กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
เพชรพระมหามงกุฎ
แผ่นดินทอง
รัตนโกสินทร์ ๒๒๕ ยินดีต้อนรับ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระราชสกุล
เที่ยวเมืองพระร่วง
ตำนานวังหน้า
ความ-ทรงจำ ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
อธิบายเรื่องธงไทย
ตำนานภาษีอากร
บันทึกรับสั่งสมเด็จฯ
สารคดีที่น่ารู้ - ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
พระจอมเกล้าพระจอมปราชญ์
เทศาภิบาล
สิมอีสาน
ว่าด้วยตำนานเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน
ตำนานการสอบพระปริยัติธรรม
ตำนานพระแก้วมรกต
เรื่องทรงเที่ยวกลางคืน พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรจนถึงสวรรคต
พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสแหลมมลายูคราว ร.ศ. ๑๐๘
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนเสวยราชย์
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนเสวยราชย์
ว่าด้วยประเทศสยามในจดหมายเหตุจีน
ว่าด้วยหน้าที่และพระอัธยาศัยในกรมพระราชวังบวรฯ กรุงรัตนโกสินทร์
ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร
คำให้การหัวพันห้าทั้งหกในศึกฮ่อ
อำแดงเหมือน กับ นายริด
แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
ว่าด้วยตำนานการเดินทางของฝรั่งมาสู่สยาม และมูลเหตุที่รับเป็นไมตรี
สำเภาเจดีย์ที่วัดยานนาวา
กรุงศรีอยุธยา ครั้งบ้านเมืองดี
ร.ศ. ๑๑๒
อธิบายเรื่องพระบาท
อธิบายตำนานรำโคม
วิจารณ์ว่าด้วยหนังสือ พราหมณศาสตร์ทวาทสพิธี
วินิจฉัยประเพณีแต่งงานอย่างโบราณ
พระราชหัตถเลขาอันเป็นมูลเหตุที่ตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ
บรรดาศักดิ์ "เจ้าคุณ" ฝ่ายผู้หญิง
รับทูตฝรั่งครั้งกรุงรัตนโกสินทร์
ตำนานการที่ไทยเรียนภาษาอังกฤษ
ลักษณะการศึกษาของเจ้านายแต่โบราณ
คำให้การชาวอังวะ
แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรฐมหาราช
"กรมสมเด็จ" กับ "สมเด็จกรม"
พระบรมราชาธิบายเรื่อง ตั้งกรมเจ้านาย
เปรียบนามสกุลกับชื่อแซ่
พระราชปุจฉาอันเป็นมูล "พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ"
คำให้การเฒ่าสา เรื่องหนังราชสีห์
ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่างๆ
ตำนานพระโกศ
ศึกเจ้าอนุเวียงจันทน์
ศึกถลาง
อธิบายเรื่องพระมหาอุปราช
เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน สรุป
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน ตอนที่ ๒
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน ตอนที่ ๑
อธิบายเรื่องวรรณยุกต์
ประกาศพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
ประกาศขนานนามพระพุทธปฏิมากรประจำรัชกาล
ตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม
เหตุเกิดเมื่อศักราช ๙๐๗ พระเทียรราชาได้ราชสมบัติ
เสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน มณฑลอุดร ตอนที่ ๑
เสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน มณฑลอุดร ตอนที่ ๒
เมื่อแผ่นดินทรงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒ พระองค์
ว่าด้วยลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ
เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๓
พระราชมรดกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ตำหนักทองที่วัดไทร
ด่านพระเจดีย์สามองค์
๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ เมื่อแผ่นดินสยามร้องไห้
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
สร้างพระบรมรูปทรงม้า
สมเด็จพระปิยมหาราช
อั้งยี่
ตำนานเงินตรา
ตำนานอากรบ่อนเบี้ยและหวย
แผ่นดินพระร่วง
จดหมายเหตุเสด็จหว้ากอ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
แรกมีอนามัยในเมืองไทย
แรกมีโรงพยาบาลในเมืองไทย - ศิริราชพยาบาล
พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน
พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย
แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
แผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา
ตำนานกรุงศรีอยุธยา
ศึกคราวตีเมืองพม่า
ศึกเมืองทวาย
ศึกพม่าที่นครลำปางและป่าซาง
ศึกพม่าที่ท่าดินแดง
ศึกหินดาดลาดหญ้า
ค้นเมืองโบราณ
ว่าด้วยตำนานสามก๊ก
ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม
พระราชกรัณยานุสรณ์
หนังสือหอหลวง
ว่าด้วยยศเจ้านาย
"กรมสมเด็จ" กับ "สมเด็จกรม"
ทูลกระหม่อมแก้ว
(ไฟล์ภาพ จากคุณ NickyNick ขอบคุณครับ)
.........................................................................................................................................................
วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า
กรมสมเด็จ หรือ สมเด็จกรม
จะต้องตั้งวินิจฉัยคำที่ว่า สมเด็จ คำว่า เจ้าฟ้า และคำว่า กรม ๓ คำนี้ก่อน คำทั้ง ๓ นี้มีหลักฐานพอจะชี้ได้ว่าเกิดแต่แหล่งต่างกัน ไทยเราเอามาใช้เป็นยศเจ้านายในสมัยต่างกัน
คำว่า สมเด็จ ดูใช้ในที่หมายความว่า เป็นอย่างยอด ใช้ประกอบกับยศบุคคลชั้นสูงสุดหลายชนิด เช่นว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระชนนี สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระเจ้าพี่นาง (และน้องสาว) เธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จเจ้าพระยา และสมเด็จพระราชาคณะ ล้วนหมายความว่าเป็นยอดในบุคคลชนิดนั้น คำ สมเด็จ มิใช่ภาษาไทย และไม่ปรากฏว่าไทยพวกอื่นใช้นอกจากไทยกรุงศรีอยุธยา จึงสันนิษฐานว่าได้คำสมเด็จมาจากเขมร ปรากฏใช้นำหน้าพระนามพระเจ้าแผ่นดินในกฎหมายมาตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง
คำว่า เจ้าฟ้า ความหมายว่า เทวดาจุติลงมาเกิด เป็นคำภาษาไทย และชนชาติไทยใช้มาตั้งแต่ยังอยู่บ้านเมืองเดิมอันอยู่ในแดนจีนบัดนี้ เดิมเรียกแต่เจ้าครองเมืองว่า เจ้าฟ้า เมื่อพวกไทยใหญ่อพยพไปตั้งบ้านเมืองต่อแผ่นดินพม่า ก็เรียกเจ้าครองเมืองของตนว่า เจ้าฟ้า เมื่อตกเป็นประเทศราชขึ้นพม่า พม่าก็เรียกว่า เจ้าฟ้า สืบมาอย่างเดิม แต่ประหลาดอยู่ที่พวกไทยน้อยซึ่งลงมาตั้งบ้านเมืองต่างอาณาเขตเช่น ประเทศล้านช้างก็ดี ลานนาก็ดี กรุงสุโขทัยก็ดี กรุงศรีอยุธยาก็ดี ไม่ใช้คำ เจ้าฟ้า มาแต่เดิมเหมือนพวกไทยใหญ่
อาณาเขตไทยน้อยพวกอื่นจะยกไว้ กล่าวแต่เฉพาะกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมมาในกฎมณเฑียรบาลเป็นต้น ก็หามียศเจ้าฟ้าปรากฏไม่ แรกปรากฏไปพบในหนังสือพงศาวดารพม่าว่าพระเจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนองตั้งพระมหาธรรมราชาซึ่งครองเมืองพิษณุโลก (พระชนกของสมเด็จพระนเรศวร) เมื่อยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้ากรุงหงสาวดี ให้เป็น เจ้าฟ้าสองแคว (สองแควเป็นชื่อเดิมของเมืองพิษณุโลก) อย่างเดียวกับเจ้าฟ้าประเทศราชไทยใหญ่ เป็นแรกที่จะใช้ยศ เจ้าฟ้า ในไทยกรุงศรีอยุธยา ข้อนี้มีหลักฐานทางฝ่ายไทยรับรองอยู่ในกฎหมายลักษณะกบฏศึกบท ๑ ซึ่งสมเด็จพระเอกาทศรถทรงตั้ง ในบายแพนกเรียกพระนามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่า สมเด็จบรมบาทบงกชลักษณอัครบิริโสดม บรมหน่อนราเจ้าฟ้านเรศ เชษฐาธิบดี ดังนี้ คงเป็นเพราะเคยมีคำ เจ้าฟ้า อยู่ในพระสุพรรณบัฏ ตามสร้อยพระนามสมเด็จพระบรมชนกนารถ และยังปรากฏต่อไปอีกอย่างหนึ่งว่า สมเด็จพระเอกาทศรถทรงเลิกคำว่าเจ้าฟ้า ไม่ใช่ในสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดินต่อมา เอาคำเจ้าฟ้าลดลงมาใช้เป็นยศเจ้านายชั้นสูง ด้วยทรงตั้งพระราชโอรสผู้จะรับรัชทายาทให้เป็นเจ้าฟ้าทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าสุทัศน์ เป็นพระองค์แรก แต่นั้นคำ เจ้าฟ้า ก็ใช้เป็นยศของพระเจ้าลูกเธอที่พระมารดาเป็นเจ้า ถ้าเป็นลูกเธอพระมเหสีเรียกว่า สมเด็จเจ้าฟ้า ถ้ามิใช่ลูกพระมเหสีเรียกแต่ว่า เจ้าฟ้า และขยายต่อลงไปอีกชั้นหนึ่งถึงหลานเธอที่พระบิดามารดาเป็นเจ้าฟ้าด้วยกันทั้งสองฝ่ายก็เป็นเจ้าฟ้า
คำว่า กรม นั้น เป็นแต่ชื่อสังกัดคนพวกหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นพนักงานทำราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง มีชื่อกรมต่างๆ ปรากฏอยู่ในกฎหมายทำเนียบศักดินาเป็นอันมาก ถ้าสังเกตในทำเนียบนั้นจะเห็นได้ว่าชื่อกรมกับชื่อเจ้ากรมต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นกรมชื่อ สรรพากรนอก เจ้ากรมชื่อ หลวงอินทรมนตรี ดังนี้ ถึงตัวเจ้ากรมจะได้เลื่อยศเป็นพระหรือเป็นพระยา ชื่อกรมก็คงเรียกว่ากรมสรรพากรอยู่เป็นนิจ
การตั้งกรมเจ้านายแรกเกิดขึ้นเมื่อรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มูลเหตุที่จะตั้งกรมพบในหนังสือฝรั่งแต่งในสมัยนั้นเองเรื่อง ๑ (จะเรียกเรื่องอะไร เวลาที่เขียนนี้นึกไม่ออก) กล่าวว่าเมื่อพระอัครมเหสีของสมเด็จพระนารายณ์ทิวงคต โปรดให้แบ่งพวกข้าคนของพระอัครมเหสีเป็น ๒ ภาค พระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ (เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ) ภาค ๑ พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ (เจ้าฟ้าหญิงสุดาวดี) ภาค ๑ พิเคราะห์ดูสมกับความที่กล่าวในหนังสือพระราชพงศาวดาร ว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเป็นกรมหลวงโยธาทิพ และทรงตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเป็นกรมหลวงโยธาเทพ แต่พึงเห็นได้ว่ากรมทั้ง ๒ นี้ไม่มีชื่อกรมเช่นว่ากรมสรรพากร มีแต่ชื่อเจ้ากรม คือหลวงโยธาทิพและหลวงโยธาเทพ เช่นชื่อหลวงอินทรมนตรีเจ้ากรมสรรพากร เพราะกรมทั้ง ๒ เป็น ขอเฝ้า สำหรับเจ้านาย ๒ พระองค์ทรงใช้สอยชั่วพระชนมายุ ถ้าสิ้นพระองค์เจ้านายเมื่อใดกรมนั้นก็เลิก คือเป็นกรมชั่วคราว มิใช่กรมประจำราชการ อันนี้เป็นมูลเหตุที่เรียกชื่อเจ้ากรมเป็นชื่อกรมด้วย เพราะไม่มีชื่ออื่นจะเรียก กรมทั้ง ๒ นั้น แล้วเลยออกนามกรมเรียกเจ้านายผู้เป็นเจ้าของกรมว่า เจ้าฟ้า(ของ)กรมหลวงโยธาทิพ และ เจ้าฟ้า(ของ)กรมหลวงโยธาเทพ เป็นการเฉลิมพระยศว่าวิเศษกว่าเจ้านายที่ไม่มีกรม เช่น เจ้าฟ้าอภัยทศเป็นต้น มูลเดิมของการตั้งกรมเจ้านายมีมาอย่างนี้ หาได้ตั้งนามกรมเป็นพระนามของเจ้านายไม่
กรมเจ้านายชั้นแรกในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีแต่ กรมหลวง ต่อมาถึงรัชกาลสมเด็จพระเพทราชามี กรมพระ กับ กรมขุน เพิ่มขึ้น ถึงรัชกาลพระเจ้าบรมโกศมี กรมหมื่น เพิ่มขึ้น กรมของเจ้านายจึงยุติเป็น ๔ ขั้น
กรมพระ สำหรับแต่ พระมหาอุปราช กรมพระราชวังหลัง และสมเด็จพระชนนีพันปีหลวง
กรมหลวง สำหรับ พระมเหสี พระบัณฑูรน้อย สมเด็จพระเจ้าน้องเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
กรมขุน สำหรับ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ
กรมหมื่น สำหรับ พระองค์เจ้าลูกเธอ และเจ้าพระญาติตั้งเป็นพิเศษ
แบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยามีมาดังนี้
ถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อประดิษฐานพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงตั้งยศศักดิ์เจ้านายอนุโลมตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นแต่แก้ไขบ้างตามพฤติการณ์ จะว่าแต่พระยศชั้นกรมพระอันเป็นท้องเรื่องวินิจฉัยนี้
ชั้นกรมพระ ทรงตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขตรงตามแบบเดิม แต่ครั้งนั้นไม่มีองค์สมเด็จพระชนนี และตามแบบเดิมก็ไม่เคยมีสมเด็จพระพี่นาง จึงทรงตั้งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ๒ พระองค์เป็นกรมพระ เทียบเสมอศักดิ์สมเด็จกรมพระเทพามาตย์พระราชชนนีตามตำรา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดีพระองค์ ๑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์พระองค์ ๑ เรียกโดยย่อว่า สมเด็จกรมพระเทพสุดาววดี และสมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์ คำสมเด็จหมายความว่าเจ้าฟ้า มิได้เกี่ยวกับนามกรม
มีความในหนังสือพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ แห่งหนึ่งว่า เมื่อศึกพม่าครั้งปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๒๘ พระยาเทพสุดาวดี เจ้ากรมของสมเด็จพระพี่นางองค์ใหญ่ เป็นผู้เชิญพระกระแสรับสั่งขึ้นไปเร่งกรมพระราชวังหลัง ซึ่งเป็นพระโอรสของสมเด็จพระพี่นางพระองค์นั้น ให้รีบตีทัพพม่าที่ยกเข้ามาในมณฑลนครสวรรค์ ชื่อพระยาเทพสุดาวดีที่ปรากฏในหนังสือพงศาวดารนั้นเป็นมูลเหตุที่พาให้คนภายหลังเข้าใจไปว่า สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่เป็นกรมชั้นสูงกว่าสมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อย เพราะเจ้ากรมเป็นพระยาถึงเกิดเรียกพระนามกันสมัยนี้ว่า สมเด็จกรมพระยาเทพสุดาวดี เป็นการเข้าใจผิด เพราะรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลอื่นต่อมาจนตลอดรัชกาลที่ ๓ พระยศเจ้านายต่างกรม กรมพระ ยังเป็นชั้นสูงสุดเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่เจ้ากรมเป็นพระยาเป็นส่วนตัวบุคคลต่างหาก เช่นว่านาย ก ผู้เป็นที่พระเทพสุดาวดีเจ้ากรมมีความชอบพิเศษ อาจจะโปรดให้เลื่อนยศเป็นพระยา แต่เมื่อสิ้นตัวนาย ก แล้ว นาย ข ได้เป็นเจ้ากรมก็ต้องเป็นพระเทพสุดาวดี การที่เจ้ากรมได้เป็นพระยาหาได้เลื่อนชั้นกรมด้วยไม่ ข้อนี้พึงเห็นได้ในหนังสือราชการแต่ก่อน เรียกพระนามว่า สมเด็จกรมพระ พระยศเสมอกันทั้ง ๒ พระองค์
การตั้งกรมเจ้านายในรัชกาลที่ ๑ ผิดกับครั้งกรุงศรีอยุธยาอย่าง ๑ ที่ไม่ได้ทรงตั้งพระมเหสีเป็นกรมหลวงเหมือนแต่ก่อน จึงเลยเป็นเยี่ยงอย่างมาในรัชกาลภายหลัง แต่ก็คงเรียกพระนามว่า สมเด็จพระพันวัสสา เหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา
ถึงรัชกาลที่ ๒ เจ้านายที่เป็นกรมพระในรัชกาลที่ ๑ ล่วงลับไปแล้วทั้ง ๔ พระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสถาปนาสมเด็จพระชนนีเป็นกรมพระอมรินทรามาตย์ เทียบกับกรมพระเทพามาตย์แต่ปางก่อน แต่เห็นจะเรียกกันในรัชกาลที่ ๒ แต่โดยย่อว่า สมเด็จพระพันปีหลวง เพราะเรียกสมเด็จพระอัครมเหสีว่า สมเด็จพระพันวัสสา
ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ พระบัณฑูรน้อย เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ในรัชกาลที่ ๒ มีกรมพระ ๒ พระองค์ด้วยกัน
ถึงรัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาสมเด็จพระชนนีเป็นกรมพระศรีสุราลัย เทียบอย่างกรมพระเทพามาตย์พระองค์ ๑ เมื่อต้นรัชกาลที่ ๓ มีสมเด็จขัตติยนารี ๓ พระองค์ เห็นจะเรียกว่าสมเด็จพระอัมรินทรฯ พระองค์ ๑ สมเด็จพระพันปีพระองค์ ๑ เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่มีพระมเหสี สมเด็จพระพันวัสสาในรัชกาลที่ ๒ จึงคงดำรงพระยศเรียกกันว่าสมเด็จพระพันวัสสาตามเดิมมาตลอดรัชกาลที่ ๓ พระองค์ ๑
ในรัชกาลที่ ๓ พระราชวงศ์มีเพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่งคือ พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๑ (ถึงรัชกาลที่ ๓) ฐานะเป็นพระเจ้าอาว์ ซึ่งไม่เคยมีมาแต่ก่อน แต่เจ้านายชั้นพระเจ้าอาว์เธอพระชันษาอ่อนกว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โดยมาก มีแก่กว่าไม่กี่พระองค์ ถึงที่แก่กว่าก็เป็นอย่างรุ่นราวคราวเดียวกัน จึงไม่ทรงบัญญัติคำนำพระนามเจ้านายชั้นพระเจ้าอาว์เธอขึ้นใหม่ ให้คงใช้ว่าพระเจ้าน้องยาเธอเหมือนเมื่อรัชกาลที่ ๒ มาจนตลอดรัชกาลที่ ๓
ทรงสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ (ชั้นพระเจ้าอาว์) กรมหมื่นศักดิพลเสพ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์ ๑
ในรัชกาลที่ ๓ จึงมีกรมพระ ๒ พระองค์เหมือนอย่างในรัชกาลที่ ๒
ถึงรัชกาลที่ ๔ มีกรณีย์หลายอย่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องทรงจัดระเบียบศักดิ์เจ้านาย เป็นต้นแต่ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ซึ่งอยู่ในฐานะจะเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีดวงพระชะตาต้องตำราว่า จะต้องได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน และองค์สมเด็จพระชนนีนาถซึ่งเป็นอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๒ แต่เสด็จสวรรคตเมื่อรัชกาลที่ ๓ คนทั้งหลายยังเรียกพระนามว่าสมเด็จพระพันวัสสาอยู่อย่างเดิม นอกจากนั้นเจ้านายชั้นพระเจ้าอาว์มีหลายพระองค์ ล้วนพระชันษาแก่กว่าพระองค์มาก ไม่เหมือนเมื่อรัชกาลที่ ๓ แม้ชั้นพระเจ้าพี่เธออันไม่เคยมีทั้งในรัชกาลที่ ๒ และที่ ๓ ก็มีหลายพระองค์ ยังเจ้านายที่เป็นพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชภาคิไนยก็มีขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ด้วยเหตุเหล่านี้เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงบัญญัติแก้ไขระเบียบพระยศเจ้านายหลายอย่าง คือ
พระราชทานบวรราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงพระยศเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์ ๑ แทนที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นพิเศษเฉพาะพระองค์เดียวอย่าง ๑ ทรงบัญญัตินามชั้นต่างๆ ในพระญาติวงศ์ เช่นชั้นพระเจ้าอาว์ให้เรียกว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ และพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น พระเจ้าราชวงศ์เธอ เป็นต้น และยังมีชั้นอื่นๆ อีก อย่าง ๑ ทรงบัญญัติพระนามสำหรับเรียกพระอัฐิกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสถาน รัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ และพระนามเรียกพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชชนนี ทั้งพระนามเรียกพระนามพระอัฐิพระบรมวงศ์ซึ่งยังไม่มีบัญญัติในขัติยยศมาแต่ก่อน เช่นพระชนนีของสมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ ถวายพระนามว่า สมเด็จพระรูปศิริโสภาคมหานาคนารีเป็นต้น บางพระองค์ก็ถวายพระนามอย่างต่างกรม เช่นพระองค์เจ้าหญิงกุพระเจ้าน้องนางเธอเมื่อรัชกาลที่ ๑ ซึ่งคนทั้งหลายเรียกกันว่า เจ้าครอกวัดโพธิ์ ถวายพระนามว่า กรมหลวงนรินทรเทวี ดังนี้เป็นต้น การตั้งกรมพระอัฐิมีขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา อย่าง ๑
พระยศเจ้านายต่างกรมอันกรมพระเป็นชั้นสูงสุดมาแต่ก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติยศกรมพระพิเศษขึ้นอีกชั้นหนึ่งเรียกว่า กรมสมเด็จพระ (มีพระบรมราชาธิบายทรงนิพนธ์ไว้ว่า ถ้าเอาคำสมเด็จนำหน้าจะไปเหมือนพระราชาคณะ จึงเพิ่มคำสมเด็จลงข้างหลังคำกรม) ในรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเจ้านายเป็นกรมสมเด็จพระ ๓ พระองค์ คือ
ถวายพระนามพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชชนนีเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระองค์ ๑ ถวายมหาสมณุตมาภิเษกเลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ซึ่งทรงผนวชอยู่เป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส พระองค์ ๑ เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนเดชอดิศร เป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร พระองค์ ๑ มีในประกาศเลื่อนกรมเฉพาะพระองค์นี้พระองค์เดียวว่าให้ตั้งเจ้ากรมเป็นพระยา อีก ๒ พระองค์ เจ้ากรมเป็นพระ แต่ในสุพรรณบัฏที่ทรงตั้งส่วนพระองค์เจ้านายทรงพระยศเป็น กรมสมเด็จพระ เหมือนกันทั้ง ๒๓ พระองค์ คือกรมพระชั้นพิเศษ มิใช่กรมพระยา ยศพระยาเป็นแต่สำหรับตัวเจ้ากรมบางคน อย่างเดียวกับพระยาเทพสุดาวดีในรัชกาลที่ ๑
รองจากกรมสมเด็จพระ ทรงตั้งเจ้านายเป็น กรมพระ ชั้นสามัญ ๓ พระองค์ คือ
เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์ กรมขุนรามอิศเรศ เป็น กรมพระรามอิศเรศ พระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนพิพิธภูเบนทร เป็น กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร พระองค์ ๑ ในประกาศเลื่อนกรมเฉพาะพระองค์นี้ให้ทรงตั้งเจ้าหกรมเป็นพระยา (ได้ยินว่าเพราะตัวผู้เป็นเจ้ากรมในเวลานั้นเป็นราชินิกูลสายบางช้าง) พึงเห็นได้ชัดว่าที่เจ้ากรมเป็นพระยามิได้พาให้กรมเจ้านายเป็นกรมพระยาไปด้วย
เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นพิทักษ์เทเวศ เป็น กรมพระพิทักษ์เทเวศ พระองค์ ๑
การตั้งกรมเจ้านายตามระเบียบซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติผิดกับระเบียบเก่าเป็นข้อสำคัญบางอย่าง คือ
๑) กรมพระแต่ก่อนมีแต่ พระมหาอุปราชกับสมเด็จพระพันปีหลวงและกรมพระราชวังหลัง ถึงรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติว่าพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ที่พระชันษาแก่กว่าพระเจ้าแผ่นดินอาจเป็นกรมพระได้ แต่ที่พระชันษาอ่อนกว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นได้แต่กรมหลวง จึงมีจำนวนกรมพระมากขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ มา
๒) คำ สมเด็จ ที่ใช้ในพระนามเจ้านายแต่เดิมมา หมายความอย่างเดียวว่าเป็นเจ้าฟ้า เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี หรือเรียกโดยย่อว่า สมเด็จกรมพระเทพสุดาวดี ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ มา คำ สมเด็จ ในพระนามเจ้านายหมายความต่างกันได้ ๓ อย่าง หมายว่าเป็นเจ้าฟ้าอย่าง ๑ หมายว่าเป็นกรมพระชั้นพิเศษซึ่งไม่จำต้องเป็นเจ้าฟ้าอย่าง ๑ และหมายเป็นยศพระญาติวงศ์ชั้นสูงไม่จำต้องเป็นเจ้าฟ้าอย่าง ๑ เขียนต่างกันเช่นว่าสมเด็จกรมพระเทพสุดาวดี กรมสมเด็จพระเดชาดิศร และสมเด็จพระรูปศิริโสภาค ดังนี้ แต่คำเรียกด้วยวาจาคนพูดหมายแต่สะดวกปาก จึงเรียกสมเด็จเป็นอย่างเดียวกันว่า สมเด็จพระเทพสุดาวดี สมเด็จพระเดชาดิศร สมเด็จพระรูปฯ ดังนี้
ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อรกเสวยราชย์พระราชทานอุปราชาภิเษกพระบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์ ๑
สถาปนาพระอัฐิสมเด็จพระชนนี ซึ่งสวรรคตล่วงไปก่อนแล้วเป็น กรมสมเด็จพระเทพสิรินทรามาตย์ มีเจ้ากรมขอเฝ้าเป็นพระ พระองค์ ๑
ตั้งกรมพระเจ้าราชวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงละม่อม เป็น กรมพระสุดารัตนราชประยูร (เทียบที่กรมพระเทพามาตย์) พระองค์ ๑
ถึงปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ เมื่อบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ แล้ว
เลื่อนพระเจ้าราชวงศ์เธอ กรมพระสุดารัตนราชประยูร เป็น พระบรมมไหยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร เจ้ากรมเป็นพระยา พระองค์ ๑
เลื่อนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ เป็นกรมพระ พระองอค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทเวศวัชรินทร์ เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ ซึ่งทรงผนวช เป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ พระองค์ ๑
ต่อมาเลื่อนเจ้าฟ้ากรมพระบำราบปรปักษ์ เป็นกรมสมเด็จพระ เจ้ากรมเป็นพระยา พระองค์ ๑
ถวายมหาสมณุตมาภิเษกกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็น กรมสมเด็จพระ เจ้ากรมเป็นพระยา พระองค์ ๑
บรรดาศักดิ์เจ้ากรมของกรมสมเด็จพระเป็นพระยาทุกคน ตั้งแต่เลื่อนกรมครั้งนี้เป็นต้นมา อนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติไว้ว่าพระเจ้าน้องยาเธอเป็นได้เพียงกรมหลวงเป็นอย่างสูงนั้น ในรัชกาลที่ ๕ ทรงอนุโลมตามแบบอย่างพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเคยทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เป็นพิเศษ จึงทรง
เลื่อนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรพรรดิพงศ์ เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
เลื่อนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงภานุพันธุวงศวรเดช เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
ในรัชกาลที่ ๕ (ถ้าไม่นับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล) มีกรมสมเด็จพระ ๔ พระองค์ กรมพระ ๓ พระองค์
อนึ่งในรัชกาลที่ ๕ ทรงแก้ไขระเบียบพระยศสมเด็จพระมเหสีตั้งเป็นแบบใหม่ แบบเดิมแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พระมเหสีเป็นกรมหลวง แต่คนทั้งหลายเรียกว่าสมเด็จพระพันวัสสา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ทรงงดการตั้งกรมสำหรับพระมเหสี คงแต่เรียกกันว่าสมเด็จพระพันวัสสามาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอนุโลมตามแบบในกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งกำหนดศักดิ์ พระภรรยาเจ้า (พระมเหสี) เป็น ๔ ชั้น คือพระอัครมเหสี พระมเหสี พระราชเทวี และพระอัครชายา ทรงสถาปนา
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระบรมราชินีเป็นอัครมเหสี เจ้ากรมเป็นพระยา พระองค์ ๑ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เทียบเท่าพระมเหสี พระองค์ ๑ สมเด็จทั้งสองพระยานี้มีกรมแต่ไม่ใช้คำ กรม ในพระนาม ดูเหมือนจะเป็นแรก
ในรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนพระยศเจ้านายจากประเพณีที่มีมาแต่ก่อนอีกอย่างหนึ่ง คือเลิกกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงตั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มกุฎราชกุมาร อนุโลมตาม สมเด็จหน่อพุทธเจ้า ในกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยา แทนที่พระมหาอุปราช ไม่ตั้งกรมต่างหาก
มูลเดิมของ กรม เจ้านายมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นข้อสำคัญในรัชกาลที่ ๕ ด้วยตั้งแต่โบราณมาเจ้านายย่อมมีข้าคนเป็นบริวารทุกพระองค์ บริวารของเจ้านายที่ยังไม่ได้รับกรมมีจางวางเป็นหัวหน้าควบคุม ขึ้นอยู่ในกรมสนมพลเรือน เมื่อเจ้านายพระองค์ใดรับกรมก็แยกข้าคนของพระองค์ออกไปตั้งเป็นกรม ๑ ต่างหาก มีเจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชีควบคุม ลดศักดิ์จางวางลงมาคุมหมวดในกรมนั้น ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อตั้งพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ปล่อยพลเมืองจากสังกัดกรมต่างๆ ไปอยู่ในปกครองของเทศาภิบาลตามท้องที่ และให้บรรดาชายฉกรรจ์ต้องรับราชการทหารชั่วคราวเสมอหน้ากันทุกคน แทนขึ้นทะเบียนเป็น เลก สังกัดอยู่ในกรมต่างๆ อย่างแต่ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้เลิกกรมเจ้านายหมด แต่นั้นมาคำ กรม ก็เป็นแต่ติดอยู่กับพระนามเจ้านาย ไม่มีตัวตน เจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บัญชีก็กลายเป็นคนรับใช้เหมือนอย่างฐานานุกรมของพระราชาคณะ จึงนับว่าเลิก กรม เจ้านายมาแต่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓
ถึงรัชกาลที่ ๖ ทรงแก้ไขระเบียบพระเกียรติยศเจ้านายหลายอย่าง เป็นต้นแต่แก้พระนามอัฐิเจ้านายต่างกรม คือ
๑) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล รัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบัญญัติให้เรียกว่ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระองค์ ๑ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ พระองค์ ๑ และกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ พระองค์ ๑ นั้น ให้เปลี่ยนคำ กรมพระราชวังบวร ที่นำพระนามเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้า
๒) สมเด็จพระชนนีพันปีหลวงซึ่งเป็น กรมสมเด็จพระ แต่ก่อนมา เปลี่ยนเป็นสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี พระองค์ ๑ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี พระองค์ ๑ สมเด็จพระเทพสิรินทรา บรมราชินี พระองค์ ๑
๓) ถวายพระนามสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ องค์พระบรมราชาชนนีเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงตั้งตำแหน่งต่างๆ ในราชเสวกเป็นทำเนียบข้าราชการในสมเด็จพระพันปีหลวง แทนเจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บัญชีอย่างแต่ก่อน พึงเห็นได้ในบรรดาพระนามที่แก้ไขดังกล่าวมา พระนามใดที่เคยทีคำ กรม เปลื้องเอาคำ กรม ออกจากพระนามทั้งนั้น เอาแต่คำ สมเด็จพระ เป็นประธาน แต่คำ กรม แม้ไม่มีแก่นสารแล้วก็ยังทิ้งจากพระยศเจ้านายไม่ได้หมด ยังคงใช้ต่อมาเป็นแต่แก้ไขชั้น กรมสมเด็จพระ เป็นสมเด็จฯ กรมพระยา กรมชั้นอื่นนอกนั้นคงอยู่ตามเดิม
การที่แก้ยศ กรมสมเด็จพระ เป็น สมเด็จฯ กรมพระยา นั้น เกิดแต่ต้นรัชกาลที่ ๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะถวายมหาสมณุตมาภิเษกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมกลวงวชิรญาณวโรรส พระอุปัชฌาย์ เป็นสมเด็จพระมหาสังฆปรินายก ตัวอย่างเจ้านายที่ได้รับมหาสมณุตมาภิเษกมาแต่ก่อนเป็น กรมสมเด็จพระ เหมือนกันทั้ง ๒ พระองค์ แต่ผิดกันที่ยศเจ้ากรมของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ เป็นพระ เจ้ากรมของกรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นพระยา ปัญหาเรื่องกรมพระกับกรมพระยาเกิดขึ้นด้วยยศเจ้ากรมเป็นพระยาไม่ตรงกับกรมสมเด็จพระ เหมือนเช่นกรมพระ กรมหลวง เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสปรึกษากับกรมหลวงวชิรญาณฯ ทรงกำหนดชั้นกรมเจ้านายให้เป็นระเบียบตรงกับชั้นยศขุนนางซึ่งเป็นเจ้ากรมคงตามแบบเดิมตั้งแต่กรมหมื่นขึ้นไปจนกรมพระ ต่อนั้นทรงพระราชดำริจะให้มี กรมพระยา (ไม่มีคำสมเด็จ) ขึ้นอีกชั้นหนึ่ง และแก้ยศกรมสมเด็จแบบเดิมเป็น สมเด็จกรมพระยา เทียบเท่าชั้นสมเด็จเจ้าพระยาทางยศขุนนาง อันนี้เป็นพระเค้าพระราชดำริ
มีปัญหาต่อไปว่าคำ สมเด็จกรมพระยา จะเอาเข้าพระนามตรงไหน จะเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จกรมพระยา หรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา สมเด็จพระมหาสมณะทรงเห็นควรเป็นอย่างข้างหลัง และทรงพระดำริต่อไปว่า สมเด็จเจ้าพระยาได้เครื่องยศและมีกรมทนายเหมือนอย่างเจ้าต่างกรมฉันใด สมเด็จกรมพระพระยา (ที่มิได้เป็นเจ้าฟ้า) ก็ควรจะมีศักดิ์คล้ายเจ้าฟ้า (เคยได้ยินคำตรัสว่า เจ้าฟ้ายก เปรียบเช่นพระราชาคณะยก) เพราะฉะนั้นตามประเพณีเดิมพระองค์เจ้าต่างกรมทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ เท่ากันทุกชั้น จึงเพิ่มศักดินาสมเด็จกรมพระยาเป็น ๓๕๐๐๐ ต่ำกว่าศักดินาเจ้าฟ้าต่างกรม ๕๐๐๐ และได้พระราชทานเครื่องยศลงยาราชาวดีเหมือนเจ้าฟ้า เมื่อเอาคำ สมเด็จ มาตั้งหน้าพระนามกรมพระยาเหมือนอย่างเจ้าฟ้า ก็ต้องแก้ทางระเบียบพระนามเจ้าฟ้าให้ผิดกัน จึงเอาคำ เจ่าฟ้า ลงไว้ข้างหน้านามกรม เช่นว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้า กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช ฉะนี้ ให้ผิดกับสมเด็จกรมพระยาที่มิได้เป็นเจ้าฟ้า
ในรัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งสมเด็จกรมพระยานอกจากสมเด็จพระมหาสมณะอีก ๒ พระองค์ กรมพระพระองค์ ๑
เลื่อนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นสมเด็จกรมพระยาพระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทววงศ์วโรประการ เป็นสมเด็จกรมพระยาพระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
เฉลิมพระนามพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้าพาหุรัตนมณีมัย เป็นกรมพระเทพนารีรัตน พระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธพงศ์ เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิวัดนวิศิษฏ์ เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนาถ เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
ในรัชกาลที่ ๖ ทรงเปลี่ยนคำนำพระนามตามชั้นพระราชวงศ์ ซึ่งบัญญัติขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ด้วยอีกอย่าง ๑ เพราะตามแบบเก่าต้องแก้ชั่วบุรุษ ทรงบัญญัติใหม่เพื่อมิให้ต้องแก้ คือ
๑) บรรดาพระราชบุตรธิดาแต่ชั้นพระเจ้าอาว์ขึ้นไป รวมทั้งพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๓ ให้ใช้คำนำพระนามว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เหมือนกันทุกชั้น
๒) พระราชบุตรและธิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้า และพระเจ้าลูกเธอของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ใช้คำนำพระนามว่า พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ แต่ลูกเธอของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเป็น พระราชวรวงศ์เธอ
เจ้านายชั้นพระเจ้าพี่ยาเธอ พระเจ้าน้องยาเธอ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระวรวงศ์เธอ พระวงศ์เธอ คงอยู่ตามแบบเดิม
ถึงรัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระชายา เป็นสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินี แต่การตั้งกรมเจ้านายพฤติการณ์ผิดกับรัชกาลที่ ๖ ด้วยได้เฉลิมพระยศสมเด็จพระบรมราชชนนีแต่ในรัชกาลนั้นแล้ว พระอุปัชฌาย์ก็ได้เฉลิมพระยศและสิ้นพระองค์ไปแล้ว แต่มีกรณีเป็นเหตุที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรแก้ไขแบบเดิมบ้าง การตั้งกรมเจ้านายในรัชกาลที่ ๗ จึงทรงเพิ่มพระยศสมเด็จพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งยังอยู่ ๓ พระองค์ คือ
ทรงสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระมเหสีในรัชกาลที่ ๕ เป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า เจ้ากรมเป็นพระยา เทียบที่กรมพระเทพามาตย์แต่โบราณ พระองค์ ๑
ทรงสถาปนาพระนางเจ้าสุขุมมาลมารศรี พระราชเทวี เป็นสมเด็จพระปิตุฉาเจ้า สุขุมมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เจ้ากรมเป็นพระ พระองค์ ๑
เลื่อนพระยศพระอัครชายาเธอ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ เป็นพระวิมาดาเธอ กรมพระ พระองค์ ๑
เพิ่มพระยศสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงศักดินา ๑๐๐๐๐๐ เสมอกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแต่ก่อน พระองค์ ๑
เลื่อนสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เป็นสมเด็จกรมพระยา พระองค์ ๑
เพิ่มพระยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ พระองค์ ๑ (น่าจะนับว่าเป็นกรมพิเศษ เพราะมิได้เพิ่มศักดินาและเครื่องยศอย่างสมเด็จกรมพระยา)
เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นกรมพระ พระองค์ ๑
นอกจากสมเด็จพระพันวัสสา สมเด็จพระปิตุจฉา และสมเด็จพระราชปิตุลา ในรัชกาลที่ ๗ ทรงตั้งสมเด็จกรมพระยา พระองค์ ๑ สมเด็จกรมพระและกรมพระ ๔ พระองค์
เรื่องตำนานการตั้งกรมสมเด็จและกรมพระมามรดังนี้
ที่จะเรียกว่า สมเด็จกรม หรือ กรมสมเด็จ นั้น หม่อมฉันเห็นว่าที่มิได้มีพระราชบัญญัติให้เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ควรเรียกตามพระสุพรรณบัฏเป็นหลัก ชั้นก่อนรัชกาลที่ ๖ คงเรียกพระนามดังนี้ จะยกตัวอย่าง เช่น
สมเด็จ (พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า) กรมพระเทพสุดาวดี
กรมสมเด็จพระเดชาดิศร
สมเด็จ (พระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้า) กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์
เจ้านายพระองค์ใดที่ได้เป็นสมเด็จกรมพระยาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ มา จึงควรเรียกว่าสมเด็จกรมพระยา ที่เรียกว่ากรมพระยาเลยขึ้นไปถึงก่อนรัชกาลที่ ๖ ไม่มีมูล และทำให้เกิดยุ่งด้วย เพราะกลายเป็นสมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อยในรัชกาลที่ ๑ ดูเหมือนพระยศต่ำกว่าพระองค์ใหญ่ และทำให้ดูเหมือนกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ทรงพระยศต่ำกว่ากรมสมเด็จพระเดชาดิศร หม่อมฉันคิดเห็นดังนี้.
.........................................................................................................................................................
คัดจากชุมนุมพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
Create Date : 08 มิถุนายน 2550
Last Update : 8 มิถุนายน 2550 10:21:11 น.
2 comments
Counter : 7687 Pageviews.
Share
Tweet
แวะมาหาความรู้คะ...สวัสดีวันศุกร์คะ..
โดย:
vintage
วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:10:41:24 น.
ขออภัยอย่างสูงที่มาตอบช้า (มากๆ)
ยินดีที่แวะเข้ามาเยี่ยมครับ
โดย:
กัมม์
วันที่: 30 มิถุนายน 2550 เวลา:16:17:44 น.
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
กัมม์
Location :
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [
?
]
วิชา ความรู้จะมีค่าเมื่อถูกถ่ายทอด
Bigmommy
NickyNick
เพ็ญชมพู
kenzen
สาวใหม
กระจ้อน
คนรักน้ำมัน
Why England
naragorn
biebie999
วรณัย
เซียงยอด
แม่สลิ่ม
รอยคำ
สุธน หิญ
นอกราชการ
BFBMOM
มณีไตรรงค์
karmapolice
เมื่อไรจะหายเหงา
เจ้าชายเล็ก
รักดี
ลุงนายช่าง
nidyada
mr.cozy
กวินทรากร
Mutation
พลังชีวิต
หนุ่มรัตนะ
Webmaster - BlogGang
[Add กัมม์'s blog to your web]
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
หอมรดกไทย
เวียงวัง
มอญ
กฎหมายไทย
ประตูสู่อีสาน
พจนานุกรมไทย-อังกฤษ
พจนานุกรมไทย-บาลี
คำไท - คำถิ่น
คนโคราช
หนังสือหายาก E - Book
ลิลิตตะเลงพ่าย
สามก๊ก
บ้านมหา (หมอลำออนไลน์)
หมากรุกไทย และหมากกระดาน
ราชกิจจานุเบกษา
สมุดภาพเมืองไทยในอดีต
พระราชวังพญาไท
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ฐานข้อมูลภาพถ่าย กรมศิลปากร
ปากเซ ดอท คอม
ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้
มวยไชยา
ดำรงราชานุภาพ
พิพิธภัณฑ์ธงสยาม
ห้องสมุดพันทิป
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
จิตรกรรมฝาผนังวัดบุปผาราม
พิพิธภัณฑ์ศาลไทย
จิตรธานี
Wikimapia
ราชบัณฑิตยสถาน
Bloggang.com
MY VIP Friend