 |
|
|
|
 |
|
|
สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ" ความว่าง
๑. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระ คือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น โดยปริยาย หมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรม หรือกระบวนธรรมล้วนๆ
๒. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
๓. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่า เป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน
๔. ความว่าง ที่เกิดจากกำหนดหมายในใจหรือทำใจเพื่อให้ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ กำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย
สุญตา ก็เขียน
Create Date : 06 กรกฎาคม 2564 |
Last Update : 26 ธันวาคม 2566 19:06:16 น. |
|
0 comments
|
Counter : 409 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|