กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ทราบแล้วเปลี่ยน! ทูน่ากระป๋องในไทยยังห่างไกลต่อการตรวจสอบย้อนกลับและความเป็นธรรม

เมื่อกรีนพีซจัดอันดับทูน่ากระป๋องของแบรนด์ต่างๆ ในไทย สิ่งที่พบคือ ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องส่วนใหญ่ที่ขายยังขาดหลักการพื้นฐานว่าด้วยความยั่งยืนและเป็นธรรม แต่หากแบรนด์เหล่านี้เป็นผู้ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับนโยบายในการตรวจสอบย้อนกลับ ตลอดห่วงโซ่อุปทานแล้ว ภาคอุตสาหกรรมปลาทูน่าของไทยที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอันดับต้นของโลกนั้นจะต้องเติบโตไปในทิศทางที่ยั่งยืน ไม่ทำร้ายท้องทะเลหรือเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม

การตรวจสอบย้อนกลับ ความยั่งยืน และความเป็นธรรม คือประเด็นสำคัญที่ยังขาดหายไปในนโยบายการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานของแบรนด์ทูน่ากระป๋อง ในวันนี้ (29 กันยายน 2558) กรีนพีซได้เปิดเผย รายงาน “จากทะเลสู่กระป๋อง: การจัดอันดับความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องในไทย” ซึ่งเป็นการประเมินแบรนด์ทูน่ากระป๋องที่ขายในประเทศและแบรนด์ที่ขายเฉพาะในซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งหมด 14 แบรนด์ โดยพบว่ามี 5 แบรนด์อยู่ในเกณฑ์ “ควรปรับปรุง” และ 9 แบรนด์อยู่ในเกณฑ์ “พอใช้”  แบรนด์ที่อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุงและอยู่ในอันดับรั้งท้าย ได้แก่ ท็อปส์ อะยัม บิ๊กซี โฮม เฟรช มาร์ท และโรซ่า จากการตรวจสอบทั้ง 14 แบรนด์ไม่มีแบรนด์ใดเลยที่ได้รับคะแนน “ดี” แสดงให้เห็นว่า แต่ละแบรนด์ต้องพยายามมากขึ้นในการดำเนินนโยบายด้านความยั่งยืน


ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่ากระป๋องและปลาทูน่าปรุงสุกเป็นอันดับต้นของโลก (ร้อยละ 53 ของสัดส่วนทั่วโลก) มีการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับหนึ่ง และสหภาพยุโรปเป็นอันดับสอง รวมถึงมีการนำเข้าราวเกือบ 600,000 ตันต่อปี จากประเทศต่างๆ อย่างไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ไปจนถึงมัลดีฟ  เรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงปลาทูน่าโลกทว่าเรากำลังถูกจับตามองในประเด็นด้านวิกฤตทะเลจากปัญหาการทำประมง ข่าวและรายงานหลายฉบับในระยะนี้ระบุว่าประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำประมงผิดกฎหมาย และการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่ออุปทานอาหารทะเล ข้อมูลเหล่านี้ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ จัดให้ไทยอยู่ในเทียร์ 3 และได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรป ซึ่งอุตสาหกรรมปลาทูน่าคือหนึ่งในสาเหตุของวิกฤตทะเล

อุตสาหกรรมปลาทูน่ามีมูลค่าหมื่นล้านเหรียญ คิดเป็นร้อยละ 8 ของการค้าอาหารทะเลโลก และเป็น 1 ใน 5 ของอาหารทะเลที่มีการบริโภคทั่วโลก เพียงในปี 2556 ที่ผ่านมาทั่วโลกมีการจับปลาทูน่าได้  4.6 ล้านตัน ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้มหาศาล ในทางเดียวกันหากขาดนโยบายและมาตรการตรวจสอบย้อนกลับที่เข้มแข็ง จะทำให้มหาสมุทรของเราต้องเผชิญกับปัญหาการทำประมงเกินขนาด การประมงแบบทำลายล้าง และการประมงผิดกฎหมาย  รายงานฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ภาคอุตสาหกรรมปลาทูน่ามีนโยบายและผลิตภัณฑ์ที่มาจากการทำประมงที่ยั่งยืน เพื่อให้คนซื้อและคนกินปลาทูน่าได้รับทราบ เพราะผู้บริโภคมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลว่าทูน่ากระป๋องผ่านอะไรมาบ้าง กว่าจะมาถึงมือเรา

การจัดอันดับความยั่งยืนปลาทูน่ากระป๋องในไทยประเมินจากการส่งแบบสอบถามที่ส่งไปยังผู้ผลิตทั้ง 14 แบรนด์ โดยสอบถามถึงนโยบายและการปฎิบัติในการจัดหาวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่า รวมถึงเครื่องมือประมงที่ใช้ในการจับปลาทูน่าว่ามีการทำลายทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น การจับฉลามเพื่อเอาครีบหรือไม่ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ถึงแหล่งที่มาได้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังสอบถามถึงความเป็นธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมของในแต่ละแบรนด์  สภาพการทำงานที่ย่ำแย่ และการปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อแรงงานในอุตสาหกรรมปลาทูน่า

แล้วแบรนด์ไหนที่อยู่ในเกณฑ์ระดับ “ดี” ?

ในกระบวนการวิจัยกรีนพีซได้ส่งจดหมายไปขอความร่วมมือการจัดอันดับผลิตภัณฑ์กับแบรนด์ปลาทูน่ากระป๋อง 14 แบรนด์ โดยส่วนมากแล้วแบรนด์ต่างๆ ให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี แต่ผลจากการจัดอันดับปรากฎว่าไม่พบแบรนด์ใดเลยจาก 14 แบรนด์ ที่มีเกณฑ์ระดับ “ดี” เนื่องจากข้อมูลหลายๆ อย่างยังไม่สามารถเปิดเผยกับผู้บริโภคได้ รวมถึงชนิดพันธุ์ กระบวนการจับ และความเป็นธรรมของการปฏิบัติต่อแรงงาน แสดงให้เห็นว่ายังมีปัญหาในการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งการประเมินการจัดอันดับจากข้อมูลของผู้ประกอบการนี้เป็นเสมือนกระจกสะท้อน ว่ามีสิ่งใดที่บริษัทสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้บ้าง เพื่อลดช่องว่างในการเกิดปัญหาต่างๆ

จากการจัดอันดับพบว่า ทีซีบี ได้รับคะแนนสูงสุดกว่าแบรนด์อื่น แต่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระดับที่ “ ดี” ทีซีบี ทำคะแนนมากในด้านการตรวจสอบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์มีนโยบายในเรื่องแหล่งที่มา อย่างไรก็ตาม ทีซีบี ยังต้องปรับปรุงในด้านความยั่งยืนและเป็นธรรม เนื่องจากใช้ปลาทูน่าครีบเหลืองและปลาทูน่า Tonggol ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์นี้มีปัญหาในเรื่องจำนวนประชากรรวม และการจับปลาทูน่าทั้งสองสายพันธุ์นี้ถูกจับมาด้วยวิธีการทำประมงแบบไม่ยั่งยืน โดยใช้อวนล้อมร่วมกันกับเครืองมือล่อปลา (FAD) ซึ่งเป็นสาเหตุปัญหาของการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่เป้าหมาย

ห่วงโซ่อุปทานปลาทูน่าระดับโลกมีความซับซ้อนมาก และยังคงซุกซ่อนเบื้องหลังอย่างปัญหาการจับปลาที่ไม่ใช่ปลาเป้าหมาย การละเมิดสิทธิแรงงาน และการขนถ่ายทางทะเล รายงาน “จากทะเลสู่กระป๋อง: การจัดอันดับความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องในไทย” จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยให้อุตสาหกรรมทูน่าในหลายประเทศลงมือเปลี่ยนแปลง เริ่มจากมาตรการตรวจสอบย้อนกลับเป็นพื้นฐาน รวมถึงเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภคว่า ควรสนับสนุนสินค้าปลาทูน่ากระป๋องจากแบรนด์ใด คิดก่อนเลือกซื้อ เพราะพลังของผู้บริโภคมีความสำคัญในการทำให้มหาสมุทรของเรายั่งยืนต่อไป

“เป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมปลาทูน่าที่จะทำประเด็นเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับ อันเกี่ยวข้องกับการปลดใบเหลืองอียู โดยการตรวจสอบย้อนกลับนี้จะช่วยส่งเสริมความยั่งยืน ความเป็นธรรม เพราะอุตสาหกรรมทูน่าของไทยเชื่อมโยงกันในระดับโลก ไทยจึงควรปรับปรุงภาพลักษณ์ของบริษัท ของอุตสาหกรรม หันมาเป็นเจ้าอุตสาหกรรมปลาทูน่าของโลกผู้พัฒนาไปในทิศทางที่ยั่งยืน ปกป้องดูแลมหาสมุทรของเรา และจัดหาปลาทูน่าให้กับบริโภคได้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรมอย่างแท้จริง” นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

“การขาดการตรวจสอบย้อนกลับ และความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานทูน่ายังเป็นปัญหาที่พบในประเทศไทย เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้มีบทบาทในตลาด อุตสาหกรรมปลาทูน่าและอาหารทะเลจะต้องส่งเสริมมาตรฐานด้านแรงงาน และการตรวจสอบย้อนกลับให้เข้มแข็งโดยการพัฒนานโยบายการจัดหาวัตถุดิบที่สาธารณะชนเข้าถึงได้และทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ  การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่สร้างความเสียหายต่อมหาสมุทรของเราก็จะหมายถึงความเสียหายสำหรับธุรกิจด้วย ผู้บริโภคก็มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องที่มีการตรวจสอบย้อนกลับ ความยั่งยืนและความเป็นธรรม” อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวสรุป

จากทะเลสู่กระป๋อง คือเส้นทางที่ผู้บริโภคทุกคนควรต้องรับรู้ถึงที่มาของปลาทูน่ากระป๋อง เพื่อให้แน่ใจว่าปลาทูน่าที่เราเลือกกินนั้นไม่ได้มีเบื้องหลังที่สร้างปัญหาให้กับท้องทะเล และไม่เป็นธรรมในด้านแรงงาน ผู้บริโภคอย่างเราสามารถร่วมกันเป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลง และผลักดันให้อุตสาหกรรมปลาทูน่าใช้โอกาสนี้ร่วมแก้ปัญหา เพื่ออนุรักษ์ปลาทูน่าและทรัพยากรทางทะเลให้เราได้มีกินมีใช้อย่างยั่งยืน

อ่านรายงาน “จากทะเลสู่กระป๋อง : การจัดอันความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องในไทย” ฉบับเต็มได้ที่ www.greenpeace.or.th/s/Thailand-canned-tuna-ranking


ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/54255/




Create Date : 14 ตุลาคม 2558
Last Update : 15 ตุลาคม 2558 10:51:16 น. 1 comments
Counter : 1176 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: peepoobakub วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:18:11:02 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com