กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
เพชรพระมหามงกุฎ
แผ่นดินทอง
รัตนโกสินทร์ ๒๒๕ ยินดีต้อนรับ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระราชสกุล
เที่ยวเมืองพระร่วง
ตำนานวังหน้า
ความ-ทรงจำ ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
อธิบายเรื่องธงไทย
ตำนานภาษีอากร
บันทึกรับสั่งสมเด็จฯ
สารคดีที่น่ารู้ - ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
พระจอมเกล้าพระจอมปราชญ์
เทศาภิบาล
สิมอีสาน
ว่าด้วยตำนานเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน
ตำนานการสอบพระปริยัติธรรม
ตำนานพระแก้วมรกต
เรื่องทรงเที่ยวกลางคืน พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรจนถึงสวรรคต
พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสแหลมมลายูคราว ร.ศ. ๑๐๘
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนเสวยราชย์
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนเสวยราชย์
ว่าด้วยประเทศสยามในจดหมายเหตุจีน
ว่าด้วยหน้าที่และพระอัธยาศัยในกรมพระราชวังบวรฯ กรุงรัตนโกสินทร์
ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร
คำให้การหัวพันห้าทั้งหกในศึกฮ่อ
อำแดงเหมือน กับ นายริด
แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
ว่าด้วยตำนานการเดินทางของฝรั่งมาสู่สยาม และมูลเหตุที่รับเป็นไมตรี
สำเภาเจดีย์ที่วัดยานนาวา
กรุงศรีอยุธยา ครั้งบ้านเมืองดี
ร.ศ. ๑๑๒
อธิบายเรื่องพระบาท
อธิบายตำนานรำโคม
วิจารณ์ว่าด้วยหนังสือ พราหมณศาสตร์ทวาทสพิธี
วินิจฉัยประเพณีแต่งงานอย่างโบราณ
พระราชหัตถเลขาอันเป็นมูลเหตุที่ตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ
บรรดาศักดิ์ "เจ้าคุณ" ฝ่ายผู้หญิง
รับทูตฝรั่งครั้งกรุงรัตนโกสินทร์
ตำนานการที่ไทยเรียนภาษาอังกฤษ
ลักษณะการศึกษาของเจ้านายแต่โบราณ
คำให้การชาวอังวะ
แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรฐมหาราช
"กรมสมเด็จ" กับ "สมเด็จกรม"
พระบรมราชาธิบายเรื่อง ตั้งกรมเจ้านาย
เปรียบนามสกุลกับชื่อแซ่
พระราชปุจฉาอันเป็นมูล "พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ"
คำให้การเฒ่าสา เรื่องหนังราชสีห์
ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่างๆ
ตำนานพระโกศ
ศึกเจ้าอนุเวียงจันทน์
ศึกถลาง
อธิบายเรื่องพระมหาอุปราช
เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน สรุป
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน ตอนที่ ๒
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน ตอนที่ ๑
อธิบายเรื่องวรรณยุกต์
ประกาศพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
ประกาศขนานนามพระพุทธปฏิมากรประจำรัชกาล
ตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม
เหตุเกิดเมื่อศักราช ๙๐๗ พระเทียรราชาได้ราชสมบัติ
เสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน มณฑลอุดร ตอนที่ ๑
เสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน มณฑลอุดร ตอนที่ ๒
เมื่อแผ่นดินทรงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒ พระองค์
ว่าด้วยลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ
เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๓
พระราชมรดกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ตำหนักทองที่วัดไทร
ด่านพระเจดีย์สามองค์
๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ เมื่อแผ่นดินสยามร้องไห้
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
สร้างพระบรมรูปทรงม้า
สมเด็จพระปิยมหาราช
อั้งยี่
ตำนานเงินตรา
ตำนานอากรบ่อนเบี้ยและหวย
แผ่นดินพระร่วง
จดหมายเหตุเสด็จหว้ากอ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
แรกมีอนามัยในเมืองไทย
แรกมีโรงพยาบาลในเมืองไทย - ศิริราชพยาบาล
พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน
พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย
แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
แผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา
ตำนานกรุงศรีอยุธยา
ศึกคราวตีเมืองพม่า
ศึกเมืองทวาย
ศึกพม่าที่นครลำปางและป่าซาง
ศึกพม่าที่ท่าดินแดง
ศึกหินดาดลาดหญ้า
ค้นเมืองโบราณ
ว่าด้วยตำนานสามก๊ก
ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม
พระราชกรัณยานุสรณ์
หนังสือหอหลวง
ว่าด้วยยศเจ้านาย
ว่าด้วยหน้าที่และพระอัธยาศัยในกรมพระราชวังบวรฯ กรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
(สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรร)
ว่าด้วยหน้าที่ของพระมหาอุปราช พระมหาอุปราชมีหน้าที่ในการศึกตรงกับคำที่เรียกว่า "ฝ่ายหน้า" เป็นสำคัญกว่าอย่างอื่น พึงเห็นอธิบายได้แม้ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ในรัชกาลที่ ๑ พระมหาอุปราชก็ต้องทำศึก ทั้งที่โดยเสด็จและเสด็จไปโดยลำพังพระองค์มาจนตลอดพระชนมายุ ถึงรัชกาลที่ ๒ พม่าตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก ถึงรัชกาลที่ ๓ เกิดกบฏเวียงจันทน์ พระมหาอุปราชก็เสด็จไปบัญชาการศึกทั้ง ๒ คราว แต่ถึงรัชกาลที่ ๔ จะยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระมหาอุปราชทรงศักดิ์อย่างเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงโปรดฯให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิทเสด็จไปบัญชาการศึกต่างพระมหาอุปราช
(๑)
เป็นตัวอย่างมาดังนี้
นอกจากทำศึก พระมหาอุปราชยังมีหน้าที่ตลอดไปถึงการป้องกันพระราชอาณาเขต ข้อนี้มีมาจนในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เช่นในการสร้างป้อมปราการที่เมืองพระประแดงและเมืองสมุทรปราการ พระมหาอุปราชก็ทรงบัญชาการทั้งในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ ที่โปรดฯให้พระบาทสมเด็จ ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดทหารบกทหารเรือขึ้นทางฝ่ายวังหน้า ก็เนื่องมาแต่หน้าที่ของพระมหาอุปราชในการป้องกันพระราชอาณาเขตนั่นเอง เมื่อว่าโดยย่อหน้าที่ของพระมหาอุปราชเป็นฝ่ายทหาร เนื่องด้วยการทำสงคารมมาแต่โบราณ จึงมีผู้คนทั้งนายและไพร่ขึ้นอยู่ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคลมากกว่ากรมอื่นๆ เพื่อเกิดสงครามเมื่อใดพระมหาอุปราชจะได้เรียกรี้พลได้ทันที ข้อนี้เป็นมูลเหตุที่มีขุนนางวังหน้า เรียกว่า "ข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวร" ขึ้นเป็นจำนวนมากอีกแผนก ๑
แต่ในเวลาว่างศึกสงครามพระมหาอุปราชมีหน้าที่ในการปกครองพระราชอาณาเขตอย่างใดไม่ คำซึ่งกล่าวกันมาแต่ก่อนว่า "พระมหาอุปราชเสวยราชย์กึ่งพระนคร" นั้น มีมูลมาแต่การแบ่งเขตรักษาท้องที่ในบริเวณพระนคร อันเป็นแบบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่ในกรุงเทพฯ นี้ปันเขต (ว่าตามแผนที่ในปัจจุบันนี้) ตามแนวถนนพระจันทร์ ตั้งแต่ท่าน้ำตรงไปทางตะวันออกจนถึงประตูสำราญราษฎร์ (ถนนบำรุงเมือง) ท้องที่ข้างใต้เป็นอำเภอวังหลวง กรมนครบาลวังหลวงรักษา ท้องที่ข้างเหนือเป็นอำเภอวังหน้า กรมนครบาลวังหน้ารักษา แต่ปันเขตเพียงถึงคูพระนครเท่านั้น ท้องที่นอกออกไปเป็นอำเภอวังหลวงทั้งนั้น
ที่ไม่ให้พระมหาอุปราชเกี่ยวข้องในการปกครองบ้านเมือง น่าจะมีเหตุทำให้เห็นจำเป็นมาแต่โบราณ ด้วยพิเคราะห์ตามเรื่องพงศาวดาร แม้พระมหาอุปราชเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่พ้นมีเหตุร้ายได้ทุกรัชกาล ยิ่งพระมหาอุปราชมิได้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว มักเกิดเหตุร้ายยิ่งกว่าที่จะเรียบร้อย มีตัวอย่างมาหลายคราว ฐานะของพระมหาอุปราชจึงมาความลำบากอยู่ไม่น้อย
(๒)
เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาพระมหาอุปราชจะทรงประพฤติอย่างไรหาทราบไม่ แต่ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ประพฤติผิดกันทุกพระองค์ ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเป็นพระมหาอุปราช พระอัธยาศัยอยู่ข้างจะมีทิฐิมานะ เกิดบาดหมางกับพระบาทสมเด็จฯพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหลายครั้ง แทบถึงจะรบกันก็มี จนที่สุดเมื่อสวรรคตพวกวังหน้าที่เป็นคนใกล้ชิดก็กำเริบ ถึงต้องปราบปรามกัน บางทีเหตุที่มีในรัชกาลที่ ๑ นั้น จะเป็นตัวอย่างให้พระมหาอุปราชระวังพระองค์ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เป็นพระมหาอุปราชในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ ก็ไม่ปรากฏว่าประพฤติพระองค์ให้ผิดกับเมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธออย่างใด เมื่อถึงรัชกาลที่ ๒ พระมหาอุปราชทรงชอบชิดสนิทเสน่หากับสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชมาแต่เดิม ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีรับสั่งให้ทรงช่วยว่าราชการ ก็เสด็จลงมาประทับที่โรงละครหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรวจตราข้อราชการต่างๆ ก่อนเสด็จเข้าเฝ้าในท้องพระโรงเป็นนิจจนตลอดพระชนมายุ
ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นศักดิพลเสพขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ปรากฏว่าถ่อมพระองค์มาก เป็นต้นว่าประทับอยู่เพียงที่มุขไม่เสด็จประทับบนพระพิมานวังหน้า พระราชยานก็ไม่ทรงเสลี่ยงอย่างเป็นต่างกรม
(๓)
เรือพระที่นั่งก็ทรงเรือกราบกันยาหลังคากระแซงอย่างพระองค์เจ้า
(๔)
ไม่ดาดสีเหมือนเรือเจ้าฟ้า และไม่เข้าเกี่ยวข้องในราชการบ้านเมืองเหมือนพระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๒
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งอยู่ในฐานะที่พระมหาอุปราชให้มีพระยศเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดิน
(๕)
พระราชทานเครื่องราชูปโภคต่างๆ กับทั้งตำแหน่งข้าราชการวังหน้าเพิ่มขึ้นให้เป็นทำนองเดียวกับวังหลวง เป็นแต่ลดลงบ้างเล็กน้อย ถึงกระนั้นพระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ถ่อมพระองค์ ไม่โปรดในการแสดงยศศักดิ์ เป็นต้นว่าไม่เสด็จออกให้ขุนนางเฝ้าในท้องพระโรงนอกจากเวลามีงานพิธี โดยปกติเสด็จออกให้เฝ้าที่โรงรถ การที่เสด็จไปไหนด้วยกระบวนแห่เสด็จก็เฉพาะแต่ในงานพิธี หรือเสด็จลงมาเฝ้าตามตำแหน่ง ถ้าโดยปกติเสด็จไปตามวังเจ้านายที่ชอบชิด ก็ทรงม้ามีคนตามเสด็จคนหนึ่งหรือสองคน
(๖)
และยังทรงโปรดดำเนินเที่ยวเตร่ตามบ้าน เหมือนเมื่อยังเป็นกรมอยู่ในรัชกาลที่ ๓ เสด็จอยู่วังหน้าโดยปกติโปรดทรงฝึกซ้อมหัดทหาร หรือมิฉะนั้นก็นัดคนไปขี่ม้า ถ้ากลางวันเล่นคลีกลางคืนเล่นซ่อนหา แต่ส่วนการบ้านเมืองนั้นไม่ทรงเอาเป็นพระราชธุระทีเดียว แม้เมื่อฝรั่งต่างชาติเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ก็ไม่ทรงเกี่ยวข้องในการปรึกษาหารือ
ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญเป็นมหาอุปราช เป็นเวลาว่างการทัพศึก แต่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินประสงค์จะรักษาหน้าที่ของพระมหาอุปราชตามประเพณีเดิมไว้ จึงจัดให้เสด็จไปตรวจตราป้อมที่เมืองสมุทรปราการและเมืองจันทบุรี และต่อมาให้ทรงบัญชาการซ่อมแซมป้อมเสือซ่อนเล็บ ที่เมืองสมุทรปราการด้วย แต่ส่วนพระองค์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญนั้น โดยปกติก็ถ่อมพระองค์ทรงพยายามที่จะประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระบาทสมเด็จ ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นว่าเสด็จลงมาเฝ้าในเวลาเสด็จออกขุนนางและในงานพระราชพิธีเสมอเป็นนิจ แต่ไม่เข้าเกี่ยวข้องกับราชการบ้านเมือง เวลาเสด็จประทับอยู่ในพระราชวังบวร ก็ไม่โปรดเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรง คงออกขุนนางที่โรงรถเหมือพระบาทสมเด็จ ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เลิกการเล่นกีฬาและไม่เสด็จไปเที่ยวเยี่ยมเยือนเจ้านาย แม้การฝึกหัดทหารก็เพียงรักษาแบบแผนให้คงอยู่.
...............................................................................................................................................
เชิงอรรถ
(๑) เคยได้ยินผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจำนงว่า ถ้าตีเมืองเชียงตุงได้สำเร็จ จะทรงสถาปนากรมหลวงวงศาฯ เป็น กรมพระราชวังหลัง
(๒) เจ้าฝรั่งองค์หนึ่งเคยตรัสกับข้าพเจ้าถึง เรื่องเจ้ารัชทายาทในประเทศยุโรป เธอชี้แจงว่าเจ้ารัชทายาทนั้นอยู่ในที่ยาก เพราะถ้าไม่เอาใจใส่ในการบ้านเมืองเลย คนทั้งหลายก็ดูหมิ่นว่าโง่เขลาหรือเกียจคร้าน ถ้าเอาใจใส่เกินไปก็เป็นแข่งบารมีพระเจ้าแผ่นดิน เพราะฉะนั้นต้องระวังวางพระองค์แต่พอเหมาะอยู่เสมอ
(๓) พระเสลี่ยงของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เดิมแก้เป็นธรรมาสน์ไว้ที่วัดบวรนิเวศ เดี๋ยวนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนคร
(๔) กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเสด็จทอดกฐิน ก็ทรงเรืออย่างเดียวกันในบางวัน แต่บางวันทรงเรือสีตามอย่างพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
(๕) เรียกตามภาษาอังกฤษว่า Second King พระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ ฝรั่งเลยเรียกพระมหาอุปราชว่าพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ มาจนกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
(๖) พระองค์ประดิษฐวรการ อธิบดีช่างหล่อ (อยู่ข้างพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ตรงที่สร้างสวนสราญรมย์เดี๋ยวนี้) เคยตรัสเล่าว่า ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม้ามีมหาดเล็กตามเสด็จคนหนึ่ง ไปเคาะประตูเรียก พระองค์ประดิษฐฯออกมารับเชิญเสด็จไปประทับที่ท้องพระโรง เป็นเวลาค่ำมีแต่ไต้จุดอยู่ดวงหนึ่ง พระบาทสมเด็จ ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับสนทนา และทรงเขี่ยไต้ไปพลางจนเสด็จกลับ
...............................................................................................................................................
พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
Create Date : 19 กันยายน 2550
Last Update : 27 ธันวาคม 2550 18:17:04 น.
2 comments
Counter : 3313 Pageviews.
Share
Tweet
บางส่วนของประวัติศาสตร์ นี่ มันก็ตลกๆ ดีนะคะ
วังหน้า... วังหลวง ..วังหลัง
บางทีพี่น้องทะเลาะกัน หญ้าแพรกก็แทบจะแหลกราญ
โดย:
กระจ้อน
วันที่: 19 กันยายน 2550 เวลา:16:52:36 น.
สวัสดีครับ คุณ กระจ้อน
โดย:
กัมม์
วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:14:34:16 น.
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
กัมม์
Location :
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [
?
]
วิชา ความรู้จะมีค่าเมื่อถูกถ่ายทอด
Bigmommy
NickyNick
เพ็ญชมพู
kenzen
สาวใหม
กระจ้อน
คนรักน้ำมัน
Why England
naragorn
biebie999
วรณัย
เซียงยอด
แม่สลิ่ม
รอยคำ
สุธน หิญ
นอกราชการ
BFBMOM
มณีไตรรงค์
karmapolice
เมื่อไรจะหายเหงา
เจ้าชายเล็ก
รักดี
ลุงนายช่าง
nidyada
mr.cozy
กวินทรากร
Mutation
พลังชีวิต
หนุ่มรัตนะ
Webmaster - BlogGang
[Add กัมม์'s blog to your web]
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
หอมรดกไทย
เวียงวัง
มอญ
กฎหมายไทย
ประตูสู่อีสาน
พจนานุกรมไทย-อังกฤษ
พจนานุกรมไทย-บาลี
คำไท - คำถิ่น
คนโคราช
หนังสือหายาก E - Book
ลิลิตตะเลงพ่าย
สามก๊ก
บ้านมหา (หมอลำออนไลน์)
หมากรุกไทย และหมากกระดาน
ราชกิจจานุเบกษา
สมุดภาพเมืองไทยในอดีต
พระราชวังพญาไท
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ฐานข้อมูลภาพถ่าย กรมศิลปากร
ปากเซ ดอท คอม
ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้
มวยไชยา
ดำรงราชานุภาพ
พิพิธภัณฑ์ธงสยาม
ห้องสมุดพันทิป
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
จิตรกรรมฝาผนังวัดบุปผาราม
พิพิธภัณฑ์ศาลไทย
จิตรธานี
Wikimapia
ราชบัณฑิตยสถาน
Bloggang.com
MY VIP Friend
วังหน้า... วังหลวง ..วังหลัง
บางทีพี่น้องทะเลาะกัน หญ้าแพรกก็แทบจะแหลกราญ