กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
เพชรพระมหามงกุฎ
แผ่นดินทอง
รัตนโกสินทร์ ๒๒๕ ยินดีต้อนรับ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระราชสกุล
เที่ยวเมืองพระร่วง
ตำนานวังหน้า
ความ-ทรงจำ ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
อธิบายเรื่องธงไทย
ตำนานภาษีอากร
บันทึกรับสั่งสมเด็จฯ
สารคดีที่น่ารู้ - ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
พระจอมเกล้าพระจอมปราชญ์
เทศาภิบาล
สิมอีสาน
ว่าด้วยตำนานเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน
ตำนานการสอบพระปริยัติธรรม
ตำนานพระแก้วมรกต
เรื่องทรงเที่ยวกลางคืน พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรจนถึงสวรรคต
พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสแหลมมลายูคราว ร.ศ. ๑๐๘
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนเสวยราชย์
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนเสวยราชย์
ว่าด้วยประเทศสยามในจดหมายเหตุจีน
ว่าด้วยหน้าที่และพระอัธยาศัยในกรมพระราชวังบวรฯ กรุงรัตนโกสินทร์
ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร
คำให้การหัวพันห้าทั้งหกในศึกฮ่อ
อำแดงเหมือน กับ นายริด
แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
ว่าด้วยตำนานการเดินทางของฝรั่งมาสู่สยาม และมูลเหตุที่รับเป็นไมตรี
สำเภาเจดีย์ที่วัดยานนาวา
กรุงศรีอยุธยา ครั้งบ้านเมืองดี
ร.ศ. ๑๑๒
อธิบายเรื่องพระบาท
อธิบายตำนานรำโคม
วิจารณ์ว่าด้วยหนังสือ พราหมณศาสตร์ทวาทสพิธี
วินิจฉัยประเพณีแต่งงานอย่างโบราณ
พระราชหัตถเลขาอันเป็นมูลเหตุที่ตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ
บรรดาศักดิ์ "เจ้าคุณ" ฝ่ายผู้หญิง
รับทูตฝรั่งครั้งกรุงรัตนโกสินทร์
ตำนานการที่ไทยเรียนภาษาอังกฤษ
ลักษณะการศึกษาของเจ้านายแต่โบราณ
คำให้การชาวอังวะ
แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรฐมหาราช
"กรมสมเด็จ" กับ "สมเด็จกรม"
พระบรมราชาธิบายเรื่อง ตั้งกรมเจ้านาย
เปรียบนามสกุลกับชื่อแซ่
พระราชปุจฉาอันเป็นมูล "พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ"
คำให้การเฒ่าสา เรื่องหนังราชสีห์
ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่างๆ
ตำนานพระโกศ
ศึกเจ้าอนุเวียงจันทน์
ศึกถลาง
อธิบายเรื่องพระมหาอุปราช
เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน สรุป
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน ตอนที่ ๒
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน ตอนที่ ๑
อธิบายเรื่องวรรณยุกต์
ประกาศพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
ประกาศขนานนามพระพุทธปฏิมากรประจำรัชกาล
ตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม
เหตุเกิดเมื่อศักราช ๙๐๗ พระเทียรราชาได้ราชสมบัติ
เสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน มณฑลอุดร ตอนที่ ๑
เสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน มณฑลอุดร ตอนที่ ๒
เมื่อแผ่นดินทรงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒ พระองค์
ว่าด้วยลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ
เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๓
พระราชมรดกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ตำหนักทองที่วัดไทร
ด่านพระเจดีย์สามองค์
๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ เมื่อแผ่นดินสยามร้องไห้
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
สร้างพระบรมรูปทรงม้า
สมเด็จพระปิยมหาราช
อั้งยี่
ตำนานเงินตรา
ตำนานอากรบ่อนเบี้ยและหวย
แผ่นดินพระร่วง
จดหมายเหตุเสด็จหว้ากอ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
แรกมีอนามัยในเมืองไทย
แรกมีโรงพยาบาลในเมืองไทย - ศิริราชพยาบาล
พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน
พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย
แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
แผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา
ตำนานกรุงศรีอยุธยา
ศึกคราวตีเมืองพม่า
ศึกเมืองทวาย
ศึกพม่าที่นครลำปางและป่าซาง
ศึกพม่าที่ท่าดินแดง
ศึกหินดาดลาดหญ้า
ค้นเมืองโบราณ
ว่าด้วยตำนานสามก๊ก
ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม
พระราชกรัณยานุสรณ์
หนังสือหอหลวง
ว่าด้วยยศเจ้านาย
ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร
.........................................................................................................................................................
ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร
เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดเป็น ๓ ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค ๑ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค ๑ เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค ๑
เรื่องเมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ที่จะรู้ให้ถ้วนถี่นั้นยากแต่ก็มีศิลาจารึกและหนังสือโบราณ พอจะตรวจตราสอบสวนให้รู้เรื่องได้บ้าง ศิลาจารึกและหนังสือโบราณมีเรื่องครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ข้าพเจ้าได้พบ ๑๑ เรื่อง จะบอกไว้โดยสังเขปต่อไปนี้ คือ
๑. ศิลาจารึกของขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นพระเจ้ากรุงสุโขทัยรัชกาลที่ ๓ ในราชวงศ์พระร่วง จารึกไว้เมื่อราวปีมะโรง จุลศักราช ๖๕๔ พ.ศ. ๑๘๓๕ เป็นหลักศิลาแรกที่จารึกด้วยตัวหนังสือไทย เล่าเรื่องสุโขทัยตั้งแต่พระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์ครองราชสมบัติ มาจนถึงแผ่นดินของพระเจ้าขุนรามคำแหง
๒. ศิลาจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งครองราชสมบัติ ณ กรุงสุโขทัย เป็นรัชกาลที่ ๕ ในราชวงศ์พระร่วง จารึกไว้ที่เมืองนครชุม (อยู่หลังเมืองกำแพงเพชรเดี๋ยวนี้) เมื่อราวปีระกา จุลศักราช ๗๑๙ พ.ศ. ๑๙๐๐ เล่าเรื่องบรรจุพระบรมธาตุที่ได้มาจากเมืองลังกา
๓. ศิลาจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไทย จารึกไว้เป็นภาษาไทยหลัก ๑ ภาษาเขมรหลัก ๑ เมื่อราวปีฉลู จุลศักราช ๗๒๓ พ.ศ. ๑๙๐๔ เล่าเรื่องต่างๆ ที่มีในรัชกาลของพระมหาธรรมราชาลิไทย
๔. หนังสือเรื่องนางนพมาศ หนังสือเรื่องนี้ว่าเป็นของนางนพมาศ ธิดาของพระศรีมโหสถ เป็นตระกูลพราหมณ์ครั้งกรุงสุโขทัยแต่ เล้าเรื่องที่บิดานำนางนั้นถวายเป็นพระสนมของสมเด็จพระร่วงได้เป็นพระสนมเอกที่ท้างศรีจุฬาลักษณ์ เข้าไปอยู่ในพระราชวัง เห็นขนบธรรมเนียมราชประเพณี ตลอดจนภูมิสถานบ้านเมืองและรั้ววังอย่างไรก็จดพรรณนาไว้ในหนังสือนั้น รวม ๓ เล่มสมุดไทย เรียกกันว่าเรื่องนางนพมาศบ้าง เรียกตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์บ้าง
เมื่ออ่านตรวจดูหนังสือเรื่องนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าในทางภาษาเป็นหนังสือแต่งใหม่ในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง สำนวนผิดกับหนังสือแต่งครั้งกรุงสุโขทัยนัก และมีข้อความในหนังสือนั้นบางแห่ง ซึ่งเห็นว่าเป็นความจริงไม่ได้เป็นอันขาด เช่น ชาวต่างประเทศว่ามีอังกฤษ ฝรั่งเศส วิลันดา สเปน และที่สุดอเมริกัน ซึ่งความจริงรู้อยู่เดี๋ยวนี้เป็นแน่นอนว่า ฝรั่งชาติเหล่านั้นหรือชาติใดๆ ยังไม่มีมาทางประเทศนี้ในครั้งนางนพมาศ
อีกประการหนึ่งที่ว่า ครั้งนครสุโขทัยมีปืนใหญ่หนักตั้งห้าร้อยหาบ พันหาบ ข้อนี้ก็จะเป็นความจริงไม่ได้ ด้วยปืนใหญ่ยังไม่ได้เกิดขึ้นในโลกในเวลานั้น เหตุใดจึงกล่าวไว้ในหนังสือนางนพมาศ เหตุนี้จึงน่าสงสัยจะเป็นหนังสือผู้อื่นแต่งขึ้นใหม่ๆ เอาแต่ชื่อนางนพมาศมาอ้างให้คนหลงเชื่อ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสกราบบังคมทูลความปรารภเรื่องนี้แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งหนึ่ง มีรับสั่งว่าได้ทรงสังเกตอยู่ว่าหนังสือเรื่องนางนพมาศ ทางภาษาเป็นหนังสือใหม่และมีข้อความที่จะจริงไม่ได้อยู่ในนั้นจริง แต่ท่านผู้ศึกษาโบราณคดีแต่ก่อนมามีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเป็นต้น ท่านทรงนับถือหนังสือเรื่องนี้อยู่ ท่านคงจะได้ทรงสังเกตเห็นความวิปลาสในหนังสืออย่างที่เราเห็นเหมือนกัน แต่ท่านจะได้หลักฐานอื่นอย่างไรซึ่งเรารู้ไม่ได้มาประกอบ จึงได้ทรงเชื่อถือ
ในส่วนพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเองนั้น พระองค์ทรงพระราชดำริเห็นว่า เรื่องเดิมเขาจะมีจริงแต่ต้นฉบับจะลบเลือนบกพร่องอยู่อย่างไร มามีผู้ปฏิสังขรณ์หนังสือเรื่องนี้ขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ แต่ผู้ที่ปฏิสังขรณ์หย่อนทั้งสติปัญญาและความรู้ ไปหลงนิยมเสียว่า ยิ่งตกแต่งให้เพราะเจาะละเอียดลออขึ้นได้อีกเท่าใด ยิ่งเป็นการดี จึงซ่อมแซมเสียจนเลอะไปอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้
๕. หนังสือตำนานพระสิหิงค์ พระภิกษุชื่อโพธิรังษีแต่งไว้เป็นภาษามคธ ประมาณว่าเมื่อระหว่าง พ.ศ. ๒๐๐๐ จน ๒๐๗๐ เล่าเรื่องพระพุทธรูปซึ่งถวายพระนามว่า พระพุทธสิหิงค์ เดิมสร้างขึ้นที่เมืองลังกา แล้วพระร่วงให้พระเจ้านครศรีธรรมราชไปขอมาไว้เมืองสุโขทัย แล้วเล่าถึงเหตุการณ์ที่เชิญพระสิหิงค์ไปไว้ยังเมืองต่างๆ หนังสือนี้ได้แปลและแต่งเป็นภาษาไทยหลายฉบับ
๖. หนังสือชินกาลมาลินี พระภิกษุชื่อรัตนปัญญาณอยู่ในอาณาจักรลานนาไทย (คือเชียงใหม่) แต่งเป็นภาษามคธ เมื่อปีชวด จุลศักราช ๘๗๘ พ.ศ. ๒๐๕๙ กล่าวด้วยเรื่องพระพุทธศาสนามาประดิษฐานในประเทศนี้ แปลเป็นภาษาไทยเมื่อในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
๗. หนังสือจีนชื่อคิมเตี้ยซกทงจี๋ ซึ่งพระเจ้ากรุงจีนในราชวงศ์ไต้เชง แผ่นดินเขียนหลง มีรับสั่งให้กรรมการขุนนางแต่งขึ้นเมื่อปีกุน จุลศักราช ๑๑๒๙ พ.ศ. ๒๓๑๐ ว่าด้วยทางพระราชไมตรีในระหว่างกรุงจีนกับกรุงสยาม หนังสือเรื่องนี้ขุนเจนจีนอักษร (สุดใจ) ได้แปลเป็นภาษาไทย
๘. หนังสือพงศาวดารเหนือ ได้ความตามบายแผนกที่มีอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงรวบรวมเมื่อปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๖๙ พ.ศ. ๒๓๕๐ กรมพระราชวังฯ มีพระบัณฑูรให้พระวิเชียรปรีชา (น้อย) เจ้ากรมราชบัณฑิตขวาเป็นผู้เรียบเรียง วีที่พระวิเชียรปรีชาเรียบเรียงพงศาวดารเหนือ ดูเหมือนหนึ่งเที่ยวเก็บหนังสือเรื่องราวอะไรเก่าๆ บรรดามี ซึ่งเชื่อว่าเป็นเรื่องก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา บางทีจะถึงจดคำเล่าคำบอกของชาวเมืองเหนือ ที่รู้เรื่องเก่าๆ เอาหนังสือเหล่านั้นมาเรียบเรียงลำดับ ตามที่เชื่อว่าเรื่องไหนก่อนเรื่องไหนหลัง แล้วคิดตกแต่งตรงหัวต่อด้วยตั้งใจจะเชื่อมให้เป็นเรื่องเดียวกัน อย่างพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เพราะฉะนั้นหนังสือพงศาวดารเหนือ จริงเป็นหนังสือหลายเรื่องเรียบเรียงไขว้เขว บางทีเรื่องเดียวซ้ำ ๒ หนก็มี ศักราชที่ลงไว้ในพงศาวดารเหนือวิปลาสจนอาศัยสอบสวนไม่ได้ทีเดียว แต่เนื้อเรื่องที่กล่าวในพงศาวดารเหนือมีมูลที่เป็นความจริงอยู่มาก ถ้าจะสอบสวนต้องเลือกหั่นเอาไป อย่าเชื่อตามลำดับเรื่องที่พระวิเชียรปรีชาเรียงไว้ จึงจะได้ความ
๙. หนังสือตำนานโยนก ว่าด้วยพงศาวดารเหนือในมณฑลพายัพที่เมืองเชียงใหม่เป็นต้น พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) รวบรวมตำนานและพงศาวดารทั้งปวง มาตรวจสอบแต่งขึ้นเป็นตำนานโยนกเรื่อง ๑ หนังสือตำนานโยนกนี้เป็นหนังสือดี ที่ผู้แต่งคือ พระยาประชากิจกรจักร มีความอุตสาหะรวบรวม แต่งด้วยความคิดและความรู้โบราณคดีอย่างลึกซึ่ง ควรจะสรรเสริญว่าเป็นหนังสืออย่างดีในพงศาวดารไทยเรื่อง ๑ น่าเสียดายที่พระยาประชากิจกรจักรถึงอนิจกรรมไปเสียแต่งยังหนุ่ม ถ้ายังอยู่จะเป็นกำลังในการสอบสวนพงศาวดารได้อีกคน ๑
๑๐. หนังสือราชาธิราช เป็นพงศาวดารเมืองรามัญ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีรับสั่งให้เรียบเรียงเป็นภาษาไทย เมื่อปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ เนื้อความตอนต้นมีเรื่องเกี่ยวข้องถึงกรุงสุโขทัยมาก
๑๑. หนังสือจามเทวีวงศ์ พระโพธิรังษีเมืองเชียงใหม่แต่งเป็นภาษามคธ แปลออกเป็นพงศาวดารเมืองหริภุญไชย ก็มีเนื่องถึงกรุงสุโขทัยอีกเรื่อง ๑
เรื่องพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตรวจสอบได้ง่ายกว่าเรื่องครั้งกรุงสุโขทัย ด้วยมีหนังสือพระราชพงศาวดารอยู่เป็นหลัก
หนังสือพระราชพงศาวดารที่ปรากฏแก่คนทั้งหลายโดยมากมาแต่ก่อน คือ หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับ ๒ เล่มสมุดฝรั่ง ที่หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมืองปีกุน จุลศักราช ๑๒๒๕ พ.ศ. ๒๔๐๖ และโรงพิมพ์อื่นๆ ได้พิมพ์ต่อมาอีกหลายครั้ง เข้าใจกันมาแต่ก่อนว่าหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับ ๒ เล่มนั้น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ทรงแต่งขึ้น (ด้วยอาศัยเก็บข้อความจากหนังสือเรื่องหนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระวันรัตได้แต่งไว้เป็นภาษามคธ เรียกชื่อหนังสือนั้นว่า มหายุทธการตอน ๑ จุลยุทธการตอน ๑) จึงเรียกหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่มนั้นว่า พระราชพงศาวดารฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ผู้ศึกษาพงศาวดารได้อาศัยแต่หนังสือฉบับ ๒ เล่มนั้นเป็นตำรา จนแทบเข้าใจกันทั่วไปว่า หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงเก่ามีแต่ฉบับนั้นฉบับเดียว
ความรู้เรื่องหนังสือพระราชพงศาวดาร เพิ่มมากว้างขวางออกไปเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดหอพระสมุดวชิรญาณเป็นหอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อ ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) โปรดให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังเสด็จดำรงพระเกียรติยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เป็นสภานายกของกรรมการ และต่อมาได้ทรงตั้งโบราณคดีสโมสรขึ้น เมื่อ ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับเป็นพระราชธุระในหน้าที่สภานายกเอง กรรมการหอพระสมุดพยายามหาหนังสือเก่ามารวบรวมไว้ในหอพระสมุดได้มาก และผู้ที่เป็นสมาชิกในโบราณคดีสโมสรหลายคน ได้ช่วยกันตรวจสอบหนังสือพระราชพงศาวดารที่หอพระสมุดรวบรวมไว้ ถ้ามีข้อสงสัยก็นำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ หารือ และได้รับพระราชทานกระแสพระบรมราชวินิจฉัยมาเนืองๆ จนที่สุดไปรับพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่องหนังสือพระราชพงศาวดาร ในเวลาก่อนพระองค์เสด็จสวรรคตเพียง ๒ เดือนเศษ ดังแจ้งอยู่ในสำเนาพระราชหัตถเลขาที่พิมพ์ไว้ต่อไปนี้
สวนดุสิต
วันที่ ๘ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
ถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ
ได้หนังสือลงวันที่ ๕ เดือนนี้ว่า หอพระสมุดได้หนังสือพงศาวดารแปลกอีก ๒ ฉบับ เป็นฉบับเขียนเมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ และฉบับทรงชำระในจุลศักราช ๑๑๕๗ ความเดียวกับฉบับพิมพ์ แต่ฉบับเขียนเมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ ถ้อยคำขาดๆ เกินๆ ครุคระผิดกับฉบับพิมพ์ ได้คัดเทียบไว้ตอนหนึ่ง ส่งต้นหนังสือพระราชพงศาวดาร ๒ เล่ม กับที่ได้คัดเทียบความไว้มาให้ดู เธอตีความไม่ออกว่าฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕ จะเป็นหนังสือกรุงเก่าแผ่นดินใด หรือหนังสือกรุงธนบุรีแต่ง ได้ลองพิจารณาดูความในหนังสือพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม หาหัวต่อยังไม่ได้นั้น ทราบแล้ว
พงศาวดารว่ากันด้วยฉบับพิมพ์ เห็นว่ามีอยู่ ๕ ฝีปาก ตอนแรกจะเป็นคัดจากจดหมายเหตุท้ายปูม (ตอนที่ ๒) ขึ้นหัวต่อแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จนถึงแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง ตอนนี้เข้าใจว่าได้แต่งในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลักที่จะแต่งได้มาจากไหน คือ จดหมายเหตุรายวันทัพอย่างเช่นจดหมายเหตุรายวันทัพครั้งพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งฉันได้คัดลงไว้ในพระราชวิจารณ์บางตอนนั้น
ตอนที่ ๓ เริ่มตั้งแต่แผ่นดินพระนารายณ์ลงมา จนถึงแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เข้าใจว่าจะแต่งโดยรับสั่งพระเจ้าอยู่อยู่หัวบรมโกศ แต่ในระยะนั้นไม่มีจดหมายเหตุทัพจึงคัดลงไปเช่นกับได้ผูกสำนวนคำให้การอีแก่น ก็คัดลงไปทั้งดุ้นเลื้อยเจื้อย เพราะเก็บข้อความไม่เป็นเสียแล้ว
ตอนที่ ๔ ข้อความตั้งแต่ในแผ่นดินพระบรมโกศท่อนปลายมาจนเสียกรุง อาจที่จะเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรีรับสั่งให้จดหมายขึ้นไว้ให้บริบูรณ์ ข้อความจึงแตกกันอยู่เป็น ๒ แปลง
ตอนที่ ๕ เป็นตอนซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ทรงเก็บตามรายวันทัพนั้นเอง ซึ่งมีสมุดรายวันอาจสอบกับพงศาวดารได้ว่าท่านเก็บอย่างไร ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
ข้อซึ่งหนังสือ ๒ เล่มอ้างว่าทรงชำระเมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ และ ๑๑๕๗ ฉันเห็นว่าจะเป็นแต่ชำระตรวจสอบถ้อยคำ และดัดแปลงสำนวนบ้าง ไม่ใช่แต่งหรือเก็บความขึ้นร้อยกรองใหม่ เคยสังเกตใจว่าสำนวนพงศาวดารนั้นแบ่งเป็นตอนๆ เช่นนี้ ได้ส่งสมุดดำทั้ง ๒ เล่มนั้นคืนออกมาด้วย
(พระบรมนามาภิไธย) สยามินทร์
เพื่อจะให้ผู้อ่านเข้าใจในพระบรมราชาธิบายในพระราชหัตถเลขานี้ชัดเจน จำจะต้องเล่าแม้โดยย่อ พอให้ทราบก่อนว่า หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับต่าง ที่หอพระสมุดวชิรญาณรวบรวมไว้ ได้มีต่างกันอย่างไรบ้าง
หนังสือพระราชพงศาวดาร ที่กรรมการหอพระสมุดหาต้นฉบับได้ในรัชกาลที่ ๕ มีอยู่ ๕ ความคือ
(๑) หนังสือพระราชพงศาวดาร ที่เรียกพระราชพงศาวดารฉบับนี้ว่า ฉบับหลวงประเสริฐ เพราะพระปริยัติธรรมธาดา (แพ) เปรียญ แต่ยังเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ไปได้ต้นฉบับมาให้แก่หอพระสมุด กรรมการจึงให้เรียกชื่อว่า ฉบับหลวงประเสริฐ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ผู้ให้ หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับนี้ ข้างต้นมีบานแผนกว่า ศุภมัสดุ ๑๐๔๒ ศก วอกนักษัตร ณ วันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ทรงพระกรุณาโปรดเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ให้เอากฎหมายเหตุของพระโหราเขียนไว้แต่ก่อน และกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ และเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเป็นแห่งเดียว ให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้ ดังนี้ คือว่าหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีรับสั่งให้แต่งขึ้น ต้นฉบับที่หอพระสมุดได้มาเห็นจะเขียนในครั้งกรุงเก่า ได้มาแต่เล่ม ๑ เล่มเดียว ความขึ้นต้นแต่สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าแพนงเชิง เมื่อปีชวด จุลศักราช ๙๖๖ ถึงสมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพไปถึงเมืองห้างหลวง หมดเล่ม ๑ หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับ ความกล่าวย่อๆ แต่มีเนื้อความที่พระราชพงศาวดารฉบับอื่นบกพร่องอยู่ในฉบับนี้หลายแห่ง และศักราชที่บอกไว้สอบได้ถูกต้องมั่นคงมาก หนังสือฉบับนี้ เข้าใจว่าของเดิมจะมีเล่ม ๒ อีกเล่มหนึ่ง
(๒) หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕ (คือต้นฉบับที่ได้มา เขียนเมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ ปี ๑) ฉบับนี้ความพิสดารอย่างฉบับที่พิมพ์เป็น ๒ เล่ม แต่จะขึ้นต้นที่ไหนลงท้ายที่ไหนและกี่เล่มจบทราบไม่ได้ เพราะหาต้นฉบับได้แค่ ๒ เล่ม รู้ได้ว่าความหนึ่งต่างหากที่สำนวนผิดกับฉบับอื่นๆ
(๓) หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับจุลศักราช ๑๑๕๗ มีบานแผนกว่า ศุภมัสดุ จุลศักราช ๑๑๕๗ ปีเถาะสัปตศก สมเด็จพระบรมธรรมฤกมหาราชาธิราชพระเจ้าอยู่หัว ผ่านถวัลยราชกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา เถลิงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงชำระพระราชพงศาวดาร ดังนี้ เข้าใจได้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงชำระหนังสือพระราชพงศาวดารในปีนั้น และในต้นฉบับเขียนบอกในที่บางแห่งว่าตั้งนั้นทรงแทรกเข้าใหม่ หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับนี้ได้ต้นฉบับเขียนครั้งรัชกาลที่ ๑ ไว้เพียง ๓ เล่ม มีฉบับจำลองอีก ๔ เล่ม รวม ๗ เล่ม คงจะเริ่มความแต่เมื่อสร้างกรุงศรีอยุธยา แต่จะจบเพียงไร และจะเป็นสมุดไทยกี่เล่ม ยังทราบไม่ได้
(๔) หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับเมืองเพชรบุรี (คือได้ต้นฉบับมาจากเมืองเพชรบุรี) ฉบับ ๑ ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) จารลงใบลานผูกไว้เป็นคัมภีร์ฉบับ ๑ ทั้ง ๒ ฉบับนี้เทียบโวหารดู ความตรงกับฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ที่ว่ากรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ทรงแต่ง แต่ไม่มีพระราชพงศาวดารสังเขปเรื่องนายแสนปม และพระราชพงศาวดารย่อข้างต้น
เรื่องพระราชพงศาวดารสังเขปที่พิมพ์ไว้ข้างต้นฉบับพิมพ์ ๒ เล่มนั้น ตามฉบับที่มีในหอพระสมุดฯ มีบายแผนกข้างต้นว่า ศุภมัสดุ จุลศักราช ๑๒๑๒ ปีจอโทศก วันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย มีพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ให้พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอรรณพ มาเผดียงกรมหมื่นนุชิตชิโนรส วันพระเชตุพน ให้เรียบเรียงพระราชพงศาวดารลำดับกษัตริย์กรุงเก่าโดยสังเขป ทูลเกล้าฯ ถวาย ดังนี้ เป็นอันเข้าใจได้ว่า เป็นหนังสือซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อาราธนากรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ทรงเรียบเรียงขึ้นทีหลังเป็นเรื่องหนึ่งต่างหาก หมอบรัดเลเห็นจะได้ฉบับมาพร้อมกับพระราชพงศาวดารความพิสดาร จึงพิมพ์ตอนสังเขปลงไว้ข้างหน้า ส่วนพระราชพงศาวดารย่อต่อตอนสังเขปนั้น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ได้ทรงเรียบเรียงขึ้นในคราวทรงเรียบเรียงพระราชพงศาดารสังเขปนั้นเอง
ข้าพเจ้าได้เอาพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกับฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ข้างตอนต้น ทั้งความและถ้อยคำตรงกับฉบับหลวงประเสริฐ เห็นได้ว่าผู้แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ได้คัดพระราชพงศาวดารฉบับที่แต่งในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาลงไว้ในฉบับพิสดารนี้หลายแห่ง และเพิ่มเติมขยายความออกให้กว้าง ตั้งแต่ตอนแผ่นดินสมเด็จไชยราชาธิราชลงมา มีที่ประหลาดอยู่หน่อยที่ศักราชซึ่งลงไว้ในฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ตรงกับฉบับหลวงประเสริฐเพียงในแผ่นดินพระเจ้าอู่ทอง ต่อนั้นมาผิดศักราชกันตั้งแต่ ๔ ปีถึง ๒๐ ปีก็มี
(๕) หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาที่พิมพ์นี้ฉบับ ๑ ฉบับกรมหลวงมหิศวรินทร์ฉบับ ๑ ๒ ฉบับนี้ความต้องกัน หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานี้ ได้ความว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงชำระใหม่ แก้ไขเพิ่มเติมของเก่าหลายแห่ง เนื้อความบริบูรณ์ดีขึ้นมาก ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เมื่อกรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงชำระแล้ว นำต้นฉบับขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรวจแก้ไข จึงปรากฏพระราชหัตถเลขาอยู่ในต้นฉบับ หอหลวงพระสมุดได้มาแต่ ๒๒ เล่ม แต่เคราะห์ดีที่ได้ฉบับกรมหลวงมหิศวรินทร์มาประกอบกัน ได้เนื้อความบริบูรณ์เป็นหนังสือ ๔๒ เล่มสมุดไทย กล่าวความแต่สร้างกรุงศรีอยุธยามาจนถึงในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ จบเพียงจุลศักราช ๑๑๕๒
หนังสือพระราชพงศาวดารที่หอพระสมุดได้มา มีต่างความกันดังนี้ ทำให้รู้ได้แน่ว่า หนังสือพระราชพงศาวดารมีอยู่ก่อนกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ มิได้ทรงแต่งพระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่มขึ้นใหม่ดังเข้าใจกันมาแต่ก่อน จึงเป็นเหตุให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ หารือ ว่าหนังสือพระราชพงศาวดารนี้จะแต่งในครั้งใดบ้างแน่ จึงได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ดังแจ้งอยู่ในพระราชหัตถเลขานั้น
ครั้งต่อมาในรัชกาลที่ ๖ เมื่อ ร.ศ. ๑๓๐ พ.ศ. ๒๔๕๔ นายเสถียร รักษา (กองแก้ว) ให้หนังสือพระราชพงศาวดารแก่หอพระสมุดอีกฉบับ ๑ ต้นฉบับเขียนครั้งกรุงธนบุรี เมื่อจุลศักราช ๑๑๓๖ สำนวนยังเก่ากว่าฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕ ขึ้นไปอีก หนังสือฉบับนี้หอพระสมุดได้ไว้แต่เล่มเดียว ทราบไม่ได้ว่าจะขึ้นต้นลงท้ายเพียงไร และกี่เล่มจบ แต่ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่งว่า หนังสือพระราชพงศาวดารความพิสดารมีมาแต่ครั้งกรุงเก่าแน่ ฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕ แต่งหรือชำระครั้งกรุงธนบุรี จึงผิดสำนวนกับฉบับนี้ อนึ่ง ศักราชที่ลงไว้ในฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖ นี้ ยังตรงกับในฉบับหลวงประเสริฐ เป็นพยานรู้ได้ว่าศักราชที่ลงในหนังสือพระราชพงศาวดาร เพิ่งมาคลาดเคลื่อนเมื่อชำระในครั้งกรุงธนบุรีหรือในกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง เสียดายนักที่ไม่ได้หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖ มาทันถวายเมื่อกราบบังคมทูลฯ ขอพระราชวินิจฉัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ถ้าได้ทอดพระเนตรเห็นจะต้องพระราชหฤทัยเป็นแน่
หนังสือพระราชพงศาวดารทุกๆ ฉบับที่หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับมา น่ายินดีที่บังเอิญมีข้อความตอนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตคืนพระแก้วฟ้าแก่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิด้วยกันทุกฉบับ ข้อนี้เป็นหลักพอที่จะคัดเทียบให้เห็นได้ ว่าสำนวนหนังสือพระราชพงศาวดารเหล่านี้ต่างฉบับผิดกันอย่างไร หรือถ้าจะว่าโดยทางสันนิษฐาน คือหนังสือพระราชพงศาวดารนี้ของเดิมแต่งไว้อย่างไร และได้แก้ไขโวหารผิดกันเป็นชั้นๆ โดยลำดับมาอย่างไร จึงได้คัดเทียบโวหารลงไปต่อไปนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ความสังเกตของผู้ศึกษาพงศาวดาร
ความฉบับหลวงประเสริฐ
ศักราช ๙๒๖ ชวดศก พระเจ้าล้านช้างจึงให้เชิญสมเด็จพระแก้วฟ้าพระราชบุตรี ลงมาส่งยังพระนครศรีอยุธยา และว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้านั้น และจึงพระราชทานสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าไปแก่พระเจ้าล้านช้าง นี่เป็นสำนวนในฉบับเก่าที่สุดที่หาได้
ความฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖
ในขณะพระแก้วฟ้าพระราชบุตรีพระเจ้าช้างเผือกปราสาททองเธอส่งให้ไปถวายแก่พระยาล้านช้างนั้น ครั้นพระแก้วฟ้าราชบุตรีไปถึงเมืองล้านช้าง พระยาก็ว่า เราจำเพาะใช้ให้ไปขอพระเทพกระษัตรี และพระแก้วฟ้าราชบุตรีนี้เรามิได้ให้ไปขอ และเราจะส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีคืนไปยังพระนครศรีอยุธยา และจะขอพระเทพกระษัตรีซึ่งจำเพาะแต่ก่อนนั้น ครั้นเสร็จการศึกช้างเผือก พระยาล้านช้างก็แต่งพระยาแสน ๑ พระยานคร ๑ พระยาทิพมนตรี ๑ ให้มาส่งพระแก้วฟ้า และพระยาล้านช้างให้แต่งพระราชสาส์นมาถวายว่า จะขอพระเทพกระษัตรี พระเจ้าช้างเผือกก็ตรัสบัญชาตาม จึงตกแต่งการที่จะส่งพระเทพกระษัตรีไปแก่พระยาล้านช้าง ครั้นถึงเดือน ๕ ปีชวดฉศก ศักราช ๙๒๖ พระเจ้าช้างเผือกตรัสให้พระยาแมนไปส่งพระราชธิดาไปแก่พระยาล้านช้างอันมานั้น ส่งไปโดยทางสมอสอ สำนวนนี้แต่ใหม่ทีหลัง ความตรงกับฉบับหลวงประเสริฐแต่เนื้อเรื่องกับศักราช
ความฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕
ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งว่า ใช่องค์พระเทพกระษัตรีก็เสียพระทัยนัก จึงตรัสว่า เดิมเราจำนงขอพระเทพกระษัตรี ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระสุริโยทัย อันเสียพระชนม์แทนพระราชสามีกับคอช้าง เป็นวงศ์กตัญญูอันประเสริฐ ตรัสแล้วก็แต่งให้พระยาแสน พระยานคร พระยาทิพมนตรี เป็นทูตานุทูตให้ลงมาส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีคืนยังกรุงพระนครศรีอยุธยา และมีพระราชสาส์นเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกด้วย ในลักษณะพระราชสาส์นนั้นว่าเดิมพระองค์ประสาทพระเทพกระษัตรีให้ กิตติศัพท์นี้ก็ทั่วไปในนิคมชนบทขอบขัณฑสีมาเมืองกรุงศรีสัตนาคนหุตสิ้นแล้ว บัดนี้พระองค์ส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีเปลี่ยนไปแทนนั้น ถึงมาตรว่าพระแก้วฟ้าราชบุตรีจะมีศรีสรรพลักษณโสภาคยิ่งกว่าพระเทพกระษัตรีร้อยเท่าพันทวีก็ดี ยังไป่ล้างกิตติศัพท์พระเทพกระษัตรีเสียได้ ก็เป็นที่อัปรายศชั่วกัลปาวสาน ข้าพระองค์ขอส่งพระแก้วราชธิดาคืน จงพระราชทานพระเทพกระษัตรีแก่ข้าพระองค์ดุจมีพระราชสาส์นอนุญาตมาแต่ก่อน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกแจ้งในลักษณะพระราชสาส์น และส่งพระแก้วฟ้าคืนมาดังนั้นก็ละอายพระทัยนัก พอพระเทพกระษัตรีหายประชวรพระโรค จึงตกแต่งการที่จะส่งพระราชธิดา และจัดเถ้าแก่กำนัลสาวใช้ทาสชายห้าร้อยหญิงห้าร้อย ครั้นถึงเดือน ๕ ศักราช ๙๑๓ ปีกุนตรีนิศก จึงมีพระราชโองการดำรัสให้พระยาแมนคุมไพร่พันหนึ่งไปส่ง พระยาแมนกับทูตานุทูตก็เชิญสมเด็จพระเทพกระษัตรีขึ้นทรงสีวิกากาญจนยานุมาศไปโดยสถลมารคสมอสอ สำนวนนี้เป็นแต่แก้ไขถ้อยคำฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕ เล็กน้อย
Create Date : 12 กันยายน 2550
Last Update : 12 กันยายน 2550 10:29:48 น.
5 comments
Counter : 18394 Pageviews.
Share
Tweet
................................................................................................................................................
(ต่อ)
ความฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม
ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนคนหุตแจ้วว่า ใช่องพระเทพกระษัตรีก็เสียพระทัยนัก จึงตรัสว่า เดิมเราจำนงขอพระเทพกระษัตรี ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระสุริโยทัย อันเสียพระชนม์แทนพระราชสามีกับคอช้าง เป็นวงศ์กษัตริย์อันประเสริฐ ตรัสแล้วก็แต่งให้พระยาแสน พระยานคร พระยาทิพมนตรี เป็นทูตานุทูตให้มาส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีคืนมายังกรุงพระนครศรีอยุธยา และมีพระราชสาส์นเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกด้วย ในลักษณะพระราชสาส์นนั้นว่าเดิมพระองค์ประสาทพระเทพกระษัตรีให้ กิตติศัพท์นี้รู้ทั่วไปในนิคมชนบทขอบขัณฑสีมาเมืองกรุงศรีสัตนาคนหุตสิ้นแล้ว บัดนี้พระองค์ส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีเปลี่ยนไปแทนนั้น ถึงมาตรว่าพระแก้วฟ้าราชบุตรีจะมีศรีสรรพลักษณโสภาคยิ่งกว่าพระเทพกระษัตรีร้อยเท่าพันทวีก็ดี ยังไป่ล้างกิตติศัพท์พระเทพกระษัตรีเสียได้ ก็เป็นอันอัปรยศชั่วทั่วกัลปาวสาน ข้าพระองค์ขอส่งพระแก้วราชธิดาคืน จงพระราชทานพระเทพกระษัตรีแก่ข้าพระองค์ดุจมีพระราชสาส์นอนุญาตมาแต่ก่อน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกแจ้งในลักษณะพระราชสาส์น และส่งพระแก้วฟ้าคืนมาดังนั้นก็ละอายพระทัยนัก พอพระเทพกระษัตรีหายประชวรพระโรค จึงตบแต่งการที่จะส่งพระราชธิดาและเถ้าแก่กำนัลสาวใช้ทาสชายห้าร้อยหญิงห้าร้อย ครั้นถึงเดือน ๕ ศักราช ๙๑๓ ปีกุนตรีศก จึงมีพระราชโองการดำรัสให้พระยาแมนคุมไพร่พันหนึ่งไปส่ง พระยาแมนกับทูตานุทูตก็เชิญสมเด็จพระเทพกระษัตรีขึ้นทรงสีวิกากาญจนยานุมาศไปโดยสถลมารคสมอสอ สำนวนนี้เกือบจะเหมือนกับฉบับจุลศักราช ๑๑๕๗ เชื่อว่ากรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ไม่ได้ทรงแก้ไข ที่มีคำผิดกันอยู่บ้างคำหนึ่งสองคำเห็นจะแก้เมื่อพิมพ์
ความฉบับพระราชหัตถเลขา
ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งว่า ใช่องค์พระเทพกระษัตรีก็เสียพระทัยนัก จึงตรัสว่า เดิมเราจำนงขอพระเทพกระษัตรี ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระสุริโยทัย อันเสียพระชนม์แทนพระราชสามีกับคอช้าง เป็นวงศ์กตัญญูอันประเสริฐ ตรัสแล้วก็แต่งให้พระยาแสน พระยานคร พระยาทิพมนตรี เป็นทูตานุทูตให้ลงมาส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีคืนยังกรุงพระนครศรีอยุธยา และมีพระราชสาส์นเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกด้วย ในลักษณะพระราชสาส์นนั้นว่าเดิมพระองค์ประสาทพระเทพกระษัตรีให้ กิตติศัพท์นี้ก็ทั่วไปในนิคมชนบทขอบขัณฑสีมาเมืองกรุงศรีสัตนาคนหุตสิ้นแล้ว บัดนี้พระองค์ส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีเปลี่ยนไปแทนนั้น ถึงมาตรว่าพระแก้วฟ้าราชบุตรีจะมีศรีสรรพลักษณโสภาคยิ่งกว่าพระเทพกระษัตรีร้อยเท่าพันทวีก็ดี ยังไป่ล้างกิตติศัพท์พระเทพกระษัตรีเสียได้ ก็เป็นที่อัปรายศชั่วกัลปาวสาน ข้าพระองค์ขอส่งพระแก้วราชธิดาคืน จงพระราชทานพระเทพกระษัตรีแก่ข้าพระองค์ดุจมีพระราชสาส์นอนุญาตมาแต่ก่อน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกแจ้งในลักษณะพระราชสาส์น และส่งพระแก้วฟ้าคืนมาดังนั้นก็ละอายพระทัยนัก พอพระเทพกระษัตรีหายประชวรพระโรค จึงตกแต่งการที่จะส่งพระราชธิดา และจัดเถ้าแก่กำนัลสาวใช้ทาสชายห้าร้อยหญิงห้าร้อย ครั้นถึงเดือน ๕ ศักราช ๙๑๓ ปีกุนตรีนิศก จึงมีพระราชโองการดำรัสให้พระยาแมนคุมไพร่พันหนึ่งไปส่ง พระยาแมนกับทูตานุทูตก็เชิญสมเด็จพระเทพกระษัตรีขึ้นทรงสีวิกากาญจนยานุมาศไปโดยสถลมารคสมอสอ สำนวนตรงกับฉบับจุลศักราช ๑๑๕๗ ไม่ได้แก้ไขอย่างไร
เมื่อได้อ่านตัวอย่างสำนวนที่คัดเทียบไว้นี้ทุกฉบับแล้ว ผู้ศึกษาพงศาวดารจะสังเกตเห็นได้ว่า หนังสือพระราชพงศาวดารมีขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นปฐม เมื่อปีวอก จุลศักราช ๑๐๔๒ ต่อนั้นมาได้มีผู้หนึ่งผู้ใดเอาหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับจุลศักราช ๑๐๔๒ มาขยายความแต่งเป็นฉบับพิสดาร ดังตัวอย่างที่เห็นในฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖ และหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับจุลศักราช ๑๑๓๗ นี้ เป็นต้นของฉบับอื่นๆ ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมต่อมา จนถึงฉบับพระราชหัตถเลขาเป็นที่สุด ความที่ว่านี้ไม่มีที่สงสัย
การแต่งหนังสือพระราชพงศาวดารแต่ก่อนมา ที่จริงเป็น ๒ อย่าง เรียกว่าแต่ง คือ เอาเรื่องที่มีอยู่แล้วมาเรียบเรียงใหม่ทีเดียวก็ดี หรือพระราชพงศาวดารเดิมมีเรื่องแล้วเพียงใด มาแต่งเรื่องต่อตอนนั้นลงมาก็ดี ทำอย่างนี้เรียกว่าแต่ง อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าชำระ หมายความว่า เอาหนังสือพระราชพงศาวดารที่มีอยู่แล้วมาตรวจแก้ไขถ้อยคำ หรือแทรกถ้อยคำลงในที่บางแห่ง อย่างนี้เรียกชำระ
การชำระหนังสือพระราชพงศาวดารในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ มีหลักฐานรู้ได้ว่าได้ชำระในรัชกาลที่ ๑ ครั้งหนึ่ง ในรัชกาลที่ ๔ ครั้งหนึ่ง และบางทีในรัชกาลที่ ๓ ก็จะได้ชำระอีกครั้งหนึ่ง แต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นไปไม่มีหลักฐานที่จะรู้ ส่วนการแต่งหนังพระราชพงศาวดารนั้น ในครั้งกรุงเก่าเห็นว่าจะแต่งเป็น ๒ ครั้ง ครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ตั้งเรื่องแต่สร้างพระเจ้าแพนงเชิงลงมา (ถ้าอย่างมากก็) เพียงสิ้นรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ต่อมาแต่งอีกครั้งหนึ่ง ๑ ในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ด้วยในรัชกาลนั้นแต่งหนังสือกันมาก สมเด็จพระเจ้าบรมโกศเห็นจะเอาอย่างสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้แต่พระราพงศาวดารขึ้นใหม่เป็นฉบับพิสดารตั้งความเริ่มแต่สร้างกรุงศรีอยุธยาลงมาจบเพียงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอย่างมาก เหตุที่เห็นดังนี้ แจ้งอยู่ในพระบรมราชาธิบายของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโดยมากแล้ว
จะกล่าวเพิ่มเติมในที่นี้แต่ว่า ข้าพเจ้าไม่คิดเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จะแต่งพระราชพงศาวดารมีเรื่องกินลงมากกว่านั้น เพราะในหนังสือพระราชพงศาวดาร ความตอนแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชาและสมเด็จพระเจ้าเสือ มีข้อความซึ่งไม่เป็นพระเกียรติยศแก่พระเจ้าแผ่นดินทั้งสองพระองค์นั้น ผู้เป็นบรรพบุรุษของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พระเจ้าบรมโกศที่ไหนจะแต่งลงในพระราชพงศาวดารอย่างนั้น ถ้าจะแต่งก็คงกล่าวความเป็นอย่างอื่น แต่ยังมีเหตุอื่นประกอบอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งน่าสงสัยว่าหนังสือพระราชพงศาวดารที่แต่งเติมในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เรื่องจะไม่ลงมาจนถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตด้วยซ้ำไป
ด้วยพระราชพงศาวดารแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ตามที่แต่งไว้ มีผิดข้อสำคัญอยู่ ๒ แห่ง คือที่ว่าเจ้าฟ้าอภัยทศเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์ ความจริงเป็นพระอนุชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชหามีพระโอรสไม่ ข้อนี้บรรดาหนังสือที่ฝรั่งซึ่งเข้าครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ มีราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาทั้ง ๒ คราว เป็นต้น แต่งไว้ต้องกันทุกเรื่อง ที่สุดจนคำให้การขุนหลวงหาวัดก็ว่า สมเด็จพระนารายณ์ไม่มีพระราชโอรส มีแต่พระราชธิดา จึงเป็นเหตุข้ออ้างว่าหลวงสรศักดิ์เป็นราชโอรสลับ นี้ผิดข้อสำคัญแห่งหนึ่ง อีกแห่งหนึ่งในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระนารายณ์สวรรคตเมื่อจุลศักราช ๑๐๔๔ แต่มีหนังสืออื่นตลอดจนปูม บอกไว้แน่นอนว่าสวรรคตเมื่อจุลศักราช ๑๐๕๐ ผิดกันถึง ๖ ปี ข้อนี้ก็ผิดสำคัญอีก ก็ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศนั้น คนครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ยังมีอยู่มาก แม้สมเด็จพระบรมโกศเองก็สมภพในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ได้เป็นหลายปี ถ้าหนังสือพระราชพงศาวดารตอนนั้นแต่ในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ที่ไหนจะผิดได้อย่างนั้น
ข้าพเจ้าได้ตรวจพิเคราะห์ดูในหนังสือพระราชพงศาวดารทั้งฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม และฉบับพระราชหัตถเลขา เห็นว่าเรื่องพระราชพงศาวดารที่ได้แต่งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จะมาจบลงเพียงกองทัพเจ้าพระยาโกษา (ขุนเหล็ก) ชนะพม่าที่เมืองไทรโยคแล้วกลับมาพระนคร ความต่อนั้นที่กล่าวขึ้นเรื่องวิชเยนทร์ดูต่อไม่สนิท และข้อความในพระราชพงศาวดารแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ต่อนั้นมา ก็อยู่ข้างจะคลาดเคลื่อน วันคืนก็ไม่ใคร่มี ดูเป็นแต่เอาเรื่องที่เขาเล่ามาเรียงลง เช่น เรื่องเจ้าพระยาวิชเยนทร์ เรื่องหลวงสรศักดิ์ ตลอดจนเรื่องเจ้าพระยาโกษา (ปาน) ไปเมืองฝรั่งเศส เรื่องราวแม้เท่าที่เรารู้ในเวลานี้ยังถ้วนถี่ถูกต้องกว่าที่กล่าวไว้ในหนังสือพระราชพงศาวดาร จึงเห็นว่าจะเป็นผู้ที่เกิดทีหลังแต่งหนังสือพระราชพงศาวดารตอนนั้นเป็นแน่ จึงเลยผิดถึงปีสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตได้เป็น ๖ ปี
แต่ถ้าเรื่องพระราชพงศาวดารตั้งแต่ตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่ได้แต่งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศแล้ว จะได้แต่งเมื่อไร ความวินิจฉัยข้อนี้ ถ้าหนังสือพระราชพงศาวดารตอนนั้น จะได้แต่งในครั้งกรุงเก่าก็มีแต่ในรัชกาบสมเด็จพระเจ้าสุริยาศน์อมรินทร์ ข้อนี้พระยาโบราณราชธานินทร์คัดค้านว่า ในรัชกาลนั้นบ้านเมืองไม่ปรกติมีศึกสงครามจนตลอด ไม่เห็นมีโอกาสจะแต่งได้ ถ้าเช่นนั้นแล้ว ก็ต้องมาแต่งในครั้งกรุงธนบุรี แม้มีศึกสงครามมากเหมือนกันก็เป็นฝ่ายชนะ และมีพยานอีกอย่างหนึ่งที่พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ยังปรากฏอยู่ ถ้ามีโอกาสพอจะทรงพระราชนิพนธ์บทละครได้ ด็เห็นจะมีโอกาสจะทรงพระราชพงศาวดารได้
ความที่ว่านี้ ถ้าพิเคราะห์ดูถ้อยคำในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ที่ติเตียนสมเด็จพระท้ายสระและยกย่องพระเจ้าบรมโกศมาก จนเกินความคิดคนในชั้นหลังจะเห็นด้วยนั้นแล้วก็พอจะเห็นสม ด้วยพระเจ้ากรุงธนบุรีเอง และผู้หลักผู้ใหญ่ครั้งกรุงธนบุรีโดยมาก เป็นข้าราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงเห็นว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงแต่งหนังสือพระราชพงศาวดาร (คือความฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕) ต่อที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้ทรงค้างไว้ ลงมาจบเมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
เรื่องต่อนั้นลงมาจนเสียกรุงเก่าแก่พม่า เห็นจะแต่งเมื่อชำระหนังสือพระราชพงศาวดารในรัชกาลที่ ๑ เมื่อจุลศักราช ๑๑๕๗ เรื่องพระราชพงศาวดารตอนกรุงเก่าแก่พม่า เห็นจะแต่งเมื่อชำระหนังสือพระราชพงศาวดารในรัชกาลที่ ๑ เมื่อจุลศักราช ๑๑๕๗ เรื่องพระราชพงศาวดารตอนกรุงธนบุรีลงมา ที่ปรากฏอยู่ในฉบับพิมพ์ ๒ เล่มนั้น รู้ได้แน่ว่าแต่งในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนากรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ให้ทรงแต่ง ขึ้นต้นที่แผ่นดินเจ้าตากสินเชื่อมกับของเดิมไม่สนิท ยังพอสังเกตหัวต่อได้ มาในรัชกาลที่ ๔ ได้ชำระพระราชพงศาวดารอีกครั้งหนึ่ง คือฉบับพระราชหัตถเลขานี้ แต่ชำระมาได้เพียงเรื่องในจุลศักราช ๑๑๕๒ (ขาดความฉบับพิมพ์๒ เล่ม อยู่ ๖ หน้าสมุดพิมพ์) ก็ยุติไว้เพียงนั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ตำนานการแต่หนังสือพระราชพงศาวดารจะเป็นมาดังแสดงมานี้
โดย:
กัมม์
วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:10:36:14 น.
(ต่อ)
ถ้าจะมีคำถามในที่นี้ว่า เมื่อลงความอย่างนี้แล้ว จะว่าอย่างไรถึงเรื่องหนังสือพระราชพงศาวดาร ที่ว่าสมเด็จพระวันรัตแต่งไว้เป็นภาษามคธ ข้าพเจ้าขอตอบว่าเรื่องหนังสือพระราชพงศาวดารที่ว่าสมเด็จพระวันรัตได้แต่งไว้เป็นภาษามคธนั้น กรมพระสมมตอมรพันธุ์ได้เคยทรงสดับมาจากสมเด็จพระสังฆราช วัดราชประดิษฐ์ ว่าท่านได้เคยเห็นหนังสือนั้น และยังเล่าถึงที่เอาศัพท์ภาษาไทยไปแผลงเป็นภาษามคธ เช่น จมื่นทิพเสนา ไปแผลงเป็น จมีโนทิพฺพเสโน ดังนี้เป็นต้น
ส่วนตัวข้าพเจ้าเองก็ได้เคยกราบทูลถามสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ว่า หนังสือเรื่องนั้นมีจริงดังเขาว่าหรืออย่างไร ท่านรับสั่งว่าได้เคยทอดพระเนตรเห็นที่กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ เข้าพระทัยว่าหนังสือนั้นจะยังอยู่ที่วัดพระเชตุพน จึงมีรับสั่งถามพระมงคลเทพ (เที่ยง) ซึ่งเคยเป็นฐานานุกรมในกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ พระมงคลเทพถวายพระพรต่อหน้าข้าพเจ้าว่า เมื่อกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ สิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้เจ้าพนักงานไปรับหนังสือในหอไตรของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ บรรทุกช้างเข้าไปไว้ในพระบรมมหาราชวังทั้งสิ้น หามีหนังสือของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ เหลืออยู่ที่วัดพระเชตุพนไม่ เมื่อจะแบ่งหนังสือหอพระมนเทียรธรรมมารวมไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณ กรรมการหอพระสมุดได้ให้ตรวจหาหนังสือมหายุทธการ จุลยุทธการ หนังสือ ๒ เรื่องนั้นและพงศาวดารอย่างใดๆ ก็หามีในหอพระมนเทียรธรรมไม่ เป็นสิ้นกระแสความที่สืบสวนมาเพียงเท่านี้
หนังสือมหายุทธการและจุลยุทธการนั้นมีเป็นแน่ ถ้าจะลองคาดคะเนดูว่า หนังสือ ๒ เรื่องนั้นเป็นอย่างไร ก็เห็นหลักฐานทางที่จะคาดคะเนมีอยู่บ้าง ว่าตามชื่อที่เรียกชื่อหนังสือว่ามหายุทธการและจุลยุทธการนั้น ต้องเข้าใจว่าหนังสือ ๒ เรื่องนั้นว่าการสงครามที่มีมาในพระราชพงศาวดารอันเป็นพระเกียรติยศแก่พระเจ้าแผ่นดิน ถ้าไม่เป็นพระเกียรติยศคงไม่แต่งอยู่เอง มหายุทธการ ว่าด้วยสงครามคราวใหญ่ จุลยุทธการ ว่าด้วยการสงครามคราวน้อย (กว่ามหายุทธการ) เป็นหนังสือแต่ง ๒ ยุค จึงเป็น ๒ เรื่อง
สงครามครั้งใดเล่าที่เป็นสงครามใหญ่ในพระราชพงศาวดาร ต้องตอบทันทีว่า ครั้งไทยรบศึกหงสาวดี ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิลงมาจนสมเด็จพระนเรศวรชนะหงสาวดี จนได้เมืองมอญมาเป็นข้าขอบขัณฑสีมาเป็นอันมาก นี้แลเป็นคราวใหญ่ หนังสือมหายุทธการนั้นผู้แต่งคงจะแต่งเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร ที่ว่าเช่นนี้ยังมีหลักฐานประกอบ คือหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับเก่าๆ ที่ได้มา คือฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖ และฉบับ ๑๑๔๕ ที่สุดฉบับจุลศักราช ๑๑๕๗ ได้มาล้วนแต่ความตอยมหายุทธการทุกฉบับ อีกอย่างหนึ่ง ถ้าพิเคราะห์ดูหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม หรือฉบับพระราชหัตถเลขานี้ จะเห็นได้ดังพระบรมราชาธิบายของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า เรื่องก่อนแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นไป กล่าวแต่ย่อๆ อย่างคัดจดหมายเหตุในปูมมาลง มาพิสดารเอาต่อในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิลงมา ผู้แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จะได้อาศัยหนังสือมหายุทธการมาประกอบด้วยจะเป็นได้ดอกกระมัง
หนังสือจุลยุทธการนั้นจะต้องคิดก่อนว่าสงครามยุคใด แต่คราวรบศึกหงสาวดีมาแล้ว จะควรเอาเป็นเรื่องแต่งเทียบเคียงกับมหายุทธการได้บ้าง การสงครามที่เป็นยุคมีในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชยุค ๑ ได้รบพม่าและเชียงใหม่หลายคราว แต่เนื้อเรื่องไม่น่าเทียบเคียงมหายุทธการ เหมือนเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีรบชนะพม่าและปราบปรามจลาจล จนตั้งกรุงธนบุรีเป็นอิสรภาพได้ดังกรุงเก่า เนื้อเรื่องตอนนี้ดูใกล้กัน ดูชวนจะให้แต่งเฉลิมพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินกรุงธนบุรี เทียบด้วยสมเด็จพระนเรศวร ถ้ามีผู้แต่งขึ้นก็จะเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระเจ้ากรุงธนบุรีมิใช่น้อย เพราะฉะนั้นหนังสือเรื่องจุลยุทธการนี้ จะแต่งในครั้งกรุงธนบุรีจะเป็นได้หรือไม่ ถ้าแต่งครั้งกรุงธนบุรีแล้ว ข้าพเจ้าแทบจะรับระบุตัวผู้แต่งได้ คือพระธรรมธีรราชมหามุนี (ชื่น) วัดหงส์ หรือที่เรียกกันว่าสมเด็จเจ้าชื่นนั้น ท่านองค์นี้ตามเรื่องที่ปรากฏ ว่าเป็นผู้รู้พระปริยัติธรรมแตกฉานมาก เป็นผู้ฝักใฝ่ในพระเจ้ากรุงธนบุรี จนได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชในที่สุด มาในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ ต้องลดยศลงมาว่าที่วันรัต ที่เล่ากันมาแต่ก่อนว่าสมเด็จกรมพระปรมานุชิตฯ ทรงอาศัยหนังสือพระราชพงศาวดารสมเด็จพระวันรัตแต่งไว้เป็นภาษามคธประกอบ แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารนั้น บางทีจะได้ทรงอาศัยหนังสือจุลยุทธการที่สมเด็จชื่นแต่งนี้ดอกกระมัง
ขอให้สังเกตดูสำนวนพระนิพนธ์ของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ เมื่อขึ้นแผ่นดินเจ้าตากสินในฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม (ในฉบับพระราชหัตถเลขาสำนวนตรงนั้นแก้เป็นอย่างอื่นเสียแล้ว) ว่า ขณะเมื่อกรุงเทพมหานครยังมิได้เสียนั้น พระเจ้าอยู่หัวอันมีอภินิหารนับในเนื้อหน่อพุทธางกูรเจ้า ตรัสทราบพระญาณว่า กรุงศรีอยุธยาจะเป็นอันตราย แต่เหตุที่อธิบดีเมืองและราษฎรมิเป็นธรรม จึงอุตสาหะด้วยกำลังพระกรุณาแก่สมณพราหมณาจารย์ และบวรพุทธศาสนาจะเสื่อมสูญ จึงชุมนุมพรรคพวกพลทหาร ฯลฯ ยกออกไปตั้ง ณ วัดพิไชยอันเป็นมงคลมหาสถาน ด้วยเดชะพระบรมโพธิสมภารเทพเจ้าอภิบาลรักษาพระบวรพุทธศาสนาก็ส้องสาธุการ บันดาลให้วรรษากาลห่าฝนตกลงมาเป็นมหาพิไชยฤกษ์ ฯลฯ ดังนี้ น่าเชื่อนักว่าตรงนี้กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ท่านทรงคัดจากหนังสือจุลยุทธการ มิได้ทรงแต่ขึ้นเอง ดูไม่มีเหตุอันใดเลยที่กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ จะต้องยกย่องพระเจ้ากรุงธนบุรีถึงเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร แต่สมเด็จเจ้าชื่นได้อย่างนั้น
ไปพลิกดูความตรงนี้ที่ (แต่งในรัชกาลที่ ๑ ) กล่าวไว้เมื่อก่อนจะเสียกรุงเก่าว่า ครั้น ณ เดือน ๑๒ แต่งกองทัพเรือให้พระยาตาก (คือพระเจ้ากรุงธนบุรี) พระยาเพชรบุรี หลวงสุรเสนี ออกไปตั้งอยู่วัดใหญ่คอยสกัดเรือรบพม่า ฯลฯ พระยาเพชรบุรียกออกตี (พม่า) ณ วัดสังฆาวาสก็ตายในที่รบ พระยาตากกับหลวงสุรเสนีมาแอบดูหาช่วยหนุนไม่ แล้วไปตั้งอยู่ ณ วัดพิไชย ดังนี้ ขอให้สังเกตดู ๒ ความนี้ผิดกันอย่างไร ที่ว่ามานี้เป็นการคาดคะเนแท้ ข้าพเจ้าไม่มีหลักฐานอย่างอื่นนอกจากที่แสดงมาแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่สิ้นความหวังใจที่จะได้หนังสือมหายุทธการและจุลยุทธการในภายหน้า
(๑)
แต่อย่างไรก็ดีหนังสือชนิดนั้นเป็นแต่หนังสือประกอบพระราชพงศาวดาร ใช้สอบสวนในเวลาแต่งพระราชพงศาวดาร ดังปรากฏในบานแผนกพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเป็นหลายอย่าง ในจำพวกหนังสือประกอบพระราชพงศาวดารนี้ ถ้าจะจำแนกก็มี ๔ ประเภท คือ หนังสือพระแต่งประเภท ๑ หนังสือโหรแต่งประเภท ๑ หนังสือราชการแต่งประเภท ๑ หนังสือบุคคลแต่งประเภท ๑
หนังสือพระแต่งนั้น มูลเหตุเดิมมาจากหนังสือเรื่องมหาวงศ์ในลังกาทวีป พระเถระองค์หนึ่งชื่อว่ามหานาม แต่งเป็นคาถาภาษามคธ ว่าด้วยประวัติของพระพุทธศาสนาที่มาประดิษฐานในลังกาทวีป เป็นพงศาวดารสำคัญของลังกาแต่โบราณมา เมื่อพระภิกษุสงฆ์ทางประเทศนี้ออกไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป และมีพระภิกษุสงฆ์ชาวลังกามาอยู่ทางประเทศนี้ ได้เป็นมหาสวามีและราชครูมาตั้งแต่สุโขทัยและนครเชียงใหม่ เมื่อยังเป็นเอกราช พวกลังกานำคติเรื่องแต่งหนังสือตามอย่างเรื่องมหาวงศ์ เข้ามาแต่งตำนานพระศาสนาบ้าง ตำนานเจดียสถานบ้าง แต่งเป็นภาษามคธ เช่นพระโพธิรังษีแต่งเรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย พระรัตนปัญญาญาณแต่งเรื่องชินกาลมาลินี พระพรหมราชปัญญาแต่งเรื่องรัตนพิมพาวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกตเป็นต้นบ้าง บางเรื่องแต่งเป็นหนังสือเทศน์ในภาษาไทย เช่นตำนานพระมหาธาตุนครศรีธรรมราชเป็นต้นบ้าง หนังสือเหล่านี้ย่อมเนื่องด้วยเรื่องพระราชพงศาวดารในประเทศ จึงเป็นเครื่องประกอบพระราชพงศาวดาร
หนังสือที่โหรแต่งนั้น คือ โดยปกติถ้ามีเหตุการณ์อย่างใด โหรก็จดลงไว้ในปฏิทินวันนั้น ทำนองจดไดเอรี่ เฉพาะวันที่มีเหตุการณ์ เมื่อนานๆ เข้าก็รวมลงท้ายปูม หรือแยกออกเป็นจดหมายเหตุเรียงเรื่องเหตุการณ์บอกวันกำกับไว้ เป็นหนังสือประกอบพระราชพงศาวดารอีกอย่างหนึ่ง ในจำนวนนี้มักแน่นอนด้วยวันคืน
หนังสือที่ราชการแต่งนั้น คือ รายวันราชการทัพเป็นต้น ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เคยทรงชี้แจงให้แลเห็นชัดในพระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ว่าในตอนไรที่เป็นการทัพศึกมักมีวันคืนละเอียด ตอนไรไม่มีการทัพศึกวันคืนห่าง เห็นได้ตั้งแต่ตอนสมเด็จพระนเรศวรทำศึกกับหงสาวดี มาจนครั้งกรุงธนบุรีทำศึกกับพม่า เพราะเหตุว่ามีหนังสือรายวันทัพเป็นหลักแก่ผู้แต่งหนังสือพระราชพงศาวดาร นอกจากรายวันทัพ มีหนังสือ ซึ่งศักราชและเนื้อความในบานแผนกและในตัวบทกฎหมายเป็นเครื่องประกอบความรู้พงศาวดารได้มาก ยังหนังสือพงศาวดารของประเทศที่ใกล้เคียง มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกันมา ในหนังสือพระราชพงศาวดารต่างประเทศเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าได้พบและเอามาใช้สอบสวนแล้ว มีอยู่ ๖ เรื่อง คือ
๑. หนังสือพงศาวดารพม่า เรียกว่าเรื่องมหาราชวงศ์ ได้ความว่าเดิมเป็นหนังสือลาน ๔ ผูก ภายหลังพระเจ้าอังวะทรงพระนามศิริปวรมหาธรรมราชา ซึ่งพม่าเรียกว่า บาคยีดอ แปลว่า พระปิตุลาธิราช ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ตรวจชำระขยายความให้พิสดารเป็นฉบับใหม่ เมื่อเดือน ๗ ขึ้นค่ำ ๑ ปีมะแม จุลศักราช ๑๑๙๗ (ตรงในรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์) เรียกว่า หะมันนันมหาราชวงศ์ คือหนังสือมหาราชวงศ์ฉบับหอแก้ว เพราะว่าประชุมกันแต่งที่หอแก้วในพระราชวังกรุงอังวะ หนังสือเรื่องนี้เซอร์ ดาเธอ แฟร ได้ถอดใจความเป็นภาษาอังกฤษไว้เล่ม ๑ ขุนไพรสณฑ์สาลารักษ์ (เทียน) ได้แปลตั้งแต่ตอนศึกหงสาวดีรบกับไทยโดยพิสดารเป็นภาษาอังกฤษอีกฉบับ ๑ ข้าพเจ้าได้ให้มองต่อแปลตรงเป็นภาษาไทยเฉพาะตอนที่เกี่ยวข้องกับไทยอีกฉบับ ๑
๒. หนังสือพงศาวดารเขมร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้แปลเป็นภาษาไทย เมื่อปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘ เรื่อง ๑
๓. หนังสือพงศาวดารมอญ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้แปลเป็นภาษาไทย เมื่อปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๑๙ พ.ศ. ๒๔๐๐ เรื่อง ๑
๔. หนังสือพงศาวดารล้านช้าง แต่งเป็นภาษาไทยในเมืองนั้นเอง ได้พิมพ์ไว้ในหนังสือวชิรญาณ เรื่อง ๑
๕. หนังสือตำนานโยนก ของพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) ที่ได้กล่าวมาแล้ว เรื่อง ๑
๖. หนังสือพระราชไมตรีในระหว่างกรุงสยามกับกรุงจีน ที่ขุนเจนจีนอักษร (สุดใจ) แปล เรื่อง ๑
นอกจากหนังสือที่กล่าวมานี้ ยังมีสำนวนความบ้าง จดหมายเหตุของไทยบ้าง ของต่างประเทศบ้าง ที่เป็นของจดไว้ในราชการ เป็นเครื่องประกอบพระราชพงศาวดารอีกอย่าง ๑
เรื่องจดหมายเหตุของเรามีธรรมเนียมเก่า เรียกว่า หอศาสตราคมเป็นหน้าที่ของนายเสน่ห์และนายสุดจินดาหุ้มแพรมหาดเล็ก ที่จะต้องจดหมายเหตุการณ์ต่างๆ เก็บไว้ในหอศาสตราคม ที่เรียกว่า เหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดาร ตามบานแผนกฉบับหลวงประเสริฐ เห็นจะหมายความว่า หนังสือจดหมายเหตุในหอศาสตราคมนี่เอง
ที่บุคคลจดนั้น คือ หนังสือเรื่องที่ใครๆ แต่งขึ้นตามรู้ตามเห็น หรือคำให้การ ในเวลาจะแต่งพระราชพงศาวดาร หรือจะใคร่รู้ความเก่า ถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่รู้การงานมากจดมาประกอบ หนังสือจำพวกนี้ในรัชกาลที่ ๑ ได้ถามแบบแผนการงานครั้งกรุงเก่า มีการพระราชพิธีเป็นต้น ไว้มาก ตลอดจนพระราชพิธีโสกันต์ใหญ่ ต้องถามเจ้าฟ้าพินทวดีพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งอยู่มาในกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๑ หนังสือความทรงจำของพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี ที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องงพระราชวิจารณ์นั้น ก็จะอยู่ในหนังสือจำพวกนี้เอง ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเห็นจะทูลถามให้ท่านจดประทานเมื่อคราวแต่พระราชพงศาวดารในรัชกาลที่ ๓ นั้น หนังสือจำพวกนี้เป็นกลอนก็มี เช่นเรื่องยวนพ่าย เป็นต้น และยังมีหนังสือภาษาฝรั่งที่เป็นประโยชน์แก่การสอบพงศาวดารไทยหลายเรื่อง
แต่บรรดาเรื่องที่ฝรั่ง มักจะได้เรื่องแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมลงมา ที่จะได้เรื่องก่อนนั้นขึ้นไปมีน้อย
ส่วนพระราชพงศาวดารตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทรเป็นราชธานีมา มีหนังสือพระราชพงศาดาร กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ทรงนิพนธ์เรื่องในรัชกาลที่ ๑ ไว้ตอน ๑ พระบาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) แต่งต่อมา มีเรื่องจนสิ้นรัชกาลที่ ๔ กับเรื่องพระวิจารณ์ อันเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไว้อีกเรื่อง ๑ หนังสือเหล่านี้มีเป็นหลัก และยังมีหนังสืออื่นอีกมาก ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับจะตรวจสอบประกอบการแต่งหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ กรรมการหอพระสมุดกำลังรวบรวมอยู่ ถ้ามีผู้เอาใจใส่พงศาวดารช่วยการขวนขวายหลายๆ คน ข้าพเจ้าเชื่อว่าอาจจะแต่งให้ดี สู้พงศาวดารประเทศอื่นได้
ตำนานหนังสือพงศาวดารเมืองไทยเท่าที่ข้าพเจ้าทราบเป็นดังแสดงมานี้
.........................................................................................
เชิงอรรถ
(๑) หนังสือสองเรื่องนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ หาต้นฉบับได้ที่วัดพระเชตุพนนั้นเอง แต่ไม่ครบคัมภีร์บริบูรณ์ทั้งสองเรื่อง ปรากฏว่า มหายุทธการเป็นพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช จุลยุทธการเป็นพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กรรมการหอพระสมุดได้ให้แปลเป็นภาษาไทย และให้พิมพ์เรื่องจุลยุทธการ (วงศ์) เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ มีอธิบายของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าด้วยประวัติหนังสือสองเรื่องนั้นโดยละเอียดอยู่ในคำนำหนังสือคราวนั้น - กรมศิลปากร
................................................................................................................................................
ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร
พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
จากหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑
กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๔๘
โดย:
กัมม์
วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:10:42:13 น.
ขอบคุณคุณกัมม์มากค่ะ อุตส่าห์พิมพ์มาให้อ่าน
ดีใจจังที่ได้อ่านสมใจแล้ว
นานมาแล้ว
หนังสือเล่มนี้เคยเห็นในตู้บ้านผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
แต่ตอนนั้นยังเด็กมาก
ผู้ปกครองเลยมองตาเขียวเป็นสัญญาณว่า
"ห้ามหยิบจากตู้ท่านเจ้าของบ้านมาอ่านโดยพลการ"... แง้
โดย:
แพนด้ามหาภัย
วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:11:31:16 น.
นับถือเลยค่ะ
โดย:
กระจ้อน
วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:15:07:40 น.
หวัดดี คุณ พระมเหสีอินฮยอน ตระกูลมิน แห่งยอฮึง
โดย: Sors Aung (
กัมม์
) วันที่: 27 ตุลาคม 2555 เวลา:0:19:21 น.
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
กัมม์
Location :
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [
?
]
วิชา ความรู้จะมีค่าเมื่อถูกถ่ายทอด
Bigmommy
NickyNick
เพ็ญชมพู
kenzen
สาวใหม
กระจ้อน
คนรักน้ำมัน
Why England
naragorn
biebie999
วรณัย
เซียงยอด
แม่สลิ่ม
รอยคำ
สุธน หิญ
นอกราชการ
BFBMOM
มณีไตรรงค์
karmapolice
เมื่อไรจะหายเหงา
เจ้าชายเล็ก
รักดี
ลุงนายช่าง
nidyada
mr.cozy
กวินทรากร
Mutation
พลังชีวิต
หนุ่มรัตนะ
Webmaster - BlogGang
[Add กัมม์'s blog to your web]
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
หอมรดกไทย
เวียงวัง
มอญ
กฎหมายไทย
ประตูสู่อีสาน
พจนานุกรมไทย-อังกฤษ
พจนานุกรมไทย-บาลี
คำไท - คำถิ่น
คนโคราช
หนังสือหายาก E - Book
ลิลิตตะเลงพ่าย
สามก๊ก
บ้านมหา (หมอลำออนไลน์)
หมากรุกไทย และหมากกระดาน
ราชกิจจานุเบกษา
สมุดภาพเมืองไทยในอดีต
พระราชวังพญาไท
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ฐานข้อมูลภาพถ่าย กรมศิลปากร
ปากเซ ดอท คอม
ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้
มวยไชยา
ดำรงราชานุภาพ
พิพิธภัณฑ์ธงสยาม
ห้องสมุดพันทิป
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
จิตรกรรมฝาผนังวัดบุปผาราม
พิพิธภัณฑ์ศาลไทย
จิตรธานี
Wikimapia
ราชบัณฑิตยสถาน
Bloggang.com
MY VIP Friend
(ต่อ)
ความฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม
ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนคนหุตแจ้วว่า ใช่องพระเทพกระษัตรีก็เสียพระทัยนัก จึงตรัสว่า เดิมเราจำนงขอพระเทพกระษัตรี ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระสุริโยทัย อันเสียพระชนม์แทนพระราชสามีกับคอช้าง เป็นวงศ์กษัตริย์อันประเสริฐ ตรัสแล้วก็แต่งให้พระยาแสน พระยานคร พระยาทิพมนตรี เป็นทูตานุทูตให้มาส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีคืนมายังกรุงพระนครศรีอยุธยา และมีพระราชสาส์นเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกด้วย ในลักษณะพระราชสาส์นนั้นว่าเดิมพระองค์ประสาทพระเทพกระษัตรีให้ กิตติศัพท์นี้รู้ทั่วไปในนิคมชนบทขอบขัณฑสีมาเมืองกรุงศรีสัตนาคนหุตสิ้นแล้ว บัดนี้พระองค์ส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีเปลี่ยนไปแทนนั้น ถึงมาตรว่าพระแก้วฟ้าราชบุตรีจะมีศรีสรรพลักษณโสภาคยิ่งกว่าพระเทพกระษัตรีร้อยเท่าพันทวีก็ดี ยังไป่ล้างกิตติศัพท์พระเทพกระษัตรีเสียได้ ก็เป็นอันอัปรยศชั่วทั่วกัลปาวสาน ข้าพระองค์ขอส่งพระแก้วราชธิดาคืน จงพระราชทานพระเทพกระษัตรีแก่ข้าพระองค์ดุจมีพระราชสาส์นอนุญาตมาแต่ก่อน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกแจ้งในลักษณะพระราชสาส์น และส่งพระแก้วฟ้าคืนมาดังนั้นก็ละอายพระทัยนัก พอพระเทพกระษัตรีหายประชวรพระโรค จึงตบแต่งการที่จะส่งพระราชธิดาและเถ้าแก่กำนัลสาวใช้ทาสชายห้าร้อยหญิงห้าร้อย ครั้นถึงเดือน ๕ ศักราช ๙๑๓ ปีกุนตรีศก จึงมีพระราชโองการดำรัสให้พระยาแมนคุมไพร่พันหนึ่งไปส่ง พระยาแมนกับทูตานุทูตก็เชิญสมเด็จพระเทพกระษัตรีขึ้นทรงสีวิกากาญจนยานุมาศไปโดยสถลมารคสมอสอ สำนวนนี้เกือบจะเหมือนกับฉบับจุลศักราช ๑๑๕๗ เชื่อว่ากรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ไม่ได้ทรงแก้ไข ที่มีคำผิดกันอยู่บ้างคำหนึ่งสองคำเห็นจะแก้เมื่อพิมพ์
ความฉบับพระราชหัตถเลขา
ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งว่า ใช่องค์พระเทพกระษัตรีก็เสียพระทัยนัก จึงตรัสว่า เดิมเราจำนงขอพระเทพกระษัตรี ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระสุริโยทัย อันเสียพระชนม์แทนพระราชสามีกับคอช้าง เป็นวงศ์กตัญญูอันประเสริฐ ตรัสแล้วก็แต่งให้พระยาแสน พระยานคร พระยาทิพมนตรี เป็นทูตานุทูตให้ลงมาส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีคืนยังกรุงพระนครศรีอยุธยา และมีพระราชสาส์นเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกด้วย ในลักษณะพระราชสาส์นนั้นว่าเดิมพระองค์ประสาทพระเทพกระษัตรีให้ กิตติศัพท์นี้ก็ทั่วไปในนิคมชนบทขอบขัณฑสีมาเมืองกรุงศรีสัตนาคนหุตสิ้นแล้ว บัดนี้พระองค์ส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีเปลี่ยนไปแทนนั้น ถึงมาตรว่าพระแก้วฟ้าราชบุตรีจะมีศรีสรรพลักษณโสภาคยิ่งกว่าพระเทพกระษัตรีร้อยเท่าพันทวีก็ดี ยังไป่ล้างกิตติศัพท์พระเทพกระษัตรีเสียได้ ก็เป็นที่อัปรายศชั่วกัลปาวสาน ข้าพระองค์ขอส่งพระแก้วราชธิดาคืน จงพระราชทานพระเทพกระษัตรีแก่ข้าพระองค์ดุจมีพระราชสาส์นอนุญาตมาแต่ก่อน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกแจ้งในลักษณะพระราชสาส์น และส่งพระแก้วฟ้าคืนมาดังนั้นก็ละอายพระทัยนัก พอพระเทพกระษัตรีหายประชวรพระโรค จึงตกแต่งการที่จะส่งพระราชธิดา และจัดเถ้าแก่กำนัลสาวใช้ทาสชายห้าร้อยหญิงห้าร้อย ครั้นถึงเดือน ๕ ศักราช ๙๑๓ ปีกุนตรีนิศก จึงมีพระราชโองการดำรัสให้พระยาแมนคุมไพร่พันหนึ่งไปส่ง พระยาแมนกับทูตานุทูตก็เชิญสมเด็จพระเทพกระษัตรีขึ้นทรงสีวิกากาญจนยานุมาศไปโดยสถลมารคสมอสอ สำนวนตรงกับฉบับจุลศักราช ๑๑๕๗ ไม่ได้แก้ไขอย่างไร
เมื่อได้อ่านตัวอย่างสำนวนที่คัดเทียบไว้นี้ทุกฉบับแล้ว ผู้ศึกษาพงศาวดารจะสังเกตเห็นได้ว่า หนังสือพระราชพงศาวดารมีขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นปฐม เมื่อปีวอก จุลศักราช ๑๐๔๒ ต่อนั้นมาได้มีผู้หนึ่งผู้ใดเอาหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับจุลศักราช ๑๐๔๒ มาขยายความแต่งเป็นฉบับพิสดาร ดังตัวอย่างที่เห็นในฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖ และหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับจุลศักราช ๑๑๓๗ นี้ เป็นต้นของฉบับอื่นๆ ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมต่อมา จนถึงฉบับพระราชหัตถเลขาเป็นที่สุด ความที่ว่านี้ไม่มีที่สงสัย
การแต่งหนังสือพระราชพงศาวดารแต่ก่อนมา ที่จริงเป็น ๒ อย่าง เรียกว่าแต่ง คือ เอาเรื่องที่มีอยู่แล้วมาเรียบเรียงใหม่ทีเดียวก็ดี หรือพระราชพงศาวดารเดิมมีเรื่องแล้วเพียงใด มาแต่งเรื่องต่อตอนนั้นลงมาก็ดี ทำอย่างนี้เรียกว่าแต่ง อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าชำระ หมายความว่า เอาหนังสือพระราชพงศาวดารที่มีอยู่แล้วมาตรวจแก้ไขถ้อยคำ หรือแทรกถ้อยคำลงในที่บางแห่ง อย่างนี้เรียกชำระ
การชำระหนังสือพระราชพงศาวดารในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ มีหลักฐานรู้ได้ว่าได้ชำระในรัชกาลที่ ๑ ครั้งหนึ่ง ในรัชกาลที่ ๔ ครั้งหนึ่ง และบางทีในรัชกาลที่ ๓ ก็จะได้ชำระอีกครั้งหนึ่ง แต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นไปไม่มีหลักฐานที่จะรู้ ส่วนการแต่งหนังพระราชพงศาวดารนั้น ในครั้งกรุงเก่าเห็นว่าจะแต่งเป็น ๒ ครั้ง ครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ตั้งเรื่องแต่สร้างพระเจ้าแพนงเชิงลงมา (ถ้าอย่างมากก็) เพียงสิ้นรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ต่อมาแต่งอีกครั้งหนึ่ง ๑ ในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ด้วยในรัชกาลนั้นแต่งหนังสือกันมาก สมเด็จพระเจ้าบรมโกศเห็นจะเอาอย่างสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้แต่พระราพงศาวดารขึ้นใหม่เป็นฉบับพิสดารตั้งความเริ่มแต่สร้างกรุงศรีอยุธยาลงมาจบเพียงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอย่างมาก เหตุที่เห็นดังนี้ แจ้งอยู่ในพระบรมราชาธิบายของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโดยมากแล้ว
จะกล่าวเพิ่มเติมในที่นี้แต่ว่า ข้าพเจ้าไม่คิดเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จะแต่งพระราชพงศาวดารมีเรื่องกินลงมากกว่านั้น เพราะในหนังสือพระราชพงศาวดาร ความตอนแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชาและสมเด็จพระเจ้าเสือ มีข้อความซึ่งไม่เป็นพระเกียรติยศแก่พระเจ้าแผ่นดินทั้งสองพระองค์นั้น ผู้เป็นบรรพบุรุษของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พระเจ้าบรมโกศที่ไหนจะแต่งลงในพระราชพงศาวดารอย่างนั้น ถ้าจะแต่งก็คงกล่าวความเป็นอย่างอื่น แต่ยังมีเหตุอื่นประกอบอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งน่าสงสัยว่าหนังสือพระราชพงศาวดารที่แต่งเติมในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เรื่องจะไม่ลงมาจนถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตด้วยซ้ำไป
ด้วยพระราชพงศาวดารแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ตามที่แต่งไว้ มีผิดข้อสำคัญอยู่ ๒ แห่ง คือที่ว่าเจ้าฟ้าอภัยทศเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์ ความจริงเป็นพระอนุชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชหามีพระโอรสไม่ ข้อนี้บรรดาหนังสือที่ฝรั่งซึ่งเข้าครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ มีราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาทั้ง ๒ คราว เป็นต้น แต่งไว้ต้องกันทุกเรื่อง ที่สุดจนคำให้การขุนหลวงหาวัดก็ว่า สมเด็จพระนารายณ์ไม่มีพระราชโอรส มีแต่พระราชธิดา จึงเป็นเหตุข้ออ้างว่าหลวงสรศักดิ์เป็นราชโอรสลับ นี้ผิดข้อสำคัญแห่งหนึ่ง อีกแห่งหนึ่งในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระนารายณ์สวรรคตเมื่อจุลศักราช ๑๐๔๔ แต่มีหนังสืออื่นตลอดจนปูม บอกไว้แน่นอนว่าสวรรคตเมื่อจุลศักราช ๑๐๕๐ ผิดกันถึง ๖ ปี ข้อนี้ก็ผิดสำคัญอีก ก็ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศนั้น คนครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ยังมีอยู่มาก แม้สมเด็จพระบรมโกศเองก็สมภพในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ได้เป็นหลายปี ถ้าหนังสือพระราชพงศาวดารตอนนั้นแต่ในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ที่ไหนจะผิดได้อย่างนั้น
ข้าพเจ้าได้ตรวจพิเคราะห์ดูในหนังสือพระราชพงศาวดารทั้งฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม และฉบับพระราชหัตถเลขา เห็นว่าเรื่องพระราชพงศาวดารที่ได้แต่งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จะมาจบลงเพียงกองทัพเจ้าพระยาโกษา (ขุนเหล็ก) ชนะพม่าที่เมืองไทรโยคแล้วกลับมาพระนคร ความต่อนั้นที่กล่าวขึ้นเรื่องวิชเยนทร์ดูต่อไม่สนิท และข้อความในพระราชพงศาวดารแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ต่อนั้นมา ก็อยู่ข้างจะคลาดเคลื่อน วันคืนก็ไม่ใคร่มี ดูเป็นแต่เอาเรื่องที่เขาเล่ามาเรียงลง เช่น เรื่องเจ้าพระยาวิชเยนทร์ เรื่องหลวงสรศักดิ์ ตลอดจนเรื่องเจ้าพระยาโกษา (ปาน) ไปเมืองฝรั่งเศส เรื่องราวแม้เท่าที่เรารู้ในเวลานี้ยังถ้วนถี่ถูกต้องกว่าที่กล่าวไว้ในหนังสือพระราชพงศาวดาร จึงเห็นว่าจะเป็นผู้ที่เกิดทีหลังแต่งหนังสือพระราชพงศาวดารตอนนั้นเป็นแน่ จึงเลยผิดถึงปีสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตได้เป็น ๖ ปี
แต่ถ้าเรื่องพระราชพงศาวดารตั้งแต่ตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่ได้แต่งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศแล้ว จะได้แต่งเมื่อไร ความวินิจฉัยข้อนี้ ถ้าหนังสือพระราชพงศาวดารตอนนั้น จะได้แต่งในครั้งกรุงเก่าก็มีแต่ในรัชกาบสมเด็จพระเจ้าสุริยาศน์อมรินทร์ ข้อนี้พระยาโบราณราชธานินทร์คัดค้านว่า ในรัชกาลนั้นบ้านเมืองไม่ปรกติมีศึกสงครามจนตลอด ไม่เห็นมีโอกาสจะแต่งได้ ถ้าเช่นนั้นแล้ว ก็ต้องมาแต่งในครั้งกรุงธนบุรี แม้มีศึกสงครามมากเหมือนกันก็เป็นฝ่ายชนะ และมีพยานอีกอย่างหนึ่งที่พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ยังปรากฏอยู่ ถ้ามีโอกาสพอจะทรงพระราชนิพนธ์บทละครได้ ด็เห็นจะมีโอกาสจะทรงพระราชพงศาวดารได้
ความที่ว่านี้ ถ้าพิเคราะห์ดูถ้อยคำในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ที่ติเตียนสมเด็จพระท้ายสระและยกย่องพระเจ้าบรมโกศมาก จนเกินความคิดคนในชั้นหลังจะเห็นด้วยนั้นแล้วก็พอจะเห็นสม ด้วยพระเจ้ากรุงธนบุรีเอง และผู้หลักผู้ใหญ่ครั้งกรุงธนบุรีโดยมาก เป็นข้าราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงเห็นว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงแต่งหนังสือพระราชพงศาวดาร (คือความฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕) ต่อที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้ทรงค้างไว้ ลงมาจบเมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
เรื่องต่อนั้นลงมาจนเสียกรุงเก่าแก่พม่า เห็นจะแต่งเมื่อชำระหนังสือพระราชพงศาวดารในรัชกาลที่ ๑ เมื่อจุลศักราช ๑๑๕๗ เรื่องพระราชพงศาวดารตอนกรุงเก่าแก่พม่า เห็นจะแต่งเมื่อชำระหนังสือพระราชพงศาวดารในรัชกาลที่ ๑ เมื่อจุลศักราช ๑๑๕๗ เรื่องพระราชพงศาวดารตอนกรุงธนบุรีลงมา ที่ปรากฏอยู่ในฉบับพิมพ์ ๒ เล่มนั้น รู้ได้แน่ว่าแต่งในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนากรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ให้ทรงแต่ง ขึ้นต้นที่แผ่นดินเจ้าตากสินเชื่อมกับของเดิมไม่สนิท ยังพอสังเกตหัวต่อได้ มาในรัชกาลที่ ๔ ได้ชำระพระราชพงศาวดารอีกครั้งหนึ่ง คือฉบับพระราชหัตถเลขานี้ แต่ชำระมาได้เพียงเรื่องในจุลศักราช ๑๑๕๒ (ขาดความฉบับพิมพ์๒ เล่ม อยู่ ๖ หน้าสมุดพิมพ์) ก็ยุติไว้เพียงนั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ตำนานการแต่หนังสือพระราชพงศาวดารจะเป็นมาดังแสดงมานี้