กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ผู้บริโภค คือพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมปลาทูน่า

Blogpost โดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

กฎพื้นฐานอย่างหนึ่งของอุปสงค์และอุปทาน คือ เมื่อผู้บริโภคเลือกไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชนิดใด และมีปริมาณความต้องการซื้อลดลง ปริมาณความต้องการขายก็จะลดลงตามไปด้วย เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องที่ผู้บริโภคจากทั่วโลกกำลังร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดความเป็นธรรมและยั่งยืนอยู่ในขณะนี้ หากคุณไม่เชื่อว่าพลังจากผู้บริโภคสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีกว่าให้กับอุตสาหกรรมปลาทูน่าได้ ลองอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ

อีกด้านหนึ่งของอุตสาหกรรมประมงทูน่าที่ไม่สามารถควบคุมได้ยังคงใช้การประมงแบบทำลายล้าง คร่าชีวิตของสัตว์ที่ไม่ใช่เป้าหมาย เช่น เต่าและฉลาม ไม่เพียงแต่ระบบนิเวศจะตกอยู่ในอันตรายเท่านั้น แต่กฎหมายที่หละหลวมทำให้อุตสาหกรรมประมงมีช่องโหว่ในการใช้แรงงานที่ได้มาจากการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานบนเรือประมงต่างๆ โดยไม่ได้ขึ้นฝั่งเลยติดต่อกันหลายปี และศูนย์กลางของอุตสาหกรรมนี้ คือ ไทยยูเนี่ยน เจ้าของแบรนด์ทูน่ากระป๋องอย่าง Sealect  ที่ผ่านมา บริษัทผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าทำการประมงราวกับถือคติว่า ไกลตา ไกลใจ ผู้บริโภคไม่เห็นจึงไม่ใส่ใจ แต่ตอนนี้ประชาชนกว่า 225,000 คนจากทั่วโลกกำลังออกมาเปล่งเสียงให้อุตสาหกรรมปลาทูน่าได้รับรู้ว่า พวกเขาใส่ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมาเป็นทูน่ากระป๋องในซูเปอร์มาร์เก็ต

แบรนด์ทูน่ากระป๋องหลายแบรนด์ออกมาแสดงเจตนารมณ์พร้อมเปลี่ยนแปลง

หลายแบรนด์ อาทิ Connétable ประเทศฝรั่งเศส Sealord ประเทศนิวซีแลนด์ Oriental Pacific สหราชอาณาจักร ซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ออกมาแสดงเจตนารมณ์หันมาสนับสนุนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋องที่มาจากการประมงด้วยวิธีที่ปราศจากการใช้อุปกรณ์ล่อปลา (FAD-free) หลังจากที่ประชาชนในฐานะผู้บริโภคที่มีความตระหนักหลายหมื่นคนร่วมกันส่งเสียงเรียกร้อง

นอกจากนี้ แบรนด์ทูน่ากระป๋องชื่อดังของออสเตรเลียต่างๆ ได้แก่ Coles, Woolworths, Aldi, John West, IGA, Sirena และ Greenseas ได้ออกมาประกาศยุติการใช้การใช้อุปกรณ์ล่อปลา (FAD-free) หลังจากที่ชาวออสเตรเลียกว่า 50,000 คนออกมาแสดงพลังเรียกร้อง

ภาพด้านบนนี้คือเรือ Albatun Tres ซึ่งเป็นเรืออุตสาหกรรมประมงปลาทูน่าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ใช้อวนล้อมประกอบกับอุปกรณ์ล่อปลา สามารถจับปลาทูน่าได้ครั้งละ 3,000 ตัน ซึ่งนับว่ามากกว่าปริมาณที่ชาวประมงในบางประเทศทางหมู่เกาะแปซิฟิคสามารถจับได้ต่อปี การทำประมงปลาทูน่าส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์ล่อปลา (FADs) ร่วมกับอวนล้อมขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นวิธีการทำประมงแบบกวาดล้อมและคร่าชีวิตสัตว์น้ำทุกชนิดที่เข้ามาในอวน ไม่ว่าจะเป็นปลาทูน่าที่เป็นเป้าหมาย ไปจนถึงฉลาม เต่าทะเล วาฬขนาดเล็ก และปลาวัยอ่อนชนิดอื่นๆ สัตว์น้ำเหล่านี้เรียกว่าการจับสัตว์น้ำพลอยได้ (Bycatch) ซึ่งหากยังประมงด้วยวิธีทำลายล้างเช่นนี้ต่อไป จะเป็นการเร่งให้ปลาทูน่าบางสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ครีบเหลือง และครีบน้ำเงิน เสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์ได้

ซูเปอร์มาร์เก็ตและตัวแทนจัดจำหน่ายออกมาร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อมหาสมุทรและผู้บริโภค

ไม่ใช่เพียงแค่แบรนด์ทูน่ากระป๋องเท่านั้น แต่ผู้บริโภคในหลายประเทศก็สามารถผลักดันให้ซูเปอร์มาร์เก็ตออกมาแสดงจุดยืนสร้างการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ดังเช่นในประเทศสหราชอาณาจักร  Tesco, Morrison และ Asda ได้ออกมาแสดงเจตนารณ์สนับสนุนการประมงปลาทูน่าอย่างยั่งยืนเช่นกัน รวมถึงยังมี Système U ประเทศฝรั่งเศส และที่ประเทศอเมริกา ตัวแทนจัดจำหน่ายอย่างบริษัท Hy-Vee ก็ได้ออกมาให้คำมั่นว่าจะจำหน่ายปลาทูน่าที่มาจากการประมงอย่างยั่งยืนขึ้นเช่นกัน

การที่ผู้บริโภคออกมาร่วมกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือการที่ผู้บริโภคออกมาแสดงจุดยืนว่าไม่ต้องการทูน่ากระป๋องที่เชื่อมโยงกับการทำลายระบบนิเวศของมหาสมุทร หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการส่งสาส์นเตือนไปยังแบรนด์ทูน่ากระป๋องว่า ผู้บริโภคกำลังจับตามองพฤติกรรมทั้งดีและร้ายของอุตสาหกรรมอยู่

ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังผลักดันให้ไทยยูเนี่ยนออกมาสร้างการเปลี่ยนแปลง

หลายแบรนด์ หลายตัวแทนจำหน่ายออกมาแสดงเจตนารณ์พร้อมเปลี่ยนแปลงแล้ว และในครั้งนี้ผู้บริโภคกำลังเรียกร้องให้ไทยยูเนี่ยน อุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดของโลก หันมาใช้วิธีการทำประมงแบบยั่งยืน ส่งผลกระทบต่อมหาสมุทรน้อยที่สุด รวมถึงคุ้มครองแรงงานบนเรือประมงตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพราะหากเราสามารถเปลี่ยนแปลงไทยยูเนี่ยนได้ อุตสาหกรรมปลาทูน่าทั้งหมดก็จะปรับเปลี่ยนตามได้เช่นกัน ไทยยูเนี่ยน เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีความเชื่อมโยง และยังคงเพิกเฉยกับการทำลายสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานบนเรือประมง แต่พลังของเราสามารถเปลี่ยนแปลงไทยยูเนี่ยนได้ ดังเช่นการผลักดันของผู้บริโภคที่ทำให้ ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำของอังกฤษต่างหันมาใช้ปลาทูน่ามาจากการประมงแบบยั่งยืนมาแล้ว

อุตสาหกรรมปลาทูน่าที่ยั่งยืนและเป็นธรรม หมายถึงอุตสาหกรรมที่แรงงานได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ชุมชนชายฝั่งได้รับผลประโยชน์จากทรัพยากรในท้องทะเล ระบบนิเวศในมหาสมุทรไม่ถูกทำลาย สัตว์ทะเลไม่ถูกคร่าชีวิตไปกับการเป็นผลพวงของการทำประมงแบบทำลายล้าง และปลาทูน่าสายพันธุ์ต่างๆ มีโอกาสเจริญเติบโตแพร่พันธุ์ได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม อุตสาหกรรมเช่นนี้สามารถเป็นจริงได้ เพียงแค่ทุกคน ทุกฝ่ายร่วมมือกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ด้วยพลังของผู้บริโภค

ร่วมลงชื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่นี่ #NotJustTuna


ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/54553/


Create Date : 27 ตุลาคม 2558
Last Update : 27 ตุลาคม 2558 15:02:21 น. 1 comments
Counter : 2039 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: peepoobakub วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:17:53:50 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com