Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
31 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

--- ทิศทางตลาดหุ้นไทย...ยังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัย ---

. . .

ทิศทางตลาดหุ้นไทย...ยังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัย

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

โดยปกติแล้ว ตลาดหุ้นไทยได้รับอิทธิพลมาจากหลายปัจจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการปรับตัวของตลาดหุ้นในภูมิภาคด้วย แต่ในระยะหลังแนวโน้มเริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยหากพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยกับตลาดหุ้นที่สำคัญ เช่น ดัชนี DJIA ของสหรัฐฯ ดัชนี NIKKEI ของญี่ปุ่นดัชนี HSKI ของฮ่องกง ดัชนีเซียงไฮ้ของจีน และดัชนี TWII ของไต้หวัน นับตั้งแต่ต้นปี 2550 ที่ผ่านมา จะพบว่าดัชนี SET เริ่มแกว่งตัวไปในทิศทางที่ไม่สอดคล้องกับภูมิภาคชัดเจนขึ้นในช่วงปลายเดือน มี.ค. 51 และตั้งแต่กลางเดือน ก.ค. 51 เป็นต้นมา


ทั้งนี้ การปรับตัวของตลาดหุ้นไทยอาจได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้


 ความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหุ้นไทยกับภูมิภาคเริ่มลดลงในระยะหลัง โดยความสัมพันธ์ทางสถิติ (Correlations) ของการเคลื่อนไหวระหว่างดัชนีหุ้นไทยกับตลาดหุ้นภูมิภาคหลายตลาดตั้งแต่ช่วงต้นเดือนก.ค.ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบว่ามีค่าเป็นลบ ซึ่งหมายถึง การเคลื่อนไหวไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากในช่วง 3 ปีก่อนและครึ่งแรกของปีนี้ ที่การเคลื่อนไหวจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันค่อนข้างมาก ทั้งนี้ คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายในประเทศมากขึ้น ทั้งจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะคดีทางการเมืองต่างๆ และการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังรวมถึงการชะลอตัวลงของภาวะเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพ.ค.ที่เร่งตัวขึ้นเกินคาดสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ที่ร้อยละ 7.6 จากร้อยละ 6.2 ในเดือนเม.ย. โดยล่าสุดพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ร้อยละ 9.2 ในเดือนก.ค. ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าจะยังสะท้อนความอ่อนแอจากปัญหาซับไพร์มอยู่ แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับยุโรปและญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ อาจทำให้มีเงินทุนบางส่วนไหลออกจากตลาดหุ้นไทยไปลงทุนในทรัพย์สินสกุลเงินดอลลาร์ฯ มากขึ้น และทำให้ตลาดหุ้นไทยเริ่มไม่ไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาคมากเหมือนแต่ก่อน


 ข้อมูลในอดีตชี้ว่าปัจจัยการเมืองมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทย แต่จำกัดเพียงระยะสั้นๆ หลังจากนั้น การปรับตัวของตลาดเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2535 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ตลาดหุ้นตอบรับทางลบ โดยดัชนีร่วงลงทันที 65.05 จุด หรือร้อยละ 8.88 จาก 732.89 จุด ในวันที่ 17 พ.ค. เหลือเพียง 667.84 จุด ในวันที่ 19 พ.ค. ก่อนจะดีดกลับ 61.30 จุดในอีก 2 วันถัดมา หลังจากนั้น ตลาดหุ้นก็ตกอยู่ในภาวะซบเซาโดยมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงจากไตรมาสแรกประมาณร้อยละ 50 ในไตรมาส 2 ก่อนที่ สถานการณ์จะคลี่คลายลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างชัดเจนในเดือนก.ย. ของปีนั้น ในทำนองเดียวกัน ในปี 2549 เหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. ทันทีที่ตลาดเปิดทำการในวันที่ 21 ก.ย. ดัชนีทรุดตัวลงทันที 9.99 จุด หรือร้อยละ 1.42 มาอยู่ที่ 692.57 จุด จากระดับปิดที่ 702.56 จุด ณ วันที่ 19 ก.ย. จากนั้น ดัชนีร่วงลงอีกกว่า 20 จุดในวันที่ 20 ก.ย. มาอยู่ที่ 681.84 จุด ก่อนจะค่อยๆ ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนต.ค. ซึ่งจะเห็นได้ว่าดัชนีลดลงน้อยกว่า และจบสิ้นกระบวนการปรับตัวเร็วกว่ากรณีเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ


ดังนั้น ปัจจัยการเมืองจะมีผลกับดัชนีหุ้นไทยมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาของเหตุการณ์ ขณะที่หลังจากจุดสูงสุดของปัญหาการเมืองผ่านพ้นไป นักลงทุนก็จะกลับมาให้น้ำหนักกับปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น เช่น ทิศทางเศรษฐกิจที่น่าจะได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นการลงทุนที่ดีขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดถัดๆ ไป เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าดัชนีเฉลี่ยในช่วงปีที่เกิดปัญหาทางการเมืองกลับสูงกว่าช่วงก่อนเกิดปัญหา ขณะที่เหตุการณ์ชุมนุมประท้วงรัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยล่าสุดวันที่ 26 ต.ค. ตลาดหุ้นตอบรับทางลบทันที โดยดัชนี SET ปรับลดลงร้อยละ 1.37 แต่ก็กลับฟื้นตัวขึ้นได้ในวันต่อมา เพราะข่าวถูกรับรู้ไปแล้ว และยังไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นจนถึงขณะนี้


 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น ยังเผชิญกับปัจจัยท้าทายอื่นๆ โดยนอกเหนือจากเรื่องการเมือง (ซึ่งนักลงทุนคงจะติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด โดยหากสามารถหาข้อสรุปได้เร็วและไม่ได้นำมาสู่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็น่าจะทำให้ผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยค่อนข้างจำกัด) แล้ว ก็ยังมีปัจจัยลบจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่อาจชะลอลงตามการชะลอตัวของการส่งออก อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ ที่อาจได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ขณะเดียวกัน การที่สถานการณ์ซับไพร์มยังมีแนวโน้มถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้สถาบันการเงินทั้งในสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ยังมีภาระการปรับลดมูลค่าทรัพย์สินทางบัญชี (write-down) เพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลให้สถาบันการเงินเหล่านั้นทยอยระบายการลงทุนในตลาดอื่นๆ ซึ่งรวมถึงไทย เพื่อนำเงินกลับไปชดเชยความเสียหายจากการปรับลดมูลค่าทรัพย์สินทางบัญชีดังกล่าว นอกจากนี้ แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนแต่ข้อมูลเศรษฐกิจที่ผ่านมาก็ชี้ถึงทิศทางเศรษฐกิจที่น่าจะดีกว่าประเทศหลักอื่นๆ ในโลก ดังนั้นจึงน่าจะทำให้นักลงทุนอาจทยอยโยกย้ายเงินลงทุนกลับสู่สินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ฯ ได้


แต่หากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวคลี่คลายลง ตลาดหุ้นไทยก็ยังน่าจะได้รับแรงหนุนจากความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามแรงกดดันเงินเฟ้อทั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของภาครัฐ และการตั้งงบฯ ขาดดุลในปีงบประมาณ 2552 มากขึ้น นอกจากนี้ หุ้นไทยยังมีราคาถูก (P/E ต่ำ) เมื่อเทียบกับภูมิภาค และอัตราเงินปันผลยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยเมื่อพิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้ว น่าจะหนุนให้ตลาดหุ้นไทยเป็นที่น่าสนใจในสายตาของนักลงทุน และน่าจะมีแรงซื้อเข้ามาในตลาดได้ในระยะถัดไป


โดยสรุป การปรับตัวของดัชนีหุ้นไทยมาจากหลายปัจจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการปรับตัวของตลาดหุ้นในภูมิภาคด้วย แต่ในระยะหลังตั้งแต่ช่วงเดือนก.ค. ที่ผ่านมา การปรับตัวของดัชนีหุ้นไทยไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเหมือนกับในช่วง 3 ปีก่อน ทั้งนี้ คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายในประเทศมากขึ้น ทั้งจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะคดีทางการเมืองต่างๆ และการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลง และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้จะประสบปัญหาซับไพร์มแต่ก็ยังอยู่ในฐานะที่ดีกว่าประเทศหลักอื่นๆ โดยเปรียบเทียบ ด้วยเหตุนี้ อาจทำให้มีเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นไทยไปสู่ตลาดสหรัฐฯ และทำให้ตลาดหุ้นไทยเริ่มไม่ไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาคมากเหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้ ในขณะเดียวกันข้อมูลในอดีตชี้ว่าปัจจัยการเมืองมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทย แต่จำกัดเพียงระยะสั้นๆ หลังจากนั้น การปรับตัวของตลาดเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ขณะที่ปัจจัยการเมืองจะมีผลกับดัชนีหุ้นไทยมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาของเหตุการณ์ โดยหลังจากจุดสูงสุดของความวิตกด้านการเมืองผ่านพ้นไป นักลงทุนก็จะกลับมาให้น้ำหนักกับปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น


อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่าแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น อาจยังเผชิญกับปัจจัยท้าทายหลายปัจจัย โดยนอกเหนือจากเรื่องการเมืองแล้ว ก็ยังมีเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอลง และการที่นักลงทุนต่างชาติอาจยังเคลื่อนย้ายเงินลงทุนออกจากตลาดหุ้นเกิดใหม่ และตลาดโภคภัณฑ์ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ น่าจะยังอยู่ในฐานะที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก และสถาบันการเงินสหรัฐฯ อาจต้องการเงินทุนเพื่อไปชดเชยการปรับลดมูลค่าทรัพย์สินทางบัญชีเพิ่มเติมตามความเสียหายจากปัญหาซับไพร์ม ซึ่งจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ต่างๆ ดังกล่าว โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกอาจส่งผลให้ยังคงมีแรงขายหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติอีกระยะหนึ่ง ท้ายที่สุดแล้ว บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยจึงได้ปรับลดเป้าหมายดัชนี ณ สิ้นปี 2551 ลงจาก 900 จุด เป็น 740 จุด

แต่ทั้งนี้หากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวคลี่คลายลง ตลาดหุ้นไทยก็ยังน่าจะได้รับแรงหนุนจากความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามแรงกดดันเงินเฟ้อ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของภาครัฐ รวมทั้งการตั้งงบประมาณขาดดุลในปีงบประมาณ 2552 มากขึ้น นอกจากนี้ หุ้นไทยยังมีราคาถูก (P/E ต่ำ) เมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค และอัตราเงินปันผล (Dividend Yield) ยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยเมื่อพิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้ว น่าจะหนุนให้ตลาดหุ้นไทยเป็นที่น่าสนใจในสายตาของนักลงทุน และน่าจะมีแรงซื้อเข้ามาในตลาดได้ในระยะถัดไป 

. . .


สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (1-5 กันยายน 2551) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยและบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ เนื่องจากนักลงทุนอาจมีความระมัดระวังในการซื้อขายมากขึ้น ท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศ ขณะเดียวกัน นักลงทุนคงจะจับตาปัจจัยอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งได้แก่ การรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนส.ค.ของกระทรวงพาณิชย์ในวันจันทร์ รวมทั้ง การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของภาครัฐ ส่วนปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ทิศทางของราคาน้ำมันในตลาดโลก และการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ อาทิ ดัชนี ISM ภาคการผลิตและภาคบริการ และตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ เดือนสิงหาคม ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 673 และ 660 จุด และแนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 695 และ 706 ตามลำดับ


สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท
ในสัปดาห์นี้ (1-5 กันยายน 2551) คงจะมีการทยอยไหลกลับเข้ามาของสภาพคล่องหลังจากการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน ขณะเดียวกันก็จะมีการตัดจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำงวดครึ่งปี 2551 ในช่วงต้นสัปดาห์ด้วย ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นน่าจะยังทรงตัวต่อเนื่องใกล้ระดับ 3.75% จากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ภายใต้ภาวะสภาพคล่องในตลาดเงินที่น่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

ส่วนเงินบาทในประเทศอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 34.00-34.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ สถานการณ์การเมืองในประเทศ สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพตลาดของธปท. แรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ของผู้นำเข้าและนักลงทุนต่างชาติ และทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค ตลอดจนทิศทางค่าเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งจะขึ้นกับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ดัชนี ISM ภาคการผลิตและภาคบริการ และตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ เดือนสิงหาคม ยอดสั่งซื้อของโรงงาน และรายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนกรกฎาคม รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตลอดจนข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วยในไตรมาส 2/2551 ทั้งนี้ ตลาดการเงินสหรัฐฯ จะปิดทำการในวันจันทร์ที่ 1 กันยายนนี้ เนื่องในวันแรงงาน


. . .




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2551
2 comments
Last Update : 31 สิงหาคม 2551 16:00:18 น.
Counter : 957 Pageviews.

 

. . .

The bottom 1.4 billion
Aug 28th 2008 | DELHI
From The Economist print edition


The world is poorer than we thought, the World Bank discovers


IN APRIL 2007 the World Bank announced that 986m people worldwide suffered from extreme poverty—the first time its count had dropped below 1 billion. On August 26th it had grim news to report. According to two of its leading researchers, Shaohua Chen and Martin Ravallion, the “developing world is poorer than we thought”. The number of poor was almost 1.4 billion in 2005.

This does not mean the plight of the poor had worsened—only that the plight is now better understood. The bank has improved its estimates of the cost of living around the world, thanks to a vast effort to compare the price of hundreds of products, from packaged rice to folding umbrellas, in 146 countries. In many poor countries the cost of living was steeper than previously thought, which meant more people fell short of the poverty line.



Ms Chen and Mr Ravallion have counted the world’s poor anew, using these freshly collected prices. They have also drawn a new poverty line. The bank used to count people who lived on less than “a dollar a day” (or $1.08 in 1993 prices, to be precise). This popular definition of poverty was first unveiled in the bank’s 1990 World Development Report and was later adopted by the United Nations (UN) when it resolved to cut poverty in half by 2015.

The researchers now prefer a yardstick more typical of the 15 poorest countries that have credible poverty lines. By this definition, people are poor if they cannot match the standard of living of someone living on $1.25 a day in America in 2005. Such people would be recognised as poor even in Nepal, Tajikistan and hard-pressed African countries such as Uganda. But for those who still think a “dollar a day” has a better ring to it, the authors also calculate the number of people living on less than that at 2005 prices (see table).

The discovery of another 400m poor people will not satisfy some of the bank’s critics, who think it still undercounts poverty. Its cost-of-living estimates are based on the prices faced by a “representative household”, whose consumption mirrors national spending. But the poor are not representative. In particular, they buy in smaller quantities—a cupful of rice, not a 10-kilogram bag; a single cigarette, not a packet. As a result, the “poor pay more”.

Such concerns prompted the Asian Development Bank (ADB) to carry out its own study of the prices faced by the poor in 16 of its member countries (not including China). Its results, released on August 27th, found that in nine of those countries the poor in fact pay less. Even though they buy in smaller quantities, they save money by buying cut-price goods from cheaper outlets: kerbside haircuts not salons; open-air stalls not supermarkets; toddy not wine.

This penny-pinching adds up. In Indonesia, for example, the poor’s cost of living is 21% below the World Bank’s estimate. The survey also shaved more than 10% off the cost of living in other populous countries, such as Bangladesh and India. The difference was narrower in smaller countries, such as Cambodia. This may be because in big countries, such as India, the rich are large in number, though a tiny part of the population. Perhaps their spending has an undue influence on the prices faced by the representative household.

The ADB’s findings face an obvious philosophical objection. In theory a poverty count is supposed to calculate how many people fail to meet a certain standard of living. A person eating coarse rice, not fine-grained basmati, dressed in polyester not cotton, has a lower standard of living, even if he eats the same amount of grain and owns the same number of shirts. And when a household buys fruit in a supermarket, its members are buying more than just an apple. They are also enjoying the comfort of air-conditioning, the convenience of a parking space, and the hygiene of airtight packaging. But until such comforts are within the poor’s reach, the ADB is right to track the prices the poor actually pay. It hopes the next global price survey, due in 2011 and led by the World Bank, will do the same. Then, perhaps, the number of poor will be back to nine digits.

. . .

 

โดย: loykratong 31 สิงหาคม 2551 16:10:37 น.  

 

. . .

ขึ้นค่าทางด่วน มีผลวันที่ 1 ก.ย.


ในวันที่ 1 กันยายนนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะปรับขึ้นค่าผ่านทางทางด่วน 1 และ 2 ตามสัญญาสัมปทาน ระหว่าง กทพ. กับบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด ซึ่งกำหนดให้มีการพิจารณาปรับค่าผ่านทางทุกๆ 5 ปี

สำหรับอัตราค่าผ่านทางทางด่วน 1 และ 2 ใหม่ มีดังนี้ ทางด่วนขั้นที่ 1, ทาง ด่วนขั้นที่ 2 โครงข่ายในเมือง รถ 4 ล้อ เก็บ 45 บาท จากเดิม 40 บาท รถ 6-10 ล้อ เก็บ 70 บาท จากเดิม 60 บาท และรถมากกว่า 10 ล้อ เก็บ 100 บาท จากเดิม 85 บาท

ส่วนทางด่วนขั้นที่ 2 โครงข่ายนอกเมือง ช่วงประชาชื่น งามวงศ์วาน แจ้งวัฒนะ ปรับเฉพาะรถมากกว่า 10 ล้อ จากเดิม 30 เป็น 35 บาท ขณะที่โครงข่ายนอกเมือง ช่วงพระราม 9 รามคำแหง ศรีนครินทร์ ปรับเฉพาะรถ 6-10 ล้อ และมากกว่า 10 ล้อ จากเดิม 45-60 บาท เป็น 50-70 บาทตามลำดับ

นอกจากนี้ กทพ.จะปรับขึ้นค่าผ่านทางด่วนสายบูรพาวิถี หรือบางนา-ชลบุรี และทางด่วนอุดรรัถยา หรือบางปะอิน-ปากเกร็ดด้วย

โดยทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี รถ 4 ล้อ คิด 20 กม. แรก 20 บาท (เดิม 20 บาท) กม.ต่อไปคิด กม.ละ 1.20 บาท (เดิม กม.ละ 1.00 บาท) หากใช้ตลอดสาย 55 กม. จะเก็บค่าผ่านทางรวม 65 บาท จากเดิม 55 บาท ส่วนรถ 6-10 ล้อ หากใช้ตลอดสายเก็บ 130 บาท และรถมากกว่า 10 ล้อ เก็บ 200 บาท มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ก.ย.นี้

ส่วนทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด จะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 พ.ย. 2551

ผู้ใช้ทางพิเศษสามารถสอบถามอัตราคาผ่านทางใหม่ได้ ที่ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (EXAT Call Center) โทร 1543 ตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ รถร่วมบริการ ขสมก. จะขึ้นค่าโดยสารตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้ยกคำร้องของนายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ผู้คัดค้านการขึ้นราคาค่าโดยสาร โดยอัตราค่าโดยสารใหม่ที่มีการปรับขึ้น รถร้อน จาก 8.50 บาท เป็น 10 บาท ส่วนรถปรับอากาศปรับขึ้นระยะละ 1 บาท

ในส่วนของรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.นั้น ยังไม่ปรับขึ้นราคาจาก 7 บาท เนื่องจากต้องรอการประชุมคณะกรรมการขนส่งทางบกกลางพิจารณาว่าจะปรับขึ้นค่าโดยสารหรือไม่ หลังรับทราบคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

. . .



ปลัดพาณิชย์มั่นใจ เงินเฟ้อเดือน ส.ค. ลดลง


ปลัดกระทรวงพาณิชย์ มั่นใจเงินเฟ้อเดือน ส.ค.ที่จะประกาศวันที่ 1 ก.ย.นี้ ปรับลดลงแน่นอน เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับลดลง ผลจาก 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติฯ และการขอความร่วมมือผู้ผลิตไม่ให้ปรับขึ้นราคาสินค้า

นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมที่จะประกาศในวันนี้ (1 ก.ย.) จะปรับลดลงแน่นอน หลังจากที่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เงินเฟ้อขึ้นไปถึงร้อยละ 9.2 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 10 ปี

สาเหตุที่เงินเฟ้อเดือนสิงหาคมจะปรับลดลง เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่ปรับลดลง จากระดับ 147 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ประมาณ 110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ราคาขายปลีกในประเทศปรับลดลงตามไปด้วย

ประกอบกับผลจาก 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน รวมทั้งการที่กระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือผู้ผลิตไม่ให้มีการปรับขึ้นราคาสินค้า จึงช่วยบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพ

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังต้องติดตามอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดต่อไป โดยอาจจะต้องมีการทบทวนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ใหม่ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ที่ร้อยละ 5.0-5.5 หรือไม่ โดยจะขอรอดูตัวเลขราคาน้ำมัน ค่าเงินบาทก่อน ว่าจะเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด จากที่กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งสมมุติฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 105 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

นายศิริพล กล่าวว่า ทางกรมการค้าภายในได้จัดทำแนวทางกำกับดูแลราคาสินค้า ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันดีเซล และอัตราเงินเฟ้อ พบว่าขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับ 34 - 37 บาทต่อลิตร และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงถึงร้อยละ 7 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ต้องเข้มงวดดูแลเรื่องการปรับขึ้นราคาสินค้า

ขอความร่วมมือผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าให้นานที่สุด และเสนอมาตรการลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ เพื่อแบ่งเบาภาระต้นทุนในการผลิตสินค้า

. . .



วันที่ 1 ก.ย.นี้ ผู้ประกอบการภาคเอกชน (กกร.) นัดประชุมถกปัญหาสถานการณ์ชุมนุมกระทบเศรษฐกิจ


นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ก.ย.นี้ ภาคเอกชน 3 สถาบัน ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), หอการค้าไทย, และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งรวมตัวกันในฐานะคณะกรรมการร่วมเอกชน (กกร.) นัดหารือถึงสถานการณ์การชุมนุมในขณะนี้ และเตรียมที่จะออกแถลงการณ์พร้อมข้อเสนอแนะต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ ภาคเอกชนมีความเป็นห่วงสถานการณ์การชุมนุม เพราะขณะนี้เริ่มลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่ และขยายวงกว้าง จึงจะหารือกับสมาชิกว่ามีกลุ่มอุตสาหกรรมใดบ้างได้รับผลกระทบอย่างไร

“ขณะนี้การชุมนุมเริ่มมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจบ้างแล้ว หากเหตุการณ์ยังไม่สงบในเวลาอันใกล้นี้ เศรษฐกิจไทยคงเกิดความเสียหายมากขึ้น ซึ่งตอนนี้รายได้จากการท่องเที่ยวหายไปมากแล้ว เอกชนอยากให้เหตุการณ์ยุติโดยเร็ว และไม่สบายใจกับเรื่องที่กำลังเกิดขึ้น”

นายสันติกล่าวว่า หากให้เลือกระหว่างยุบสภา กับนายกรัฐมนตรีลาออก เห็นว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกฯ น่าจะลาออก เพราะจะช่วยให้พันธมิตรฯ หยุดการชุมนุม แต่ถ้ายุบสภาต้องใช้เวลาเลือกตั้ง และรัฐบาลชุดเก่ายังรักษาการต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งคงไม่ช่วยยุติการชุมนุมได้

. . .



สหภาพฯ ขสมก.นัดถกด่วนวันนี้!! หลังนายกฯ ประณามนัดหยุดงาน


นายสนาน บุญงอก ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. เปิดเผยว่า วันนี้ (1 ก.ย.) จะมีการเรียกประชุมกรรมการ และผู้แทนประจำเขตการเดินรถ เพื่อหามาตรการในการขับเคลื่อน หลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาประณามสหภาพฯ ที่จะหยุดงานเพื่อเข้าร่วมกับพันธมิตรฯ เพื่อพิจารณาว่าจะขับเคลื่อนอย่างไรต่อไป

สำหรับการหยุดงานของสหภาพฯ ขสมก. จะกระทำก็ต่อเมื่อมั่นใจในระดับหนึ่งว่าได้รับชัยชนะ และไม่มีเหตุการณ์ที่ยืดเยื้อ

อนึ่ง สหภาพฯ ขสมก. ไม่พอใจการดำเนินงานของรัฐบาลในเรื่องการจ่ายเงินให้กับพนักงานในนโยบายการให้บริการรถฟรีกับประชาชน ซึ่งจ่ายเงินล่าช้าและไม่ตรงเวลา รวมทั้งนโยบายการปลดพนักงานบางส่วนจากการนำระบบ E-Ticket มาใช้กับรถเอ็นจีวี

. . .





 

โดย: loykratong 31 สิงหาคม 2551 18:51:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


loykratong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






ไม่มีอะไรขึ้นตลอด
ไม่มีอะไรลงตลอด
...ไม่มี the end of the world ...

Web Site Hit Counters

ราคาทองคำ
 

ราคาทองคำต่างประเทศ



Friends' blogs
[Add loykratong's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.