กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ – อย่าปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ

แถลงการณ์ของกรีนพีซต่อกรณีการเสนอแผนงานของคณะกรรมการเพื่อเตรียมการศึกษาความเหมาะสมการผลิต
ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาต



กรุงเทพฯ, ประเทศไทย -- กรีนพีซมีความวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อการเร่งให้มีการอนุมัติเห็นชอบแผนงานของคณะกรรมการเพื่อเตรียมการศึกษาความเหมาะสมในการที่จะผลิตไฟฟาจากพลังงานนิวเคลียร์ในวันนี้ เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาตินั้นไม่มีกระบวนการปรึกษาหารือและประเมินผลกระทบของอันตรายจากนิวเคลียร์กับภาคประชาสังคมและสาธารณชนอย่างเพียงพอและเหมาะสม



ถึงแม้ว่า ภาคประชาสังคมไทยจะมีประเด็นคำถามต่อทำเลที่ตั้ง ต้นทุนอันมหาศาล และความล่าช้าในการก่อสร้างของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นทั่วโลก รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ดร.ปิยะสวัสดิ์ อมรนันท์ ก็ยังคงเดินหน้าต่อไปโดยนำเสนอแผนการดำเนินงานต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้พิจารณาอนุมัติในวันนี้



ธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เป็นข้อพิสูจน์ทั่วโลกหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า จริงๆ แล้ว พลังงานนิวเคลียร์เป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อความมั่นคงด้านพลังงานและเบี่ยงเบนออกจากการแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่แท้จริง นอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจซึ่งไม่เพียงเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว พลังงานนิวเคลียร์ยังมิได้ตอบสนองต่อวิกฤตด้านพลังงานที่มีการคาดการณ์อีกด้วย รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานควรพิจารณาอย่างจริงจังให้มากกว่านี้ถึงทางเลือกที่สะอาดและปลอดภัยในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะจากระบบพลังงานหมุนเวียนที่มีลักษณะกระจายศูนย์ซึ่งมาจากแหล่งธรรมชาติอันได้แก่ ลม แสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น



นอกเหนือจากความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ อย่างเช่น กรณีเชอร์โนบิล สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของพลังงานนิวเคลียร์คือกากกัมมันตภาพรังสีปริมาณนับพันตันที่เราจะต้องอยู่กับมันในอนาคต กรีนพีซขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติทำการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP 2007 โดยทันที โดยเน้นไปที่การศึกษาและพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการรับประกันความมั่นคงด้านพลังงานเท่านั้น หากยังเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่คนไทยทุกคน



ในวันที่ 10 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา มูลนิธินโยบายสุขภาวะและกรีนพีซได้เปิดตัวหนังสือ “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์: อย่าปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ” เพื่อให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง รวมทั้งทางเลือกที่เป็นไปได้ของสังคมไทยในกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลที่ครบถ้วนและรอบด้านมากขึ้น อันเป็นเงื่อนไขของการตัดสินใจร่วมกันของสังคม



หนังสือ“โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ : อย่าปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ” ระบุชัดเจนว่า สังคมไทยมีทางเลือกและไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยมีองค์ประกอบ 2 แนวทางหลักคือ 1) การลดความต้องการใช้ไฟฟ้าจากที่คาดการณ์ไว้ลงร้อยละ 20 และการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในระบบกระจายศูนย์ขึ้นเป็นร้อยละ 20 ภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ PDP2007 แล้ว จะเห็นว่าทางเลือก 20:20 ภายในปี 2020 สามารถลดการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ลงได้อย่างมาก เนื่องจากการจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า (ประมาณ 6,992 เมกะวัตต์) เพื่อลดความต้องการไฟฟ้าลงร้อยละ 20 ทำให้โดยรวมแล้วสามารถลดกำลังการผลิตที่จะต้องติดตั้งใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2564 ลงได้ถึง 10,000 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้าใหม่ที่จะสร้างก็จะเน้นโรงไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์มากขึ้น โดยจะสร้างโรงไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์เพิ่มขึ้นจาก 1,700 เมกะวัตต์ ขึ้นเป็น 6,400 เมกะวัตต์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2,800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์ และลดการนำเข้าจากต่างประเทศลงจาก 5,090 เมกะวัตต์ เหลือเพียง 2,143 เมกะวัตต์ และลดการสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติลงจาก 18,200 เมกะวัตต์เหลือเพียง 8,400 เมกะวัตต์ ผลลัพธ์จากทางเลือกดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยสามารถประหยัดค่าลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 240,000 ล้านบาท ลดค่าลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลงได้ 153,000 ล้านบาท ลดค่าลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติลงได้ 184,000 ล้านบาท รวมกันประหยัดค่าลงทุนลงได้เกือบ 600,000 ล้านบาท นอกจากนั้นยังประหยัดการนำเข้าเชื้อเพลิงได้เกือบ 80,000 ล้านบาท/ปี ในปีค.ศ. 2020 และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 50 ล้านตันต่อปี

ดาวน์โหลดหนังสือ "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อย่าปิดแผ่้นฟ้าด้วยฝ่ามือ

.........


1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้






Create Date : 21 ตุลาคม 2550
Last Update : 21 ตุลาคม 2550 21:22:51 น. 1 comments
Counter : 915 Pageviews.  
 
 
 
 
 
 

โดย: UoU IP: 202.143.162.74 วันที่: 29 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:7:49:00 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com