กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
เกษตรอินทรีย์ การเกษตรแห่งความยั่งยืน

แปลและเรียบเรียง โดย Supang Chatuchinda

ภาพรวมพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของไทยในปีที่ผ่านมาถือว่าขยายตัวอีกครั้ง ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้นที่มีแนวโน้มในการทำเกษตรโดยวิธีอินทรีย์มากขึ้น มีหลายประเทศในซีกโลกตะวันออกที่กำลังตื่นตัวกับการทำเกษตรอินทรีย์ เช่น ประเทศอินเดีย รัฐบาลอินเดียมีนโยบายสนับสนุนการทำเกษตรกรรมแบบอินทรีย์ ส่วนในประเทศจีน รายงานของสถาบัน หลุยส์ โบล์ค เปิดเผยว่าในปีพ.ศ. 2550 จีนมียอดผลผลิตจากการเกษตรแบบอินทรีย์ราว ๆ 3 ล้านตันและมีมูลค่าการส่งออกผลผลิตเหล่านี้ถึง 350 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของจีนยังคาดหวังว่าในปีถัด ๆ ไป (พ.ศ.2559) ตลาดการเกษตรอินทรีย์จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20-30 ต่อปี

เกษตรกรชาวจีนกำลังเก็บใบชาอินทรีย์

ส่วนทางฝั่งตะวันตกก็ไม่น้อยหน้าเพราะตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง รายงาน The World of Organic Agriculture ได้เผยถึงผลการศึกษาเกี่ยวกับตลาดเกษตรอินทรีย์ในยุโรป (และทั่วโลก) ผู้นำตลาดด้านการเกษตรอินทรีย์ในโลกตะวันตกนี้หนีไม่พ้น 3 ยักษ์ใหญ่อย่าง สหรัฐอเมริกา เยอรมนีและฝรั่งเศส ยิ่งไปกว่านั้นในปี พ.ศ.2557 ตลาดเกษตรอินทรีย์ของสวีเดนยังขยายตัวมากถึงร้อยละ 38 

ตลาดผักผลไม้อินทรีย์ในฝรั่งเศส

เพราะอะไรที่ทำให้การเกษตรอินทรีย์ได้รับความนิยมจนสามารถครองพื้นที่ตลาดได้ขนาดนี้?

สาเหตุการขยายของตลาดเกษตรอินทรีย์อาจเป็นเพราะผลกระทบจากการทำเกษตรอุตสาหกรรมรวมถึงการเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม

ยกตัวอย่างกรณีของสหรัฐอเมริกาที่เราอาจเรียกได้ว่าเป็นฝันร้ายของเกษตรกร เป็นที่รู้กันดีว่าประเทศในทวีปอเมริกาอย่างสหรัฐอเมริกาและอาเจนตินานั้นมีการผลักดันนโยบายการเกษตรอุตสาหกรรมอย่างหนักและสนับสนุนการใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือที่เรารู้จักกันในนามพืชจีเอ็มโอ

พืชจีเอ็มโอเหล่านี้ถูกตัดต่อพันธุกรรมให้ทนทานต่อยาฆ่าแมลง (ทั้งเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอและยาฆ่าแมลงที่พืชจีเอ็มโอต้านทานผลิตโดยบริษัทเดียวกัน) และบทเรียนที่เปรียบเสมือนฝันร้ายของประเทศเหล่านี้ได้รับก็คือความผลกระทบอันเลวร้ายทั้งต่อสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

อ่านเพิ่ม: 20 ปีแห่งความล้มเหลว จีเอ็มโอกับคำสัญญาลม ๆ แล้ง ๆ

นอกจากผลกระทบข้างต้นแล้ว ปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าแท้จริงแล้วพืชจีเอ็มโอปลอดภัยพอสำหรับการบริโภคหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่แล้วการศึกษาวิจัยพืชจีเอ็มโอมักได้รับเงินทุนจากบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพข้ามชาติ แทบจะไม่มีการศึกษาวิจัยที่เป็นอิสระและเป็นการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับพืชจีเอ็มโอผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์เลย

นักกิจกรรมกรีนพีซเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธ์ข้าวโพดภายในฟาร์มแห่งหนึ่งของประเทศเยอรมนี 

ปัจจุบัน ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะก้าวเดินไปในเส้นทางของจีเอ็มโอ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจีเอ็มโอซึ่งจำหน่ายโดยบริษัทสัญชาติอเมริกัน ‘ มอนซานโต’ เติบโตในตลาดยุโรปเพียงร้อยละ 0.1 ของพื้นที่การทำเกษตรในยุโรป เมื่อเปรียบเทียบกับการทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งกินพื้นที่ถึงร้อยละ 5.7 ของพื้นที่การทำเกษตรในยุโรป (เปรียบเทียบข้อมูลจากรายงานของ ไอซาร์ (ISAAA)และ ยูโรสแต็ท(Eurostat)) 

เกษตรกรรมที่ยั่งยืนเป็นมิตรต่อเราและสิ่งแวดล้อม

ฟาร์มผักและผลไม้อินทรีย์ในสโลวาเกีย

เพราะการเกษตรอุตสาหกรรมและพืชจีเอ็มโอไม่ใช่ทางออกของการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน ตรงกันข้ามกลับส่งผลเสียต่อสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรอินทรีย์ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีและพืชจีเอ็มโอจึงเป็นทางเลือกที่ดีและยั่งยืนยิ่งกว่า

เราคงทราบกันอยู่แล้วว่าเกษตรอินทรีย์นั้นคือการปลูกพืชให้เป็นไปตามระบบนิเวศ ปราศจากสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันวัชพืชและแมลงศัตรูพืช ไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ รวมถึงการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์

การผลิตอาหารด้วยวิธีนี้ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และสุขภาพของเกษตรกรมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นคือช่วยป้องกันการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรจากการเข้ามาผูกขาดโดยบริษัทข้ามชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าอีกด้วย

และยังมีอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เชื่อมโยงถึงผู้บริโภคอย่างเราด้วยนั่นคือ พลังของผู้บริโภค

ร้านขายผลผลิตอินทรีย์ในเมือง ซาน ฟรานซิสโก ซึ่งก่อตั้งโดยชาวเกษตรกรที่ปลูกพืชอินทรีย์เพื่อจำหน่ายอาหารให้กับผู้บริโภคโดยตรง

หากมองเผิน ๆ แล้วผู้บริโภคอย่างเราซึ่งอยู่ปลายทางของสายพานการผลิตอาหารไม่น่าจะมีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงที่มาของอาหารที่เราบริโภคได้  แต่รู้หรือไม่ว่าผู้บริโภคคือพลังสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงต้นทางสายพานการผลิตอาหารเลยทีเดียว

กฎที่เป็นจริงของอุปสงค์และอุปทานยังใช้ได้อยู่เสมอ เมื่อใดที่ความต้องการซื้อมากขึ้นเมื่อนั้นความต้องการขายก็จะมากขึ้นตามไปด้วย หากผู้บริโภคทยอยเลือกบริโภคผลิตผลที่มาจากการทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น แน่นอนว่าความต้องการขายอาหารที่มาจากเกษตรอินทรีย์มากขึ้นตาม เพียงแค่เลือกจับจ่ายอาหาร ผลิตภัณฑ์ที่มีที่มาจากการเกษตรอินทรีย์ หรือเลือกซื้อผักผลไม้อินทรีย์จากเกษตรกร และชักชวนให้ญาติพี่น้องมาร่วมกันสนับสนุนผลิตผลเหล่านี้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรกร และเพื่อสุขภาพที่ดีของพวกเขาเอง


ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/55674




Create Date : 15 มีนาคม 2559
Last Update : 15 มีนาคม 2559 10:56:04 น. 0 comments
Counter : 1098 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com