กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ความหวังท่ามกลางม่านหมอกมลพิษ จุดเปลี่ยนจากถ่านหินสู่พลังงานหมุนเวียนของจีน

 

นอกจากพลังงานถ่านหินจะมอบบาดแผลให้กับสิ่งแวดล้อมและชุมชนผู้อยู่อาศัยโดยรอบแล้ว ยังมอบบทเรียนเล่มใหญ่ให้เป็นที่ระลึก ถึงแม้จะเป็นบทเรียนที่ไม่น่าเรียนรู้สักเท่าไรนักเพราะแลกมาด้วยน้ำตา ถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม สุขภาพ หรือแม้แต่ชีวิตของคนในชุมชน ขณะที่ชาวแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้รับชัยชนะบนความสูญเสียหลังจากสู้คดีมายาวนานกว่าสิบปี และชาวไทยกำลังได้เรียนรู้ถึงบทเรียนราคาแสนแพงของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จีนเองก็กำลังเผชิญกับปัญหาหมอกควันพิษในกรุงปักกิ่งที่มีปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก แต่หลังจากที่จีนลดการใช้ถ่านหินลงในปี 2557 ที่ผ่านมา สภาพอากาศของปักกิ่งก็ดีขึ้น เล็กน้อย และความหวังในการกู้วิกฤตโลกร้อนของโลกก็ดูจะสดใสขึ้น

เมื่อปี2554 ปริมาณมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศจีนนั้นอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชาชนกว่า 257,000 คน โดยองค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่า มลพิษทางอากาศนั้นส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งประเทศจีนมีโรงไฟฟ้าถ่านหินมากกว่า 2,300 โรง ที่ผ่านมานั้นประเทศจีนพึ่งพาถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานหลักถึงเกือบร้อยละ 80 ของประเทศเมื่อปี 2555  และมีอัตราการเติบโตของโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างรวดเร็ว มหานครใหญ่อย่างปักกิ่งก็ตกอยู่ในม่านหมอกของมลพิษ ขณะที่ประชาชนก็ยังคงต้องดำเนินชีวิตประจำวันต่อไปอย่างไร้ทางเลือก

“สิ่งหนึ่งที่น่าทึ่งและทำให้ผมประหลาดใจมาก คือ ผู้คนยังคงใช้ชีวิตตามปกติแม้แต่ในวันที่เต็มไปด้วยหมอกมลพิษ” Jia Zhangke ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีนกล่าว “แม้ในวันที่คุณภาพอากาศวัดดัชนีได้ว่ามีหนาแน่นเฉลี่ย 200-300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และอากาศกลายเป็นสีเทา ผมก็ยังคงเห็นผู้คนเต้นอยู่กลางจตุรัส หนุ่มสาวก็ยังคงเที่ยวเล่นกัน ทุกคนต่างทำสิ่งต่างๆ ที่ทำปกติในชีวิตประจำวัน”


ผู้กำกับชาวจีนชื่อดังได้ร่วมมือกับกรีนพีซเอเชียตะวันออกถ่ายทอดเรื่องราวของสังคมจีนผ่านทางภาพยนตร์สั้น “Smog Journeys” โดยถ่ายทำในกรุงปักกิ่งและมณฑลเหอเป่ย ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมถ่านหินที่อยู่รายล้อมกรุงปักกิ่ง และภาพยนตร์นี้ก็ได้สื่อถึงสิ่งที่เด็กได้พบเห็นในแต่ละวันที่เต็มไปด้วยหมอกพิษ ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใด รวยหรือจน ทุกคนล้วนต่างต้องอาศัยอากาศที่บริสุทธิ์ในการหายใจ แม้แต่กลุ่มคนที่รวยที่สุดในกรุงปักกิ่งที่เก็บตัวอยู่ในบ้านพร้อมเครื่องกรองอากาศและหน้ากากชั้นดี ก็ไม่สามารถหลีกหนีวิกฤตมลพิษทางอากาศนี้ได้พ้น

“ปัญหาหมอกควันมลพิษเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวจีนทุกคนต้องเผชิญ ทำความเข้าใจ และแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน” Jia Zhangkeกล่าว

สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเทศบาลปักกิ่งแจ้งว่าปี 2557 ที่ผ่านมา ปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 พีเอ็มที่เล็กพอจะแทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อปอดลดลงร้อยละ 4 จากปีก่อนหน้านั้น โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ย 85.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวเกินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่จำกัดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อีกทั้งยังระบุว่า 22 วันที่คุณภาพอากาศดีกว่าปี 2556 และ 45 วันที่มลภาวะทางอากาศสูงมาก ซึ่งลดลง 13 วันจากปี 2556

เมื่อวิกฤตมลพิษทางอากาศของปักกิ่งเริ่มเกินเยียวยา รัฐบาลจีนได้ประกาศทำสงครามกับมลภาวะ และฟื้นฟูคุณภาพอากาศของจีนภายในปลายปี 2556 โดยหันเหทิศทางของเศรษฐกิจออกจากอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมหาศาลตั้งแต่ปี 2555 ล่าสุดตามรายงานการประเมินล่าสุดของสมาคมอุตสาหกรรมถ่านหินแห่งจีน ปี 2557 จึงเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษที่จีนมีการใช้ถ่านหินลดลง

“สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดสำคัญสำหรับประเทศจีนในการต่อสู้กับมลพิษทางอากาศเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นไปสู่จุดอิ่มตัวของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกอีกด้วย” ฟาง หยวน เจ้าหน้าที่กรีนพีซ เอเชียตะวันออกกล่าว

ปัจจัยที่มีส่วนในการช่วยลดปริมาณการใช้ถ่านหินเมื่อปีที่แล้วมีหลายประการ ซึ่งประการสำคัญได้แก่ การผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงของทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมหนักไปสู่ภาคส่วนเศรษฐกิจใหม่  ซึ่งจีนประสบความสำเร็จในการเพิ่มสถิติของกำลังการผลิตไฟฟ้าผ่านสายส่งจากพลังงานลม (20 กิกะวัตต์) และ พลังงานแสงอาทิตย์ (11 กิกะวัตต์) การพัฒนาในแง่บวกที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อไม่นานมานี้จีนได้กำหนดให้ 4 มณฑลที่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจสำคัญ จัดทำเป้าหมายในการลดการใช้ถ่านหิน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการดำเนินงานในลักษณะดังกล่าวไปแล้วในมณฑลอื่นอีก 4 มณฑล ซึ่งมณฑลเหล่านี้ใช้ถ่านหินมากกว่า 6 ร้อยล้านเมตริกตันต่อปี ซึ่งเกือบจะเท่ากับปริมาณการใช้ถ่านหินในอินเดียทั้งประเทศ 

ถึงแม้จะตกอยู่ในม่านหมอกของควันพิษมาแสนนาน แต่เมื่อลดและเลิกเสพติดตัวการก่อมลพิษและวิกฤตโลกร้อนอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินลงได้ ท้องฟ้าจะคืนความสดใสมาสู่กรุงปักกิ่งอย่างแน่นอน แต่บทเรียนราคาแสนแพงและเต็มไปด้วยมลพิษเช่นนี้ ประเทศไทยคงไม่ต้องการเดินซ้ำรอยความผิดพลาดเช่นนี้ อากาศบริสุทธิ์เป็นสิทธิพื้นฐานในการดำรงชีวิตอยู่ของทุกคน คงจะไม่มีท้องฟ้าแห่งในใต้เมืองไทยที่จะคุ้มค่ากับการแลกมาซึ่งมลพิษจากถ่านหินอย่างแน่นอน

 

Blogpost โดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ -- กุมภาพันธ์ 24, 2558 ที่ 17:17

 

edit @ 25 Feb 2015 23:03:19 by กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2558 23:58:37 น. 0 comments
Counter : 994 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com