แรงกรรม แก้ได้ลดหย่อนได้ แต่ตัวผลกรรมแก้ไม่ได้
แรงกรรม แก้ได้ลดหย่อนได้ แต่ตัวผลกรรมแก้ไม่ได้

    กรรมมีตลอด และผลของกรรมแก้ไม่ได้ แต่แก้วิบากแห่งกรรมได้ คือ แรงกรรมแก้ได้ แรงกรรมลดหย่อนได้ แต่ตัวผลกรรมแก้ไม่ได้

    ยกตัวอย่าง เขามาตีเราหัวแตก เราก็ไปเย็บแผล แต่เขามาขอโทษขอโพ้ยต่อเรา เราไม่เอาโทษแก่เขา ถ้าไม่อย่างนั้นก็ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แม้แต่ว่าถ้าสารภาพผิด ศาลก็ยังมีการลดโทษให้อีก


 
การแก้กรรมแต่ละสำนัก ไม่มีผิด-ถูก

    แต่ละสำนักแก้กรรมไม่มีผิด-ไม่มีถูกนั้น ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าอันไหนที่เขาทำถูกวิธี ย่อมแก้ได้ดีกว่า

    แต่ถ้าแก้ผิดวิธีก็แก้ได้ แต่ได้ผลน้อย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเขามีเจตนา อย่างน้อยคุณมีเจตนาที่ว่าทำผิดแล้วอยากแก้ไข 

    ถ้าแก้ผิดวิธีก็แก้ได้น้อย ถ้าทำถูกวิธีก็แก้ได้เยอะ
    

กรรมหนักแก้ได้ไหม

    ผลกรรมทุกกรรมแก้ไม่ได้ แต่แก้ที่วิบากได้

    ถ้าเราทำร้ายพ่อแม่ แต่ถ้าสำนึกผิดแล้วขอโทษพ่อแม่ แล้วพ่อแม่จะเอาโทษเราหนักเท่าเดิมไหม? หรือลดโทษให้? นี่แหละ ท่านก็ย่อมลดโทษให้แน่นอน

    แก้ไขที่วิบากได้ แต่แก้ไขที่ผลไม่ได้ เพราะว่าผลมันเกิดไปแล้ว มันเป็นอดีตไปแล้ว เหมือนกับเราตีเขาไปแล้วจะให้ย้อนกลับไปไม่ให้ตี อย่างนี้ไม่ได้ เป็นอดีตแล้ว แต่เรามีความสำนึกเขาก็จะลดโทษให้ เขาก็จะเกิดความเอ็นดู


 
สลายวิบากกรรมได้ไหม?

    คำว่า "สลายวิบากกรรม" เป็นไปไม่ได้ แต่เจรจาได้ ลดได้ บริหารได้
 
    คุณจะให้สลายหมดไปเลย อย่างนี้ไม่ได้ ควรใช้คำว่า
"ลด ละ" ค่อยๆลด แต่ถ้าจะให้สลายอย่างนี้ไม่มี เป็นไปไม่ได้

    เหตุแห่งวิบากสลายได้ไหม?

    ถ้าเราไม่ไปทำวิบาก เราก็ไม่มี แต่ถ้าเราทำตรงกันข้าม ก็เป็นตรรกะอยู่แล้ว

    ถ้าเราทำดีต่อเขา ต่อเจ้ากรรมนายเวรเรื่อยๆ เขาจะใจอ่อนให้กับเราไหม? ก็ต้องใจอ่อนลง แต่ว่าแผลยังไงก็ยังมีอยู่

    เราโดนเขาตีหัวแตก ก็มีแผลไปแล้ว แต่ถ้าเขามาขอโทษ ใจเราก็เกลียดเขาน้อยลง ถ้าขอโทษหรือทำดีต่อเรามากๆ เมตตาต่อเรามากๆ เราก็ยกโทษให้เขา นี่แหละ เรามาเป็นวิบากตรงนี้ ไม่ใช่ไปเปลี่ยนที่ผล

    คนทั่วไป ไปเปลี่ยนแปลงกรรมที่ผล จึงผิด ต้องเปลี่ยนที่เหตุวิบาก


 
แก้กรรมที่ใจอย่างเดียวไม่ได้

    "การละวางทางใจ จึงจะเป็นเรื่องของใจนั้น" กล่าวไม่ถูกต้อง เพราะว่าต้องมีเหตุและผล เป็นของคู่กัน

    เราจะให้เขาอโหสิกรรม เราจะต้องทำดี ทำตามกติกา 

    ในธรรมมีข้อกำหนด ถ้าคุณเป็นเจ้ากรรม ยังถือทิฏฐิจะเอาจำเลยอยู่เรื่อยเจ้ากรรมก็สามารถเจ็บได้ เจ้ากรรมนายเวรได้รับโทษเหมือนกัน เพราะในธรรมมีกติกาไว้แล้ว

    สิ่งที่คุณเข้าใจว่า ทุกอย่างไปอยู่ที่ใจหมด อย่างนี้ไม่ได้ กายกับใจ และนามกับรูปนี้ ไปพร้อมกันอยู่แล้ว

    เราก็คือตัวต้นเหตุ ถ้าไม่มีเราก็ไม่มีเหตุ ฉะนั้น ก็แก้ที่เราด้วย

    ผลกรรมทุกอย่างแก้ไม่ได้  แต่แก้วิบากได้ ทุกอย่างต้องแก้พร้อมกัน ทั้งใจและการกระทำ เป็นของคู่กันทั้งรูปและนาม

    สมมติว่า ใจเราบอกว่าขอโทษ ปากเราพูดออกมาขอโทษ นี่เป็นรูปแล้ว และมีนามด้วย ถ้าเราพูดในใจอย่างเดียวเขาก็จะไม่รู้ ต้องเปล่งออกเสียงมาเขาถึงจะรู้ได้ นี่แหละ ต้องเปล่งวาจา

    ทำไมในคัมภีร์ถึงบอกว่าการกระทำประกอบด้วย กาย วาจา และใจ ทำไมกายกับวาจามันน่าจะเป็นที่เดียวกัน?

    ก็ขอย้อนถามกลับว่า สิ่งที่เราทำกรรมมีแต่ใจอย่างเดียวไหม? ก็ต้องประกอบด้วยกายกับวาจาด้วย สิ่งที่ผู้รู้ท่านแยกออกมาเป็น กาย วาจา ใจนั้น มันเป็นคนละตอนกัน

    ยกตัวอย่าง เรานึกฆ่าเขา แต่ตำรวจไม่จับเรา แต่ถ้าเราเปล่งวาจาลงไปว่า "กูจะฆ่ามึง" ศาลเล่นงานเราแล้ว เพราะกล่าวจอง อาฆาตพยาบาทแล้ว จองร้าย นี่แหละเป็นขั้น


 
พระพุทธเจ้าไม่มีสิทธิ์ลดกรรมให้ใคร

    ระลึกในกรรมชั่วต่อหน้าพระพุทธเจ้า ให้มากๆ ก็แก้กรรมไม่ได้ เพราะว่าคุณสำนึก แต่ยังไม่ได้แก้ ก็ยังไม่ได้ลดวิบากแห่งกรรม ก็ยังแก้ไม่ได้ อย่างนี้เป็นเพียงการไปอ้อนวอนต่อพระพุทธเจ้า ให้พระพุทธเจ้าลดกรรมให้อย่างนี้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่มีสิทธิ์ลดให้ แต่พระพุทธเจ้ามีสิทธิ์ชี้แจง

 
แก้กรรมเพื่อไปนิพพานใช่ไหม?

    ถ้าบอกว่า แก้กรรมเพื่อไปนิพพาน อย่างนี้ก็จบ เพราะว่าเจ้ากรรมไม่ยอมรับ เพราะว่าเจ้ากรรมจะคิดว่าเอาเขามาเป็นบันไดเพื่อไต่เต้าสูงขึ้น เพราะเราได้กำไรมากกว่าเจ้ากรรมเยอะ

^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต







Create Date : 20 พฤศจิกายน 2563
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2563 7:49:45 น.
Counter : 620 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
พฤศจิกายน 2563

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
18
19
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog