กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ข่าวที่โลกต้องฉลอง! โครงการเขื่อนยักษ์ที่ป่าอะเมซอนถูกยกเลิกแล้ว



เขียน โดย Danicley Aguiar

เด็กน้อยชาวพื้นเมืองมูนดูรูกุกระโดดเล่นน้ำที่แม่น้ำทาปาโฮซ ของผืนป่าอะเมซอน

นี่เป็นข่าวดีที่ผมเองก็ไม่แทบไม่อยากจะเชื่อ โครงการเขื่อนยักษ์ São Luiz do Tapajós (SLT)  ที่วางแผนไว้ว่าจะสร้างขึ้นที่ใจกลางผืนป่าอเมซอน บนแม่น้ำทาปาโฮช ได้ถูกยกเลิกแล้ว! โดยหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลบราซิล (IBAMA) ได้ออกมาประกาศยกเลิกการดำเนินงานของโครงการเขื่อนนี้เอง หลังจากทราบข่าวผมใจเต้นมาก หลังจากที่คลายความตื่นเต้นลงแล้ว ผมก็เริ่มโทรหาเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้าชนพื้นเมืองมูนดูรูกุเพื่อขอข้อมูลยืนยันข่าวดี

ในที่สุดก็เป็นข่าวดีอย่างเป็นทางการแล้ว! หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลบราซิลประกาศ ถึงเวลาฉลองข่าวดีนี้ ผมอยากจะขอขอบคุณทุกคนที่ร่วมยืนหยัดเคียงข้าวชาวมูนดูรูกุเพื่อผืนป่าอะเมซอนของโลก และทำให้ชัยชนะในวันนี้เกิดขึ้นได้

ในช่วงการรณรงค์หลายเดือนที่ผ่านมา เราเชื่อจริง ๆ ว่า ไม่ช้าไม่นานหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลบราซิล (IBAMA) จะต้องตระหนักถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของโครงการเขื่อนยักษ์นี้ต่อภูมิภาค และเมื่อรัฐบาลตัดสินใจออกมาเช่นนี้แล้ว กระบวนการต่าง ๆ ก็เป็นอันต้องยุติลง 

ผู้คนกว่า 1.2 ล้านคนทั่วโลก ได้ยืนหยัดร่วมกับชนพื้นเมืองมูนดูรูกุยุติโครงการเขื่อนขนาดยักษ์ที่จะทำลายผืนป่าอะเมซอนนี้ รวมถึงได้ร่วมกันออกมาส่งสารถึงบริษัท Siemens หนึ่งในบริษัทผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ (ซึ่งหนึ่งในนั้นยังมีนักกิจกรรมจากประเทศไทยด้วย)

หน่วยงานอื่นของบราซิลอย่างเช่น มูลนิธิเพื่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าในป่าอะเมซอนของบราซิลหรือ ฟูไน (FUNAI) และสหพันธ์อัยการรัฐปาราของบราซิล ได้ออกมาแนะนำให้หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลบราซิลยกเลิกสัญญาอนุมัติของโครงการเขื่อน เนื่องจากจะเป็นการทำลายชนพื้นเมืองมูนดูรูกุ โดยส่วนหนึ่งของดินแดนของชนพื้นเมืองมูนดูรูกุนั้นอยู่ในเขตพื้นที่สงวนเซาเร มุยบู (Sawré Muybu) ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมเนื่องจากเขื่อน

ขณะนี้ เมื่อโครงการเขื่อนยักษ์ได้ถูกยกเลิกการอนุมัติแล้ว กระทรวงยุติธรรมประเทศบราซิลควรดำเนินการตามหลักกฎหมายอย่างเร่งด่วน และกำหนดเขตพื้นที่สงวนเซาเร มุยบูอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม แม้ข่าวดีนี้จะถือเป็นอีกหนึ่งชัยชนะ แต่การปกป้องผืนป่าอะเมซอนยังไม่สิ้นสุดแต่เพียงเท่านี้ ก่อนที่แม่น้ำของผืนป่าอะเมซอนทุกสายจะปลอดภัยจากเขื่อนอย่างแท้จริง

นอกจากโครงการเขื่อนยักษ์นี้แล้ว ยังมีอีก 42 โครงการที่วางแผนไว้ว่าจะเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำโทปาโฮช รวมถึงยังมีอีกนับร้อยโครงการในพื้นป่าอะเมซอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่คำนึงถึงความสำคัญในการปกป้องผืนป่าอะเมซอนและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ต้องพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ทั้งที่โครงการเขื่อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ รวมถึงยังมีชื่อเสียงอันอื้อฉาวเกี่ยวกับกรณีคอรัปชั่นอีกด้วย

เราจะต้องหยุดโครงการเหล่านี้ให้ได้

บราซิลมีทางออกอื่นที่ดีกว่า คือภาครัฐควรมุ่งพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และหันมาเป็นผู้นำของโลกในด้านพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ซึ่งหากมีการลงทุนอย่างถูกต้องก็เป็นไปได้ว่าโครงการพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปริมาณเทียบเท่ากับพลังงานจากเขื่อนขนาดใหญ่อย่าง São Luiz do Tapajós โดยที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วไปอย่างลมและแสงอาทิตย์ 

Danicley Aguiar ผู้ประสานงานรณรงค์ปกป้องผืนป่าอะเมซอน กรีนพีซบราซิล


ที่มา: Greenpeace Thailand



Create Date : 10 สิงหาคม 2559
Last Update : 10 สิงหาคม 2559 14:19:13 น. 0 comments
Counter : 897 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com