิดเป็นภวังคจิตขึ้นเมื่อใด ก็คือออกจากฌาน ดังนี้ เป็นต้น   รายละเอียดของวิถีจิตระดับนี้ จะไม่กล่าวในที่นี้.



235 มันไม่ง่ายหรอก  หากหนักสมองก็ข้ามไป  110

 




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2564
0 comments
Last Update : 30 ธันวาคม 2566 20:26:43 น.
Counter : 1250 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space