กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
วิกฤตขาดแคลนน้ำของโลกกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน

เพราะเหตุใด ผลกระทบของถ่านหินที่มีต่อแหล่งน้ำ
จึงไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง?

ภาวะขาดแคลนน้ำได้รับการยอมรับว่าเป็นปัญหาที่อยู่ในขั้นวิกฤตอันดับต้น ๆ ของโลก แต่กลับมีการกล่าวถึงการปกป้องแหล่งน้ำที่ลดน้อยลงเนื่องจากแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งเติบโตอยู่ทั่วโลกอยู่น้อยนัก

แม้ว่า ในปี พ.ศ. 2558 นี้ ประเด็นของแหล่งน้ำและพลังงานจะเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิงในการอภิปรายเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ก็ไม่มีใครเชื่อมต่อหัวข้อทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน  ในความจริงนั้น การขยายตัวของแผนการใช้ถ่านหินเพื่อผลิตพลังงานเป็นปัจจัยที่ทำให้ภาวะขาดแคลนน้ำยิ่งวิกฤตหนัก แต่ภาคพลังงานก็มักได้รับชัยชนะเมื่อสิ่งมีค่าเหล่านี้เข้าไปถึงมืออยู่เสมอ

วิกฤตการขาดแคลนน้ำเชื่อมโยงกับปัญหาใหญ่อีก 2 หัวข้อ คือความล้มเหลวในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนอาหาร โดย World Economic Forum  องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจของโลกจัดประเภทวิกฤตการขาดแคลนน้ำเอาไว้ในประเภท ‘ความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงทางสังคม’ และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในด้านต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์

ถึงแม้ว่าปัญหาเรื่องการขาดแคลนแหล่งน้ำจะเป็นปัญหาเรื้อรังมานานก็ตาม แต่ภาคพลังงานก็ยังมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งคาดว่าจะสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 1,350  โรง และพร้อมใช้งานได้ในปี พ.ศ.2568  ซึ่งการขยายตัวของการใช้ถ่านหินส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคที่มีความตึงเครียดด้านปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพราะเป็นภูมิภาคที่ใช้น้ำสำหรับสุขาภิบาล สุขภาพอนามัย และวิถีชีวิต

และในเดือนมกราคมปีนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศก็ได้พิสูจน์ให้เราเห็นอีกครั้งว่า เราจำเป็นต้องเก็บปริมาณสำรองถ่านหินมากกว่าร้อยละ 80 ในพื้นดินเพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อน  เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ่านหินกำลังเป็นภัยใหญ่คุกคามสภาพภูมิอากาศของเรา และแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกว่า 1,350 โรงยิ่งจะทำให้ความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาการขาดแคลนอาหารเป็นไปไม่ได้อีกด้วย หากการขยายตัวดังกล่าวยังคงดำเนินการต่อไป แหล่งน้ำที่หายากขึ้นทุกวันก็จะถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตถ่านหินแทนที่จะนำไปใช้ในภาคเกษตรกรรมและการบริโภคในประเทศ ซึ่งผลักดันให้ภาวะโลกร้อนยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือไฟฟ้าที่ผลิตได้จะทำให้เศรษฐกิจโลกขาดดุลสูงขึ้น หรือกว่าพันล้านคนจะมีน้ำและอาหารที่พอจะพึ่งตนเองอย่างนั้นหรือ?

เรามีทางเลือกในการผลิตพลังงานอีกมาก
แต่กับแหล่งน้ำ เราไม่มีทางเลือก

เราต่างก็รู้ว่าในการผลิตพลังงานในแหล่งพลังงานหมุนเวียน ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการ เช่น พลังงานลม หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ เราไม่ต้องใช้น้ำช่วยในกระบวนการผลิตเลยถ้าเราไม่ใช้พลังงานฟอสซิล เราไม่ล้างถ่านหินเพื่อทำให้สะอาด และเราไม่เผาถ่านหิน เมื่อเราใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตพลังงาน เราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำเพื่อระบายความร้อน ไม่ต้องนำน้ำไปไปล้างเถ้าถ่านหิน และไม่ต้องจัดการน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารพิษอีก

นอกเหนือจากการประหยัดน้ำแล้ว แหล่งพลังงานหมุนเวียนยังไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว!

อัลบั้มภาพ “ถ่านหินกับความกระหาย”

ภาพในอัลบั้มนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้น้ำและผลกระทบในแต่ละขั้นตอนของวงจรชีวิตถ่านหิน

น้ำใช้ในการสกัดและชะล้างถ่านหิน และในโรงไฟฟ้าน้ำจะถูกใช้ในสามกระบวนการคือ ระบายความร้อน ควบคุมมลพิษ และทำหน้าที่จัดการของเสีย

ความขัดแย้งเหล่านี้มักจะไม่ถูกพูดถึง

เรามีทางเลือกในการผลิตพลังงานอีกมาก แต่กับน้ำ เราไม่มีทางเลือก

เราต่างก็รู้ว่าน้ำไม่มีความจำเป็นในการผลิตพลังงานในแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ เราไม่ใช้พลังงานฟอสซิล เราไม่ล้างถ่านหินเพื่อทำให้สะอาด และเราไม่เผาถ่านหิน เมื่อเราใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตพลังงาน เราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำเพื่อระบายความร้อน ไม่ต้องนำน้ำไปไปล้างเถ้าถ่านหิน และไม่ต้องจัดการน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารพิษอีก

ทวิตสิ่งที่คุณคิดเกี่ยวกับ “ทำไมถ่านหินคือศัตรูของน้ำ มากกว่าที่จะเป็นเพื่อนที่แยกจากกันไม่ได้”

ความจริงเกี่ยวกับ “ผลกระทบของถ่านหินที่กระหายน้ำ”

  • ลองเปรียบเทียบการใช้น้ำของถ่านหินกับมนุษย์ :  องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ปริมาณน้ำที่มนุษย์ 1 คนต้องการอยู่ระหว่าง 50-100 ลิตร ซึ่งในหนึ่งปี มนุษย์ 1 คนบริโภคน้ำ 36.5 ลูกบาศก์เมตร แต่จากผลวิจัยในปี พ.ศ.2555โดยองค์กร International Energy Agency  รายงานว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกใช้น้ำไป 37 พันล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้น โรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกใช้น้ำไปเท่ากับ ความต้องการใช้น้ำของคนถึง 1 พันล้านคนเลยทีเดียว
  • ประชากร 1.2 พันล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในประเทศที่กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำ (แหล่งน้ำเกือบจะไม่สามารถพัฒนาให้มีความยั่งยืน หรือไม่สามารถพัฒนาให้ยั่งยืนได้แล้ว)  
  • ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นประเทศที่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำ ประชากรสามารถใช้น้ำได้เพียง 973 ลูกบาศก์เมตรต่อคน แต่น้ำมากกว่าร้อยละ 90 ถูกใช้ไปกับการผลิตพลังงานจากถ่านหินโดย เอสคอม บริษัทพลังงานรายใหญ่ของประเทศ ซึ่งกระบวนการผลิตพลังงานจากถ่านหินที่นี่ใช้น้ำเท่ากับการบริโภคน้ำของคน 1 คน ในหนึ่งปี เพื่อให้โรงไฟฟ้าดำเนินงานเพียง 1 วินาที ในที่สุดครอบครัวบางครอบครัวถูกบังคับให้ซื้อน้ำขวดเพราะไม่มีน้ำสะอาดให้บริโภค
  • อินเดียก็เป็น 1 ในหลาย ๆ ประเทศของโลกที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างหนัก เป็นที่น่าตกใจเพราะต้องใช้ทรัพยากรน้ำร้อยละ 3.5 ของโลก หล่อเลี้ยงประชากร 1.2 พันล้านคน
  • โรงไฟฟ้าถ่านหินในอินเดียใช้น้ำที่ทดได้อย่างน้อย 1 ล้านไร่จากพื้นมี่การเกษตร ทศวรรษที่ผ่านมา ในรัฐราษฏระมีเกษตรกรฆ่าตัวตายไปกว่า 40,000 ราย เพราะขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก
  • ทางด้านสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศที่มีการเสนอแผนการผลิตพลังงานจากถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นประเทศที่ต้องใช้แหล่งน้ำกว่าร้อยละ 5 ของโลก เพื่อหล่อเลี้ยงประชากร 1.3 พันล้านคน

น้ำกว่าพันล้านลูกบาศก์ลิตรถูกใช้ไปในแต่ละขั้นตอนของวงจรชีวิตถ่านหิน น้ำใช้ในการสกัดและชะล้างถ่านหิน เมื่อถ่านหินเข้าสู่กระบวนการผลิต จะใช้น้ำในสามกระบวนการคือ ระบายความร้อน ควบคุมมลพิษ และจัดการกับเถ้าถ่านหิน

ทุก ๆ 3.5 นาที โรงไฟฟ้าถ่านหินจะปล่อยน้ำเสียออกมาในปริมาณที่เติมสระว่ายน้ำในการแข่งขันโอลิมปิกได้สบาย ๆ ถ่านหินจะดูดทรัพยากรน้ำและทำให้สภาวการณ์ขาดแคลนน้ำวิกฤตหนัก แต่เรายังสามารถหลีกเลี่ยงมันได้โดยหันมาเลือกใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน ไม่ใช่แค่เพื่อสภาพภูมิอากาศในโลกของเรา แต่เพื่อการใช้น้ำในการผลิตพลังงานอีกด้วย 

Blogpost โดย Iris Cheng -- มีนาคม 23, 2558 ที่ 20:18
 



Create Date : 24 มีนาคม 2558
Last Update : 24 มีนาคม 2558 15:53:00 น. 1 comments
Counter : 1112 Pageviews.  
 
 
 
 
อืม...สาระความรู้เพียบ ทำให้เข้าใจในภาพรวมของสถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ขอบคุณนะครับ
 
 

โดย: วิรุฬห์บัณฑิต วันที่: 24 มีนาคม 2558 เวลา:20:08:52 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com