ทิพพจักขุญาณ (ตาทิพย์)
"ตาในแห่งปัญญา" หรือ "จักษุปัญญา" เป็นตาแห่งปัญญาศึกษาภายใน ทำให้เห็น ตัวอะไรที่เรามีข้อบกพร่อง ที่ควรแก้ไข และตัวอะไรที่ดีควรทำเสริม เพิ่มเติม
                 บางคนก็บอกว่าเป็นตาทิพย์ เห็นวิบากกรรมของตนเอง เป็นสัญญลักษณ์แห่งการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
                 หมายความว่า รู้ตัวข้างในที่เราเป็น เรารับ แล้วเราเอาอะไรไปปรุงแต่ง ผู้ที่มีตาแห่งปัญญา ประกอบด้วยหลักการ ๓ อย่างนี้ในการบริหารจัดการปรุงแต่ง ดังนี้
                 ๑. สติสัมปชัญญะ  คือ รู้ อาศัยอุทธาหรณ์ จึงทำสิ่งที่ดีและไม่ทำสิ่งที่ชั่ว
                   ๒. อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จะอยู่ใน ๗ ข้อนี้ของทิพพจักขุญาณ (ตาทิพย์)
                 ๓. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้องจริงแท้ในธรรม



ตาที่สามก็คือ ตาแห่งปัญญา เป็นตาทิพย์ เป็นตาแห่งความเป็นเหตุเป็นผล ในความหมายทั้ง ๓ ตา มีความหมายดังนี้
                 ตาที่ ๑ คือ ตารูป คือ "จักษุ" สามารถอ่านจิตใจเขาได้ อาจจะรู้นิสัย พฤติกรรมของเขา เช่น เรามองเขาแล้ว เรามีความรู้ทางโหงวเฮ้ง (Mien Shiang : 五形)  เราก็พออ่านนิสัยเขาออก เห็นมั้ยอย่างนี้ก็ผิดกับตาธรรมดา เช่น ตาธรรมดาเราเห็นว่าคนนี้เป็นผู้หญิง ผู้ชาย ดำ ขาว นี่เป็นสายทางนอก หรือสายทางรูปธรรม
                  ตาที่ ๒ คือ ตาญาณ จะเป็นตาหยั่งลึกลงไป เป็นปัญญาสามารถว่าเขาเป็นอย่างนี้ ประพฤติอย่างนี้เดี๋ยวเขาจะได้ผลเป็นเช่นไร เหมือนกันว่าพยากรณ์ได้แล้ว 
                  สมมติว่าคนนี้เขามีนิสัยอย่างนี้ ข้างหน้าเขาจะต้องเจอกับอะไร ถ้าเขามีนิสัยขี้ยั๊วะสักวันหนึ่งเขาต้องโดนตีกะบาล
                 ตาที่ ๓ คือ ตาหยั่งรู้เหตุอนาคต ทั้ง ๒ ข้อข้างตนเป็นการรู้อดีตมาทั้งปัจจุบัน แต่ตาที่ ๓ นี้จะหยั่งรู้อนาคตของเขาไปถึงภพหน้าจะพบเจออะไรก็ได้ เพราะพิจารณาเหตุผลที่เขาทำแล้วหยั่งรู้ความเป็นไปอนาคตของเขา
                 อย่างที่ ๓ รู้บุคคลว่าเป็นมาอย่างยังไง รู้เหตุการณ์ว่าจะเกิดอะไร เรียกว่า เป็นญาณ แต่คนทั่วไปเรียกว่า เป็น "ตา" สิ่งนี้จะแยกออกมาจากตา คือ ญาณ มาแยกรายละเอียด แต่รวมความแล้วเป็นตาญาณ
                ญาณ ก็คือ ความรู้ เป็นตาแห่งปัญญา ตัวนี้สำคัญที่สุด เรียกว่า ตาใน ส่วนตัวอื่นเป็นตัวที่ย่อย


ทิพพจักขุญาณ (ตาทิพย์) คือ ตาที่เห็นภายในจิตของเรา ตาที่รู้ภายในจิตของเรา สิ่งที่ทำให้เรารู้ได้ ที่เรามองเห็นสิ่งอื่นๆ เป็นไปตามมารยาแห่งธรรม ต้องเห็นข้างในตนเองเป็นไปตามภาวะแห่งธรรม สิ่งที่เห็นข้างในคือ เห็นตามพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ต้องเปลี่ยนแปลง ทุกขัง ภาวะที่ไม่สามารถคงทนอยู่สภาพนั้นได้ อนัตตา มีตัวตน แต่ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
                ตัวสติสัมปชัญญะที่จะทำให้เรารู้ มี ๓ ระดับขั้นตอน ดังนี้
                 ๑. จิตที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเห็นถึงอารมณ์ เห็นถึงการทำงานของภาวะจิตเรา
                ๒. จิตของเราทำงานด้วยแบบไหน คือ เมื่อรับอารมณ์เข้ามาแล้ว เราจะนำอารมณ์ไปผสมกับอะไร
                    ๒.๑ อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยว เครื่องยึดเหนี่ยวของจิต ต้นตอของการรับสิ่งปรุงแต่ง มีทั้งอารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี อารมณ์ที่ชอบใจ อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ
                     ๒.๒ คติ คือ ความคิด จะคิดถูกหรือคิดผิด เป็นสัมมาหรือมิจฉา สุดแล้วแต่
                 "อคติ" คือ ความคิดที่ตนเองชอบ ต้องทำเหมือนกับตน ใครไม่ทำตามถือว่าผิด เกิดจิตใจคับแคบ จึงเกิดให้มีความลำเอียง ประกอบด้วย 
                      ๑) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ
                      ๒) โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
                       ๓) โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง
                       ๔) ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
                     ๒.๓ สิ่งแวดล้อมจูงใจ คือ เหตุการณ์ทำให้เราเข้าใจไปเช่นนั้น เป็นไปตามเหตุการณ์นั้นๆ อันเนื่องจากเราไม่ได้คิดวิเคราะห์พิจารณาใช้โยนิโสมนสิการ จึงถูกสิ่งแวดล้อมหรือเหตุการณ์นั้นๆ ชักจูงนำพาเราไปตามภาวะแวดล้อม และบางครั้งสิ่งแวดล้อมดีก็จูงจิตให้เราไปในทางดี
                  ๓. ส่งกลับด้วยอะไร คือ เมื่อเรารับข้อมูล จัดการกับข้อมูลที่เราได้รับแล้ว เราปรุงแต่งเรียบร้อยแล้ว เราจะส่งกลับด้วยปัญญาหรือว่าโทสะ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้หลักการ ๓ ข้อ สติสัมปชัญญะ สัมมาทิฏฐิ และอริยสัจ ๔ มาจัดการกับอารมณ์ อคติ และสิ่งแวดล้อมยังไง 
               ถ้าเราเกิดคิดผิด ก็จะส่งสัญญาณกลับไปทางลบ ทางที่ไม่ดี ทางโทสะ 
                แต่ถ้าเราคิดถูกต้องตามธรรม เราก็จะส่งสัญญาณกลับไปในทางดี 
               ทางปัญญา เราเรียกว่า รับด้วยปัญญา ส่งด้วยปัญญา
               บางครั้งเราก็ประสบ อารมณ์ อคติ สิ่งแวดล้อม จูงไปทั้ง ๓ ข้อ แต่บางครั้งอาจเกิดแค่ ๒ ข้อ คือ อารมณ์ กับสิ่งแวดล้อม บางครั้งก็มี อย่างใดอย่างหนึ่ง
                ฉะนั้น เรารับข้อมูลสิ่งใดมา ต้องรับด้วยปัญญา อย่ารับด้วยอารมณ์แห่งโทสะ เพราะจะเกิดปัญหาตามมา
              สติสัมปชัญญะจะมารับรู้อารมณ์ ถ้าเราใส่อคติในทางลบ ผสมกับสิ่งแวดล้อมลงไปก็จะเกิดส่งผลให้สิ่งนั้นแรงขึ้นมากๆ ก็จะเกิดความไม่พอใจ
              บางครั้งเขาส่งอารมณ์แห่งโทสะมา แต่ถ้าเรารับด้วยปัญญา เราก็จะส่งข้อมูลกลับไปด้วยปัญญา จึงจะสันติสุข ทั้งสองฝ่าย
               พอเราเอาทั้ง ๓ ข้อธรรมนี้มารับแล้ว ก็ต้องมาต่อด้วยหลักธรรม ๗ ข้อนี้ เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกัน


วิธีการทำให้เกิดตาทิพย์
              ๑. เห็นความเคลื่อนไหวของร่างกาย ทางรูปธรรม (เห็นความเคลื่อนไหว) เห็นร่างกายของเราเคลื่อนไหว เห็นเส้นเลือด เห็นการเจ็บปวดของร่างกาย (เห็นรูป)
              ๒. เหตุนั้นเกิดจากอะไร เช่น เราโกรธเพราะอะไร (เห็นความคิด เห็นอารมณ์) ว่าเป็นอารมณ์ตัวไหน (เห็นนาม)
              ๓. เหตุนั้นมาจากไหน (เราโกรธ สาเหตุเนื่องมาจากอะไร) รู้สาเหตุ รูป-นาม รูปนี้เป็นอย่างนี้เพราะอะไร? มาดูที่เหตุล่ะ
              ๔. เหตุมาจากตรงนั้นได้ยังไง 
               ๕. เหตุเกิดขึ้นแล้ว ส่งผลอะไรบ้าง มาได้เพราะเหตุอะไร
              ๖. เรารู้เหตุแล้ว เราจะแก้เหตุนั้นได้ยังไง (เหตุที่มาเป็นเหตุ) เช่น เหตุที่มาเป็นเหตุทำให้เราโกรธ
              ๗. เรารู้ว่าเหตุนั้นเป็นมายังไง แล้วเราจะแก้เหตุนั้นได้ยังไง มีวิธีแก้ไขยังไง
               ตาทิพย์ทั้ง ๗ ข้อนี้เราต้องมาดูของตนเอง พอดูของตนเองได้แล้ว เราถึงจะไปดูของคนอื่นได้ ถ้าปัญญาเราแก่กล้า เราก็จะสามารถไปดูของจักรวาลได้ จักรวาลทำไมตอนนี้ถึงระเบิด


               "ญาณ" ก็คือ ข้อมูล ความรู้ ทักษะความชำนาญ ความเชี่ยวชาญต่างๆ ที่ผ่านมา แล้วเราเรียนรู้สะสมขึ้นมาเรื่อยๆ ญาณนี้เป็นปัญญาเหนือปัญญาออกมาให้เห็นชัดเจน 
                 ทุกคนสามารถพัฒนาขึ้นมาได้จากความรู้พัฒนาขึ้นมาเป็นญาณ
               "ปัญญาญาณ" คือ เขาเรียกกันให้ครบชื่อ เพราะว่าญาณเป็นปัญญาญาณ บางคนเป็นวิทยาญาณ ศาสตร์ญาณ ก็มี เช่นคนนี้เขาทำขนมปังเก่ง เก่งจนเขามองเห็นรู้เลยว่าอะไรเป็นอะไร เพราะเขามีญาณ เช่น เขามองเห็นเขาไม่เป็น ถ้าเป็นต้องไปจับขนมปังเลย เขาก็รู้แล้วว่าขนมปังนี้อร่อยหรือไม่อร่อย หรือทำผิดพลาดยังไง ขนมปังอ่อน นุ่มหรือแข็ง

 



Create Date : 12 กันยายน 2564
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2565 16:50:50 น.
Counter : 1176 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กันยายน 2564

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30