กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ว่าด้วยเรื่องของรังสีที่ฟูกูชิมา 1 (ไดอิชิ)


โดย ดร. เรเน่ ทูเล่ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงาน กรีนพีซสากล

รายงานของกรีนพีซฉบับนี้ทำหน้าที่ในการช่วยวิเคราะห์และให้คำแนะนำต่ออันตรายและผล กระทบต่อสุขภาพจากการรั่วของรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมา/ไดอิชิ1ที่ญี่ปุ่นซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและ สึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554
อภิธานศัพท์


ปริมาณที่ได้รับ(dose) : ปริมาณรังสีทั้งหมดที่ร่างกายได้รับในช่วงระยะเวลาเวลาหนึ่ง

หน่วยวัด :

− ไมโครซีเวิร์ท (µSv) 
− มิลลิซีเวิร์ท (1 mSv = 1000 uSv) 
− ซีเวิร์ท (1 Sv = 1000 mSv). 

อัตราปริมาณการรับ = ปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับต่อชั่วโมง, แสดงในหน่วย 

−ไมโครซีเวิร์ทต่อชั่วโมง (µSv/h) 
− มิลลิซีเวิร์ทต่อชั่วโมง (mSv/h =1000 µSv/h)


ความเป็นมา : 

การประเมินการแพร่กระจายของรังสี

จากการเปิดเผยสถานการณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา1/ไดอิชิเมื่อวันที่ 18 มีนาคมระบุว่าสถานการณ์อาจจะเลวร้ายขึ้นได้ ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงผลกระทบจากรังสี เราจะกล่าวถึงผลกระทบที่เป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เราแนะนำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่รังสีแพร่ไปถึงใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อลดการสัมผัสรังสีให้อยู่ในระดับต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้


สารกัมมันตรังสีถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมและยังมีความเสี่ยงที่จะถูกปล่อยออกมาเพิ่มขึ้นในวันต่อๆไป มีรายงานปริมาณรังสีระดับสูงบริเวณโรงไฟฟ้าและมีอัตราการรับรังสีสูงถึง 10 ไมโครซีเวิร์ทต่อชั่วโมงในบริเวณระยะ 10 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้า


สารกัมมันตรังสีที่ถูกปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าครอบคลุมบริเวณกว้าง ขวางในรูปของ “หมอก" กัมมันตรังสี แหล่งกำเนิดรังสีที่แน่นอน, ระยะทาง, ความสูงของหมอกกัมมันตรังสี, ทิศทางลมและสภาพอากาศ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยบอกการแพร่กระจายของหมอกกัมมันตรังสี และระบุว่าอนุภาคกัมมันตรังสีจะตกลงสู่พื้นดิน ณ ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก


ในทางทฤษฎี ปริมาณรังสีโดยรวมที่ปล่อยออกมาจากอุบัติเหตุนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณสารกัมมันตรังสีจากแกนเตาปฏิกรณ์และบ่อเชื้อเพลิงใช้แล้วที่เกิดความเสียหลาย รังสีอาจถูกปล่อยออกมาเป็นระยะๆ ขึ้นอยู่กับสถานะของโรงไฟฟ้า – ก่อให้เกิดหมอกกัมมันตรังสีแผ่กระจายออกไปเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์


ในการปล่อยรังสีแต่ละครั้งอาจทำให้เกิดหมอกกัมมันตรังสีเคลื่อนย้ายไปในทิศทางต่างๆกันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ กรีนพีซยังคงติดตามการพยากรณ์อากาศเพื่อระบุการแพร่กระจายและทิศทางของเมฆรังสีให้ได้แน่นอนยิ่งขึ้น


มีรายงานอัตราการได้รับรังสีไม่กี่ร้อยมิลลิซีเวิร์ทต่อชั่วโมงที่บริเวณใกล้เคียงเตาปฏิกรณ์ในฟูกูชิมา และประมาณ 150 ไมโครซีเวิร์ทต่อชั่วโมงที่บริเวณ 30 กิโลเมตรห่างจากโรงไฟฟ้า นั่นหมายความว่าบริเวณรอบๆโรงไฟฟ้ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีแล้ว ณ วันที่ 18 มีนาคม 


อันตรายจากรังสี

ภัยจากการสัมผัสรังสีสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม :

  1. การแผ่รังสีภายนอกจากสารกัมมันตรังสีภายนอกร่างกาย ;
  2. การปนเปื้อนจากสารกัมมันตรังสีที่เข้าสู่ภายในร่างกาย;

การสัมผัสกัมมันตรังสีทำให้เกิดการกลายพันธุ์, ความพิการ, มะเร็ง, มะเร็งเม็ดเลือดขาวและความบกพร่องของ ระบบสืบพันธุ์, ระบบภูมิคุ้มกัน, หัวใจและหลอดเลือด และต่อมไร้ท่อ ถ้าได้รับปริมาณรังสีในระดับสูง (>1 ซีเวิร์ท) สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในทันทีและอาจทำให้เสียชีวิต ผลต่อสุขภาพเมื่อได้รับในปริมาณน้อยจะเกิดขึ้นในระยะยาว การปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีมักทำให้เกิดการสัมผัสรังสีอย่างมีนัยสำคัญกล่าวคือสารกัมมันตรังสีจะถูกกักเก็บไว้ในร่างกายเป็นระยะเวลานานและยังคงปล่อยรังสีอยู่ตลอดเวลาที่อยู่


ในบริเวณใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้า (<10กิโลเมตร) มีปริมาณรังสีรั่วออกมามาก ยิ่งใกล้โรงไฟฟ้ามากเท่าไรก็ยิ่งมีระดับรังสีสูงเท่านั้น ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้เป็นเวลานาน (หลายวัน, หลายสัปดาห์, หลายเดือน) จะได้รับรังสีสะสมซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพในระยะปานกลางถึงยาวได้ 


หมอกกัมมันตรังสีก่อให้เกิดการสัมผัสรังสีทั้งทางตรงและทางอ้อม คนที่สัมผัสกับหมอกกัมมันตรังสีจะได้รับอันตรายโดยตรงจาก (1)ปริมาณรังสีทีสัมผัสภายนอกจากหมอกกัมมันตรังสี และ (2) การสูดดมอนุภาคกัมมันตรังสี ในทางอ้อม จะได้รับอันตรายจากการสูดดมอนุภาคกัมมันตภาพรังสีสะสมจากที่เคยปล่อยออกมาแล้วและที่ปล่อยออกมาใหม่ และการปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร


การสัมผัสรังสีและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ในขณะนี้ระดับความเข้มข้นของรังสีที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด คาดว่ารังสีที่รั่วออกมาคือไอโซโทปอายุยืนเช่น ซีเซียม-137 ซึ่งสามารถอยู่ในสภาพที่แผ่รังสีได้นานถึง 300 ปี


เป็นที่แน่นอนว่าจำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษเพื่อประโยชน์ระยะยาวในการป้องกันประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบโรงไฟฟ้าฟูกูชิมาและบริเวณที่รังสีแผ่ไปถึง ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าประชาชนจะสามารถย้ายกลับถิ่นฐานเดิมได้เมื่อไร


สำหรับเด็ก (โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยๆ) และหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสได้รับอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าคนทั่วไปเนื่องจากความไวของการสร้างเซลล์สูงกว่า ดังนั้นจึงมีความสำคัญมากที่คนกลุ่มนี้ต้องได้รับความระมัดระวังเป็นพิเศษ


คำแนะนำในการป้องกันรังสี

เพื่อให้ระดับการสัมผัสรังสีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ :  

  • ประชาชนควรอยู่ให้ห่างจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมาและบริเวณที่รังสีแผ่ขยายไปถึง มีการอพยพประชาชนในบริเวณ 30 กิโลเมตรรอบๆโรงไฟฟ้า และรัฐบาลสหรัฐแนะนำให้ประชาชนในบริเวณ 80 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าย้ายออกจากพื้นที่หลังจากที่ได้รับการประเมินจากเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ของสหรัฐ
  • ติดตามวิทยุ/โทรทัศน์ท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดเพื่อรับข้อมูลถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากหมอกกัมมันตรังสีที่ใกล้กับบริเวณที่อยู่อาศัยของคุณ ฟังประกาศจากทางหน่วยงานราชการถึงวิธีการป้องกันรังสี 
  •  ในกรณีที่หมอกกัมมันตรังสีเคลื่อนมาใกล้กับบริเวณที่พักอาศัยของคุณ ให้อยู่ภายในอาคารและปิดหน้าต่าง, ประตู และทางเข้าของอากาศทุกที่ ห้ามออกจากอาคารนอกจากจะมีความจำเป็นจริงๆ และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่กลับเข้ามาภายในอาคาร 
  •  ไม่ควรดื่มนมที่ผลิตในพื้นที่ที่มีการตรวจวัดรังสีได้ในระดับสูง และล้างผักและผลไม้ให้สะอาด สถานทูตอังกฤษประจำประเทศญี่ปุ่นเสนอ ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับอาหาร, นมและน้ำ
  •  ทานยาเม็ดไอโอดีนเมื่อได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ (เฉพาะเวลานั้นเท่านั้น!)เพื่อป้องกันการสะสมกัมมันตภาพรังสีไอโอดีนที่ต่อมไทรอยด์ ปฏิบัติตามคำแนะนำและปรึกษาแพทย์สำหรับหญิงตั้งครรภ์, ผู้มีอาการแพ้ยาและผู้มีโรคประจำตัว และทารก (ยาอาจทำให้เกิดผลกระทบข้างเคียงได้)

ควรจำไว้ว่ายาเม็ดไอโอดีนจะป้องกันกัมมันตรังสีไอโอดีนเท่านั้นไม่รวมถึงกัมมันตรังสีไอโซโทปอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามประชาชนควรอยู่ให้ห่างจากบริเวณที่มีรังสีและอยู่แต่ภายในอาคารเมื่อมีหมอกกัมมันตรังสีผ่านถึงแม้ว่าจะทานยาเม็ดไอโอดีนแล้วก็ตาม


ข้อมูลพื้นฐานของรังสี  

1. รังสีนิวเคลียร์คืออะไร? 

รังสีมีอยู่มากมาย : ความร้อน, แสงสว่าง, ไมโครเวฟและนิวเคลียร์ การแผ่รังสีนิวเคลียร์สามารถเกิดได้ 5 รูปแบบ (ดู 5) ลักษณะทั่วไปของรังสีนิวเคลียร์คือมันมีอานุภาพในการทำลายโมเลกุล ในขณะที่ความร้อนและแสงอาทิตย์ไม่สามารถทำลายได้


2. ทำไมรังสีนิวเคลียร์ถึงอันตราย? 

การ แผ่รังสี หรือ รังสี (จากนี้จะใช้คำว่า “รังสี” แทนคำว่า "รังสีนิวเคลียร์") ทำลายโมเลกุล ทั้งนี้รวมถึงโมเลกุลในร่างกาย เมื่อโมเลกุล DNA ในเซลล์ร่างกายถูกทำลายลงจะก่อให้เกิดมะเร็ง รังสีนี้ถูกเรียกว่าสารก่อมะเร็งเนื่องจากมันก่อให้เกิดมะเร็ง ลักษณะพิเศษที่ทำให้รังสีนี้ต่างจากสารก่อมะเร็งอื่นๆ (เช่น สารเคมี เป็นต้น) คือมันไม่มี “ปริมาณที่ปลอดภัยที่ได้รับ” ขั้นต่ำที่จะไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง

 

3. แหล่งกำเนิดของรังสีคืออะไร?

สารกัมมันตภาพรังสีปล่อยรังสีออกมา สารเหล่านี้ถูกสร้างมาจากอะตอมที่ไม่เสถียรที่แยกตัวออกมาจากอะตอมเสถียร ในกระบวนการแตกตัวนี้จะปล่อยพลังงานออกมาในรูปของการแผ่รังสี กระบวนการนี้เรียกว่าการสลายตัวของกัมมันตภาพรังสี 

 

4. กัมมันตภาพรังสีคืออะไร? 

กัมมันตภาพรังสีของสสารบ่งชี้ถึงปริมาณการแตกสลายของอะตอมในสาร ถ้าสารใดมีกัมมันตภาพรังสีมาก สารนั้นจะถูกเรียกว่ามีกัมมันตรังสีสูงมากซึ่งประกอบด้วย 2 ปัจจัยด้งนี้ : 


1.สารนั้นๆประกอบด้วยอะตอมกัมมันตรังสีมาก
2.อะตอมกัมมันตภาพรังสีในสารนั้นมีการแตกตัวเร็วมาก

ซึ่งถ้ามีทั้งสองปัจจัยร่วมกันก็จะทำให้สารนั้นมีความเป็นกัมมันตรังสีสูงมาก

 

5. อะตอมกัมมันตรังสีมีกี่ชนิด?

มี 3 ชนิดด้วยกันคือ : อะตอมที่ปล่อยรังสีแกมม่า, อะตอมที่ปล่อยรังสีเบต้า และอะตอมที่ปล่อยรังสีอัลฟ่า ทำให้เกิดรังสี 3 ชนิดคือ รังสีแกมม่า, เบต้าและอัลฟ่า อะตอมกัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่จะปล่อยรังสีร่วมกันทั้ง 3 ชนิดแต่จะมีรังสีเพียง 1ชนิดที่เด่นชัดมากที่สุด 

 

6. อะไรคือความแตกต่างระหว่างรังสีแกมม่า, เบต้าและอัลฟ่า?

รังสีแกมม่าเป็น “คลื่น” เหมือนแสงแต่มีพลังงานมากกว่าแสง รังสีเบต้าประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ (อิเลคตรอน) วิ่งด้วยความเร็วสูงมาก รังสีอัลฟ่าประกอบด้วยอนุภาคใหญ่ๆ (โปรตอน 2 ตัวและนิวตรอน 2 ตัว) วิ่งด้วยความเร็วสูงเหมือนกัน

 

ความ แตกต่างที่สำคัญก็คือ “พลังการทำลายล้าง” โดยที่รังสีอัลฟ่ามี “พลังการทำลายล้าง”สูงที่สุด และที่ต่ำที่สุดคือรังสีแกมม่า แต่ข้อดีคือรังสีที่มี “พลังการทำลายล้าง”สูงที่สุดจะไม่ส่งออกไปไกลเนื่องจากระดับพลังงานจะลดลงอย่างรวดเร็วมาก ตัวอย่างเช่นอนุภาคอัลฟ่าจะไม่ทะลุเข้าสู่ผิวหนังหรือไม่แม้แต่จะทะลุแผ่นกระดาษ

 

7. อะไรคือปริมาณรังสีที่ได้รับและมีผลกระทบต่างกันอย่างไรในรังสีแต่ละชนิด? 

ปริมาณรังสีที่ได้รับคือปริมาณพลังงานที่รังสีให้แก่ร่างกาย ปริมาณนี้บ่งบอกถึงอันตรายกล่าวคือถ้าได้รับปริมาณมากก็ได้รับอันตรายมากนั่นเอง เราจะได้รับปริมาณรังสีเมื่อรังสีเดินทางผ่านร่างกายและเข้าสู่เซลล์และอวัยวะของร่างกาย นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมรังสีอัลฟ่าไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายภายนอก เนื่องจากมันไม่สามารถซึมเข้าแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ แต่อย่างไรก็ตามถ้าอะตอมของพลูโตเนียม(ซึ่งปล่อยรังสีอัลฟ่า)เข้าสู่อวัยวะภายในร่างกายในรูปของอนุภาคขนาดใหญ่ก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก กัมมันตภาพรังสีจะจะไปทำลายทุกอย่าง (DNAและเนื้อเยื่อเซลล์) ที่รังสีนี้ไปสัมผัส ดังนั้นจึงเรียกว่าเป็นปริมาณที่ได้รับสูง

 

รังสีแกมม่าจะเดินทางผ่านร่างกายแต่โอกาสที่จะ”ชน”กับอะไรก็ตามนั้นน้อยมากดังนั้นจึงถูกจัดว่าเป็นปริมาณที่ได้รับไม่มาก แต่อะตอมที่ปล่อยรังสีแกมม่าทั้งหมดไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกร่างกายก็ตามทำให้เกิดอันตรายจากรังสีทั้งนั้น

 

8. อะไรคือการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี?

การปนเปื้อนจะเกิดขึ้นเมื่อมีการสัมผัสสารกัมมันตภาพรังสี(อนุภาคขนาดต่างกันแต่บางครั้งก็เล็กเท่ากับไม่กี่อะตอม)บน(การปนเปื้อนภายนอก)หรือใน (การปนเปื้อนภายใน)ของอะไรหรือใครก็ตาม ควรจำไว้ว่าสารกัมมันตภาพรังสีมีพฤติกรรมเหมือนสารอื่นๆคือมันสามารถไปได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็น : ฝุ่นละอองในอากาศ, อาหาร, เฟอร์นิเจอร์, มนุษย์ แต่ก็เหมือนกับสิ่งสกปรกทั่วๆไปที่ล้างออกได้ ซึ่งเรียกว่าการกำจัดการปนเปื้อน แต่การปนเปื้อนภายในเป็นสิ่งที่อันตรายกว่าเนื่องจากอันตรายจากอะตอมที่ปล่อยรังสีอัลฟ่ายังมีอยู่ต่อเนื่องและมีความยากในการกำจัดออก

 

9. ระดับปริมาณที่ได้รับที่ปลอดภัยคือเท่าไร?

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้นว่า รังสีไม่มีระดับปริมาณที่ได้รับที่ปลอดภัย นอกจากจะพยายามให้ระดับปริมาณที่ได้รับอยู่ที่ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ระดับที่รับได้ของสากลที่กำหนดไว้สำหรับสาธารณะที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากภูมิหลังหรือรังสีตามธรรมชาติคือ 1 มิลลิซีเวิร์ทต่อปี และ 20 มิลลิซีเวิร์ทต่อปีสำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ ในขณะที่ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการปล่อยรังสีตามธรรมชาติเฉลี่ยทั่วโลกคือ 2.4 มิลลิซีเวิร์ทต่อปี






Create Date : 30 มีนาคม 2554
Last Update : 30 มีนาคม 2554 19:09:40 น. 0 comments
Counter : 949 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com