รวบรวมเข้าใจ "กิเลส"
    กิเลส แปลว่า เอามาสนองตัวตัณหา
    ยกตัวอย่าง "กิเลส" เป็นการเอาอาหารมากิน แต่เราเอาอะไรไปบวกกับกิเลส เอาละโมบไปบวกกับกิเลสก็จะกลายเป็นว่า เอาเยอะๆ กินเยอะ แต่ถ้าเอาความคิดที่สัมมาไปบวกกับกิเลส มันก็เอาความพอดี ความพอดี คือ ความสันโดษ สันโดษ แปลว่า "พอดีแก่เหตุ" เหมือนกับในหลวงบอกว่า ให้พอเพียง ไม่ใช่ว่าไม่ให้ใช้ แต่ใช้ให้พอเพียงก็พอแล้ว ไม่ใช่ให้เอาจนเกินเลยมากไป
    พยาบาทก็เป็นกิเลส เราอยากทำบุญก็เป็นกิเลส เพียงแต่เราเอาอะไรไปบวก
    ถ้าเราเอาความพยาบาทไปบวกกับกิเลสตัวนี้ อันนี้กลายเป็นว่ากิเลสพยาบาท สมมติว่านั้นเป็นกิเลสจะไปทำกุศล ก็กลายเป็นกิเลสกุศล กิเลสก็เหมือนกับจิต อยู่ที่เราเอาอะไรไปปรุง


    เพราะว่า เราแปลตัว "กิเลส" แปลว่า เอามาสนองตัวตัณหา
    ถ้าไม่แปลอย่างนี้แต่จะแปลว่า "กิเลสทำให้จิตเศร้าหมอง"
    ถ้า "กิเลส" แปลว่า ทำให้จิตเศร้าหมอง ก็เป็นด้านเดียว ตัวกิเลสทำให้จิตใจสดชื่นก็มีเยอะ ก็เราไปทำบุญแล้วจิตใจเราเกิดปิติไหม? ก็เกิดปิติแล้วจะเศร้าหมองตนไหน ถ้าหากว่าจะแปลว่า เศร้าหมอง นั่นคือบาป 
    บาปนั้นเป็นส่วนย่อยส่วนหนึ่งของกระบวนการกิเลส
    บุญก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกิเลส
    เราต้องดูว่าเราเอาอะไรไปบวก เหตุอะไรมันจะเกิด บอกแล้วว่ากิเลสเป็นกลางๆ มันอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว 
    นี่แหละคนเข้าใจผิดกันมา เลยเกิดความสับสนกันไปใหญ่

เราต้องเป็นเจ้านายของกิเลส
    ถ้าเราเอากิเลสมาอยู่ในตัวเราแล้ว เราต้องเป็นเจ้านายของกิเลส ไม่ใช่ให้กิเลสเป็นเจ้านายตัวเรา พอเราเอากิเลสเข้ามาในตัวเราแล้ว เราไปตามใจกิเลส กิเลสจะเป็นเจ้านายตัวเรา เราก็เสร็จกิเลสทันที 
    เราต้องเป็นเจ้านายกิเลส
    แล้วจะเอาอะไรเป็นเจ้านายกิเลสล่ะ
    ก็เอาสติสัมปชัญญะเป็นเจ้านายกิเลส
    แล้วจะเอาอะไรเป็นตัวบริหารจัดการสติสัมปชัญญะ ก็คือ วิชชาปัญญา


    ศาสนาพุทธนั้นมักสอนว่า ต้องตัดกิเลสให้ขาด ตัดให้หมด ถามว่า ชาวพุทธทำได้หรือ "ตัดกิเลส"?
    ตอบว่า เราพูดผิดกันแล้ว กรุณาเข้าใจใหม่นะ เพราะตอนนั้นอาจจะมีคนเสนอความคิดที่ผิด ไม่ใช่ให้ตัดกิเลสทั้งหมด แต่ให้ละ และให้สันโดษ และให้ใช้กิเลสเพียงพอกับเหตุในภูมินั้นๆ อย่าเข้าใจผิดว่าต้องไปตัดกิเลสให้หมด เป็นไปไม่ได้ ถ้าเราอยู่ในภูมิเช่นนี้ บอกว่าไม่มีกิเลส เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ต้องทำความเข้าใจใหม่

กิเลสทำลายไม่ได้ แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็ทำลายกิเลสไม่ได้
    "กิเลส" เป็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ หรือพูดให้ลึกลงไปคืออยู่ในธรรม
    แม้ว่าจะมีพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ผ่านมาไม่ต่ำ ๒๘ พระองค์ แต่กิเลสนี้ก็ยังคงมีอยู่ในโลกนี้ ไม่มีใครที่จะสามารถทำลายกิเลสนี้ได้ เพราะกิเลสนี้เป็นตัวหนึ่งที่อยู่ในธรรมชาติ แม้แต่พระพุทธเจ้านี้ก็ยังอยู่ในธรรมชาติเลย
    แต่พระพุทธเจ้าอยู่กับกิเลส แต่จุดที่พระพุทธเจ้าเหนือกิเลสคือ กิเลสนี้ไม่สามารถมาครอบงำจิตใจของพระพุทธเจ้าได้ พระพุทธเจ้ารู้ทันกิเลส สามารถบริหารจัดการกิเลสได้


    ยกตัวอย่าง เราเกิดมา ธรรมชาติจะให้ "จิต+เจตสิก" แก่เรามาใช่ไหม?
    เจตสิก คือสิ่งที่มาประกอบกับจิต มีทั้งเจตสิกสัมมา และเจตสิกมิจฉา ถ้าเราปรุงจิตไปทางสัมมา ก็จะกลายเป็นจิตดี แต่ถ้าเราปรุงแต่งจิตไปทางมิจฉา ก็จะกลายเป็นจิตชั่ว
     ถามว่า ในธรรมชาติจะอคติลำเอียงให้เจตสิกฝ่ายดีแก่พระพุทธเจ้าอย่างเดียวเหรอ ก็ตอบว่าไม่ใช่ ธรรมชาติก็ต้องให้เจตสิกที่เป็นฝ่ายสัมมา (ดี) และฝ่ายมิจฉา (ชั่ว)
    แต่เพราะว่าพระพุทธเจ้ามีปัญญาที่ขจัดอวิชชาออกไปแล้ว พระพุทธเจ้าเลือกฝ่ายสัมมา (ดี) และยังสอนให้สัตว์โลกดำเนินทางไปฝ่ายสัมมา ไม่ตกให้กิเลส คือ เจตสิกฝ่ายมิจฉาครอบงำ


    ดังพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้าอุทานตอนตรัสรู้ใหม่ว่า
    "นี่แนะ!! นายช่างปลูกเรือน (ตัณหา) เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือน สร้างบ้านให้เราไม่ได้อีกต่อไป"
    ฉะนั้น กิเลส พระพุทธเจ้าจึงทำลายไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้ารู้จักกิเลส และไม่ให้กิเลสมาครอบงำจิตของพระพุทธเจ้าได้
    หากว่าไม่เห็นด้วยยังไง หรือต้องการชี้แนะ ตรงไหน แนะนำ ปุจฉาวิสัชชนากันได้นะ ยินดีน้อมรับฟังเพื่อแก้ไข พัฒนาต่อไป
    ยกตัวอย่างการบริหารกิเลส ที่พระพุทธเจ้านำมาสอนชาวบ้าน คือ พระพุทธเจ้าสอนให้ชาวบ้านรู้จักทำมาหากิน ค้าขาย
    เมื่อชาวบ้านค้าขาย ก็ต้องได้ทรัพย์สินเงินทอง เป็นความโลภอย่างหนึ่ง เพราะ คำว่า "โลภ" แปลว่า "อยากได้สิ่งนั้นๆ" เป็นความอยากได้ที่เป็นกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว


    ถ้าเราเอาความโลภไปบวก(+) กับสัมมา กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม
    แต่ถ้าเราเอาความโลภไปบวก (+) กับมิจฉา กลายเป็นความละโมบ ไม่ถูกต้องตามธรรม
    พระพุทธเจ้าสอนชาวบ้านให้รู้จัก "อุ อา กะ สะ" แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้มีความละโมบ เพราะสิ่งที่ละโมบจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ดีตามมา
    เราโลภได้ แต่อย่าละโมบ เพราะการละโมบ เป็นการจ้องที่จะเอา โดยไม่สนใจว่าจะได้มาโดยวิธีการที่ถูกต้องหรือไม่ ใช้ไปในทางมิจฉา
    แต่ชาวบ้านเรามีความโลภได้ตามชั้นภูมิของตนเอง โลภได้แต่อย่าไปเบียดเบียนคนอื่นเขา เป็นต้น
    กิเลส เป็นตัวหนึ่งที่จะไปสนองตัวตัณหา
    กิเลส คือ เอามาสนองตัวตัณหา
    กิเลสนี้อยู่ภายนอกจิตใจเรา ถ้าเราไม่นำกิเลสเข้ามาใจจิตใจ ไหนเลยในจิตเราจะมีกิเลสนี้่ได้
    ถ้าเรามัวแต่ปัดกวาดจิตใจอย่างเดียว เมื่อไหร่จะหมด เหมือนกับปัดกวาดฝุ่น ใบไม้ เมื่อถึงฤดูกาล ใบไม้ก็ตกอีก ปัดกวาดเท่าไหร่ไม่รู้จักหมดซักที
    ฉะนัั้น เราไม่ให้กิเลสมาครอบงำจิตใจเรา แล้วกิเลสจะมีตรงไหน?


    กิเลส มีความหมายเป็นกลางๆ แปลว่า ตัวที่มาสนองความอยากของเรา ความอยาก ความต้องการ ฉะนั้นเราต้องกระทำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิเลส คือ
    ๑. หมั่นทำความเข้าใจกิเลส
    ๒. หมั่นดูสิ่งที่จะไปเติมเต็มกิเลสว่าเป็นอวิชชาหรือเปล่า เช่น กิเลสทางมิจฉา สิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือกิเลสทางสัมมา กิเลสที่ถูกต้อง
    เราต้องหมั่นพิจารณา วิเคราะห์ วินิจฉัย



Create Date : 18 กันยายน 2564
Last Update : 18 กันยายน 2564 17:21:52 น.
Counter : 159 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กันยายน 2564

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog