"ทำลายกิเลส"/ "ตัดกิเลส" ได้จริงเหรอ?

กิเลสทำลายไม่ได้ แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็ทำลายกิเลสไม่ได้


  "กิเลส" เป็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ หรือพูดให้ลึกลงไปคืออยู่ในธรรม


  แม้ว่าจะมีพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ผ่านมาไม่ต่ำกว่า ๒๘ พระองค์ แต่กิเลสนี้ก็ยังคงมีอยู่ในโลกนี้ ไม่มีใครที่จะสามารถทำลายกิเลสนี้ได้ เพราะกิเลสนี้เป็นตัวหนึ่งที่อยู่ในธรรมชาติ แม้แต่พระพุทธเจ้านี้ก็ยังอยู่ในธรรมชาติเลย


  แต่พระพุทธเจ้าอยู่กับกิเลส แต่จุดที่พระพุทธเจ้าเหนือกิเลสคือ กิเลสนี้ไม่สามารถมาครอบงำจิตใจของพระพุทธเจ้าได้ พระพุทธเจ้ารู้ทันกิเลส สามารถบริหารจัดการกิเลสได้


  ยกตัวอย่าง เราเกิดมา ธรรมชาติจะให้ "จิต+เจตสิก" แก่เรามาใช่ไหม?


  "เจตสิก" แปลว่า สิ่งที่มาประกอบกับจิต มีทั้งเจตสิกสัมมา และเจตสิกมิจฉา ถ้าเราปรุงจิตไปทางสัมมา ก็จะกลายเป็นจิตดี แต่ถ้าเราปรุงแต่งจิตไปทางมิจฉา ก็จะกลายเป็นจิตชั่ว


   ถามว่า ในธรรมชาติจะอคติลำเอียงให้เจตสิกฝ่ายดีแก่พระพุทธเจ้าอย่างเดียวเหรอ ก็ตอบว่าไม่ใช่ ธรรมชาติก็ต้องให้เจตสิกที่เป็นฝ่ายสัมมา (ดี) และฝ่ายมิจฉา (ชั่ว)


  แต่เพราะว่าพระพุทธเจ้ามีปัญญาที่ขจัดอวิชชาออกไปแล้ว พระพุทธเจ้าเลือกฝ่ายสัมมา (ดี) และยังสอนให้สัตว์โลกดำเนินทางไปฝ่ายสัมมา ไม่ตกให้กิเลส คือ เจตสิกฝ่ายมิจฉาครอบงำ


  ดังพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้าอุทานตอนตรัสรู้ใหม่ๆ ว่า


  "นี่แนะ!! นายช่างปลูกเรือน (ตัณหา) เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือน สร้างบ้านให้เราไม่ได้อีกต่อไป"


  ฉะนั้น "กิเลส" พระพุทธเจ้าจึงทำลายไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้ารู้จักกิเลส และไม่ให้กิเลสมาครอบงำจิตของพระพุทธเจ้าได้


  หากว่าไม่เห็นด้วยยังไง หรือต้องการชี้แนะ ตรงไหน แนะนำ ปุจฉาวิสัชชนากันได้นะ ยินดีน้อมรับฟังเพื่อแก้ไข พัฒนาต่อไป


  ยกตัวอย่างการบริหารกิเลส ที่พระพุทธเจ้านำมาสอนชาวบ้าน คือ พระพุทธเจ้าสอนให้ชาวบ้านรู้จักทำมาหากิน ค้าขาย


  เมื่อชาวบ้านค้าขาย ก็ต้องได้ทรัพย์สินเงินทอง เป็นความโลภอย่างหนึ่ง เพราะ คำว่า "โลภ" แปลว่า "อยากได้สิ่งนั้นๆ" เป็นความอยากได้ที่เป็นกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว


  ถ้าเราเอาความโลภ ไปบวก(+) กับสัมมา กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม


  แต่ถ้าเราเอาความโลภ ไปบวก (+) กับมิจฉา กลายเป็นความละโมบ ไม่ถูกต้องตามธรรม


  พระพุทธเจ้าสอนชาวบ้านให้รู้จัก "อุ อา กะ สะ" แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้มีความละโมบ เพราะสิ่งที่ละโมบจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ดีตามมา


  เราโลภได้ แต่อย่าละโมบ เพราะการละโมบ เป็นการจ้องที่จะเอา โดยไม่สนใจว่าจะได้มาโดยวิธีการที่ถูกต้องหรือไม่ ใช้ไปในทางมิจฉา


  แต่ชาวบ้านเรามีความโลภได้ตามชั้นภูมิของตนเอง โลภได้แต่อย่าไปเบียดเบียนคนอื่นเขา เป็นต้น


  กิเลส เป็นตัวหนึ่งที่จะไปสนองตัวตัณหา


  กิเลส คือ เอามาสนองตัวตัณหา


  กิเลสนี้อยู่ภายนอกจิตใจเรา ถ้าเราไม่นำกิเลสเข้ามาใจจิตใจ ไหนเลยในจิตเราจะมีกิเลสนี้่ได้


  ถ้าเรามัวแต่ปัดกวาดจิตใจอย่างเดียว เมื่อไหร่จะหมด เหมือนกับปัดกวาดฝุ่น ใบไม้ เมื่อถึงฤดูกาล ใบไม้ก็ตกอีก ปัดกวาดเท่าไหร่ไม่รู้จักหมดซักที


  ฉะนัั้น เราไม่ให้กิเลสมาครอบงำจิตใจเรา แล้วกิเลสจะมีตรงไหน?


  ปล. ทุกคนยังจำท่านได้ไหม?


  ที่ท่านพระสังฆปรินายกองค์ที่ 5 หวางยั่น (ฮ่งยิ้ม) (弘忍) เจ้าอาวาสวัดตุงซั่น ทดสอบภูมิธรรมของลูกศิษย์ "ชินเชา" ( 神秀 ค.ศ.605-706 ) เพื่อที่จะรู้ว่าใครจะเป็นพระสังฆปรินายกองค์ถัดไป  ชินเชา เขียนว่า (ประโยคฉบับตุนหวง)   


  กายคือต้นโพธิ์   (身是菩提樹,)


  ใจเสมือนกระจกเงาใส     (心如明鏡臺。)


  เพียรหมั่นเช็ดถูเป็นอาจิณ     (時時勤拂拭,)


  เพื่อมิให้เกิดฝุ่นละออง       (莫使有塵埃。)


ประโยคฉบับหลัง (แปลไทยจากภาษาอังกฤษสำนวนท่านพุทธทาส)


กายของเราคือต้นโพธิ์   (身是菩提樹,)


ใจของเราคือกระจกเงาอันใส (心如明鏡臺。)  


  เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุกๆ ชั่วโมง (时时勤拂拭,)


  และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ     (勿使惹塵埃。)

 

เว่ยหลาง( 惠能 ) จึงมาเขียนใหม่ทับลงไปว่า (ประโยคฉบับตุนหวง)


เดิมไร้ซึ่งต้นโพธิ์   (菩提本无樹,)


ทั้งไม่มีกระจกเงาใส (明鏡亦非臺。)


พุทธภาวะสะอาดบริสุทธิ์ตลอดเวลา  (佛性常清淨,)


แล้วจะมีฝุ่นละออง ณ ที่ใด     (何處有塵埃。)


  ประโยคฉบับหลัง ( แปลไทยจากภาษาอังกฤษสำนวนท่านพุทธทาส )


    ไม่มีต้นโพธิ์     (菩提本无樹,)


    ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด    (明鏡亦非臺。)


  เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว   (本来无一物)


  ฝุ่นจะลงจับอะไร  (何處惹塵埃。)


  ถ้าเราใช้คำว่า "ทำลายกิเลส" แสดงว่า ในจิตใจเรามีกิเลสโทสะ เพราะคิดที่จะทำลายเขา (กิเลส)


  ฉะนัั้น ควรใช้คำว่า "ละกิเลส" ก็คือ ตามคำที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้


  ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่เคยใช้คำว่า "ทำลายกิเลส" หรือ "ฆ่ากิเลส" เป็นต้น


  แต่พระพุทธเจ้าใช้คำว่า "ละกิเลส" ไม่ให้กิเลสตัณหา มาครอบงำในจิตใจเรา


  เราเป็นทุกข์กับกิเลสตรงนี้ไหม?  


  ใช่!! เราเป็นทุกข์กับกิเลสตรงนี้


  แล้วคุณจะเอากิเลสตรงนี้ไหม?


  ก็ไม่เอา


  ถ้าไม่เอากิเลส แล้วคุณจะเอากิเลสคืนสู่ธรรมไหม?


  ก็ต้องเอากิเลสคืนสู่ธรรม


  แล้วทำไม ไม่เอากิเลสคืนสู่ธรรมล่ะ?


  แล้วเราจะเอากิเลสคืนสู่ธรรมได้อย่างไร?


  เราก็ต้องใช้ปัญญาในการขุดคุ้ยเอากิเลสออก ยกตัวอย่างเช่น เราชอบไปจับนมผู้หญิง เราต้องมาดูว่ากิเลสตรงนี้มาจากไหน? เราต้องใช้หลักอริยสัจ ๔ มาวิเคราะห์ 


  เมื่อเหตุเกิดขึ้นมาแล้ว เราก็ต้องมาไล่ดูว่าทำไมถึงต้องมีผลเช่นนี้ เพราะเหตุอะไร


  ก็เพราะว่า เราไปจับนมเขา เพราะมีเหตุแห่งราคะ


  แล้วตัวนั้นคืออะไร? เราก็ต้องไปแก้ตัวนั้น แก้ที่ตัวนั้น ใช่หรือไม่ว่า ต้องเอาตัวนั้นคืนสู่ธรรม แล้วพฤติกรรมชอบไปจับนมสาวตรงนี้จะลดลงไหม?


  นี่แหละ ต้องใช้หลักอริยสัจ ๔ หาถึงเหตุแห่งต้นตอ


  ส่วนกิเลสข้างนอกที่จะมาครอบงำเรา เราก็ไม่ให้กิเลสมาครอบงำเรา แต่ส่วนกิเลสที่อยู่ในจิตของเรา ก็ต้องใช้หลักอริยสัจ ๔ มาใช้เช่นเดียวกัน


  เราต้องใช้อริยสัจ ๔ มาวิเคราะห์ว่า ทำไมเราถึงมีพฤติกรรมที่ไม่ดีและทำไมถึงทำติดจนเป็นนิสัย แล้วเราเอาออก เราก็ต้องมาดูว่า ทำไมเราถึงไม่เอาไม่ทำพฤติกรรมเช่นนี้ ถ้าเราไม่ได้วิเคราะห์เหตุและผล เราก็หลงที่จะไปแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีเช่นนั้นอีก


  ถ้าเราเอาพฤติกรรมที่ชอบไปจับนมสาว จริงอยู่ว่ามันมีความสุขในขณะจับ แต่มันแฝงด้วยความทุกข์ เราก็จะไม่เอาพฤติกรรมเช่นนี้ นี่แหละต้องใช้หลักอริยสัจ ๔ มาจับวิเคราะห์ พิจารณา


  เราต้องใช้หลักอริยสัจ ๔ มาพิจารณากิเลสข้างนอกที่จะเข้ามาในจิตใจเรา และใช้หลักอริยสัจ ๔ มาวิเคราะห์ในจิตของเราที่ยังมีกิเลสอะไรที่ยังหลงเหลืออยู่ หรือพิจารณาพฤติกรรม นิสัยที่ไม่ดีที่กำลังทำอยู่นี้


  ถ้าไม่อย่างนั้น เราก็จะถูกหลอก หลอกเราได้เราก็จะไปทำพฤติกรรมเช่นนั้นอีก ถ้าเราไปทำพฤติกรรมจับนมสาว ก็เท่ากับว่าเราถูกกิเลสราคะครอบงำเรา


  เรารู้ว่าการทำเช่นนั้นมีความสุข แต่เบื้องหลังแล้วไม่ใช่มีความสุขจริงนี่!! เราก็ไม่เอา นี่แหละวิเคราะห์ถึงต้นตอเลย


  การวิเคราะห์กิเลสภายนอก ก็เช่นเดียวกันว่า เราไปจับนมสาว เราทำไปเนื่องจากอะไร เนื่องจากเหตุต้นตอที่ว่า เรามีราคะเกี่ยวกับพฤติกรรมเช่นนี้ เราก็นำนิสัยนี้ออกคืนสู่ธรรม เราไม่เอานิสัยอย่างนี้อีกล่ะ


  เราต้องทั้งลด ทั้งห้าม ไม่ให้เอามาเติม


  นักปฏิบัติธรรม ผู้บำเพ็ญทั้งหลาย สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ   รู้จักเอาสิ่งที่ไม่ดีออก และสิ่งที่ไม่ดีอย่าเอามาเติม ก็แค่นี้


  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นหลักการโยนิโสมนสิการ เวลาเราคิดนี่แหละเป็นกระบวนการโยนิโสฯ แต่อริยสัจ ๔ เปรียบเสมือนอาวุธ หรือเครื่องมือ ที่จะเจาะสาวไปถึงต้นตอแห่งเหตุ


  นี่แหละ บางครั้งเราใช้โยนิโสฯ อยู่ตลอด แต่เราไม่รู้


  เราต้องมาทำวิปัสสนากรรมฐาน คำว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" คนเราไม่ใช้ให้เป็นประจำ 


  กรุณาเข้าใจเสียใหม่ว่า การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนี้ไม่ใช่ไปเจริญแต่ในวัด ในวิหารเท่านั้น อย่างนี้ไม่ใช่ ขอให้เราทำทุกตอนเย็น หรือทุกเช้าที่บ้านก็ได้ หรือตอนที่เราไหว้พระแล้ว


  ถ้าเราเจริญวิปัสสนากรรมฐานทุกวัน ตัวกิเลสที่อยู่ในใจเราไม่ดี เราก็ต้องรีบเอาออก ก็ไม่ต้องไปสะสมให้อักเสบ เราก็จะมีอุทธาหรณ์ว่า พรุ่งนี้เราจะไม่รับกิเลสตัวนี้แล้ว


  คือรู้จักเอาของเก่าออก แล้วรู้จักเอาอุทธาหรณ์ตัวใหม่ไม่ให้รับสิ่งที่ผิดเข้ามา นี่แหละ จิตของเราก็จะแข็งแรง ไม่อักเสบ ควบคุมได้ บริหารได้


  เหมือนกับเราเจ็บป่วยเป็นไข้ เราไม่ไปรับเชื้อโรคข้างนอกมาใส่ในตัวของเรา เรากินยาเพื่อจะไปขจัดโรคในตัวของเราออกมา เสร็จแล้วเราทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง เราไม่เอาเชื้อโรคเข้ามาใหม่ เราก็ไม่ป่วย


  สรุป ควรใช้คำว่า "ละกิเลส" จึงจะถูกต้อง

 

^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

 

#อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต










 




Create Date : 19 กันยายน 2564
Last Update : 19 กันยายน 2564 23:54:26 น.
Counter : 1060 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กันยายน 2564

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog