กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
บทสรุปวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการขยะในกรุงเทพฯ ของผู้สมัครผู้ว่าฯ

จากสถานการณ์วิกฤตปัญหาขยะในกรุงเทพฯ ที่อัตราการเกิดขยะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านการจัดการโดยเฉพาะการจัดเก็บ การจัดหาสถานที่ และวิธีการกำจัดทำลาย อีกทั้งกรุงเทพมหานครยังคงประสบปัญหาการลงมือปฎิบัติบริหารจัดการขยะอย่างบูรณาการ การจัดการกับปัญหาขยะอย่างยั่งยืนนั้นควรตั้งเป้าหมายที่จะลดปริมาณขยะ มากกว่าการเน้นว่าจะจัดการกับขยะที่ปลายทาง เพราะหากไม่มีการลดปริมาณขยะที่ต้นทางแล้ว จะมีหลุมฝังกลบหรือเตาเผาขยะจำนวนมากเท่าใดก็คงไม่เพียงพอในการจัดการ

วิกฤตปัญหาขยะกับนโยบายของว่าที่ผู้ว่าฯกทม.

ในแต่ละปี กรุงเทพมหานครใช้งบประมาณไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาทในการจัดการขยะ ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและฝังกลบ วิกฤตที่เกิดขึ้นขณะนี้คือบ่อฝังกลบขยะของกรุงเทพมหานครต่างๆ เริ่มที่จะเต็มหรือไม่เพียงพอที่จะสามารถรองรับปริมาณขยะในอนาคตได้ต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายต่อกรุงเทพมหานครที่จะต้องเร่งหาทางออกให้ได้อย่างโดยเร็ว

เนื่องในวาระการเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2556 นี้ ประชาชนควรช่วยกันพิจารณาเลือกผู้สมัครที่มีความสามารถในการกำหนดทิศทางและนำพากรุงเทพมหานครให้พ้นจากปัญหาวิกฤตขยะนี้ ดังนั้น กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีการรณรงค์ในโครงการ “ผู้ว่า (ไม่ทิ้ง) ขยะ” เพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่กำลังจะมาเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้มีนโยบายการจัดการขยะที่เหมาะสมและยั่งยืน โดยทางกรีนพีซได้มีการจัดทำการประเมินวิเคราะห์นโยบายหาเสียงของผู้สมัครฯ เรื่องการบริหารจัดการขยะในกรุงเทพ เพื่อให้สังคมรับรู้ถึงแง่มุมต่างๆของนโยบายนั้นๆ อันจะเป็นเป็นเครื่องมือในการประกอบการตัดสินใจเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และการติดตามการนำนโยบายไปปฏิบัติในอนาคต

ว่าที่ผู้ว่าฯคนไหนจะพากทม.พ้นวิกฤตปัญหาขยะ

ทั้งนี้ กรีนพีซ ได้ทำการส่งคำถามถึงผู้สมัครฯ ทั้งหมด จำนวน 25 ท่าน เพื่อให้แสดงชี้แจงถึงนโยบายและแนวคิดของตนในหัวข้อ “วิสัยทัศน์ว่าที่ผู้ว่ากรุงเทพฯกับการบริหารจัดการขยะ” ซึ่งมีคำถามดังต่อไปนี้

  1. คุณมีแผนงานจัดการบริหารดูแลขยะอย่างไรในกรุงเทพมหานคร
  2. คุณจะทำอย่างไรให้แผนงานของคุณปฏิบัติได้จริง
  3. คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับโครงการเตาเผาขยะที่กำลังจะก่อสร้างที่เขตหนองแขม

โดยกรีนพีซได้คำตอบของผู้สมัครฯ มาประเมินวิเคราะห์เบื้องต้นโดยยึดหลักเกณท์การบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งนอกจากการให้ความสำคัญในเรื่องของเทคนิคการจัดการแล้ว ยังคำนึงถึงแง่มุมต่างๆที่จะพัฒนาการบริหารจัดการขยะให้ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม ดังนั้นหลักการประเมินวิเคราะห์นโยบายจึง แบ่งออกเป็น 6 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านการพัฒนาสถาบันองค์กร ด้านการพัฒนาสังคมโดยรวม ด้านการบริหารจัดการการเงิน ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพทางเศษฐกิจ ด้านเทคนิคการจัดการ และเหนือสิ่งอื่นใด คือด้านความปลอดภัยของชีวิตและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากถ้านโยบายการจัดการนั้นสามารถก่อให้เกิดมลพิษต่างๆขึ้นในสังคมแล้ว นโยบายนั้นนอกจากจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาขยะได้ในระยะยาว ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอื่นๆในสังคม

กราฟแสดงคะแนนการตอบคำถามจากผู้สมัครที่ตอบกลับ 11 ท่าน

score chart
คลิกที่รูปเพื่อแสดงรูปใหญ่


คลิกดูรายละเอียดหลักเกณท์ในประเมินวิเคราะห์การบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน

รายงานประเมินวิเคราะห์นโยบายหาเสียงของผู้สมัครฯ

ท่านสามารถดูรายละเอีียดผู้สมัครแต่ละท่านได้โดยคลิกที่รูปผู้สมัคร

ลบล้างมายาคติของเตาเผาขยะเพื่อกรุงเทพฯและประเทศไทย

การบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน คืองานพื้นฐานหลักในการพัฒนาเมือง ทั้งนี้ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ ส่วนใหญ่ได้วาดฝันให้กรุงเทพฯกลายเป็นมหานครระดับโลก แต่ความฝันนั้นจะไม่มีวันเป็นจริงได้เลยถ้ากรุงเทพมหานครยังไม่สามารถแก้ปัญหาขยะได้ดีกว่านี้  แม้ผู้สมัครฯเกือบทั้งหมดจะมีการนำเสนอนโยบายและโครงการด้านการจัดการขยะในนโยบายหาเสียงหลัก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้สมัครฯให้ความสำคัญในเรื่องวิกฤตขยะกรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นพบว่านโยบายของผู้สมัครฯเกือบทั้งหมดยังขาดเป้าหมายที่ชัดเจน ขาดแผนปฏิบัติจัดการอย่างองค์รวมที่จะเป็นหลักประกันถึงความสำเร็จในการแก้ปัญหา ขาดการเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจและร่วมมือปฏิบัติ  ขาดความกล้าหาญที่จะนำเครื่องมือนโยบายใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่การลดปริมาณขยะมาใช้ อาทิ เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ และการนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายมาใช้ ที่จะสามารถลดปริมาณการเกิดขยะได้เป็นอย่างดีหากใช้ควบคู่กับเครื่องมืออื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว

ทั้งนี้ ผู้สมัครฯ ส่วนใหญ่กลับเน้นให้ความสำคัญการแก้ปัญหาที่ปลายทาง เน้นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เช่น โครงการสร้างโรงงานเผาขยะ โดยสร้างมายาคติ “เตาเผาขยะปลอดมลพิษ”  บ้างก็อ้างว่าจะใช้เตาเผาขยะขนาดเล็กสำหรับชุมชน แต่ที่มากที่สุดเห็นจะเป็นโรงงานเผาขยะผลิตเพื่อกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้  เทคโนโลยีการเผาขยะเหล่านี้ล้วนมีพื้นฐานการทำงานที่คล้ายกัน  และในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีใดของเตาเผาขยะที่สามารถทำให้การเผาขยะได้ปลอดมลพิษได้ 100 เปอร์เซนต์ การเผาขยะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและเถ้าอันตรายซึ่งก็ต้องนำไปฝังกลบอยู่ดี  ผลจากการเผาขยะเหล่านี้หมายถึงอันตรายต่อสุขภาพประชาชนและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้หมดไป ที่สำคัญ การเผาขยะเป็นการบั่นทอนความพยายามในการลดและคัดแยกขยะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ จึงไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีกฏหายสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดกำลังลดวิธีกำจัดขยะโดยการเผาเพราะต้องเผชิญปัญหาการจัดเก็บเถ้าขยะอันตราย ในประเทศกำลังพัฒนาที่ใช้การเผาขยะในการกำจัดขยะนั้น ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ตามมา เช่น  ชาวบ้านรอบโรงงานเป็นโรคมะเร็งจากสารพิษไดอ๊อกซินที่เกิดจากการเผา อากาศและแหล่งน้ำเป็นพิษต่อประชาชน ไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ สำหรับประเทศไทยแล้ว เรามีมาตรฐานการควบคุมสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่เคร่งครัดพอ ไม่ครอบคลุมการควบคุมสารพิษ ไม่ควบคุมปริมาณการปล่อยโดยรวม และมีปัญหาด้านการตรวจสอบติดตามด้านมลพิษ  จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะรีบสรุปใช้เทคโนโลยีมักง่ายอย่างเตาเผาขยะ ที่มีราคาแพงและไม่มีหลักประกันถึงปัญหามลพิษที่จะตามมา  

กรีนพีชหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การการประเมินวิเคราะห์นโยบายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ เรื่องการบริหารจัดการขยะในกรุงเทพฯในครั้งนี้  จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและอนาคตของกรุงเทพฯไม่มากก็น้อย

กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกร้องต่อกรุงเทพมหานคร ดังนี้

  1. ให้ความสำคัญเรื่องปัญหาขยะอย่างแท้จริง โดยมีการวางเป้าหมายให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มี “ขยะเหลือศูนย์” ซึ่งสามารถทำได้โดยเน้นการใช้มาตรการเชิงรุก เช่น การลดปริมาณขยะ การนำขยะไปรีไซเคิล และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่  
  2. นำเครื่องมือนโยบายทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตามหลักการ “ผู้ปล่อยมลพิษเป็นผู้จ่าย”   เช่น การสร้างแรงจูงใจให้คนเข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวกับการลดและแยกขยะ การเก็บภาษีมลพิษกับผู้ผลิตขยะ เป็นต้น
  3. กรุงเทพมหานครควรเปลี่ยนนำงบประมาณลงทุนในโครงการกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีที่เป็นอันตรายและสิ้นเปลือง เช่น การสร้างโรงงานเผาขยะ มาใช้สนับสนุนโครงการ “ขยะเหลือศูนย์” ซึ่งสามารถปรับแผนงานของโครงการให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละชุมชนในกรุงเทพฯ

หมายเหตุ***
หลักเกณท์ในประเมินวิเคราะห์การบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน
(Adapted from Conceptual Framework For Municipal Solid Waste Management In Low-Income Countries. UNDP/UNCHS. August 1996)

ประเด็น

หลักเกณท์ในการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน

ด้านการเมืองการปกครอง

การกำหนดเป้าหมายของแผนงาน

มีเป้าหมายชัดเจน สอดคล้องกับแนวความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

แผนการพัฒนากฎหมายและการบังคับใช้

มีการปรับปรุง เพิ่มเติม และบังคับใช้ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครในเรื่องการบริหารจัดการขยะ อย่างจริงจัง

ความโปร่งใสในแผนการทำงาน

มีการเผยแพร่ข้อมูลโครงการต่างๆสู่สาธารณะ มีการทำประชาพิจารณ์ ปรับปรุงให้วิธีการประมูลจัดซื้อจัดจ้างโปร่งใส

ความเป็นไปได้ของแผนงาน

แก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินงาน แผนงานควรอยู่ในกรอบหน้าที่ความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร

ด้านสถาบัน

การเพิ่มความสามารถของแต่ละภาคส่วน

มีการจัดกิจกรรมโครงการให้ความรู้ในเรื่องการจัดการขยะอย่างยั่งยืน เช่น การสร้างความเข้าใจในชุมชนต่อประโยชน์ในการแยกขยะ

การร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ

มีการนำศักยภาพของสถาบันและองค์กรต่างๆมาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ เช่น โรงเรียน สำนักงาน ร้านค้า

การให้ความสำคัญแก่แรงงานนอกระบบ

มีการพัฒนากลุ่มแรงงานนอกระบบ เช่น ซาเล้ง ควบคู่กับการพัฒนาแผนบริหารจัดการขยะโดยรวม

ด้านสังคม

การพัฒนาทัศนคติของประชาชน

มีการพัฒนาให้ประชาชนมีจิตสาธารณะในการรับผิดชอบตนเองและสังคม เช่น การลดการใช้ผลิตภัณท์พลาสติก

การตอบสนองต่อการเจริญเติบโตของสังคม

มีการลงพื้นที่ ศึกษาความต้องการของแต่ละชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

ความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการ

ชุมชนแต่ละชุมชนได้รับบริการจัดการอย่างเท่าทียม

ด้านการเงิน

การวางแผนการใช้งบประมาณการจัดการ

มีแผนงานการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทฺภาพ ให้ความสำคัญกับแผนงานส่งเสริมและพัฒนาการจัดการขยะอย่างยั่งยืนมากขึ้น

การลดต้นทุนการดำเนินงาน

มีแผนงานลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้าง ทำระบบปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

การจัดเก็บค่าบริการ

พัฒนาระบบจัดเก็บค่าบริการ นำระบบจัดเก็บค่าบริการตามปริมาณขยะมาใช้

ด้านเศรษฐกิจ

การสร้างงานและรายได้

จัดสร้างงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น สร้างโรงงานรีไซเคิล และโรงงานซ่อมแซมสิ่งของใช้แล้วในชุมชน

การพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งานวัสดุในภาคการผลิตและบริโภค

รณรงค์ให้ประชาชนใช้ของอย่างคุ้มค่า เช่น ใช้กระดาษทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ใช้หลอดไฟฟ้าที่อายุงานสูง

นโยบายช่วยเหลือสนับสนุนการจัดการขยะที่รักษาสิ่งแวดล้อม

มีโครงการให้กู้ยืมเงินลงทุนธุรกิจในดอกเบื้ยต่ำ หาตลาดผลิตภัณท์รีไซเคิล การลดภาษีโรงเรือนแก่ธุรกิจขยะ

ด้านเทคนิค

การพัฒนาระบบจัดเก็บ

มีการเสนอระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ ถูกสุขอนามัย เช่น มีจุดเก็บขยะส่วนกลางในชุมชน พร้อมถุงและถังแยกประเภทขยะให้ชัดเจน

การพัฒนาระบบขนส่งและสถานีพักถ่ายขยะ

การจัดทำตารางเวลาจัดเก็บแยกตามประเภทขยะ มีแนวความคิดในการลดระยะทางการขนส่ง ปรับปรุงและพัฒนาให้สถานีพักถ่ายขยะถูกสุขอนามัย

การพัฒนาระบบรีไซเคิลและกำจัด

มีการลงทุนในโครงการโรงงานรีไซเคิล มีพัฒนาระบบจัดการขยะอันตรายและขยะติดเชื้อ

ด้านความ

ปลอดภัย

คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

เลือกใช้เทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ที่มา :: //www.greenpeace.org/seasia/th/news/summary-BMA-candidate-vision/



Create Date : 03 มีนาคม 2556
Last Update : 3 มีนาคม 2556 10:54:00 น. 0 comments
Counter : 2229 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com