ตั้งธรรม คืออะไร?
ตั้งธรรม คืออะไร?

    ถ้าเราตั้งฐานจิตงานตั้งธรรมไม่ถูกต้อง สิ่งนี้ศักดิ์สิทธิ์ก็จะกลายเป็นไม่ศักดิ์สิทธิ์

    ถามว่า แล้วเราจะเอาความศักดิ์สิทธิ์ไปทำอะไร?

    แล้วก็ย้อนถามว่า แล้วเรา "ตั้งธรรม" ไปทำไม 

    วัดตั้งธรรมให้ชาวบ้าน เขามีเจตนาต้องการอย่างนี้ แล้ววัดมีให้เขาได้ไหม? ถ้าเราไม่ให้ เราก็อย่าไปรับเงินของเขานะ จะเป็นบาป นี่แหละฐานจิตผิด เพราะเขาตั้งใจที่จะทำอย่างนี้ แต่ว่าเราไม่ให้ เท่ากับว่าเราไปหลอกเอาเงินของเขา เงินเอา แต่ไม่ทำให้ นี่แหละตั้งฐานจิตผิด แทนที่จะได้บุญกลับมาได้บาปทันที ไม่ว่าพระหรือชาวบ้านก็จะกลายเป็นหลอกลวงทันที

ตั้งธรรม คืออะไร?

    ตั้งธรรมไม่ต่างกับห่มผ้าพระธาตุเจดีย์

    ตั้งธรรม เพื่อต้องการสืบพระศาสนา เช่น เราก็ต้องเอาพุทธประวัติมาเล่าเพื่อให้ประชาชนเกิดศรัทธา คนก็ศรัทธาพระพุทธศาสนามากขึ้น แล้วอย่างนี้ไม่เรียกว่าสืบพระศาสนาได้ยังไง

    การตั้งธรรม ก็คือ การสืบพระศาสนาเป็นวิธีหนึ่ง ไม่ต่างอะไรกับการห่มผ้าพระธาตุเจดีย์

    พอเราสืบพระศาสนาแล้วได้บุญกุศล แล้วเราจะเอากุศลนี้ไปส่งให้กับบรรพบุรุษ ญาติ มิตร สหาย เจ้ากรรมนายเวร เป็นต้น

    ตั้งธรรมก็คือ นำสิ่งที่ในธรรมมาบอกกล่าวบุคคลได้รับรู้ ให้สาธุ ให้ความดีความงามในธรรมนี้ 

    ธรรมในที่นี้ก็คือ ในพระธรรม ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ในพระสูตร พุทธประวัติ นิทาน ชาดก หรือในเหตุการณ์ที่ผ่านมา

    ซึ่งเราเอาในธรรมมาบอกกล่าวให้ผู้คนได้รับรู้ คนรับรู้แล้วก็จะสาธุ ผู้คนก็จะยินดี คนก็จะศรัทธา นี่แหละคือการตั้งธรรม

    ไม่งั้นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็จะอยู่ในธรรม คนก็จะไม่รู้เรื่อง ไม่รู้จัก 

    คำว่า “ตั้ง” แปลว่า เริ่มต้น การตั้งธรรมหลวง แปลว่า การสดับพระธรรมเทศนาจากคัมภีร์ที่จารขึ้นใหม่เป็นครั้งแรกด้วย



    ทำไมถึงมักนิยมเอาเรื่องพระเวสสันดรชาดกมาเทศน์ ทั้งๆ ชาดกเรื่องอื่นก็มีเยอะแยะ?

    สาเหตุที่นิยมเอาเรื่องพระเวสสันดรมาบอกกล่าวก็เพราะว่า เรื่องนี้เป็นจุดพีคที่สุด เป็นสายเอก เป็นเบอร์หนึ่ง เพราะว่าเป็นชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้าจะต้องสำเร็จตรงนี้ ถ้าไม่สำเร็จตรงนี้สิ่งที่ทำมา ๔๙๙ ชาติ ไม่มีประโยชน์

    ทำจึงเป็นเรื่องของพระเวสสันดร ก็เพราะว่าชาติสูงสุด เป็นการจาคะ เสียสละ ฯลฯ ทุกอย่างนำไปสู่ความสูงสุดทุกอย่าง

    ชาตินี้เป็นชาติที่สรุปว่า ๔๙๙ ชาติ ทำมานั้นคืออะไร แล้วเป็นยังไง แล้วได้กุศลยังไง
ความต้องการไม่เหมือนกัน

    ประชาชนที่มาเข้าวัด มาหาเรา แต่ละภูมิมาไม่เหมือนกัน คนนี้มาต้องการข้าวเราก็ต้องเอาข้าวให้เขากิน เขาต้องการน้ำเราก็ต้องเอาน้ำให้เขากิน คนนี้เขาต้องการเงิน เราก็ต้องเอาเงินให้เขา ความต้องการของคนเราไม่เหมือนกัน เพราะภูมิไม่เหมือนกัน

    เราตั้งธรรมก็คือเอาสิ่งดีๆ มาบอกกล่าว

    บางคนบอกว่าการตั้งธรรมเป็นสิ่งที่งมงาย ความคิดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง 

    เพราะเราเอาสิ่งดีๆ ในพระสูตร พระไตรปิฎก ที่พระเถรานุเถระได้เขียนไว้ นำมาตั้งธรรม ถ้าเราไม่เชื่อ แล้วเราจะบูชาไปทำไม ในเมื่อเราจะบูชาเราก็ต้องเชื่อว่าในพระคัมภีร์นั้นที่เขาเขียนไว้ 

    สิ่งที่พระเถรานุเถระเขียนไว้มันเสียหายตรงไหน เพราะเราเอาสิ่งที่พระเถรานุเถระเขียนนั้นมาบอกกล่าวให้คนได้รับทราบ ได้เกิดศรัทธา เอาสิ่งดีๆ ได้สาธุกัน


คำว่า "ชาดก" แปลภาษาไทยว่า นิทาน หรือจะบอกนัยๆ ว่าไม่จริงหรือเปล่า?

    ยกตัวอย่าง เรากินก๋วยเตี๋ยว ใช่อย่างเดียวกับสิ่งที่เรากินข้าวหรือเปล่า ก็เป็นแป้งเหมือนกัน ตกลงว่า ก๋วยเตี๋ยวนี้กลายเป็นอวิชชาเหรอ ก็ไม่ใช่ เพราะว่ามันเปลี่ยนรูปเท่านั้นเอง แล้วเราจะไปปฏิเสธทำไมว่าเป็นชาดก เราจะไม่เอา นิทานเล่าสู่ความจริงให้คนอื่นฟัง

    นิทาน คือ เอาสิ่งที่เป็นความจริงในนั้น มาเล่าให้บุคคลอื่นฟัง ฟังแล้วเกิดเจริญธรรม เกิดความศรัทธา อยากจะทำดีเหมือนในนิทาน

    แล้วอย่างนี้มันผิดตรงไหน ตรงนี้

    นิทาน คือ สิ่งจริงในนิทาน ชาดก ในความจริงเหตุการณ์นั้นๆ มาให้ฟัง เราฟังแล้วเอาสิ่งนั้นมาเป็นอุทธาหรณ์ให้เรา เป็นคำที่ดี ให้บุคคลได้ทำดี

    แล้วอย่างนี้จะผิดตรงไหน? งมงายตรงไหน?

    ประชาชนฟังพุทธประวัติแล้ว เกิดศรัทธาในเหตุดี ตรงนั้นเป็นชาดก เป็นนิทาน ไม่ใช่พระพุทธเจ้า แต่ชาดกนั้นทำเพื่อที่จะให้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเหตุดีที่ส่งให้เป็นพระพุทธเจ้า แต่รายละเอียดข้างในเว่อร์บ้างไม่เว่อร์บ้าง เราอธิบายกันได้ แต่เจตนาต่างหากที่เราควรมาดู


ทำไมถึงไม่เทศน์เรื่องพระเวสสันดรอย่างเดียว แต่ทำไมถึงมีเรื่องอื่นมาผสมด้วย เช่น ธรรมมาลัยโผดโลก ธรรมหาวิบาก ธรรมนิพพานสูตร ธรรมสุวัณณเมฆะหมาขนคำ ?

    เพื่อให้เกิดความหลากหลาย เพราะบางคนต้องการธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ หรือมีเจตนาจะแก้อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น ทุกคนมีหลายเหล่า หลายความคิด หลายภูมิ ก็ให้คนได้มาจับฉลากว่า เขาเหมาะกับธรรมข้อไหน เป็นต้น
    
จุดบอกไฟเพื่ออะไร

    "จิ๊บอกไฟ" นั้น เพื่อเป็นพุทธบูชา เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อได้บุญกุศล เพราะเป็นความตั้งใจจะสักการะกราบไหว้พระเกษแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นความเชื่อ ที่มีมาแต่โบราณ

    เจตนาการจิ๊บอกไฟ คือ

    ๑. เวลาที่เราฟังธรรมแล้วเข้าใจเราก็จะเกิดความสว่าง พอเราจุดบอกไฟก็จะทำให้ท้องฟ้าสว่าง พื้นที่สว่าง เป็นต้น ก็เปรียบเสมือน ปัญญาที่ได้รู้เห็น โอ้....มันสว่าง

    ๒. เป็นสิ่งเตือนใจ ถ้าหากว่าสว่างแล้วไม่มีการสืบต่อดำรง สิ่งนั้นก็จะหมดไป ข้างในมีปริศนาธรรมคำเตือน ใช้บอกไฟมาเป็นอุทธาหรณ์เตือนใจเรา

    ๓. การทำสิ่งใดก็ต้องดำรง เราจะดำรงยังไง? เราก็ต้องมีการสืบพระศาสนา พอเราได้สืบพระศาสนาแล้ว เราได้จุดบอกไฟแล้ว เราจะต้องมาจุดเทียนอีกทีหนึ่ง

    สิ่งที่ถูกต้องก็คือ เวลาเราจุดบอกไฟแล้วเราจะต้องมาจุดเทียน 

จุดเทียนเพื่ออะไร?

    จุดเทียนเพื่อมีเจตนาในการสืบดำรง จุดเทียนมาเป็นการสืบพระศาสนาได้ยังไง

    เราจุดเทียนก็เพื่อให้มันสว่างตลอดเวลา

    การจุดเทียนนี้ก็เป็นการให้สัญญาว่าเราจะดำรง เราจะสืบสานพระศาสนาเพื่อไม่ให้เทียนดับ ถ้าทุกคนมีคนไหว้ ทุกวันมีคนไหว้ ศาสนาก็จะดำรงอยู่

    ถ้าจุดเทียนก่อนจุดบอกไฟนั้นไม่ควร ควรจุดหลังจุดบอกไฟเสร็จจะได้จำ นี่คือพิธีหนึ่งเดียว

    พอเราจุดบอกไฟเสร็จแล้ว เราจะต้องเข้าไปในวิหาร ไปปฏิญาณตนต่อพระพุทธเจ้า พระประธานในวิหาร จะรักษาพระศาสนา ดำรงพระศาสนา ในการที่จะไหว้บูชาพระรัตนตรัย

    พอเราจุดเทียนตลอดแล้วจะมืดไหม ก็ไม่มืด นี่แหละ การทำพิธีควรทำให้ครบ

    การจุดเทียนนี้ก็เปรียบเสมือนว่าเป็นพันธสัญญา ที่ว่าเราจะดำรงสืบพระศาสนา

    ถ้าเรามีการไหว้ มีการจุดเทียนอยู่ตลอด แล้วพระศาสนาจะหายไปไหม? นี่แหละเป็นความหมายปริศนาธรรม นี่แหละเป็นเทียนบุญ จุดแล้วขอมงคล

    เราทำบุญแล้ว เรามารับสิ่งที่เป็นมงคล เราไม่จุด เราไม่สัญญา เราก็ไม่ได้ เพราะว่า เราไม่ได้สรุป

    ถ้าเราจุดเทียนก็จะได้ข้อสรุป เป็นสัญญา เป็นคำมั่นสัญญาว่า เราไม่ทำไม่ได้นะ เราได้สัญญากับพระพุทธเจ้าว่า เราจะทำดี


 
จุดเทียนนี้เป็นสิ่งงมงายไหม?

    เราจุดเทียนนี้สัญญากับพระพุทธเจ้า แล้วเราจะบอกว่างมงายไหม ถ้าเราบอกว่าพระพุทธเจ้างมงายเราก็ไม่ต้องมาไหว้พระพุทธเจ้า สิ่งนี้เรามาคุยกับพระพุทธเจ้า มาสัญญากับพระพุทธเจ้า เราไม่ได้สัญญากับใคร

    เรามาสัญญากับพระพุทธเจ้าว่าต่อไปเราจะประพฤติตัวยังไง

    "งมงาย" แปลว่า ไม่มีเหตุผลที่จะอธิบายได้ เรียกว่า งมงาย

    แต่ถ้าเขาทำแล้วอธิบายได้ แต่เป็นสิ่งไม่ดีล่ะ?

    เราฟังแล้วเขาอธิบายถูกต้องในธรรมหรือเปล่า เราต้องใช้วิจารณญาณด้วย เราฟังแล้วเป็นเหตุผลจริงก็ว่าไป แต่ถ้าไม่เป็นเหตุเป็นผลเราก็ไม่ต้องไปทำ

    เรามาสัญญาทำดีกับพระศาสนา ทำดีกับพระพุทธเจ้า ตรงไหนไม่มีเหตุผล


 
เทศน์เหมือนกับร้องเพลง

พระเทศน์ธรรมแบบพื้นเมือง ฟังไม่รู้เรื่อง และยังมีการเอื้อนด้วย ถูกต้องหรือเปล่า?

    ชาวบ้านฟังแล้วสบายใจหรือไม่สบายใจเราต้องมาถามชาวบ้าน โดยส่วนมากชาวบ้านฟังพระเทศน์ธรรมแบบพื้นเมืองแล้วสบายใจ นั่นแหละ เป็นประโยชน์เบื้องต้น แล้วเรานำไปคิดต่อหรือไม่? ถ้าเรานำสิ่งที่ฟังเทศน์มานั่นไปคิดพิจารณาต่อ เราก็จะได้ประโยชน์อีก ถ้าเราไม่คิดต่อและไม่เอาไปทำก็ไม่มีประโยชน์

ถ้ามีคนบอกว่า เทศน์เหมือนกับร้องเพลงล่ะ?

    ร้องเพลงคุณแปลได้ไหมล่ะ แล้วคุณฟังเพลงทำไม

    ถ้าเราฟังเพลงได้ แปลเพลงนั้นได้ เราจะซึ้งไหม ถ้าเราแปลไม่ได้ก็ถามคนอื่นสิ เราต้องเรียนรู้ ฉันใดก็ฉันนั้น

    เราต้องเข้าใจว่าผู้คนที่มาฟังเทศน์ ม่ีหลายภูมิหลายเหล่า บางคนต้องจูงศรัทธาด้วยอย่างนี้อย่างโน้น แต่สิ่งสำคัญมันอยู่ในเนื้อหาข้างในเรารู้เรื่องไหม ถ้าเราไม่รู้เรื่องก็ไปถามท่านได้

    ฉะนั้น ผู้เทศน์ควรมีคำอธิบายด้วย เผื่อบางคนไม่เข้าใจก็มีคำอธิบายให้ จะแจกเป็นชีทเอกสาร


เวลานั่งฟังเทศน์ต้องนั่งฟังให้จบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ทำยังไงดี?

    เรานั่งฟังเทศน์ทั้งวันไม่ได้ เราก็ไม่ควรนั่งฟังทั้งวัน ประเพณีส่วนประเพณี ตัวเราไม่ไหวเราก็ต้องเอาตัวของเราเองเป็นหลัก เราตั้งใจจะเอาเท่าไหร่ เราทำเลย แต่ท่านควรมีเอกสารแจกไปอ่าน ไปทำความเข้าใจได้


จริงไหมว่า มีความเชื่อกันว่า หากได้ฟังเทศน์มหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ จะไปเกิดในแผ่นดินยุคพระศรีอาริยะเมตไตรย์ในอนาคต? 

    ตอบว่า ไม่จริง ทุกอย่างไม่จริงหมด แต่แท้ เพราะว่ามีหลักการ


เราจะได้ไปเกิดในยุคของพระศรีอาริยะเมตไตรย์ไหม?

    ตอบว่า "ไม่" เพราะว่าเรายังไม่ได้ทำ ถ้าเราไปทำก็รู้เอง เพราะว่าไม่รู้อีกกี่ชาติที่จะไปพบท่าน แต่ถ้าเราฟังแล้วทำชาตินี้ดีแล้ว พระศรีอาริยะเมตไตรย์คือชาตินี้ ไม่ใช่ชาติโน้น ชาตินี้ก็มีความสุขแล้ว เราต้องเอาปัจจุบัน เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วว่า ปัจจุบันสำคัญ "คุณไม่มีปัจจุบันคุณไม่มีอนาคตหรอก"


เราจะให้กำลังใจกับคนที่นั่งฟังจนครบ ๑๓ กัณฑ์ยังไง?

    คุณได้มีตบะเยี่ยมยอด คุณได้สัญญากับพระศรีอาริยะเมตไตรย์แล้ว มีเตรียมทางให้เดินแล้ว แต่อยู่ที่ว่าคุณตั้งใจเดินหรือเปล่า ถ้าคุณตั้งใจเดินก็ไปเจอท่าน


ในกรณีที่เราไม่สามารถฟังได้ครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ หรือแม้แต่กัณฑ์เดียวก็ตาม เราจะทำยังไง?

    แล้วแต่เราที่จะตัั้งศรัทธา ถ้าเราศรัทธาที่จะฟังเทศน์ ๕ นาที เราก็มีรายชื่อปรากฏบุญกุศลครั้งนี้แล้ว ขึ้นอยู่กับเราคุณจะไปทำต่อไหม? เราต้องไปทำต่อ สิ่งที่ดีเราต้องไปทำต่อ คุณไปทำต่อคุณก็เพิ่มสิทธิ์ของคุณ

    ทำต่อในที่นี้หมายถึง "ทำดี"

    เพราะข้างในที่เทศน์นี้ก็เพื่อสอนให้คนไปทำดี


ถ้าคนอื่นใส่กัณฑ์เทศน์เยอะ แต่เราใส่กัณฑ์เทศน์นิดเดียว รู้สึกว่าอาย เราจะทำยังไง?

    ถ้าคิดอย่างนี้ เป็นความคิดมิจฉาทิฏฐิแล้ว เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิไหม? เราจริงใจไหม? เราอย่าดูถูกพระพุทธเจ้า ถ้าเราไม่ดูถูกพระพุทธเจ้า เราไม่มีเงินแต่เรามีศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ให้พรเหมือนกัน พระพุทธเจ้าไม่ใช่บ้าเงิน ถ้าพระพุทธเจ้าจะรับเงิน ท่านมีมากกว่าเราไม่รู้กี่ล้านเท่า พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เห็นแก่เงิน พระพุทธเจ้าเห็นแก่ศรัทธาของเรา เราจริงใจแค่ไหน เราไม่มีเงิน แต่เรามีความจริงใจ พระพุทธเจ้าก็ยังให้พร

    
ระหว่างฟังเทศน์ ถ้ามีทะเลาะกัน มีปากเสียงกัน หรือผิดใจกัน เราควรจัดการยังไง?

    เราควรสอนเขาว่า เราเห็นพระพุทธเจ้าอยู่ไหม เวลานี้เราถูกมารแทรก ทำให้ไม่ได้รับกุศล คุณจะเอากุศลหรือไม่เอา ถ้าเราเอากุศลเราต้องมองไปที่พระพุทธเจ้า ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 

    เราต้องปล่อยวางตรงนี้ แล้วไปยึดพระพุทธเจ้าแทน    ถ้าเราไปเชื่อมารเราก็เลยทะเลาะกัน คุณก็กุศลหกหมด


นั่งฟังเทศน์แล้วปวดแข้งปวดขา จะทำยังไง?

    แล้วเราจะเอาบุญไหม ถ้าเอาเราต้องอดทน ถ้าเราไม่ไหวก็ต้องถอยไป ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ถ้าเราต้องการกุศลก็อย่าไปแพ้มาร


นั่งฟังเทศน์แล้วหลับ ควรทำอย่างไร?

    เหมือนกัน เราควรไปล้างหน้า เดินจงกรมก็ได้ เปลี่ยนอิริยาบถ


ถ้าเขานั่งหลับแล้วเกิดความเสียใจจะทำอย่างไร?

    ถ้าเขาเสียใจก็ควรให้ทำมากขึ้น เราขาดก็ทำมากขึ้น เหมือนกับเรากินข้าวน้อยไป ก็กินข้าวมากขึ้นเดี๋ยวก็อิ่ม  

    ถามว่า แล้วจำเป็นไปต้องไปนั่งฟังเทศน์ที่วัดอื่นที่จัดเทศน์มหาชาติ เพื่อทดแทนตรงนี้

     ไม่ต้อง เพียงแค่เราหมั่นทำดี ปฏิบัติความดี หมั่นทำกุศล ก็ได้

งานตั้งธรรมนี้ เราจะจัดในรูปแบบแก้กรรมได้ไหม?

    ตอบว่า ไม่ได้ เพราะเราต้องเอาบุญไปก่อน จะไปแก้ยังไงค่อยไปแก้ทีหลัง เราต้องมาเอาบุญก่อน เรามาสืบพระศาสนาเสร็จ แล้วคุณค่อยนำกุศลนี้ไปแก้ วันสุดท้ายวันหยาดน้ำ กรวดน้ำ เราจะกรวดน้ำไปให้ใครก็ได้ ฉะนั้น เราต้องสร้างกุศลก่อน พอได้กุศลแล้วเราจะไปแก้อะไรก็ค่อยไปแก้ ส่งไปให้เขา เพราะอันนี้เป็นส่วนตัวของเรา ไม่ใช่ทำตรงนี้จะเอาตรงนี้ ไม่ใช่อย่างนี้ เราทำเหตุตรงนี้แล้วเกิดผล แล้วเราเอาผลที่เกิดตรงนี้ไป 

    ที่เรามาทำตรงนี้ เป็นการสร้างเหตุ เหตุดีย่อมได้ผลดี สร้างเหตุเช่นใดย่อมได้รับผลตามเหตุเช่นนั้นๆ แล้วคุณเอาผลไปให้ใครก็แล้วแต่ จะเอาผลไปให้ใครกินก็สุดแล้วแต่ เหมือนกับเราไปห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ เราไปห่มเสร็จแล้วเราค่อยเอาผลกุศลนี้ไปส่งให้กับใครก็สุดแล้วแต่















 



Create Date : 03 กันยายน 2565
Last Update : 3 กันยายน 2565 4:39:08 น.
Counter : 517 Pageviews.

1 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณเริงฤดีนะ, คุณปัญญา Dh, คุณRain_sk, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณnewyorknurse

  
เจิมค่ะ
ตั้งธรรม
อีกแง่หนึ่ง เหมือนเริ่มต้นใหม่ของ log in นี้เลยนะคะ
ไม่ได้เห็นมานาน
กลับมาเผยแผ่สิ่งควรรู้แก่สาธุชนบล็อกแงค์อีกครา
อนุโมทนาบุญ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 3 กันยายน 2565 เวลา:4:53:54 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กันยายน 2565

 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog