กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กรกฏาคม 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
2 กรกฏาคม 2564
space
space
space

ธุดงค์ ๑๓

   

   ธุดงค์    องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ เป็นต้น มี ๑๓ ข้อ

หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ เกี่ยวกับจีวร มี

   ๑. ปังสุกูลิกังคะ   ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล

   ๒. เตจีวรริกังคะ    ใช้ผ้าเพียงสามผืน

หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ เกี่ยวกับบิณฑบาต มี

   ๓. ปิณฑปาติกังคะ    เที่ยวบิณฑบาตประจำ

   ๔. สปทานจาริกังคะ    บิณฑบาตตามลำดับบ้าน

   ๕. เอกาสนิกังคะ      ฉันมื้อเดียว

   ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ    ฉันเฉพาะในบาตร

   ๗.ขลุปัจฉาภัตติกังคะ    ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม

หมวด ๓ เสนาสนปฏิสังยุตต์ เกี่ยวกับเสนาสนะ มี

   ๘. อารัญญิกังคะ   ถืออยู่ป่า

   ๙. รุกขมูลิกังคะ   อยู่โคนไม้

   ๑๐. อัพโภกาสิกังคะ    อยู่กลางแจ้ง

   ๑๑. โสสานิกังคะ    อยู่ป่าช้า

   ๑๒. ยถาสันถติกังคะ    อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้

หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุตต์   เกี่ยวกับความเพียร มี

   ๑๓.เนสัชชิกังคะ    ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน

(แปลเอาความสั้นๆ)


   ปังสุกูลิกังคะ     องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุล คือ ไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาผ้ามาเย็บย้อมย้อมทำจีวรเอง

   เตจีวริกังคะ    องค์แห่งภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร คือถือเพียงผ้าสามผืน ได้แก่ จีวร สบง สังฆาฎิอย่างละผืนเท่านั้น ไม่ใช้จีวรนอกจากผ้าสามผืนนั้น


   ปิณฑปาติกธุดงค์     องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสแห่งภิกษุ เป็นต้น ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร หมายถึง ปิณฑปาติกังคะ นั่นเอง

   สปทานจาริกังคะ    องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือ รับตามลำดับบ้านตามแถวเดียวกัน ไม่รับข้ามบ้านข้ามแถว, เที่ยวบิณฑบาตไปตามตรอก ตามห้องแถวเรียงลำดับเรื่อยไปเป็นแนวเดียวกัน ไม่ข้ามไปเลือกรับที่โน่นที่นี่ตามใจชอบ

   เอกาสนิกังคะ     องค์แห่งผู้ถือนั่งทีอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น

   ปัตตปิณฑิกังคะ    องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น

   ขลุปัจฉาภัตติกังคะ     องค์แห่งผู้ถือ ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีกก็ไม่รับ

   อารัญญิกังคะ    องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร คือ ไม่อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน แต่อยู่ป่าห่างจากบ้านอย่างน้อย ๒๕ เส้น

   รุกขมูลิกังคะ    องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ไม่อยู่ในที่มุงที่บัง

   อัพโภกาสิกังคะ    องค์แห่งผู้ถืออยู่ในแจ้งเป็นวัตร คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้งไม่อยู่ในที่มุงที่บัง หรือ แม้โคนไม้ (ห้ามถือในฤดูฝน)

   โสสานิกังคะ   องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คือ อยู่แรมคืนในป่าช้าเป็นประจำ

   ยถาสันถติกังคะ    องค์แห่งผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามแต่เขาจัดให้ ไม่เลือกเสนาสนะเอาตามพอใจตัวเอง

   เนสัชชิกังคะ    องค์แห่งภิกษุผู้การนั่งเป็นวัตร คือ ถือ นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น ไม่นอน

 


Create Date : 02 กรกฎาคม 2564
Last Update : 26 ธันวาคม 2566 19:13:17 น. 0 comments
Counter : 823 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space