กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
เศรษฐกิจพอเพียงฟื้นผืนดินไทยด้วยภูมิพลังแผ่นดิน



เขียน โดย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


“ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม อันเนื่องมาจากมลพิษ หรือความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่หนึ่งที่ใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงที่อื่นๆ ด้วยเหตุนี้ทุกคนทุกประเทศในโลกจึงย่อมมีส่วนรับผิดชอบอยู่ด้วยกัน ทั้งในการแก้ไข ลดปัญหา และปรับปรุงสร้างเสริมสภาวะแวดล้อมให้กลับคืนมาสู่สภาพอันจะเอื้อต่อการมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขของตนเองและเพื่อนมนุษย์” 

-- พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ไม่ว่าแสงแดดจะแผดกล้า ไม่ว่าจะฝนตกฟ้าร้อง หุบเขาสูงอันห่างไกลหรือที่ลุ่มที่ดอน ทุกที่ที่แร้นแค้นพ่อจะเสด็จไป นำมาศึกษาหาทางแก้ไขเพื่อพสกนิกรด้วยความเอาใจใส่ ความรัก และเมตตา ความอุดมสมบูรณ์และความเป็นอยู่ของประเทศไทยที่อยู่ดีกินดี 

นานาโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นประดุจดังแสงประทีปส่องทางให้กับประเทศไทย ชี้นำให้ประเทศไทยอยู่อย่างพอเพียง แต่อยู่ดีกินดี อย่างมีความสุขบนความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นคือแนวพระราชดำริเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระองค์ท่านซึ่งเป็นสิ่งที่ประยุกต์จากเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การปลูกพืชผสมผสาน มีการขุดสระน้ำ เพื่อเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ผลิตเพื่อตนเองและผลิตเพื่อขาย เป็นการบริหารจัดการดิน น้ำ และทรัพยากรอย่างยั่งยืน สามารถทำการเกษตรได้ทั้งยามฝนและยามแล้ง ทั้งช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ และสร้างรายได้ผลผลิตทางการเกษตรโดยที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

ดังตอนหนึ่งของพระราชดำริที่ว่า “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป” (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจากวารสารชัยพัฒนา)

หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาบนทางสายกลาง

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง พอดี พอมี พอใช้ และการรู้จักใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ ประชาชนชาวไทยเริ่มรู้จักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อ พ.ศ.2517 เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัส ชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า 30 ปี และเริ่มมีอิทธิพลต่อชาวไทยในช่วงวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในยุคฟองสบู่แตก ปีพ.ศ.2540 แต่ในพุทธศักราชปัจจุบันก็ยังเป็นแนวคิดที่ไม่เคยล้าสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ปัญหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมกำลังเสื่อมโทรมและหมดไปเนื่องจากการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างเกินขนาดในปัจจุบัน

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการตัดสินใจ และการกระทำ ซึ่งนี่คือหลักการที่อิงตามหลักธรรมชาติ ไม่เบียดเบียน นอกเหนือจากการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ตนเองด้วยความพอเพียงแล้ว หัวใจสำคัญ คือการยึดถือแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม 


“พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย  ถ้าทุกประเทศมีความคิด “อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ” มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข  พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น  ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง” 

-- พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2541 

แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเหมือนรากแก้วของชีวิตคนไทยไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตในชนบทหรือในเมือง เพียงแต่ไม่หลงลืมทางสายกลาง และรากแก้วนี้เองคือรากฐานสำคัญในการเติบโตอย่างมั่นคงของต้นไม้จากภูมิพลังของแผ่นดิน ตลอดมา และตลอดไป


ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/57718



Create Date : 17 ตุลาคม 2559
Last Update : 17 ตุลาคม 2559 10:38:23 น. 0 comments
Counter : 817 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com