มหาพิจารณากรรม (เจาะลึก) #อ_พรหมสิทธิ์_ทิพย์ธาดาวงศ์
มหาพิจารณากรรม (เจาะลึก) #อ_พรหมสิทธิ์_ทิพย์ธาดาวงศ์

การเกิดของกรรมต่างๆ ไปทำบุญ ช่วยเหลือคนตกน้ำ ตักน้ำให้ดื่ม กราบตักแม่ ไหว้พระ หรือฆ่าคนตาย ทำแท้ง แกล้งเขา ชกต่อยกัน ฯลฯ ทั้งสัมมา (ถูกต้อง) และมิจฉา (ไม่ถูกต้อง) หรือเป็นกลางๆ เกิดจากกรรมทั้งสิ้น ในการวิเคราะห์กรรมว่าเกิดจากสาเหตุใดนั้น มีวิธีเคราะห์กรรม ดังนี้

๑. ปฐมเหตุ หรือมูลฐานเหตุ คือ ธรรม และกรรมต่างๆ ที่อยู่ในธรรม เช่น ความรัก โลภ โกรธ หลง สมาธิ ภาวนา คุณธรรม ตบะ ฯลฯ เราไม่สามารถจะไปทำลาย ไปฆ่าได้ มีแต่เพียงรับมาจากธรรมหรือส่งคืนสู่ธรรม เท่านั้น

มูลฐานเหตุหรือปฐมเหตุ

คือ สิ่งต่างๆ ที่ดำรงเป็นเหตุอยู่

ปฐมเหตุก็จะมาเป็นตัวต้นเหตุนี้ของแต่ละกรรมนั้น แต่ละกรรมนั้นปัจจัยเหตุก็จะมาเสริมแต่ละกรรมนั้นจะแรงหรือเบา เป็นขั้นเป็นตอน

มูลฐานเหตุ ก็จะมาเป็นต้นเหตุของกรรมนั้นๆ เราต้องแยก

มูลฐานเหตุ อยู่ในธรรม เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหา อวิชชา พยาบาท ฯลฯ

มูลฐานเหตุจะลึกกว่าต้นเหตุอีก คือ
มูลฐานเหตุ ยังกระจายเป็นปัจจัย
แล้วมารวมกันถึงจะเป็นต้นเหตุ

เหมือนกับทรายแต่เม็ด เป็นปัจจัย แต่ปัจจัยมารวมกันกลายเป็นต้นเหตุ

ต้นเหตุคือซีเมนต์ ทำให้แข็ง

แต่มูลฐานเหตุเป็นปัจจัย เช่น น้ำ ผงปูน ก้อนหิน เม็ดทราย ซึ่งมูลฐานเหตุ ลึกกว่าต้นเหตุ

ต้นเหตุจะรวมโครงออกมาเป็นรูปแล้ว

๒. ต้นเหตุ หรือ เหตุของกรรมนั้นๆ เช่น น้ำเปล่าๆ ถ้าเราเอาเมล็ดกาแฟใส่เข้าไปในน้ำ น้ำนี้ก็จะกลายเป็นน้ำกาแฟ ถ้าเราใส่ใบชาลงไปในแก้ว ก็จะกลายเป็นน้ำชา ถ้าเราใส่มะนาวลงในน้ำ น้ำนี้ก็จะกลายเป็นน้ำมะนาว ฯลฯ

ต้นเหตุนี้เป็นกรรมแต่ละตัว แต่ละกรรม วาระกรรมนั้นๆ

ไม่ใช่นำมารวมกัน ต้องเป็นกรรมแต่ละข้อๆ

ต้นเหตุอยู่ในกรรมว่าเราทำอะไร กรรมตัวไหน นี่คือต้นเหตุของกรรมตัวไหน เช่น ไปฆ่าเขา เขาก็จะมีต้นของกรรมตัวนั้น แต่ฐานเหตุมีตลอด ทุกคนมีอยู่แล้วตรงฐานเหตุ

เช่น มีความโลภ มีอยู่ที่ฐานเหตุตัวนั้น กรรมตัวนี้เขามีความโลภ แล้วเขาไปขโมยของคนอื่น เขามีตัวต้นเหตุ คือ ไปขโมย แล้วทีนี้มีปัจจัยเหตุมาร่วมละ แรงหรือไม่แรง ไปขโมยอะไรมา เช่น ขโมยล๊อตเตอรี่ ๕ ใบ กับไปขโมยใบหุ้น นี่แหละมีความต่างกัน นี่แหละปัจจัยเหตุ มาร่วมทำให้เหตุตรงนี้มันแรงขึ้นหรือเบาลง

ตัวอย่าง น้ำแก้วหนึ่ง ทั้งหมดเป็นน้ำ นี่คือมูลฐานเหตุ

ต้นของเหตุก็จะเป็นน้ำชา
มูลฐานเหตุมาจากในธรรม
น้ำนั้นมีอยู่แล้ว มีอยู่ในธรรม
นี่คือต้นเหตุของกรรมที่จะเกิดน้ำชา

พอเอาน้ำใส่แก้วถ้วยนี้ แก้วถ้วยนี้ก็จะกลายเป็นน้ำชา ต้นเหตุคือเป็นน้ำชาแล้ว ต่อไปขึ้นอยู่กับปัจจัยเหตุ

ปัจจัยเหตุจะใส่ชาให้แก่จนขม หรืออ่อน จะแก่หรืออ่อน หรือจะชาอู่หลง หรือว่าชาเขียว นี่แหละเป็นปัจจัยเหตุ

ถ้าเป็นชาอู่หลงก็จะขม แต่ถ้าเป็นชาเขียวก็จะขมอ่อนๆ ถ้าเป็นชามะลิก็จะหอม นี่แหละเป็นปัจจัยเหตุมาร่วม เป็นขั้นที่ ๓

๓. ปัจจัยเหตุ ที่จะมาร่วมกับกรรมนั้นๆ ว่า
จะแรงขึ้นหรือว่าอ่อนลง เบาลง
ขึ้นอยู่ว่าจะไปทางไหน
จะไปทางบวก (+) หรือลบ (-)

ยกตัวอย่าง ปฐมเหตุ คือ ตัวเรามีความโลภ แล้วเราเอาความโลภนี้มาใส่ในจิตของเรา แล้วเราไปขโมยของเขาก็จะกลายเป็นกรรมลักขโมย คือ ต้นเหตุแล้ว สมมติว่า เราไปขโมยของเขา กลายเป็นกรรมขโมยแล้ว ต่อไปก็จะมีปัจจัยเหตุร่วมแล้ว คือ สิ่งที่ขโมยนั้นเป็นคัมภีร์หรือเปล่า ถ้าเป็นคัมภีร์ก็จะมีโทษหนัก แต่ถ้าเป็นกระดาษเฉยๆ ก็รับโทษเบา

ถ้าเราฆ่าสัตว์ด้วยความทรมาน ก็จะได้รับโทษที่หนักขึ้น แต่ถ้าเราฆ่าด้วยอุบัติเหตุ หรือฆ่าด้วยความไม่ตั้งใจ โทษก็จะเบาลง นี่แหละเป็นปัจจัยเหตุ

ยกตัวอย่าง ปัจจัยเหตุตัวที่เป็นมูลฐานเหตุ หรือปฐมเหตุ ก็จะออกมาเป็นตัวปัจจัย เพราะเมื่อมารวมกันจะกลายเป็นปัจจัยเหตุ แต่ถ้าเขาดำรงเดี่ยวๆ นั่นแหละคือต้นเหตุ ต้นตอ เช่น เราดำรงกิเลสตัวอยากไว้ ความอยาก เป็นปฐมเหตุ หรือมูลฐานเหตุ

ต้นตอเหตุ หรือปัจจัยเหตุ

ก็คือ เห็นเขาแล้วอยากเอาไปหยิบล่ะ นี่แหละเป็นปัจจัยเหตุ เพราะว่าต้นเหตุมาจากตัวอยาก (ตัณหา) ต้นตัวอยากก็คือมูลฐานเหตุ ถ้าไม่มีมูลฐานเหตุเราก็ไม่รู้ว่าจะไปหยิบทำไม ถ้าเราไม่มีมูลฐานเหตุแล้วเราจะโลภหรือไม่ เราก็จะไม่โลภ

มูลฐานเหตุอยู่ก่อนต้นเหตุ ถ้าเรารวมกัน ๒-๓ อย่างก็จะกลายเป็นต้นเหตุ

ปัจจัยเหตุร่วมให้เกิด ก็จะเป็นต้นเหตุ จะเป็นต้นเหตุแห่งกรรมนั้นๆ

ถ้าไม่มีมูลฐานเหตุ ต้นเหตุเกิดไม่ได้ มูลฐานเหตุ คือ อวิชชา ตัณหา

มูลฐานเหตุ ยังไม่ทำอะไรสักอย่าง ดำรงอยู่เฉยๆ ว่าสามารถทำได้ เป็นพลังที่จะไปทำได้ เมื่อไหร่เราเอาออกมาใช้ก็กลายเป็นนี่เลย

มูลฐานเหตุ เราขจัดไม่ได้ แต่เราควบคุมได้ มันเป็นเรื่องของธรรมแล้ว เราจะไปฆ่ากิเลสไม่ได้ คนไปเข้าใจผิด เราถึงมูลฐานเหตุดึงลงมาต่ำเกินไปแล้ว ว่าเราสามารถไปเข่นฆ่า ไปเหนือกว่า ซึ่งเป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ อันนี้เป็นของธรรม เพียงแต่ว่าเราจะนำเอาไปใช้ยังไง เอาไปบวกกับอะไร

สมมติว่าเรามีตัณหา แล้วเอาสัมมา ไปบวกกับตัณหา เป็นสัมมาตัณหา เราอยากทำดีแล้วมันผิดตรงไหน ถ้าเราอยากไปขโมยของคนอื่นเขา นี่แหละผิดแน่นอน คือเป็นมิจฉา แต่ถ้าเราอยากไปช่วยเขามันผิดตรงไหน

ขึ้นอยู่กับว่าเราเอาอะไรไปบวก มูลฐานเหตุ ดำรงอยู่เป็นกลางๆ แต่มันดำรงอยู่ว่าจะเกิดได้ แต่เราเอาอะไรไปบวก นี่แหละเป็นต้นเหตุ ที่จะเกิดกรรม

สมมติว่าเราเอามารวมกัน ๒ อย่าง คือ เอามูลฐานเหตุ กับปัจจัยเหตุ เราเอาไปทำดี กรรมนั้นเราไปช่วยเด็กคนหนึ่ง ไม่ให้ตกน้ำ เป็นสิ่งที่ดี แล้วมันผิดตรงไหน แต่ถ้าเราเป็นมิจฉา อยากได้ไปขโมยของเขา ผิดแน่นอน ชัดเจนหรือไม่

ถ้าปัจจัยตรง คือ เห็นชัดๆ เช่น เราหิว อยากได้ข้าวกิน อันนี้ตรงๆ เวลานี้ฉันไม่หิว แต่ฉันเผื่อว่ามื้อหน้าฉันหิว เราจะเอาเก็บไว้มั้ย? กลายเป็นปัจจัยเอื้อหรือร่วมแล้ว ตอนนี้ฉันไม่หิว แต่เดี๋ยวอีก ๓ ชั่วโมงฉันจะหิว ฉันต้องขโมยไว้ก่อน นี่แหละเป็นเป็นโลภะมิจฉา

ปัจจัยร่วมคือ เก็บไว้เผื่อหิว ไม่ใช่ตรง ถ้าเป็นปัจจัยตรง เวลานั้นหิว ต้องหามากินบรรเทาความหิว

สมมติว่า ตอนนี้เราขโมยของ ที่จริงตอนนี้เราอิ่ม แต่เราขโมยไว้ให้ลูก ลูกเป็นปัจจัยร่วม ไม่ใช่ปัจจัยตรง เป็นปัจจัยร่วมที่เราจะขโมยมาให้เขา

ถ้าเราจะแก้ไขกรรมตรงนี้ เราจะต้องทำอย่างไร เราต้องมีวิชชา คือ เราต้องไปทำงาน

ปัจจัยเหตุร่วม จะทำให้เหตุแรงขึ้นหรือเบาลง มาร่วมส่งเสริมให้หนักขึ้นหรือเบาลง

๓.๑ เหตุปัจจัยบุญกุศล เป็นปัจจัยเหตุร่วม

ถ้าเรามีกุศลบางตัว ก็จะทำให้เราจะทำไม่ดีอ่อนลง

เช่น ถ้าเรามีบุญกุศล เราก็จะคิดแล้วว่า การขโมยเป็นบาป เป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็จะทำให้อยากขโมยของนี้อ่อนลง

ถ้าหากว่ากุศลแรง ก็จะทำให้เราหยุดคิดนี้ได้เลย

แต่ถ้าเรามีมิจฉาส่งเสริม เช่น เรามีสิทธิ์นี่ เราต้องกิน เราหิว ก็จะส่งเสริมให้แรงขึ้น

๓.๒ กรรมบีบคั้น ความจำเป็น เป็นปัจจัยเหตุร่วม คือ ก็จะเพิ่มขึ้น อย่างเช่น เวลานี้ลูกฉันหิวจัด ลูกฉันจะตายแล้ว ก็จะบีบคั้นให้ทำ

เช่นเวลานี้ไฟไหม้ บีบคั้นความรุนแรงก็จะขึ้น

ข้อ ๓.๑-๓.๒ จะเป็นตัวเพิ่ม เพิ่มดีกรี หรือลดดีกรีลง ถ้าเรามีตัวบีบคั้นก็จะหนักขึ้น แต่ถ้ามีตัวกุศลมาก็จะเบาลง

เช่น เราขโมยของเขาแล้วเราไม่จำเป็นต้นฆ่าเจ้าของร้านก็ได้ แต่ถ้าโดนบีบคั้น ฉันขโมยแล้วก็ต้องฆ่าเจ้าของร้าน เดี๋ยวมันจะไปบอกคนอื่น

เช่น ไปข่มขืนเขา กลัวคนอื่นเขาจะรู้ กลายเป็นบีบคั้น เลยต้องฆ่า

ถ้าเขาไปข่มขืนเขาแล้ว เขามีกุศล คิดถึงลูก คิดถึงคนอื่น กลายเป็นว่าจะไม่ไปทำร้ายเพิ่มเติมเขา บางทีรีบพาเขาไปหาหมอ

หลายคนที่ไปข่มขืนแล้วต้องฆ่า
ทั้งๆ เขาไม่ได้ต่อสู้อะไร เพราะว่ากลัว











Create Date : 06 มีนาคม 2565
Last Update : 6 มีนาคม 2565 21:02:12 น.
Counter : 912 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณนายแว่นขยันเที่ยว

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
มีนาคม 2565

 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog