|
 |
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | |
|
|
 |
3 กุมภาพันธ์ 2568
|
|
|
|
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (จบ)
มโหสถชาดก ภาพที่ 9 แสดงตอนพระเจ้าจุลนีพรมทัตทรงยกกองทัพมาล้อมพระราชวัง ที่มโหสถสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้าวิเทหราช อยู่บริเวณรักแร้ของประตูทางเข้า ฝั่งซ้ายมือพระประธาน ผมไม่มีภาพนี้

ภาพที่ 10 ภาพเริ่มจากมุมบนซ้าย แสดงตอนพระเจ้าจุลนีพรมทัตยกทัพ ออกไปนอกเมืองเพื่อเดินทางไปล้อมวังของพระเจ้าวิเทหราช ภาพตรงกลาง มโหสถรู้ทันจึงให้ทหารของตนไปลักตัวพระมารดา พระมเหสี พระโอรสและพระธิดาของพระเจ้าจุลนีพรมทัต มาทางอุโมงค์ที่มโหสถได้เตรียมไว้

ภาพที่ 11 ภาพเริ่มจากตอนบนขวา แสดงตอนพระเจ้าจุลนีพรหมทัต ยกกองทัพมาล้อมพระราชวังไว้ ตรงกลางเป็นฉากการสู้รบ ภาพตอนล่างขวา มโหสถได้นำพระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปยังอุโมงค์ที่ขุดไว้ แล้วส่งกลับเมืองวิเทหราชทางชลมารค
สิ่งที่น่าสนใจ คือปรากฏภาพเรือพระราชพิธี มีเรืออเนกชาตภุชงค์ และเรือประภัสสรชัย แต่ไม่ปรากฏภาพเรืออนันตนาคราช ภาพตอนล่างซ้าย มโหสถไปพบพระเจ้าจุลนีพรหมทัตนำเหล่าพระราชา ลงมาชมอุโมงค์ จากนั้นมโหสถชักดาบออกมา แล้วทำสัญญาไม่ประทุษร้าย ซึ่งกันและกัน
เนื่องจากพระอุโบสถที่มีความยาว แต่ละชาติจึงเขียนได้ถึง 2 ภาพใหญ่ ภาพมโหสถของวัดอรุณ จึงมีหนึ่งในตอนที่ไม่ปรากฏในสถานที่อื่น นั่นคือฉากชักรอกเตี้ยค่อม ดังปรากฏในภาพหมายเลข 10
หากย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 3 เราอาจจะเคยได้ยินตำนาน เรื่องครูทองอยู่เขียนภาพเนมิราช และครูคงแป๊ะเขียนภาพมโหสถ ทั้งสองต่างเป็นบรมครู ที่ได้ท้าประชันการเขียนภาพกัน โดยมีการกั้นผ้าระหว่างห้อง เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายได้มองเห็น ดังปรากฏในซีรีย์ บุษบาลุยไฟของ Thai PBS

แต่ที่วัดอรุณนี้เรื่องราวกับแตกต่างกันออกไป ด้วยเป็นวัดหลวง จึงน่าจะมีช่างระดับครู ช่วยกันทำงานอยู่หลายคน นอกจากนี้บางชาติที่สำคัญ ก็มีภาพให้เขียนถึง 2 ห้อง ที่วัดนี้ครูทั้งสองท่านจึงได้เขียนภาพเรื่องเดียวกันคือ มโหสถ ครูคงแป๊ะเขียนฉากชักรอกเตี้ยค่อม ครูทองอยู่เขียนฉากอุโมงค์ แต่อย่างที่กล่าว ฝีมือของครูช่างทั้งสองได้ถูกไฟไหม้ไปเสียแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นก็เป็นช่วงเวลาที่พ้นจากศิลปะแบบไทยประเพณีไปแล้ว แต่พระองค์ก็ทรงฯ ตัดสินใจที่จะให้ช่างเขียนภาพใหม่โดยให้เลียนแบบของเดิม เตี้ยหมายความถึงคนแคระ เป็นประเพณีที่กษัตริย์จะมีคนแคระเป็นคนรับใช้ ความเชื่อนั้นไม่แน่ชัด บ้างก็เชื่อว่าเป็นการแสดงความเมตตา ที่จะชุบเลี้ยงคนที่ผิดปรกตินี้ไว้ บ้างก็เชื่อว่าเพราะคนแคระนั้นเป็นของแปลก อาจจะเป็นการเลี้ยงไว้เพื่อความสุขสำราญประดับพระราชวังก็ได้
ความเชื่อนี้เรื่องนี้ในอินเดียได้ส่งผ่านต่อไปยังลังกา และไทยรับต่อมาในดังปรากฏภาพคนแคระถือปืนในคุ้มเจ้านายฝ่ายเหนือ ในอีกมุมหนึ่งคนแคระก็สัญลักษณ์ของโชคลาภและการได้รับทรัพย์สินภาพ ดังปรากฏปูนปั้นรูปคนแคระแบกฐานเจดีย์ มาตั้งแต่สมัยทวารวดี

ภูริทัตชาดก
ภาพที่ 12 ภาพตอนบนแสดงตอนพญาครุฑถวายถวายมนต์อาลัมพายน์ให้กับฤาษี ภาพตอนกลาง ฤาษีได้มอบมนต์นี้แก่พราหมณ์อาลัมพายน์ เพราะเนสารทพราหมณ์ต้องการแก้วมณีที่พราหมณ์อาลัมพายน์เก็บได้ จึงบอกที่อยู่ของพระภูริทัตแก่พราหมณ์อาลัมพายน์
ภาพตอนกลางขวา เมื่อพระภูริทัตขึ้นมาถือศีลที่จอมปลวกใต้ต้นไม้ จึงถูกพราหมณ์อาลัมพายน์จับไป

จันทกุมารชาดก
ภาพที่ 13 ภาพเริ่มจากตอนกลาง พระเจ้าเอกราชทรงหลงเชื่อคำยุยง ของกัณฑหาลพราหมณ์ได้ทำการบูชาพระมเหสี พระธิดา พระจันทกุมาร และม้าโคอย่างละ 4 ภาพตอนบนซ้าย แสดงตอนพระนางจันทเทวี ตั้งสัตยาฐิฐาน พระอินทร์จึงเสด็จลงมาทำลายพิธี ราษฏรจึงรุมประชาทัณฑ์กัณฑหาลพราหมณ์จนถึงแก่ชีวิต เช่นเดียวกับพระเตมีย์ที่อยู่ฝั่งขวา ที่ฝั่งซ้ายนี้ก็มีอีก 2 ภาพของวิฑูรชาดก ที่คนทั่วไปเข้าถึงไม่ได้ เป็นภาพใหญ่ 1 ภาพ และเป็นมุมรักแร้อีก 1 ภาพ ส่วนเวสสันดรชาดกนั้นถูกขยายเป็นภาพใหญ่ อยู่เหนือหน้าต่างทิศใต้ โดยผนังฝั่งตรงข้ามเขียนพุทธประวัติ หลังพระประธานเขียนตอน พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
และนั่นก็คือเรื่องราวของจิตรกรรมฝาผนังในวัด ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติไปเยือนเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ครั้งหน่้าหากคุณไปที่นี่ ก็อย่าลืมเดินดูจิตรกรรมฝาผนังที่จัดว่ายังงามอยู่มาก หากจะนับอายุที่อยู่ในราวรัชกาลที่ 5 นี้นี่เอง
Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2568 |
|
4 comments |
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2568 14:33:21 น. |
Counter : 377 Pageviews. |
 |
|
|
| |
โดย: หอมกร 3 กุมภาพันธ์ 2568 12:04:51 น. |
|
|
|
| |
โดย: หอมกร 4 กุมภาพันธ์ 2568 6:22:26 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|