8 คุณธรรม ในการดำเนินชีวิต
8 คุณธรรม ในการดำเนินชีวิต

  หลักคุณธรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งท่านขงจื้อได้กล่าวไว้ให้ลูกศิษย์ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา และกลายเป็นหนึ่งเดียวในการหล่อหลอมให้คนจีนยึดถือปฏิบัติการสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาไหนก็ตาม มักจะยึดหลักคุณธรรมนี้ หรือไม่ก็จะมีคุณธรรมเหล่านี้ไปผสม

  ท่านขงจื้อ (孔子) ถ้าสำเนียงจีนกลางแล้วจะออกเสียงว่า “ข่งจวื่อ” หรือในสำเนียงแต้จิ๋วว่า “ค่งจื้อ” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “ข่งชิว (孔丘)” ขงจื๊อเดิมชื่อว่า ชิว (丘) ชื่อรอง จ้งหนี (仲尼) เป็นชาวเมืองโจวอี้(陬义) ในแคว้นหลู่ปัจจุบันคือเมืองชวีฟู่ (曲阜) ในมณฑล ซานตง (山东) ท่านเกิดในสมัยชุนชิว(春秋) เมื่อ ๕๕๑ ปีก่อนคริสตกาล ถึงแก่กรรมเมื่อ ๔๗๙ ปีก่อนคริสตกาล สิริอายุ ๗๓ ปี

  คำสอนของขงจื้อนั้นจะสั่งสอนให้มนุษย์ทุกคนเป็นคนโดยสมบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติตามคุณธรรม ๘ ประการ (八德 ; ปาเต่อ ในภาษาจีนแต้จิ๋ว โป่ยเต็ก) โดยคุณธรรมทั้ง ๘ ประการมีดังนี้

  
๑. 孝 (จีนกลาง : เซี่ยว / จีนแต้จิ๋ว : เห่า - xiào ; filial piety; obedience) แปลว่า มีความกตัญญูกตเวที หมายถึง การมีความกตัญญูกตเวที อันเป็นคุณธรรมอันดับแรกที่จะขาดเสียมิได้ เพราะชาวจีนจะถือเป็นเรื่องใหญ่ว่า ถ้าคนเราไม่รู้สำนึกในบุญคุณคนและไม่รู้จักการตอบแทนบุญคุณแล้ว ถือว่าคนผู้นั้นไร้ซึ่งคุณธรรมเลยทีเดียว

  ความกตัญญูก็คือรู้คุณของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่อำนวยความสะดวกให้กับเรา หรือแม้แต่ไม่เคยอำนวยประโยชน์ให้กับเรา แต่อำนวยประโยชน์ให้กับโลก ให้กับคน ก็ควรกระทำกตัญญู แล้วเราควรจะแสดงความกตัญญูดังนี้

    ๑) เชื่อฟัง

    ๒) รักษา

    ๓) ทะนุบำรุง

    ๔) รู้จักป้องกัน คือ สิ่งที่จะถูกทำลายไม่รู้จักป้องกันก็จบ ยกตัวอย่างเช่น ชั้นบรรยากาศเราไม่รู้จักป้องกันเอาแต่ทำลาย บรรยากาศก็จบ เช่น เราไปปล่อยควันรถเสีย เราก็จะปล่อยออกมาไม่ยอมไปซ่อมรถ รู้อยู่ว่าตรงนี้มันเสียก็จะพยายามทำลาย

    ๕) รู้จักใช้ให้มีคุณค่าที่สุด อย่าฟุ่มเฟือย ใช้อย่างประหยัด มัธยัสถ์ อดออม

  โดยทั่วไปจะอธิบายความกตัญญู  ซึ่งจะแยกย่อยออกเป็น ๔ ข้อใหญ่ดังนี้ คือ ๑) ไม่นำความเสื่อมเสียมาให้แก่ผู้ที่มีบุญคุณ, ๒) ช่วยรับภาระความทุกข์ของผู้มีบุญคุณ, ๓) ตอบแทนบุญคุณด้วยความเคารพและจริงใจ และ ๔) โอนอ่อนไม่ขัดใจ ไม่ขัดเคืองโกรธตอบในสิ่งที่ท่านสั่งสอน

  ๔ ข้อนี้จะอธิบายแคบมาก เป็นการอธิบายเฉพาะต่อบุคคลเท่านั้นเอง แต่ถ้าอธิบาย ๕ ข้อข้างต้นนี้กล่าวถึงในธรรม เราจะกตัญญูยังไงต่อธรรม ต่อสิ่งของ วัตถุ และสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในธรรม เช่น ต้นไม้หนึ่งต้นเขาก็มีบุญคุณ หญ้าหนึ่งต้นก็มีบุญคุณ

  
๒. 悌 (จีนกลาง : ที่ / จีนแต้จิ๋ว : ตี๋ - tì ; brotherly; love and respect one's elder brother) แปลว่า ความมีน้ำใจต่อกัน รักใคร่ปรองดองกัน หมายความว่า ถ้าเราไม่มีน้ำใจจะสามัคคีปรองดองกันได้อย่างไร มีน้ำใจเอื้อต่อกัน (团(tuán)结(jié) ท่วนเจี่ย/ฮัว แต๊จิ๋ว= สามัคคี) อันหมายถึง ความรักใคร่ปรองดอง หรือ การให้ความเคารพปรนนิบัติรับใช้ผู้ที่มีอายุมากกว่าและอายุน้อยกว่า ชาวจีนถือว่าการที่ครอบครัวหรือชุมชนนั้นมีความปรองดอง รู้จักให้อภัย รู้จักอดทนซึ่งกันและกัน รู้จักเอื้ออารีกัน ย่อมจะทำให้เกิดความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองตามมา

  ถ้าเราไม่มีน้ำใจต่อกัน ความรักใคร่ปรองดอง การให้อภัย ความอดทน ความเคารพซึ่งกันและกัน สิ่งที่กล่าวมานี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ก็จะทำไม่ได้ ถ้าเราไม่มีน้ำใจเราทำไม่ได้เลย นี่คือหัวใจ ถ้าเราไม่มีน้ำใจ เราเอื้อ เกื้อ กันไม่ได้

  คำว่า "น้ำใจ" หลักการก็คือมุฑิตา

    ๑) เขาไม่ได้ดีมา เสวยวิบากกรรมมา เกิดเหตุร้าย เราก็เห็นอกเห็นใจ

    ๒) เขาได้ดี ได้ยศตำแหน่ง โชคลาภ เราก็ไม่อิจฉา ยินดีกับเขา

    ๓) ถ้าเขาทำร้ายเรา เราต้องรู้จักให้อภัยเขา

  
๓. 忠 (จีนกลาง : ตง / จีนแต้จิ๋ว : ตง - zhōng; loyalty; devotion; fidelity) แปลว่า ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น จงรักภักดีต่อผู้มีพระคุณ (忠臣 ตงฉิน ภาษาแต๊จิ๋ว ข้าราชการผู้จงรักภักดี, อำมาตย์ซื่อสัตย์)

  ความซื่อสัตย์, จงรักภักดี, ตรงไปตรงมา อันสื่อถึงการวางหัวใจของตนนั้นให้เที่ยงตรงไม่โอนเอียง มีความยุติธรรมเป็นหลัก ไม่หักหลังทำสิ่งน่าละอายต่อตนเองและผู้อื่น ซื่อตรงต่อฟ้าดิน ต่อบ้านเมือง และบุคคลทั่วไป คือ มีความซื่อตรงทั้งต่อหน้าและลับหลัง

  เราภักดีต่อคุณงามความดี เราก็จะไม่หวั่นไหวง่าย คนเราถ้ามีความภักดีก็จะไม่หวั่นไหวง่าย

  หัวใจ ๕ นี้เป็นบทขยายจากภักดี

  ตรงข้ามกับจงรักภักดี คือ ทรยศ

  
๔. 信 (จีนกลาง : ซิ่น / จีนแต้จิ๋ว : สิ่ง - xìn ; faith; confidence; trust; believe) แปลว่า มีสัจจะต่อกันไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ หมายถึง ยกตัวอย่างลูกเสือจะถือ เสียชีพอย่าเสียสัตย์ เขารักษาความสัตย์ยิ่งกว่าชีวิต ความซื่อสัตย์นี้ทำให้คนเชื่อเรา ถ้าเราไม่มีสัจจะก็ไม่มีใครมาเชื่อเรา ตัวภักดี ตัวร่วมมือ คนจะมาเกื้อหนุนอะไรต่างหายหมด

  หลักการของสัจจะ คือ ทำตามคำพูด คำมั่นสัญญา

  สัจจะมี ๒ ขั้น คือ 

    ๑) เราจะต้องทำตาม ถึงขนาดสูงเลย คือ เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ยกตัวอย่าง แม้ว่าจะมีใครๆ เอาของดีๆ สิ่งดีๆ มาให้กับกวนอู เพื่อให้ไปสวามิภักดิ์ แต่กวนอูก็ไม่ทำตามเพราะว่ามีสัจจะต่อพระเจ้าเล่าปี้

  สัจจะกับภักดีแตกต่างกันตรงที่เป็นรูปธรรมหนึ่ง ตัวสัจจะคือคำมั่นสัญญา ภักดีเป็นรูป เป็นผลแล้ว สัจจะเป็นกิริยา  เพราะเรารักษาสัจจะก็จะไปในทางภักดี เช่น เราสัญญาว่าจะภักดีต่อเขา นี่เป็นสัจจะ พอเราทำตามที่สัญญาต่อเขา ผลก็คือภักดี

  ความมีสัจจะ, มีสัตย์ ซึ่งวาจาสัตย์นั้นถือว่าเป็นบรรทัดฐานแห่งมนุษยธรรมอันล้ำค่า ดังจะได้ยินจากภาพยนต์อยู่บ่อยว่า “กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ” อันจะนำมาซึ่ง ความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ ได้รับการสรรเสริญเยินยอ

  
๕. 礼 หรือ 禮 (จีนกลาง : หลี่ / จีนแต้จิ๋ว : โล่ย, ลี่ - lǐ; social custom; manners; courtesy) แปลว่า มีความเคารพซึ่งกันและกัน หมายถึง จริยธรรม, จารีตประเพณี, การให้ความเคารพ, มารยาท  คนเรานั้นประเสริฐกว่าสัตว์เดรัจฉานและคนเราจะได้รับการยกย่องก็ต่อเมื่อคนเรานั้นมีจริยธรรม มารยาทอันดีงาม รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน มีความสุภาพ สง่างาม มีสัมมาคารวะ เคารพในสิทธิของผู้อื่น

  ความเป็นมารยาทต่อกัน ให้เกียรติต่อกัน ถ้าไม่มีข้อนี้ก็จะไม่เคารพซึ่งกันและกัน ก็ยาก สังคมก็วุ่นวายสับสน ก็ไม่รู้ว่าใครใหญ่ใครเล็ก สับสน ทำให้ขาดระเบียบก็จะเกิดความไม่สันติ ก็จะเข่นฆ่ากัน เพราะไม่เคารพซึ่งกันและกัน ก็จะเกิดกลียุค ชนชาติใดไม่มีลี่บอย ชนชาตินั้นก็จะเกิดสงคราม กลียุคบ่อย ก็จะเกิดปฏิวัติประจำ มีการวัดแข้งวัดขากันประจำ เช่นครอบครัว ลูกไม่เคารพพ่อ พ่อไม่เคารพลูก ผัวไม่เคารพเมีย เมียไม่เคารพผัว ไม่เคารพซึ่งกันและกันก็ไม่ดี

  ถ้าเราดูหนังจีนจะพบว่า จะมีการไหว้ฟ้าดิน ไหว้พ่อแม่ และไหว้ซึ่งกันและกัน ต้องเคารพซึ่งกันและกัน

  ถ้าเราไม่เคารพตัวเองแล้วเราจะไปเชื่อตัวเองได้อย่างไร ถ้าเราบอกว่าเราทำดีแต่เราไม่ทำดีจะเชื่อถือได้อย่างไร

  อะไรที่ทำให้เรามั่นใจในตนเอง ก็คือ ผลและอุทธาหรณ์ เช่นผลก็คือเราทำตรงนี้แล้วเราได้

  
๖. 义 หรือ 義 (จีนกลาง : อี้ / จีนแต้จิ๋ว : หงี่ - yì ; right conduct; righteousness) แปลว่า มีความประจักษ์ในหน้าที่ ที่เราจะต้องกระทำ หมายความว่า ถ้าเราไม่ประจักษ์ในหน้าที่เราก็จะไม่ทำหน้าที่ ยกตัวอย่าง มีคนหนึ่งตกทุกข์ได้ยาก เรามีหงี่ก็คือ เรามีหน้าที่จะต้องเข้าไปช่วย (มากกว่าภารกิจ) (มากกว่าจิตสำนึก) จะเรียกว่าโดยสันดานก็ได้

  มโนธรรม, ความสันโดษมักน้อย, หลักธรรมนองคลองธรรม, สัจธรรม รัจักประจักษ์ในหน้าที่ที่จะต้องทำในธรรม ก็จะมีคุณธรรมในธรรมแล้วจะไปผิดได้อย่างไร มีคุณธรรมก็ไม่ผิดในธรรม

  หงี่นี้เป็นคำหนึ่งที่ทางจีนเขาถือมาก ถ้าเราแปลเป็นไทยว่า ธรรมะ คือ หน้าที่ แต่ถ้ามีหงี่ก็คือจะต้องกระทำความดี คือ มันประจักษ์เลยเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องทำ แต่ถ้าเราไม่เข้าใจในหน้าที่ของตนเองก็ใช้หงี่ไม่ได้

  
๗. 廉 (จีนกลาง : เหลียน / จีนแต้จิ๋ว : เนี้ยม - lián ; upright; honorable; honest) แปลว่า รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน อย่าไปยกตนข่มท่าน, สุจริตธรรม, มือสะอาด, ไม่คดโกง  ต้องเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายด้วยการกระทำความดี ทั้งในด้าน การงาน, การเงิน, รู้จักประหยัด รู้จักใช้ไม่สุรุ่ยสุร่าย

  หลักการอ่อนน้อมถ่อมตน ก็คือ ทำดีแล้วไม่ข่มคนอื่น ไม่อวดเกทับเขา เยาะเย้ย เย้ยหยัน มีเล่ห์เหลี่ยมไม่เอาหมด

  
๘. 耻 หรือ 恥 (จีนกลาง : ฉวื่อ / จีนแต้จิ๋ว : ชี่ - chǐ; shame; humiliation; ashamed) แปลว่า มีหิริโอตตัปปะ คือ ความละอายใจ ละอายต่อบาป ละอายต่อสิ่งที่ไม่ดี มีความเกรงกลัวต่อบาป ละอายและเกรงตัวต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่มียางอายละอายต่อความชั่ว อีกทั้งคุณธรรมข้อนี้ยังสอนให้รู้จักอดทนอดกลั้นต่อคำสบประมาทหรือเหยียดหยาม โดยก่อนจะโกรธหรือเกลียดใครให้ชั่งใจก่อนว่าสิ่งที่เขากล่าวมานั้น เราได้ทำดีหรือทำผิดไปหรือไม่ ถ้าทำดีแล้วก็ปล่อยวาง แต่ถ้าเราทำไม่ดีอย่างที่เขาว่าก็ควรปรับปรุงตัว

  นอกจากคุณธรรมทั้ง ๘ ประการของขงจื้อนี้แล้ว ชาวจีนบางท่านได้มีการนำคำอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายกันแทนคุณธรรมข้อ 悌 กับ 信 เป็นการเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ

  
๙. 仁 (จีนกลาง : เหยิน / จีนแต้จิ๋ว : ยิ้ง) แปลว่า เมตตาปราณี, เมตตาการุณย์, มีสัจจะ, มีศีลธรรม, มีธรรมประจำใจ หรือ คุณธรรมของบัณฑิต เพราะความเมตตาปราณีนั้นจะนำมาซึ่งมิตรที่ดี

  ข้อนี้เป็นการวมเมตตา กรุณา และมุฑิตา ของพรหมวิหาร ๔ เลย

  
๑๐. 爱 หรือ 愛 (จีนกลาง : ไอ้ / จีนแต้จิ๋ว : ไอ่) แปลว่า รัก ปรารถนาดี มุฑิตา รักด้วยความจริงใจ, ชอบในสิ่งที่ควร, หวงแหน, สิ่งที่ตนนิยม อันแสดงถึง ความรักที่เป็นสาธารณะ หรือ ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ถูกต้อง

  ทางประเทศไทย ในศาสนาพุทธจะถือเบญจศีล ๕ แต่ทางจีนจะถือคุณธรรม ๘ ประการ ซึ่งเป็นธรรม แต่ไม่ใช่ศีล ส่วนศีล ๕ เข้าใจง่าย แต่ทำได้ยาก เพราะกว้างเกินไป เช่น ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา ห้ามฆ่าสัตว์ ในคุณธรรม ๘ ประการ ไม่มีเอ่ยถึงเลยว่าห้ามฆ่าสัตว์ แม้แต่บอกว่าให้มีเมตตาก็ไม่มี แต่มีหงี่ (義) คือ สิ่งที่ควรทำต้องทำ เช่น บางคนทำงานในสถานที่โรงฆ่าสัตว์ เขาก็จะต้องฆ่าสัตว์ เขาฆ่าสัตว์เขาก็มีหงี่ แสดงว่าเขาตรงต่อหน้าที่

^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต












 



Create Date : 23 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2562 19:49:55 น.
Counter : 5460 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
พฤศจิกายน 2562

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30