กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
เืชื้อเพลิงชีวภาพอาจร้ายมากกว่าดี Biofuels May do More Harm than Good

เืชื้อเพลิงชีวภาพอาจร้ายมากกว่าดี Biofuels May do More Harm than Good

English text is after Thai.

ตำรวจไทยประกาศขอรับน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้วเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงรถลาดตระเวน เนื่องจากในขณะนี้น้ำมันซึ่งกำลังแตกฟองสบู่ มีมูลค่าเกินงบประมาณสำหรับต่อสู้กับอาชญากรรม

นั่นเป็นเรื่องดีทีเดียวเพราะเป็นการนำของที่จะทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมกลับมาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้เชื้อเพลิงชีวภาพยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน เมื่อไม่นานมานี้ภาวะโลกร้อนทำให้ทั่วโลกตื่นตัวโดยมีนโยบายเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันไปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ

ผู้คนจำนวนมากเห็นว่าเชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งผลิตจากข้าวโพด น้ำมันปาล์ม อ้อย และผลิตผลการเกษตรอื่นๆ นั้นเป็นวิธีในการตอบสนองความต้องการพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นของโลกที่สะอาดและถูกกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในขณะที่ราคาน้ำมันพุ่งสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เชื้อเพลิงชีวภาพกลายมาเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่ดึงดูดสำหรับประเทศยากจน ซึ่งบางประเทศใช้เงินเพื่อนำเข้าน้ำมันมากกว่าการสาธารณสุขถึง 6 เท่า

แต่ เรื่องเลวร้ายก็คือ.......ในขณะที่โลกเห็นว่าเชื้อเพลิงชีวภาพเป็น "โอกาสทอง" ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก.....

นักสิ่งแวดล้อมได้เตือนในรายงานของสหประชาชาติเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ว่าความเห่อในเชื้อเพลิงชีวภาพอาจทำลายสิ่งแวดล้อมได้เท่าๆ กับเชื้อเพลิงฟอสซิล

การเพิ่มขึ้นของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจะทำให้เกิดความต้องการที่ดินและแหล่งน้ำของโลกเพิ่ื่อขึ้นเมื่อความต้องการของผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตผลจากป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นสภาพคาร์บอนในดินและปริมาณคาร์บอนในป่าและป่าพรุที่เปลี่ยนแปลงไปอาจอาจเป็นผลร้ายมากกว่าผลดีจากการลดก๊าซเรือนกระจก

การปลูกพืชขนาดเล็กในบริเวณกว้างอาจนำไปสู่การสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การกัดกร่อนของหน้าดิน และสารอาหารในพืชที่ลดลง ดังนั้นการลงทุนในพลังงานชีวภาพควรกระทำอย่างรอบคอบที่สุดในระดับประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลกระทบอย่างไม่สามารถกลับเป็นเหมือนเดิมได้

.....นี่เป็นข้อสรุปจากรายงานของสหประชาชาติ

ในแง่ของสิทธิมนุษยชนนั้น Oxfam องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนชื่อดังเตือนว่า เชื้อเพลิงชีวภาพจะทำร้ายประชากรที่ยากจนของโลกด้วย เนื่องจากประเทศพัฒนา เช่น สหภาพยุโรปจะต้องนำเข้าพืชผล เช่น อ้อยและปาล์มน้ำมามาจากประเทศกำลังพัฒนาเพื่อใช้ทำเชื้อเพลิงชีวภาพ และในขณะที่บริษัทและประเทศต่างๆ เดินหน้าตอบสนองความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพ ประชาชนจะถูกขับไล่ออกจากที่ดินของตนเองและชีวิตความเป็นอยู่ถูกทำลาย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การรณรงค์ต่อต้านการทำลายป่าพรุในอินโดนีเซียเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันของกรีนพีซเมื่อเร็วๆ นี้ โดยกรีนพีซได้เข้าไปตั้งค่ายผู้พิทักษ์ป่าและสร้างเขื่อนชั่วคราวเพื่อป้องกันการดึงน้ำออกจากป่าพรุเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน

“บริษัทน้ำมันปาล์มนี้กำลังทำสิ่งที่ผิดกฎหมายและทำลายสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบริเวณผืนป่าพรุแห่งนี้” ฮัปโซโร ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว “และนอกจากนี้ยังส่งผลไปสู่ภาวะโลกร้อนอีกด้วย”

การตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณหนึ่งในห้าของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก การทำลายป่าพรุเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศอินโดนีเซียสูงขึ้นมาก

กรีนพีซเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปกป้องมวลมนุษย์จากความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น วิกฤตการณ์น้ำ อากาศ และความอดอยากได้ โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้และผลิตพลังงาน รวมทั้งมีคำมั่นที่จะหยุดการทำลายป่าไม้ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นรัฐบาลจะต้องให้คำมั่นสัญญาที่จะตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากขึ้นในช่วงระยะที่สองของพิธีสารเกียวโต ซึ่งจะต้องมีการเจรจากันในการประชุมด้านสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติที่จะมีขึ้นที่บาหลี อินโดนีเซียในเดือนธันวาคมนี้

- กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย



-----

Thai police have put out an all-points bulletin for used cooking oil to fuel its patrol fleet as ballooning oil prices eat away the annual crime-fighting budget.

That is a good thing to recycle the waste and it can reduce greenhouse gas emissions from oil. Recently, the world has woken up to global warming and rising oil price by changing policies to use biofuels instead of oil.

Biofuels, which are made from corn, palm oil, sugar cane and other agricultural products, have been seen by many as a cleaner and cheaper way to meet the world's soaring energy needs than with greenhouse-gas emitting fossil fuels.

With oil prices at record highs, biofuels have become an attractive alternative energy source for poor countries, some of which spend six times as much money importing oil than on health care.

But while saying bioenergy represents an "extraordinary opportunity" to reduce greenhouse gas emissions..............

environmentalists have warned that the biofuel craze can do as much or more damage to the environment as dirty fossil fuels a concern reflected throughout the report, which was being released in May 2007 in New York, by U.N.-Energy, a consortium of 20 U.N. agencies and programs.

"Rapid growth in liquid biofuel production will make substantial demands on the world's land and water resources at a time when demand for both food and forest products is also rising rapidly."

Changes in the carbon content of soils and carbon stocks in forests and peat lands might offset some or all of the benefits of the greenhouse gas reductions, it said.

"Use of large-scale monocropping could lead to significant biodiversity loss, soil erosion and nutrient leaching," it said, adding that investments in bioenergy must be managed carefully, at national, regional and local levels to avoid new environmental and social problems "some of which could have irreversible consequences."

In Human Rights' viewpoint, Oxfam has warned that increasing use of biofuels could harm some of the world's poorest people.

The fuel is increasingly being seen as an environmentally-friendly energy source and EU proposals would make it mandatory for biofuels to make up ten per cent of all member states' transport fuels.

Oxfam believes that in order to meet this target the EU will have to import biofuels from crops such as sugar cane and palm oil from developing countries.

As companies and countries seek to meet this demand the charity is concerned that poor people will be forced from their land and have their livelihoods destroyed.

The distinct example is Greenpeace's campaign to halt peat lands destruction in Indonesia recently. They set up Forest Defenders' camp and built dams to prevent drainage to plant palm oil.

"Palm oil companies are breaking the law and draining the very life out of Indonesia's remaining peatland forests," said Hapsoro, Greenpeace South East Asia forest campaigner. "And they are adding substantially to the problem of global warming."

Greenpeace believes it take a revolution in the way we use and produce energy, and a strong commitment to halt deforestation worldwide. More governments need to commit to tougher emissions reduction targets in the second phase of the Kyoto Protocol which will be discussed in the UN climate meeting in Bali, Indonesia this December.

---

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย
Greenpeace Southeast Asia, Thailand



Create Date : 15 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2550 18:38:36 น. 1 comments
Counter : 956 Pageviews.  
 
 
 
 
การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ

ดีกว่าในแง่ที่ว่า

คุณดึงคาร์บอนในอากาศมาเก็บไว้ในพืชก่อน

แล้วค่อยเปลี่ยนให้มันเป็นเชื้อเพลิง

คาร์บอนในอากาศโดยรวมก็ไม่เพิ่ม

ต่างจากการใช้น้ำมันฟอสซิล

ที่ปริมาณคาร์บอนมีแต่จะเพิ่มขึ้น
 
 

โดย: แขม่วพุง IP: 58.9.40.83 วันที่: 29 เมษายน 2551 เวลา:19:55:05 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com