กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
จากอาร์กติกสู่ไทย ผลกระทบของสภาวะโลกร้อนที่ไม่ได้อยู่แค่เพียงในอาร์กติก

การดำรงอยู่ของพวกเราล้วนเกี่ยวข้องกับอาร์กติก นอกเหนือจากจะเป็นบ้านของสัตว์นานาสายพันธุ์แล้ว ภูมิภาคนี้ยังมีบทบาทในการรักษาสภาพภูมิอากาศของโลก โดยทำหน้าที่เป็นเสมือนตู้เย็นของโลกคอยรักษาระดับความเย็นของโลกทั้งใบไว้ น้ำแข็งของอาร์กติกทำหน้าที่เป็นเสมือนกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนแสงอาทิตย์และความร้อนกลับไปยังชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ อาร์กติกยังรักษาสมดุลของสภาพภูมิอากาศ และน้ำทะเลด้วย ถึงแม้จะอยู่ห่างออกไปอีกซีกโลก หากปราศจากน้ำแข็งที่อาร์กติกแล้ว ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเลวร้ายจนไม่สามารถหยุดยั้งได้ แต่แทนที่บริษัทน้ำมันจะตระหนักถึงมหันตภัยที่จะเกิด กลับฉวยผลประโยชน์จากการที่น้ำแข็งละลายทำธุรกิจน้ำมัน มองข้ามสัญญาณเตือนภัยแห่งหายนะครั้งใหญ่ของมวลมนุษยชาติและสรรพชีวิต และเดินหน้าขุดเจาะน้ำมันอันเป็นต้นเหตุของการละลายของน้ำแข็งตั้งแต่แรกเริ่ม



IPCC ย้ำมนุษย์เป็นสาเหตุหลักของโลกร้อน


ล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายน 2556 รายงานการประเมินสถานการณ์สภาพภูมิอากาศฉบับที่ 5 ของ IPCC (Fifth Assessment Report) ซึ่งเป็นองค์กรทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลักของโลก  มีนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกเข้าร่วมในการประมวลและสังเคราะห์รายงานดังกล่าว กว่า 800 คน  นับเป็นรายงานการประเมินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่น่าเชื่อถือ ที่สุดในขณะนี้ รายงานดังกล่าวย้ำและชี้ชัดว่ามนุษย์และกิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุหลักที่ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมของมนุษย์นั้นรวมถึงการเสพติดและพึ่งพาพลังงานฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งหากเราไม่มีมาตรการอย่างเร่งด่วนและเข้มข้นในการลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ลง โลกเราก็จะเดินหน้าไปสู่การมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียสภายในศตวรรษนี้ และส่งผลกระทบรุนแรงไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ขณะนี้กำลังเผชิญกับ วิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในรูปแบบของมรสุมพายุ ปริมาณน้ำทะเลที่สูงขึ้น การกัดเซาะชายฝั่ง และสภาพอากาศที่แปรปรวนไม่ตรงตามฤดูกาล

หากโลกอุณหภูมิถึง 4 องศา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นภูมิภาคหนึ่งที่ยิ่งเสี่ยงและเปราะบางมากยิ่งขึ้น


แผนที่คาดการณ์ผลกระทบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลจากธนาคารโลก

แผนที่คาดการณ์ผลกระทบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลจากธนาคารโลก

รายงานของคณะกรรมการติดตาม ภูมิอากาศ กล่าวเตือนว่า หากรัฐบาลและทุกภาคส่วนยังขาดความร่วมมือกันในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศของโลกดังที่เป็นอยู่นี้ ในปี พ.ศ.2643 อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 4 องศาเซลเซียส ข้อมูลจากธนาคารโลกได้คาดการณ์ออกมาว่า 4 องศานี้ ไม่ใช่เป็นเพียงการเพิ่มขึ้นของตัวเลขอุณหภูมิ แต่หมายถึงสภาพภูมิอากาศของโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไปและส่งผลกระทบกับระบบนิเวศ โดยรวมทั้งหมด เป็นมหันตภัยที่คุกคามประชากรโลกในระยะยาว จากแผนที่คาดการณ์ผลกระทบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส  แสดงให้เห็นว่า หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการเกษตร การประมง ปริมาณน้ำจืด ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ภาวะแล้ง และผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากอากาศร้อน คุณภาพอากาศแย่ และโรคระบาดจากแมลงพาหะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศอินโดนีเซียที่มีอาชีพประมงหล่อเลี้ยงประชากร กว่า 5 ล้านคน เกาะบอร์เนียวที่มีโอกาสเกิดไฟป่าบ่อยขึ้น ประเทศสิงคโปร์ที่อาจประสบปัญหาน้ำท่วม การสูญเสียพื้นที่ชายฝั่ง และปัญหาปริมาณน้ำจืดเนื่องจากการรุกล้ำของน้ำเค็ม ประเทศไทยเองก็จะได้รับผลกระทบต่อการปลูกข้าว ซึ่งจะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และการรุกล้ำของน้ำเค็มในพื้นที่เพาะปลูก ประเทศฟิลิปปินส์อาจต้องเผชิญกับพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้นและอาจ คร่าชีวิตประชากรจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้เราได้เห็นผลกระทบบางส่วนเหล่านี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยบ้างแล้ว

โลกร้อนเกิดขึ้นจริง และชุมชนในประเทศไทยกำลังพยายามอย่างมากในการปรับตัว


สมาชิกในครอบครัวช่วยกันคัดแยกปลาสร้อยที่จับได้จากคลองตาทรัพย์ เพื่อนำไปจำหน่ายและแปรรูป
ภาพโดย รณชัย ชัยนิวัฒนา / สถาบันสร้างเสริมการจัดการทรัพยากรชุมชน

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในหลายพื้นที่ ของประเทศไทยทั้งในด้านความถี่ความรุนแรง และความแปรปรวนและผิดปกติของฤดูกาล จนกระทั่งทำให้ประชาชนที่มีวิถีชีวิตพึ่งพาและขึ้นอยู่กับธรรมชาติต้องสูญ เสียวิถีชีวิตความเป็นอยู่ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่ชุมชนเหล่านี้ก็ไม่ได้นิ่งเฉย ได้มีความพยายามในการปรับตัวเพื่อรับมือและดำรงชีวิตอยู่ให้ได้ท่ามกลางสภาพ ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยตัวอย่างที่เห็นชัดถึงผลกระทบและการปรับตัวสามารถพบได้ในพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน และแม้แต่ในเมืองใหญ่อย่างบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดกรุงเทพฯ รวมไปถึงพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนล่าง จังหวัดสุโขทัย และพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ที่นโยบายของรัฐกำลังเป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการปรับตัวของชุมชน เพื่อรับมือกับการแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบเหล่านี้จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถคาดเดา อีกทั้งความพยายามในการปรับตัวก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก หากเรายังคงเดินหน้าใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และขุดเจาะน้ำมันบริเวณอาร์กติกต่อไป

พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด  ทางออกเพื่อปกป้องอาร์กติก

หายนะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นเกิดขึ้นจริง และเป็นผลมาจากพฤติกรรมมนุษย์อย่างเราทุกคนที่กำลังพึ่งพาพลังงานสกปรกและ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลของเราควรจะตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นและที่จะเกิดขึ้นอีกต่อประเทศไทยและ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เด่นชัดนี้ รายงานทางวิทยาศาสตร์ต่างๆที่ออกมาล้วนเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเรากำลังก้าว มาสู่จุดที่โลกอาจไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก และเป็นสัญญาณว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน จริงจัง และเข้มข้น เพื่อเยียวยาสภาพภูมิอากาศเสียที และหันไปสู่ทางออกเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างการใช้พลังงานหมุนเวียน ยุติการเผาไหม้พลังงานสกปรก ที่เป็นตัวการทำให้น้ำแข็งละลายส่งผลกระทบต่ออาร์กติก 

พลังงานหมุนเวียนเป็นทางออกเดียวที่เราจะสามารถปกป้องอาร์กติก และหลีกเลี่ยงมหันตภัยจากโลกร้อนได้ เพื่อความอยู่รอดของทุกคน


เผยแพร่ครั้งแรกที่ //www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/arctic-impacts/from-arctic-to-thai/

เรื่องต่อ

คลองซอย : ชุมชนและการปรับตัวในพื้นที่ราบลุ่มน้ำยมตอนล่าง
หรือ ที่นี่ , ที่นี่ ,ที่นี่ ,ที่นี่
บางระกำ : นโยบายรัฐยังเป็นเส้นขนานกับการปรับตัวของชุมชน หรือ ที่นี่ , ที่นี่ ,ที่นี่ ,ที่นี่


Create Date : 10 ตุลาคม 2556
Last Update : 10 ตุลาคม 2556 11:56:30 น. 0 comments
Counter : 1452 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com