กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
เขาว่า ถ้าพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่ 0 สิ้นจากถิ่นเกิด
ภาวะแห่งนิพพาน
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม ไม่ใช่ จงกลม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
ภาวนา ๔ ภาวิต ๔
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
<<
กรกฏาคม 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
8 กรกฏาคม 2564
กาม ตามความหมายของพุทธธรรม
กตัญญูกตเวที
โลกธรรม ๘
ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย
เจ้าชายสิทธัตถะทิ้งลูกทิ้งเมีย
ปริศนาธรรมจากงานสวดศพ
ปัญหาสังคม
โลกธรรม ๘ ประการ
วินัย
ประเพณี ศาสนพิธี ก็สำคัญ
ความคิดชีวิตแต่ละวัย
ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้าน
ศาสนิกอื่น สรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ
ทำไมคนพุทธต้องใส่บาตรพระสงฆ์
ทดสอบโรคซึมเศร้าฟรี จากแพทย์ศาสตร์ มหิดล
รู้เรา รู้เขา
พัดวิเศษ มนต์ตรา ผ้ายันต์ VS อาวุธ นาลันทาแตก
คู่บุญคู่บารมี
ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิต และสังคม
ความหมาย อรหันต์
การให้ผลของกรรมในระดับต่างๆ
สันโดษ ให้สันโดษ ไม่ให้สันโดษ
ตำนาน พระปริตร
อานิสงส์ พระปริตร
ก้าวหน้าไปในบุญ
กาม ตามความหมายของพุทธธรรม
มงคล ๓๘ ประการ
สุญตา ๔ ความหมาย
มนุษย์ประเสริฐได้ด้วยการฝึกตน
ธุดงค์ ๑๓
พระพุทธเจ้ากับเพลง
วาสนา
เรียกเราว่าเป็น พุทธะ เถิดนะพราหมณ์
พรหมวิหาร ๔
เจริญวิปัสสนากับเจริญสติปัฏฐาน 4 ต่างกันไหม
ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว รู้ได้อย่างไร
ความหมาย ปฏิบัติธรรม
เรื่อง ภาวนา
อินทรีย์ภาวนาแบบอารยชน
สุตะ
อาสภิวาจา
บุคคลแรกที่พูดได้เดินได้ทันทีที่เกิด
แก้ปัญหาแบบพุทธ
รู้ธรรมคือรู้เรื่องธรรมดา
คนรักธรรม ต้อง คู่กับรู้ธรรม
ข้อดี ข้อเสียของศรัทธา
หลักผู้ปกครองบ้านเมือง ๔ อย่าง
อัตถะ,อรรถ
ภวังคจิต
บน กับ อธิษฐาน
ความไม่ยึดมั่นที่แท้
ธรรม-วินัย
ระหว่างศีล กับ พรต
อินทรีย์ภาวนา
อริยบุคคล ๘
อริยบุคคล ๗
พุทธปณิธาน
กามโภคี ๑๐ ประเภท
ทุกขอริยสัจ
สิกขา,ไตรสิกขา
สารตั้งต้นผู้ศึกษาพุทธศาสนา
แยก สมมุติ กับ สภาวะให้ชัด
ปัญญา ๓ ระดับ
กิเลสต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้
กาม ตามความหมายของพุทธธรรม
ถาม
> คำถามเกี่ยวกับ
การปฎิบัติเพื่อละ
กาม
เนื่องจาก ความรู้สึกทางเพศเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ทั่วไป เเต่เพื่อนของผม มองว่า หากไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งนี้ จะดีที่สุด
เเต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ร่างกายเขาจะรู้สึกไม่สบาย ไม่สดชื่น ไม่เเจ่มใส อึดอัด อารมณ์ความรู้สึกเเปลก ๆ อาจเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ต้องการขับอสุจิออกไป
ในฐานะคนโสด เมื่อระบายด้วยการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง อาการก็หายไป ร่างกายเเจ่มใส สดชื่น ไม่อึดอัด
จึงอยากทราบว่า มีวิธีการใดที่ควรเเนะนำเขา ในเมื่อไม่ยุ่งเกี่ยว ไม่สนใจเรื่องเพศเเล้ว เมื่ออสุจิเต็มตามธรรมชาติ ไม่สำเร็จความใคร่ เเล้วควรทำอย่างไร ไม่ให้ร่างกายรู้สึกเเปลก ๆ หรือ อึดอัด ทรมาน
ประเด็นของเขาคือ เขาหักห้ามใจได้ ไม่ยุ่งเกี่ยวได้ เเต่กลไกร่างกายทำให้เขารู้สึกไม่สบาย
ถ้าร่างกายไม่อึดอัด
เขาก็
พร้อมละกามได้ ทั้งกายเเละใจ
https://pantip.com/topic/40826436
พิจารณาความหมาย กาม
ถึงจะยังบริโภค
กามสุข
ก็ต้องมีปัญญารักษาอิสรภาพไว้
รู้หนทางปลอดภัยจาก
กามทุกข์
อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักว่า ตามปกติ กามสุขกับความสุขอย่างประณีต ไปด้วยกันไม่ค่อยได้ เพราะกามสุขพัวพันอยู่กับอารมณ์ที่ให้ตื่นเต้น ประกอบด้วยความเร่าร้อนกระวนกระวาย หาอารมณ์มาสนองระงับให้เกิดความสงบ ส่วนสุขประณีตเริ่มต้นจากความสงบ ดังจะเห็นว่า
ฌานสุขจะเกิดขึ้น ต่อเมื่อจิตสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายก่อน
ดังนั้น สำหรับปุถุชน การที่จะเสวยทั้งกามสุข และทั้งได้ความสุขประณีต โดยเฉพาะฌานสุขด้วย จึงเป็นไปได้ยาก เพราะปุถุชนพอใจอะไรแล้ว มักติด มักหมกมุ่นหลงใหลง่าย เมื่อฟุ้งซ่านกระวนกระวายเพลิดไปด้วยแรงปรารถนากามสุขแล้ว ก็ยากที่จะให้สงบเข้าสู่แนวแห่งฌานสุข จึงปรากฎเรื่องราวที่ฤๅษี และนักบวชเสื่อมจากฌานเพราะติดใจกามกันบ่อยๆ ต่อเมื่อเป็น
อริยชน อย่างบุคคลโสดาบัน จึงจะอยู่กับกามสุขได้ด้วยโดยปลอดภัย
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนย้ำให้รู้จักวางใจอย่างถูกต้องต่อกามสุข ให้มีปัญญาที่จะสลัดตัวออกได้ ดังท่าทีในการปฏิบัติที่ตรัสไว้ต่อไปนี้
ในปาสราสิสูตร
(ม.มู.12/328/333)
ท่านเปรียบกามคุณเหมือนบ่วงดักนายพราน แล้วกล่าวถึงสมณพราหมณ์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ไว้ ๓ พวก
พวกที่หนึ่ง
คือ สมณพราหมณ์ที่บริโภค
กามคุณ
ทั้ง ๕
*
โดยมีความติด หลงใหล หมกมุ่น ไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาพาตัวรอด เป็นเหมือนเนื้อป่าที่ติดบ่วงและนอนทับบ่วงอยู่ ย่อมจะประสบความเสื่อม ความพินาศ ถูกพรานทำเอาได้ตามปรารถนา
พวกที่สอง
คือ สมณพรามหณ์ที่บริโภคกามคุณ ๕ โดยไม่ติด ไม่หลงไหล ไม่หมกมุ่น รู้เท่าทันเห็นโทษ มีปัญญาพาตัวรอดได้ เป็นเหมือนเนื้อป่าที่นอนทับบ่วง แต่ตัวไม่ติดบ่วง ย่อมจะไม่ประสบความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกพรานคือมารร้ายทำอะไรเอาตามปรารถนา
พวกที่สาม
คือ ภิกษุที่สงัดจากกาม ปลอดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้บรรลุ
รูปฌาน
และ
อรูปฌาน
ขั้นใดขั้นหนึ่ง ตลอดจน
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
และเป็นผู้
สิ้นอาสวะ
แล้ว
(ประสบสุขประณีตสูงสุดแล้ว)
ได้ชื่อว่าทำให้มารตาบอด มองไม่เห็นร่องรอย ถึงภาวะที่มารมองไม่เห็น เป็นเหมือนเนื้อป่าเที่ยวไปในป่าใหญ่ จะเดินจะนั่งจะนอน ก็ปลอดโปร่งเบาใจ เพราะไม่อยู่ในสายตาของนายพราน
ข้อที่
ต้องการเน้น
ในที่นี้ ก็คือ ตามความในสูตรนี้ จะเห็นว่า
พระพุทธเจ้ามิได้ทรงเพ่งแต่จะสอนให้ละเลิกความเกี่ยวข้องกับกามสุขไปถ่ายเดียว
แต่ทรงสอนให้รู้จักปฏิบัติต่อกามสุขอย่างถูกต้อง โดยยังคงความเป็นอิสระอยู่ได้ ไม่ตกไปเป็นทาสของกามสุขและมิให้กามคุณกลายเป็นสิ่งก่อโทษทุกข์ภัย
การเกี่ยวข้องเสพกามคุณตามแบบของสมณพราหมณ์
พวกที่สอง
นับว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่พึงเน้นมากที่สุดสำหรับคนทั่วไป ตามวิธีปฏิบัติแบบนี้ คำแสดงหลักที่ควรสังเกตเป็นพิเศษ คือคำว่า ปัญญาพาตัวรอด ซึ่งแปลจาก "
นิสสรณปัญญา
" จะแปลว่า ปัญญารู้ทางรอดก็ได้ หมายถึง ปัญญาที่รู้จักทำตนให้เป็นอิสระได้ อาจเรียกแบบง่ายๆว่า ปัญญาที่ทำให้ตัณหาล่อเอาไว้ไม่อยู่ หรือปัญญาที่ทำให้ตัณหาดักไม่ติด
นิสสรณปัญญา
นี้ ตามปกติอรรถกถาทั้งหลายอธิบายว่า หมายถึงการรู้จักพิจารณาเมื่อบริโภคใช้สอยปัจจัย ๔ โดยมองถึงความมุ่งหมายที่แท้จริงของการบริโภคสิ่งเหล่านั้น คือ มองที่ตัวประโยชน์ หรือ คุณค่าที่แท้ของสิ่งเหล่านั้นต่อชีวิต เช่น ใช้เครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันหนาวร้อนแดดลมเหลือบยุง และปกปิดที่อาย มิใช่มุ่งเพื่อยั่วยวนอวดโก้หรูหรา เป็นต้น บริโภคอาหารเพื่อยังชีพให้ร่างกายมีกำลังอยู่สบายทำกิจได้ด้วยดี มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมาหรืออวดโก้ฟุ้งเฟ้อ เป็นต้น
การรู้จักปฏิบัติโดยใช้ปัญญาพิจารณาอย่างนี้ นอกจากจะทำให้จิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ ไม่ก่อให้เกิดโทษ และความทุกข์ ที่เกิดจากการวกเวียนวุ่นอยู่ในวงจรอันคับแคบแห่งความหงุดหงิดดีใจเสียใจสมใจผิดหวังแล้ว ยังทำให้เกิดความพอดีในการบริโภคหรือใช้สอย ซึ่งเป็นคุณแก่ชีวิตอีกด้วย ท่านจึงเรียก การปฏิบัติด้วยนิสสรณปัญญา ว่าเป็นความรู้จักประมาณ
ผู้ปฏิบัติถูกต้องต่อกามสุข
ย่อมก้าวหน้าไปสู่สุขที่ประณีตได้ง่ายขึ้น เมื่อประสบสุขประณีตแล้ว สุขประณีตนั้น ก็กลับเป็นเครื่องช่วยควบคุมการแสวงหาและการเสพกามสุข ให้อยู่ในขอบเขตแห่งความถูกต้องดีงาม เพราะบุคคลผู้นั้นเห็นคุณค่าของสุขประณีตสูงกว่า และความสุขประณีตต้องอาศัยกุศลธรรม
ครั้นบุคคลนั้นบรรลุภูมิธรรมสูงยิ่งขึ้นไปอีก ประสบสุขประณีตยิ่งขึ้นไปอีก ในที่สุดก็จะไม่วกเวียนมาหากามสุขอีกเลย
*
ขอย้ำความหมายของ
กามคุณ ๕
ว่า มิใช่มีขอบเขตแคบๆ อย่างที่มักเข้าใจกัน รูปสวยงามที่บำเรอตา เสียงไพเราะที่บำเรอหู รสอาหารอร่อยที่ถูกลิ้น สัมผัสที่นั่งที่นอนอ่อนนุ่ม เป็นต้น ที่ปรนเปรอกาย ล้วนเป็นกามคุณทั้งสิ้น พูดง่ายๆว่า
กาม
มิใช่เฉพาะเรื่องทางเพศเท่านั้น
แต่
ครอบคลุมสิ่งที่เสพเสวยเพื่ออามิสสุขทั้งหมด
ดังนั้น แม้แต่นักบวช ก็ยังเกี่ยวข้องเสพกามคุณได้
ตย. ผู้เข้าใจ "กาม" แคบไป มีภรรยาก่อนก็ไม่มีปัญหาว่ากันไปตามอัธยาศัย
แต่พอได้ศึกษาธรรมะก็อยากมีธรรมอยากละกาม (อยากเป็นอนาคามี) ก็
กดบีบ
ตัวเองไม่ยุ่งกับเมีย แล้วก็บอกใครต่อใคร (ตั้งกระทู้) ประมาณว่า เนี่ยไม่นอนกับเมียมาหลายเดือนแล้วนะ ละกามได้แล้วว่าซั่น
เรื่องพันนี้ ไม่ใช่ไปกดไปบีบไปเค้นมันเอา ไม่ใช่ แต่ต้องเริ่มจากสัมมาปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติถึงที่แล้วมันจะค่อยๆปรับลงตัวเองตามเหตุปัจจัยของมัน
ดังตัวอย่างนี้
> ผมนั่งสมาธิโดยการกำหนด ยุบหนอ-พองหนอ โดยกำหนดจิตรับรู้การเคลื่อนของกระเพาะอาหารเวลาลมหายใจเข้าไปและออกมาครับ
กระผมคิดเอาเองว่าคงนั่งได้ประมาณ 2 ชม.ได้แล้ว และผมก็ได้รู้สึกว่า ร่างกายของผมเหมือนไม่มี เหมือนจิตผมหยุดนิ่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยไม่รู้ว่า สิ่งที่ผมกำหนดตอนแรก หายไปไหน ลมหายใจของผมประหนึ่งกับดับไป ผมพยายาม กำหนดต่อไป แต่คราวนี้มันกำหนดยุบหนอ พองหนอ ไม่ได้เสียแล้วเพราะ เหมือนกับว่า
ร่างกายนี้ไม่มีอยู่
ครับ ผมเลยใช้การ
กำหนดดูจิต ที่ยังพอรู้สึกได้อย่างเลือนลางนั่นต่อไป
จนผมเริ่มเกิดความรู้สึกขึ้นมาอีกครั้ง คือ ผมไม่ได้หายใจ แต่ใจผมยังคงหยุดอยู่ที่สิ่งแรกอยู่ แต่รู้สึกสิ่งนั่น ที่ใจนึกถึงนั่น มันเด่นชัดมากขึ้น ผมนั่งต่อไปอีกสักระยะหนึ่งครับ แต่
ไม่รู้ว่าจะกำหนดอะไร
ต่อไปแล้ว เพราะ เหมือนรู้สึกว่า
ไม่มีอะไรเลย
ครับ เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมด คือ เหมือนร่างกาย ก็ไม่มี และสิ่งรอบข้าง ก็หายไปหมด เหมือนกับว่าไม่มีอะไรอยู่ข้างกายแบบนี้อ่ะครับ
ผมเลย นึกในใจอยากออกจากสมาธิ ก็เริ่มรู้สึกถึงร่างกายของผมเองขึ้นมาที่ละนิด ๆ แล้วก็รู้สึกว่า มีสิ่งแวดล้อมรอบตัว กลับมาอีกครั้ง รู้สึกถึงการหายใจขึ้นมาอีกครั้ง ผมค่อย ๆๆถอดออกจากสมาธิ แล้วลืมตา ในตอนนั้น ในตอนที่
รู้สึกถึงร่างกาย
อ่ะครับ ผมกลับ
มีความรู้สึกอีกอย่าง เข้ามาในใจอย่างรุนแรงมาก
คือ เหมือนว่า
ร่างกายผม
อ่ะครับ
มันสกปรกมาก เหมือนกับซากศพอะไรซักอย่าง
(ไม่ได้กิเลสนะครับ แต่เป็นความรู้สึกในตอนนั้น) และผมก็เกิดความกลัวไปหมด กลัวจะผิดศีล 5 กลัวภัยในแต่ละวันเหมือนจิตจะฟุ้งซ่านมากในขณะนั่นเลยครับ
หลังจากคืนนั่น ในคืนต่อ ๆ มา ผมก็
นั่งสมาธิตามปกติ และก็ได้รับรู้ความรู้สึกเช่นที่เป็นมา ทุกคืนติดต่อกัน
แต่ทุกๆ คืน จนถึงวันนี้ ผมเหมือนกับเบื่อหน่าย ที่จะทำงาน ไม่อยากเจอหน้าภรรยา ไม่อยากเจอหน้าพ่อแม่ ไม่อยากเจอหน้าลูก เหมือนเบื่อหน่ายทุกสิ่งในโลก อาหาร แม้แต่ตัวเองวัน ๆ อยากนั่งทำสมาธิ เพราะ
ในช่วงที่เล่าให้ฟัง มันมีความสุขมาก เหมือนผมลืมทุกอย่างไปเลย
ในสิ่งที่ผมถามและอยากรู้นะครับ คือ
1. ผมปฎิบัติผิดตรงไหนหรอเปล่าครับ
2. ถ้าไม่ผิด ผมจะปฎิบัติยังไงต่อครับ
3. สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมในขณะนั่นมันคืออะไรกันแนะครับ
วันต่อมา เมื่อวานนี้ ได้นั่งพิจารณาอารมณ์และตามดูจิต ยืน เดิน นั่ง นอน ได้แทบทั้งวัน
รู้สึกถึงความเย็น สงบ
ใคร
นินทา กล่าวร้าย ไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย
มันนิ่งได้ทั้งวันจริง ๆ
พอตกดึก มาเจริญสติอีกครั้ง คราวนี้ มีอาการเช่นเดิม คือ เหมือนสภาพ
ร่างกายหายไป
แบบตอนแรกแต่ ครั้งนี้ เกิดนิมิตเป็นลูกแก้วใสสว่าง ขึ้นมา จากลูกเล็กๆๆ กลายเป็นลูกใหญ่ แล้วคือเวลาเราหลับตาอ่ะครับ มันจะดำๆๆ ใช่ไหมครับ แต่พอ ลูกแก้วขนาดจนเต็มความรู้สึกเหมือนสว่างไสวไปหมด เป็นสี ขาว มีประกาย ทั่วที่หลับตาอยู่นั่นเอง และพอกำหนดให้มันเล็กลง มันก็เล็กได้ดังใจ เหมือนกับว่า ในขณะนั่นจิตจะสั่งการอะไร ได้หมด
ความรู้สึกเบื่อหน่ายเริ่มหายไปแล้ว แต่รู้สึก กายนี้มีแต่ทุกข์ จิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ สิ่งใดๆ ก็ทุกข์ เกิดแล้วดับ วนเวียนไปไม่หมดสิ้น พิจารณาอยู่นานเหมือนกัน ตอนนั่นไม่รู้สึกอะไรแล้ว ลมหายใจขาดหายไป ความรู้สึกรอบตัว อาการเย็น ร้อน อ่อน แข็งรอบ ๆ ตัว หายไป
หลังจากกำหนด ลูกแก้ว ให้เล็กจนหายไป
ภาพกลับมาเหมือนตอนหลับตาปกติ คราวนี้ เกิดนิมิตใหม่ คือ ได้เห็น ช่วงเวลาตอนบ่าย ตอนเช้า ทุก ๆ ขณะที่กระทำสิ่งใดไปในแต่ล่ะวัน ค่อยๆ ปรากฎเป็นภาพอย่างเห็นได้ชัดเหมือนกับว่า ได้กลับไปอยู่ในสถานการณ์นั่น ๆ อีกครั้งหนึ่ง ได้เห็น สิ่งที่ทำไป ในอดีต ค่อย ๆๆ ผุดขึ้นมาที่ละนิดๆ จนได้รู้สึกถึงตอนวัยรุ่น ตอนเด็ก ๆๆ ได้ทำอะไรลงไปบ้าง บางขณะ ได้ทำอะไรดีดี จิตก็ รู้สึกดี ก็ตามพิจารณารู้ว่ารู้สึกดีตลอด
บางขณะ ได้ทำอะไรชั่ว
ก็ได้ตามพิจารณาว่าทำชั่ว สภาพจิตเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง รู้ถึงตอนที่ พ่อมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล พอถึงตอนนี้ ในความรู้สึกเหมือนน้ำตาไหล ที่เห็นพ่อแม่อยู่ด้วยกัน (ความเป็นจริงไม่อยู่แล้ว) เลยอธิฐานขอ
ออกจากสมาธิ ภาพเหล่านั่นก็หายไป
แล้วความรู้สึก ถึงสภาวะรอบตัว และร่างกายกลับมาอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ออกจากสมาธิครับ
สิ่งที่ผมเห็น ผมคิดไปเองหรือเปล่าครับ หรือว่าผมปฎิบัติอะไรผิดอีกแล้วคราวนี้
ความรู้สึกหลาย ๆ อย่าง ไม่เคยจำได้ แต่เห็นเป็นภาพอย่างชัดแจ้ง เมื่อเช้าได้ถามแม่ ในหลายๆเรื่องที่จำไม่ได้ แต่เห็นในนิมิตนั่น แม่ก็บอกว่าจริงทุกเรื่อง และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตของผมจริง ๆ
ช่วยแนะนำการปฎิบัติต่อไป ให้ผู้โง่เขลาในธรรมด้วยครับ ไม่อยากยึดติดกับอะไร ให้เป็นทุกข์อีกต่อไป
อีก ตย.
> ทำยังไงดีคะ ทำไมถึง
รู้สึกว่า ตัวเองทำไมมันสกปรกจัง
เลย
ใจเราก็สกปรกปะปนไปด้วยกิเลส
ต่างๆ รู้สึกว่า ตัวเองเป็นคนบาปหนามากๆ ทั้งๆที่ก็ไม่ปรารถนาทำบาปทำชั่ว มีรักมีห่วงมีหวงมีหึง ไม่โลภไม่อยากได้ของๆใคร มีโกรธบ้าง แต่ก็ไม่แค้นหรือคิดอาฆาตใคร (โกรธแป๊บๆ) ไม่ถึงกับหลงหรือมัวเมามาก..ข้อนี้ไม่กล้าจะฟันธง แต่จะใช้สติพิจารณาเพื่อไม่ให้หลงหรือมัวเมา และก็มีพรหมวิหาร 4 อยู่กับตัว
ทุกครั้งที่เกิดความรู้สึกเหล่านี้ขึ้น จะรู้สึกหดหู่ใจ รู้สึกอึดอัดขัดจิตไปหมดเลยค่ะ
นึกรู้ขึ้นมาทีไรแล้วรู้สึกคลื่นไส้
บางทีก็นั่งร้องไห้แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเฉยเลย
(เวลาร้องไห้ด้วยอารมณ์แบบนี้จะร้องไปคิดถึงพระพุทธเจ้าไป เพราะรู้สึกเป็นทุกข์ใจ และสับสนไม่รู้ว่าคืออะไร ? และต้องทำอย่างไร?)
อารมณ์แบบนี้ จะขึ้นมาเป็นพักๆค่ะ ไม่ได้เกิดขึ้นตลอด จนทำให้เกิดอาการสับสน ทำอะไรไม่ถูก หาทางออกให้กับอารมณ์ใจของตัวเองไม่ได้ รู้แต่โดยปกติจะนึกถึงความตายไว้กับตัวตลอด หลังๆจะฝึกการภาวนานึกถึงพระนิพพานอยู่บ่อยๆ เพราะภาวนานึกถึงพระนิพพานแล้วจะรู้สึกสงบเย็น
(มีบ้างอยู่บ่อยๆที่ลืมภาวนา พอนึกได้ก็จะภาวนา แต่เรื่องความตายจะนึกอยู่ตลอด แล้วก็ตั้งใจจะถือศีล 5 ตลอดชีวิตมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาน่ะค่ะ)
ใคร่ขอคำแนะนำจากผู้รู้ค่ะ ว่าเมื่อความรู้สึกเหล่านี้เกิดจนทำให้เรารู้สึกอึดอัดไม่สบายกายไม่สบายใจไปหมด ควรทำอย่างไรดีคะ สิ่งที่เกิดนั้นคืออะไร ทำไมถึงทำให้มีความรู้สึกแบบนี้
Create Date : 08 กรกฎาคม 2564
Last Update : 3 มกราคม 2567 11:43:02 น.
0 comments
Counter : 765 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com