ข้อที่ 1 ถ่านหินอร่อยกว่าปลา จริงหรือ?


           เพราะอะไร?


ข้อ   ก    จริง    เพราะว่าถ่านหินจะกรอบและมัน ยิ่งแทะยิ่งได้ผลประโยชน์


ข้อ   ข    ไม่จริง   ปลารสชาติดีกว่า กินปลามากจะได้ฉลาด รู้ทันนายทุน


ข้อ   ค     ยังไม่ตัดสินใจ   เมื่อได้เป็นรัฐบาลจะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม


คำตอบ หากนักการเมืองเลือกข้อ ก และ ค ประเทศไทยจะต้องลดการส่งออกปลา เพื่อให้นักการเมืองมีปลากินเยอะขึ้น



Photo: © Simon Lim / Greenpeace


"ประเทศไทยส่งออกปลาและสินค้าประมงติดอยู่อันดับหนึ่งในสามของโลก"[1] มีนักการเมืองกี่คนที่รู้ข้อมูลเหล่านี้และมีความตั้งใจจริงในการผลักดันให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานอย่างแท้จริง สอดคล้องกับเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อมของคนไทยในการพิจารณากำหนดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าแต่ละครั้ง


จากผลการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2551 พบว่า ความเสียหายและการสูญเสียจากถ่านหินในปี 2550 เพียงปีเดียวทั่วโลกมีมูลค่ามากถึง 360 พันล้านยูโร[2]

ซึ่งศูนย์กลางของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งหมดจะเป็นชุมชนในพื้นที่ที่มี
เหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินดำเนินการอยู่ ประชาชนที่ต้องพึ่งพาเกษตรกรรม กรประมง การท่องเที่ยว และอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่ง ป่าไม้และภูเขา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการขุดถ่านหินหรือนำออกมาจากเชิงเขาและประชาชนที่อยู่ในเมืองอาศัยอยู่ภายใต้เงาของโรงไฟฟ้าถ่านหินและใกล้เคียงกับเหมืองถ่านหิน ผู้คนเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่สังคมมองไม่เห็นหรือตกเป็นเหยื่อของการพัฒนาพลังงานแบบดั้งเดิมมายาวนาน 


คำตอบของนักการเมืองที่ผลักให้ประเทศไทยมีแค่ 2 ทางเลือก คือ ถ้าประเทศไทยไม่เอานิวเคลียร์ก็ต้องเอาถ่านหินนั้น

อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักการเมืองและหน่วยงานของรัฐที่ผูกขาดด้านการ
จัดการพลังงานจับมือกันและตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าประเทศไทยต้องสร้างโรง
ไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งๆที่คนเหล่านี้ไม่เคยใช้ชีวิตอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้า
ถ่านหินหรือเหมืองถ่านหินมาก่อนในชีวิต ทำไมพวกเขาจึงปักใจเชื่อว่าถ่านหินกินอร่อยกว่าปลา
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน รัฐต้องมีหลักฐานและมาตรฐานชัดเจนว่า หายนะต่อรายได้ การใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา
ใครจะยกมือขึ้นเพื่อแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงจัง การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจึงต้องมองทะลุทั้งประโยชน์และการสูญเสียจากต้นทางสู่ปลายทาง


การทำอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียเพื่อการส่งออกมายังประเทศไทยด้วยนั้น ทองคำสีดำในความหมายของภาคธุรกิจเหล่านี้กำลังพ่นพิษต่อผู้คนกว่า 32 ล้านคนให้มีชะตาชีวิตอยู่ต่ำกว่าเส้นวัดความยากจน ผู้คนในชุมชน แหล่งที่อยู่อาศัย ทุ่งนา อาหารและดื่มน้ำจากแม่น้ำไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป เมื่อถ่านหินบีทูบีนัสถูกลำเลียงเข้าสู่โรงไฟฟ้าถ่านหิน การดักจับก๊าซพิษและโลหะหนักที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรงยังคงขาดมาตรฐาน แล้วคำว่า“ถ่านหินสะอาด” มีไว้เพื่อหลอกใคร


อุตสาหกรรมถ่านหินและนักการเมืองที่เพิกเฉยต่อความทุกข์ยากของประชาชน
หลายล้านคน จะร่วมรับผิดชอบต่อการเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทยได้อย่างไร ใครจะรับผิดชอบต่อฝุ่นที่ฟุ้งกลบบ้านเรือนของคนที่ต้องทน  ปริมาณ “เคยกุ้งและอาหารทะเล”ที่ลดลงและต้องปนเปื้อนถ่านหิน
การออกอวนที่ต้องเปลืองพลังงานมากขึ้นเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ทางท้องทะเลเลือนหาย เมื่อผลผลิตทางอาหารหายจากท้องทะเลและท้องนา
ความยากจนเข้ามาแทนที่ เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้อย่างไร นี่คือสิ่งที่นักการเมืองต้องเชื่อมโยงให้ได้ และต้องแยกแยะออกจากผลประโยชน์ส่วนตัว       


อ่านเพิ่มเติม //bit.ly/kHDeKG


ถึงเวลา...โหวตเพื่อสิ่งแวดล้อม




ข้อมูลอ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม


[1] Blue Revolution............................................................................................


[2] รายงาน Coal Kills 2010, Greenpeace Southeast Asia , ตุลาคม 2010, ดาวโหลดได้ที่ www.greenpeace.org/seasia






Free TextEditor


Create Date : 21 มิถุนายน 2554
Last Update : 22 มิถุนายน 2554 13:28:40 น. 1 comments
Counter : 1220 Pageviews.