กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ช่วยกันหยุดไทยยูเนี่ยนจากการทำร้ายมหาสมุทร





เขียน โดย อารีฟยาห์ นาซูเตียน ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผมอยู่บนเรือเอสเพอรันซาของกรีนพีซ ในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก ด้วยภารกิจสำคัญ ในงานรณรงค์ปกป้องทะเลและมหาสมุทร

ปลาทูน่า น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารทะเลยอดนิยม เพราะหาทานได้ง่ายและมีประโยชน์ แต่คุณรู้ไหมว่าปลาทูน่ากระป๋องยี่ห้อดังๆที่ขายทั่วโลกนั้นมาจากไหน คำตอบก็คือ ประเทศไทย

ปลาทูน่ากระป๋องยี่ห้อดังๆที่ขายในโลกส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทไทยยูเนี่ยน เป็นต้นว่า ยี่ห้อซีเล็คที่ขายในไทย จอห์น เวสต์ ขายในอังกฤษ เปอติ นาวีร์ในฝรั่งเศส และ ชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี เป็นยี่ห้อที่ขายในสหรัฐฯ ทั้งหมดนี้เป็นสินค้าของไทยยูเนี่ยน ซึ่งเป็นผู้นำตลาดทูน่ากระป๋อง ไม่เพียงเท่านั้น ไทยยูเนี่ยนยังเป็นผู้นำในการทำลายล้างทะเลของเรา นี่คือเหตุผลที่ผมมาร่วมงานรณรงค์นี้บนเรือเอสเพอรันซา

มหาสมุทรอินเดียตะวันตกได้ชื่อว่าเป็นแหล่งจับปลาทูน่าที่ใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ที่นี่มีทัศนียภาพที่สวยงามมากและเต็มไปด้วยความหลากหลายของสัตว์ทะเล แต่ในทางกลับกัน ผมก็ได้เห็นขยะเกลื่อนทะเล สิ่งนั้นก็คือเครื่องมือล่อปลาหรือที่เราเรียกว่า Fish Aggregating Devices (FADs) เครื่องมือล่อปลาเหล่านี้มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น ส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ไผ่ แต่ก็มีบ้างที่ใช้อวนพลาสติกและไฟนำทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำด้วยพลาสติก โลหะและแบตเตอรี โดยกองเรือประมงจะหย่อนเครื่องมือนี้ไปในทะเล เพื่อล่อและจับปลาหลายร้อยตัน ทันทีที่ปลาเข้ามารวมตัวในเครื่องมือล่อปลา (FADs) มันจะถูกต้อนให้กระจุกรวมกันในอวนขนาดใหญ่ (รูปร่างคล้ายถุงใส่เงิน) ก่อนจะรวบสัตว์น้ำทั้งหมดไม่ว่าจะชนิดพันธุ์ใดหรือมีขนาดโตเต็มวัยหรือไม่และจะยกขึ้นไปบนเรือประมง

ปัญหาของเครื่องมือล่อปลา หรือ FADs คือ มีสัตว์ทะเลอื่นๆทุกรูปแบบทุกขนาดติดมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นปลาทูน่าขนาดเล็ก ฉลาม และ เต่า! ความจริงคือ  เครื่องมือล่อปลา FADs ที่เราพบและเอาออกมาได้จากมหาสมุทรอินเดียนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องและเชื่อมถึงบริษัทไทยยูเนี่ยนและบรรดาซับพลายเออร์หรือสายการผลิตทั้งหมด เครื่องมือล่อปลา FADs เหล่านี้เป็นผลให้ได้สัตว์น้ำที่ไม่ต้องการใช้ประโยชน์จำพวก ลูกปลาทูน่า ฉลาม ปลากระโทง และอื่นๆ ถึง 104,000 ตันในแต่ละปี และลูกเรือประมงก็โยนสัตว์น้ำที่ไม่ต้องการเหล่านี้ลงทะเล ทั้งที่ตายแล้วและกำลังจะตาย

เครื่องมือล่อปลา FADs ที่วางเกลื่อนมหาสมุทรอินเดียส่วนใหญ่เป็นประเภททุ่นลอย ที่ลอยโดยไม่เฉพาะเจาะจงตำแหน่ง เพราะไม่มีกำหนดที่เรือประมงจะมากู้คืน รายงานขององค์กรพิว ทรัสต์ เมื่อปี 2555 ประเมินไว้ว่า ในแต่ละปีจะมีทุ่นลอยอย่างน้อย 47,000 ลอยอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก เครื่องมือล่อปลา FADs เหล่านี้ไม่ต่างจากขยะลอยน้ำ และเมื่อลองคำนวนด้วยจำนวนหมื่นๆอันลอยอยู่ในมหาสมุทร มันก็มีจำนวนไม่น้อยเลย ที่แย่กว่านี้คือ เครื่องมือล่อปลา FADs ทำด้วยพลาสติกที่ไม่ย่อยสลาย และแบตเตอรีก็มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ที่แย่ยิ่งกว่านั้นอีก คือเครื่องมือล่อปลา FADs จะถูกพัดมาเกยหาดและติดค้างอยู่ตามแนวประการังโดยที่ไม่มีการเก็บกู้เรือประมงยังคงออกวางเครื่องมือล่อปลา FADs เพื่อจับปลาให้บริษัทไทยยูเนี่ยน และบริษัททูน่าอื่นๆ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการทำประมงทูน่าแบบเกินขนาด ที่จับทั้งปลาทูน่าท้องแถบและทูน่าครีบเหลือง แต่ยังจับสัตว์น้ำที่ไม่ต้องการขึ้นมาด้วย จึงเป็นความสูญเสียของสัตว์ทะเลมากขึ้นไปอีก ความเกี่ยวเนื่องของการใช้เครื่องมือล่อปลา หรือ FADs จึงเป็นการเพิ่มขยะในมหาสมุทร

นี่คือเหตุผลที่กรีนพีซและผู้บริโภคทั่วโลกกำลังเรียกร้องให้บริษัทไทยยูเนี่ยน สร้างการเปลี่ยนแปลงในสายการผลิตของตัวเอง โดยให้เลิกใช้เครื่องมือล่อปลา หรือ FADs เพราะเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทางทะเลและยังเป็นภัยคุกคามต่อความยั่งยืนของมหาสมุทรด้วย เราเรียกร้องให้บริษัทยูเนี่ยนปฏิบัติต่อแรงงานอย่างยุติธรรมเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการละเมิดสิทธิแรงงานใดๆ

ลูกเรือเอสเพอรันซาและผมยังคงเดินหน้ารณรงค์ และจับตามองบริษัทไทยยูเนี่ยนเพื่อกดดันให้บริษัทไทยยูเนี่ยนแสดงท่าทีในการเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมทูน่า ในฐานะที่เป็นบริษัทผลิตทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดโลก บริษัทไทยยูเนี่ยนจึงสมควรต้องรับผิดชอบต่อการทำลายมหาสมุทรจากการใช้เครื่องมือล่อปลา (FADs) ที่กองเรือประมงยังคงใช้คู่กับอวนล้อมอยู่ จนกว่าบริษัทไทยยูเนี่ยนจะมีมาตรการที่เหมาะสมและจนกว่าทุกสายการผลิตของไทยยูเนี่ยนพิสูจน์ได้ว่า จะไม่มีการทำประมงอย่างทำลายล้างและการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรีนพีซจะยังคงย้ำเตือนบริษัทไทยยูเนี่ยนให้หยุดทำร้ายมหาสมุทรของเรา เช่นนี้ต่อไป

คุณชอบทานปลาทูน่าไหม คุณรักมหาสมุทรไหมและอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ปกป้องมหาสมุทรของเราจากพฤติกรรมทำลายล้างและอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากน้ำมือของอุตสาหกรรมทูน่าหรือไม่ 

ช่วยกันลงชื่อเรียกร้องไปยังบริษัทไทยยูเนี่ยน ที่นี่


 

ที่มา: Greenpeace Thailand




Create Date : 17 พฤษภาคม 2559
Last Update : 17 พฤษภาคม 2559 16:20:05 น. 1 comments
Counter : 1256 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: peepoobakub วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:16:41:35 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com