กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
เรียกร้องให้ตรวจสอบกระบวนการการจัดทำ EIA, EHIA ของประเทศไทย

ENGLISH version here
เลขที่จดหมายออก 4/2557

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี)120 หมู่ที่ 3 ถนน แจ้งวัฒนะ

แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

9 เมษายน 2557

เรื่อง  ขอเรียกร้องให้ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากการจัดทำนโยบายและการปฏิบัติการของกระบวนการการจัดทำEIA, EHIAของประเทศไทย

เรียน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ                                                                                                 

        Human Rights Watch

        เลขาธิการ ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights     

สำเนาถึง           

ประธาน ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights   

Human Rights Watch

คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (คชก.)

คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อ้างถึง   Open Letter to the ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR) 

ตามที่เครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหินได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อเลขาธิการ ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชนในระดับอาเซียนเริ่มต้นกระบวนการหารือระดับภูมิภาคด้านสิทธิสิ่งแวดล้อมและสิทธิด้านมนุษยชนในประเทศสมาชิกอาเซียน การกำหนดข้อบังคับและแนวทางการปฏิบัติร่วมกันตามกฎบัตรสหประชาชาติอันว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเพื่อคุ้มครองพลเมืองจากการกระทำการละเมิดต่อสิทธิอันพึงมี โดยจะต้องอยู่บนหลักความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ทั้งในกระบวนการยุติธรรมและกระบวนการอื่นใด

กระบวนการการจัดทำ EIA, EHIA ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่เป็นกรณีศึกษาที่เห็นชัดอย่างยิ่ง เมื่อกระบวนการการจัดทำดังกล่าวก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนในพื้นที่โดยตรงและส่งผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองทุกคนผู้มีสิทธิปกป้องและจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศร่วมกัน  กระบวนการการจัดทำ EIA, EHIA ของกระบี่จึงเป็นความต่อเนื่องและเรื้อรังของการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยที่โดนกระทำการละเมิดผ่านนโยบาย กฎหมายและกฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งมีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555 เป็นต้นมา

เครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหินจึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทำการตรวจสอบบริษัทที่ปรึกษา สถาบันและ/หรือผู้รับจ้างจัดทำรายงาน EIA,EHIA คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (คชก.) คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำนโยบายและดำเนินการปฏิบัติ ที่ได้พิจารณาอนุมัติโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ/หรือสุขภาพที่ผ่านมาทุกโครงการ รวมทั้งโครงการที่กำลังดำเนินการกระบวนการการจัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและ/หรือสุขภาพในอันที่จะส่งผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนในอนาคตเช่นกัน

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และเพื่อพิจารณาในการดำเนินการสอบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากนโยบายและการปฏิบัติการของกระบวนการการจัดทำEIA, EHIAของประเทศไทยเพื่อให้ประเทศไทยเกิดการปฏิรูปนโยบายและกระบวนการจัดทำEIA, EHIAให้อยู่บนหลักสิทธิมนุษยชนที่มีความถูกต้อง โปร่งใส ชอบธรรมและตรวจสอบได้

เครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหิน

1.กลุ่มรักลันตา

2.กลุ่มพิทักษ์ปกาสัย

3.สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวลันตา

4.สมาคมผู้ประกอบการโรงแรมเกาะลันตา

5.มูลนิธิอันดามัน

6.ศูนย์สร้างเสริมจิตสำนึกนิเวศวิทยา

7.กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

8.สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย

9.คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้  (กปอพช.)

10.โครงการปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารชายฝั่งภาคใต้

11.กลุ่มรักตรังปกป้องตรัง    

12.กลุ่มรักษ์อันดามัน

13.กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมปกาสัย จังหวัดกระบี่

14.กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดกระบี่

15.เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดกระบี่

16.องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน

17.เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านอ่าวพังงา อันดามัน

18.เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ

19.เครือข่ายติดตามผลกระทบจาดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตำบลเขาหินซ้อน

20. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ

21.เครือข่ายถ่านหิน ประเทศไทย

22.เครือข่ายถ่านหินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ร่วมลงชื่อ “ปกป้องกระบี่จากถ่านหิน” และเรียกร้องว่าเราต้องการโรงไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด คลิกเลยที่ //www.protectkrabi.org #ProtectKrabi

ที่มา : Greenpeace Thailand




Create Date : 21 เมษายน 2557
Last Update : 22 เมษายน 2557 13:50:27 น. 0 comments
Counter : 1052 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com