วิธีอธิษฐานให้เกิดผลสำเร็จ

วิธีอธิษฐานให้เกิดผลสำเร็จ

 

  หลวงพ่อท่านหนึ่งบอกว่า การอ้อนวอนใช่ว่าจะไม่ดีเลย ก็ยังมีสิ่งที่ดี คือ ตรงกับคำว่า "อธิษฐาน" ในพระพุทธศาสนา บ่งบอกถึงความตั้งอกตั้งใจ

 

  แต่ไม่ใช่อธิษฐานอย่างนี้ แต่ยังบ่งบอกถึง "ปณิธาน" ซึ่งตัวนี้สำคัญมาก


  การอ้อนวอน เป็นปณิธานอย่างหนึ่ง ซึ่งการอ้อนวอนจะต้องบวกปณิธานเข้าไป


  ยกตัวอย่าง เรามาขอความช่วยเหลือจากครูบาอาจารย์ เป็นการอ้อนวอน ถ้าหากว่าศิษย์ไม่มีปณิธาน ครูอาจารย์จะช่วยเหลือไหม? 


  คำว่าศิษย์มีปณิธานนี้หมายความว่า ตัวศิษย์จะต้องมี "ความศรัทธา" ในตัวของอาจารย์ ถ้าเราไม่มีศรัทธาเราก็ไม่มีปณิธาน เราก็จะไม่เชื่อท่าน ซึ่งเป็นไปไม่ได้


  ยกตัวอย่าง เราขอให้อาจารย์อย่างนั้นอย่างนี้ นี่แหละเป็นปณิธานที่เราอยากให้อาจารย์ช่วยเหลือทำให้เรา แต่ถ้าเราไม่มีความศรัทธาท่าน ก็ทำไม่ได้


  เห็นหรือยังว่า "ปณิธาน" ก็คือความศรัทธาอย่างยิ่งยวด เขาเรียกว่าปณิธาน


  การอ้อนวอนไม่เกี่ยวกับปณิธานเลย เช่น ช่วยฉันหน่อยๆๆ ไม่เกี่ยวกับปณิธานเลย


  ปณิธานสำคัญกว่าอ้อนวอน


  ฉะนั้น ปณิธานเป็นการอ้อนวอนชนิดหนึ่ง 


  ยกตัวอย่าง ฉันต้องการทำอะไรให้คุณอย่างหนึ่ง นี่แหละ เป็นปณิธานแล้ว


  ปณิธานเป็นการอ้อนวอนไหมว่า ฉันทำตรงนี้ขอให้คุณช่วยฉันหน่อย


  ยกตัวอย่าง เราอยากให้อาจารย์ช่วย เราก็เอาข้าว เอาน้ำให้อาจารย์กิน แล้วช่วยเหลือตอบปัญหาของผมหน่อย นี่แหละ เป็นการอ้อนวอนท่านแบบปณิธาน


  อธิษฐาน แปลว่า เราคิดเอาเอง หมายความว่า เราอยากทำอะไรเราก็บอกท่าน เป็นการอธิษฐานแล้ว เราอธิษฐานแล้วจะต้องมีขั้นตอนต่อไป เช่น เราอธิษฐานแล้วเราจะให้สัจจะไหม ตั้งปณิธาน นี่แหละเป็นขัั้นเป็นตอน


  คำว่าอธิษฐาน เป็นคำที่อ่อนที่สุด อ่อนกว่าการอ้อนวอน คำว่า อธิษฐาน เป็นสิ่งที่ฉันอยากได้ ฉันอยากทำอะไร แค่นี้ เป็นคำลอยๆ ไม่มีรากฐาน แต่ถ้าเราให้คำสัจจะ เริ่มมีรากฐาน อ้อนวอน มีรากฐาน ปณิธานมีรากที่ยาวขึ้น  ถ้าเราได้แต่อธิษฐานถ้าไม่มีปณิธาน แรงก็อ่อน


  อธิษฐาน แปละว่า ธรรมเป็นที่มั่น, ธรรมอันเป็นฐานที่มั่นคงของบุคคล, ธรรมที่ควรใช้เป็นที่ประดิษฐานตน เพื่อให้สามารถยึดเอาผลสำเร็จสูงสุดอันเป็นที่หมายไว้ได้ โดยไม่เกิดความสำคัญตนผิด และไม่เกิดสิ่งมัวหมอง หมักหมมทับถมตน, บางทีแปลว่า ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ มี ๔ อย่าง ดังนี้


  ๑. ปัญญา แปลว่า ความรู้ชัด คือ หยั่งรู้ในเหตุผล พิจารณาให้เข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายจนเข้าถึงความจริง 


  ๒. สัจจะ แปลว่า ความจริง คือ ดำรงมั่นในความจริงที่รู้ชัดด้วยปัญญา เริ่มแต่จริงวาจาจนถึงปรมัตถสัจจะ


  ๓. จาคะ แปลว่า ความสละ คือ สละสิ่งอันเคยชิน ข้อที่เคยยึดถือไว้ และสิ่งทั้งหลายอันผิดพลาดจากความจริงเสียได้ เริ่มแต่สละอามิสจนถึงสละกิเลส


  ๔. อุปสมะ แปลว่า ความสงบ คือ ระงับโทษข้อขัดข้องมัวหมองวุ่นวายอันเกิดจากกิเลสทั้งหลายแล้ว ทำจิตใจให้สงบได้


  อธิษฐานก็คือ เราควรอธิษฐานให้มีธรรม ๔ ข้อนี้ไว้ในใจเรา แต่ไม่ใช่ว่าอธิษฐานแปลว่าธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้ คนมักจะเข้าใจผิดกัน 


  ถ้าเราเอาธรรมะทั้ง ๔ ข้อนี้มาไว้ในใจ จึงจะเป็นการอธิษฐานที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่ว่า ๔ ตัวนี้แปลว่า "อธิษฐาน"
อธิษฐานให้สำเร็จ


  การอธิษฐานยังไงให้บังเกิดอานุภาพ สัมฤทธิ์ผล บรรลุ สำเร็จ ด้วย ๗ ขั้นตอน ดังนี้


  ๑. อธิษฐาน แปลว่า การคิดเอาเองว่าจะอยากทำสิ่งใด อยากได้สิ่งใด


  ๒. อ้อนวอน แปลว่า พยายามพูดขอร้อง, เฝ้าร้องขอ.


  ๓. ปณิธาน แปลว่า การตั้งความปรารถนา, ความมุ่งมั่นทำตามสิ่งที่ตั้งใจอย่างยิ่งยวด เราจะต้องให้สัจจะแล้วทำตามสัจจะนั่นจึงจะได้ชื่อว่าปณิธาน


  ๔. สัจจะ แปลว่า เราจะต้องให้สัจจะ


  ๕. ปฏิญาณ แปลว่า กล่าวยืนยันหรือให้คำมั่นสัญญาด้วยความสุจริตใจ ว่าเราจะต้องทำตาม ถ้าไม่ทำตามเราจะต้องได้รับโทษทัณฑ์ยังไง


  ๖. กฎระเบียบ คือ ถ้าเราไม่ทำตามจะต้องถูกลงโทษอะไร และถ้าเราทำได้ขอให้ได้รับอะไร หมายความว่า มีการให้คุณให้โทษ (พระเดช พระคุณ)


  ๗. วินัย คือ ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ จะต้องทำต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ตั้งใจ เต็มใจ เต็มกำลัง จริงจัง จริงใจ เด็ดขาด


  ทั้ง ๗ ข้อนี้ จะมีตัวปัญญาสอดแทรกอยู่ทุกข้อ เช่น ถ้าเราไม่มีปัญญากำกับเราก็จะอ้อนวอนอย่างเปล่าประโยขน์ บางคนก็จะอ้อนวอนอย่างอารมณ์ ไม่ใช่อ้อนวอนอย่างมีปัญญา


  ยกตัวอย่าง "วินัย" จะทำให้มีปัญญายังไง เช่น ถ้าเราไม่มีปัญญาแล้วเราจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราไม่ทำจะเกิดอะไร เกิดความเสียหายไหม? ถ้าเราทำจะเกิดอะไร ดีไหม? นึกถึงผลดีผลเสีย นี่แหละเป็นปัญญาแล้ว เราถึงจะมีวินัย เราถึงจะปฏิบัติวินัยผ่าน ไม่หย่อนยาน ถ้าเรามีปัญญาถึงจะรู้ว่าดีเสียยังไง ถ้าไม่มีปัญญาเราก็ไม่สามารถรู้ว่าดีเสียยังไง


  บางคนอธิษฐานแล้วทำไมไม่สำเร็จ เพราะว่าเราอธิษฐานแล้วไม่ได้ทำอะไรเลย ขั้นตอนต่างๆ ไม่มีองค์ประกอบของ "เหตุ" ก็เกิดเป็น "ผล" ไม่ได้  จะต้องมีเหตุ มีปัจจัยเหตุมาร่วม จึงเกิดสัปปายะให้เกิดเป็นผล


  ถ้าไม่มีการอ้อนวอน มีแต่อธิษฐานจะได้ไหม?


  ก็ได้ แต่ก็จะลอยๆ ไปอย่างนั้น


  การอ้อนวอน คือ การแสดงความจริงใจ เพราะถ้าเราไม่จริงใจเราก็ไม่ขอร้อง ไม่เรียกร้อง เราไม่อ้อนวอน แสดงว่าเรามีทุกข์นั้นจริงๆ อยากที่จะแก้ไขจริงๆเราถึงจะอ้อนวอน

 

  ถ้าเราเป็นพระสงฆ์จะอ้อนวอนยังไง?


  แล้วพระสงฆ์มีทุกข์ไหม ก็มีทุกข์ เราก็จะต้องไปอ้อนวอนกับพระพุทธเจ้า เช่น มีบทสวดขอพระพุทธเจ้าเยอะแยะไปหมด ขอพระพุทธเจ้าอย่างนั้น อย่างนี้ มีหลายบท หลายคาถาทีเดียว


  ที่พระสงฆ์ท่านบิณฑบาต นั่นแหละก็เป็นการขอแล้ว 

 

  การที่พระสงฆ์ให้พอ สัพพี ติ โย อย่างนี้เป็นการอ้อนวอนไหม?


  ชาวบ้านอ้อนวอนพระสงฆ์ แล้วพระสงฆ์ก็ให้ และพระสงฆ์ก็มีการอ้อนวอนด้วย เพราะว่าพระสงฆ์ก็จะต้องขอสิ่งศักดิ์ิสิทธิ์ช่วยเหลือด้วย พระสงฆ์ก็ยังอ้อนวอนต่อเหมือนกัน เพียงแต่ว่าท่านใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้ามากกว่าเลยขอให้ ดังเช่นคำสอนให้พร "สัพพมงคลคาถา" แปล


  ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง     ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
  รักขันตุ สัพพะเทวะตา    ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
  สัพพะพุทธานุภาเวนะ    ด้วยอานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
  สัพพะธัมมานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพ แห่งพระธรรมทั้งปวง
  สัพพะสังฆานุภาเวนะสะทา  ด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
  โสตถี ภะวันตุ เต ฯ      ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ


  ถ้าเราแปลแบบความจริง ทุกอย่างก็ใช่การอ้อนวอนทั้งนั้นแหละ ฉะนั้นเราอย่าไปเท่ การอ้อนวอนไม่เห็นผิดตรงไหน สัตว์โลกจิตใจก็อ่อนแอกว่าทั้งนั้น ไม่เห็นผิดตรงไหน เพียงแต่ว่าเราจะอ้อนวอนก็ขอให้รู้ให้ครบ 


  ใครขออะไรไม่ว่า เพียงแต่ขอให้ท่านชี้แนะด้วยว่า เราควรทำอะไร ถึงจะทำให้สำเร็จ เราทำอะไรถึงจะมีสิทธิที่จะได้ ต้องขออ้อนวอนให้ครบ


  ไม่ใช่ไปสอนให้คนว่า ไม่ต้องไปขอ ไม่ควรไปสอนแบบอหังการต่อกัน ปฏิฆะขัดเคืองใจต่อกัน ในเมื่อปฏิฆะต่อกันคำถามก็จะเกิดขึ้นใจว่า เราจะไปใส่บาตรทำไม? ในเมื่อขอไม่ได้ แล้วจะใส่บาตรไปทำไม ก็ในเมื่อเราสามารถทำได้จะไปใส่บาตร ขอผ่านพระสงฆ์ทำไม จะให้ท่านมายุ่งทำไม นี่แหละ เกิดปฏิฆะไหม? นี่แหละ จึงทำให้เด็กๆ ยุคปัจจุบันปฏิฆะ ฉันไม่ต้องมีอย่างนั้นอย่างนี้ก็อยู่ได้


  ยกตัวอย่างพระสงฆ์บางรูปท่านเดินบิณฑบาตแต่ไม่ได้พร พอเขาตักบาตร ท่านก็เดินผ่านไป นี่แหละ ท่านก็ขอเหมือนกัน ก็คือขอไม่ให้พร ตรงไหนไม่ได้ "ขอ" 


  คุณจะเอาก็คือ "ขอ" คุณจะไม่เอาก็คือ "ขอ"


  ฉันไม่ให้พรเธอ เป็นการขอได้ยังไง? แต่ก็ยังรับอาหารบิณฑบาตอยู่?


  พระสงฆ์ท่านก็หวังดี เพื่อไม่ให้ญาติโยมเข้าใจผิด กลัวจะไปติดสิ่งที่เป็นมิจฉา พระพุทธเจ้าท่านก็บอกอยู่ว่า คนเราเปรียบเสมือนบัวมี ๔ เหล่า เราพิจารณาว่าเขาอยู่เหล่าไหน ในภูมิตรงนี้เขาต้องมีตรงนี้บ้าง ท่านไม่ให้เขาบ้างเลยเหรอ 


  สุดท้ายก็ให้พรทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น สัพพี ติ โยฯ


  เราอยู่ภูมิไหน เราให้พรเขาเขาอยู่ภูมิไหน ถ้าเราให้พรเขาแล้วเขาไม่รู้เรื่องเขาก็ไม่ได้ประโยชน์อยู่ดีแหละ พระบางรูปท่านเคร่งเพื่อเท่ แต่สุดท้ายก็ไปไม่ไหว ใหม่ๆ คนก็เฮโลกันไป แต่นานๆ ไป คนก็ไปไม่ไหว จางไป อะไรก็แล้วเราอย่าไปปฏิเสธความจริงในธรรม เรารับความจริงในธรรมแล้วค่อยจัดการบริหาร

 

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เป็นกัลยาณมิตร เอื้อ-เกื้อ-กัน ต่อทุกสรรพสิ่ง





















 



Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2566 16:37:21 น.
Counter : 494 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กุมภาพันธ์ 2566

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog