กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
นักกิจกรรมกรีนพีซ 6 คน ปีนแท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเชลล์ที่กำลังถูกขนย้ายไปอาร์กติก

มหาสมุทรแปซิฟิก, 7 เมษายน 2558 – นักกิจกรรมกรีนพีซ 6 คนเข้าขวางแท่นขุดเจาะน้ำมันที่บริษัทเชลล์ กำลังเคลื่อนย้ายไปยังอาร์กติก กลางมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงเหนือของฮาวายเป็นระยะทาง 750 ไมล์ โดยปีนขึ้นไปบนแท่นขุดเจาะที่มีน้ำหนัก 38,000 ตัน

นักกิจกรรมจากหลายประเทศจะตั้งแคมป์ด้านล่างดาดฟ้าของแท่นขุดเจาะน้ำมันโพลาร์ ไพโอเนียร์ โดยมีเสบียงเพียงพอเพื่อที่ดำรงชีวิตอยู่บนแคมป์ได้หลายวัน พร้อมด้วยเทคโนโลยีสื่อสารสำหรับติดต่อกับผู้สนับสนุนการรณรงค์จากทั่วโลกถึงแม้ว่าจะมีระยะทางห่างไกลจากภาคพื้นทวีปนับร้อยไมล์

สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยของสหรัฐอเมริกาอนุมัติแผนของบริษัทเชลล์เพื่อขุดเจาะน้ำมันที่ทะเลชุกชี (Chukchi Sea) ในมหาสมุทรอาร์กติกแถบอลาสก้า นั่นหมายถึงภาย ใน 100 วัน บริษัทเชลล์อาจเริ่มขุดเจาะน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าวได้

ในช่วงเช้าตรู่ของวันนี้ นักกิจกรรมทั้ง 6 คน จากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สวีเดนและ ออสเตรีย นั่งเรือยางออกจากเรือเอสเพอรันซาของกรีนพีซ[2] มุ่งหน้าสู่แท่นขุดเจาะน้ำมันโพลาร์ ไพโอเนียร์ ที่บริษัทเชลล์จะนำไปใช้ขุดเจาะน้ำมันที่ทะเลชุกชี

พวกเขากางป้ายผ้าที่ประกอบด้วยรายชื่อคนจำนวนถึง 6.7 ล้านรายชื่อจากทั่วโลกที่คัดค้านแผนการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก

อลิยาห์ ฟิล์ด หนึ่งในนักกิจกรรมทั้ง 6 ส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์จากแท่นขุดเจาะน้ำมันโพลาร์ ไพโอเนียร์ว่า “เราทำได้ เราอยู่บนแท่นขุดเจาะน้ำมันของเชล์ และพวกเราไม่ได้โดดเดี่ยว ทุกคนช่วยเปลี่ยนให้แท่นขุดเจาะน้ำมันนี้เป็นเวทีของพลังประชาชนได้ #TheCrossing”

โจห์โน สมิท จากนิวซีแลนด์ นักกิจกรรมอีกหนึ่งคน กล่าวว่า “ เรามาที่นี่เพื่อบอกให้ทุกคนรู้ว่าเหลือเวลาอีกไม่ถึง100วันที่เชลล์กำลังจะเดินทางไปอาร์กติกเพื่อขุดเจาะน้ำมัน  สิ่งแวดล้อมอันบริสุทธิ์ต้องการได้รับปกป้องเพื่อคนรุ่นต่อไปและสรรพชีวิตที่อาศัยอยุ่ในอาร์กติก  แต่สิ่งที่เชลล์กำลังทำนั้นเป็นการแสวงประโยชน์จากน้ำแข็งที่กำลังละลายโดยจะยิ่งเพิ่มภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องจริง และก่อให้เกิดความเจ็บปวดทนทุกข์ทรมานต่อพ่อแม่พี่น้องของเราในมหาสมุทรแปซิฟิก

“ผมเชื่อว่าการเปิดเผยสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะกระตุ้นให้ผู้คนมากขึ้นลุกขึ้นมาต่อสู้กับเชลล์ และบริษัทอื่นที่แสวงหาวิธีการทำลายโลกเพียงเพื่อที่จะแสวงหาผลกำไร ผมเป็นเพียงแค่หนึ่งเสียงบนแท่นขุดเจาะนี้ แต่ผมรู้ว่าผมไม่ได้โดดเดี่ยว ผู้คนนับล้านที่เรียกร้องสิทธิในการดำรงชีวิตที่ดีและปลอดภัยคือโอกาสของการเปลี่ยนแปลง”

แท่นขุดเจาะน้ำมัน โพลาร์ ไพโอเนียร์กำลังถูกขนย้ายด้วยเรือที่มีชื่อว่าบลูมาร์ลินความยาวถึง  712 ฟุตหรือ 217 เมตร เรือบลูมาร์ลินเป็นหนึ่งในเรือสองลำของเรือขุดเจาะน้ำมันที่มุ่งหน้าสู่อาร์กติกเพื่อให้บริษัทเชลล์ใช้ในปีนี้ ส่วนเรือลำที่สองมีชื่อว่า โนเบิล ดิสโคเวอเรอร์ เป็นหนึ่งในเรือขุดเจาะน้ำมันที่มีอายุการใช้งานมากที่สุดในโลก เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2557ที่ผ่านมา โนเบิลดริลลิ่งเป็นผู้รับเหมารายใหญ่ของบริษัทเชลล์ในอาร์กติกและเป็นเจ้าของเรือโนเบิล ดิสโคเวอเรอร์ ยอมสารภาพในการกระทำผิดแปดครั้งที่เชื่อมโยงกับความล้มเหลวของบริษัทเชลล์ในการขุดเจาะน้ำมันในมหาสมุทรอาร์กติกเมื่อปี 2555

เรือขุดเจาะน้ำมันทั้งสองลำนี้กำลังแล่นข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกโดยคาดการว่าจะถึงเมืองซีเอตเติล[3]ประมาณกลางเดือนเมษายนนี้ก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ทะเลชุกชี

เมื่อไม่นานมานี้ โครงสร้างพื้นฐานของแท่นขุดเจาะน้ำมันอาร์กติกของเชลล์ได้ถูกขนย้ายผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สุดขั้ว ประเทศฟิลิปปินส์กลายเป็นจุดศูนย์กลางแห่งความหายนะจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีกำลังแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึก ก่อให้เกิดการเสียชีวิตถึง 7,000 คน ประชาชนนับล้านไร้ที่อยู่อาศัย และสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าเกือบ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อเร็วนี้ฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับพายุใต้ฝุ่นไม้สัก(Maysak)  ซึ่งได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนดีเปรสชั่นหลังจากเข้าถล่มจังหวัดอิซาเบลลา เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ซูเปอร์ไต้ฝุ่นไม้สักพัดผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกโดยมีความความเร็วลมอยู่ที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่บางส่วนในแถบหมู่เกาะไมโครนีเชีย(Micronesia) ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยห้าคน

“ในขณะที่ผู้นำโลกยังคงปล่อยให้อนาคตของพวกเราอยู่ในอุ้งมือของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลสกปรก พายุที่มีกำลังในการทำลายล้างนั้นได้สร้างผลกระทบไปทั้งโลกและกำลังจะกลายเป็น “ความเคยชินอันใหม่” เปลี่ยนผันชีวิตผู้คนนับล้านโดยเฉพาะในประเทศฟิลิปปินส์” แอนนา อาบัด ผู้ประสานงานรณรงค์เพื่อความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

“ความเข้มแข็งและความสามารถในการฟื้นตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเราไม่ควรกลายเป็น ตั๋วฟรีของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลสกปรกอย่างเช่นเชลล์ที่พยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อขุดเจาะน้ำมันในเขตแดนที่ปราะบางอย่างอาร์กติกโดยไม่สนใจวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในฟิลิปปินส์” แอนนา กล่าวเสริม

หมายเหตุ

[1] นักกิจกรรมของกรีนพีซทั้ง 6  ประกอบด้วย Aliyah Field  อายุ 27 ปี จาก สหรัฐอเมริกา(@aliyahfield), Johno Smith อายุ 32ปี จากนิวซีแลนด์ (@nsp_one), Andreas Widlund อายุ 27 ปี จากสวีเดน (@widlundandreas), Miriam Friedrich อายุ 23ปี จากออสเตรีย (@mirifriedrich), Zoe Buckley Lennox1 อายุ 21 ปี จากออสเตรเลีย(@zoevirginia) และ Jens Loewe อายุ 46ปี จากเยอรมนี (jens4762).

[2] ลูกเรือบนเรือเอสเพอรันซา 35 คนได้เฝ้าติดตามแท่นขุดเจาะน้ำมัน โพลาร์ ไพโอเนีย  เป็นระยะทางมากกว่า 5,000 ไมล์ทะเล ตั้งแต่ออกจากอ่าวบรูไนในมาเลเซีย

[3] เชลล์มุ่งมั่นที่จะใช้ท่าเรือของซีแอตเทิลเป็นฐานสำหรับกองเรือเดินสมุทรอาร์กติกของบริษัทฯ แม้ว่าจะมีกลุ่มที่คัดค้านเพิ่มมากขึ้นในซีแอตเทิล:

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:

เมดซ์ ฟิสเกอร์  ผู้ประสานงานสื่อมวลชน บนเรือเอสเพอรันซา กรีนพีซ นอร์ดิก
โทร +47 2367 4819 อีเมล @greenpeace.org">mads.fisker@greenpeace.org

เทเรซ ซาลวาดอร์ หัวหน้าฝ่านสื่อสารองค์กร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โทร.:+63917-8228734 อีเมล: @greenpeace.org">therese.salvador@greenpeace.org

สำหรับภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหว กรุณาติดต่อ เกรซ คาบุช ผู้ประสานงานด้านภาพถ่าย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โทร.: +63917-6345126 อีเมล.: @greenpeace.org">grace.duran@greenpeace.org

สามารถดูภาพถ่ายได้ที่ www.photo.greenpeace.org

สามารถโหลดภาพเคลื่อนไหวได้ที่ FTP ตามรายละเอียดด้านล่าง (กรุณาดาวน์โหลดซอฟแวร์ เช่น  Filezilla หรือ Cyberduck)

server:               ftp.greenpeacemedia.net
login:                 dvout
passw:               3e4r5t
folder:                THE_CROSSING
subfolder:          NEWS_ACCESS

ภาพเคลื่อนสามารถดาวน์โหลดได้ที่ //tinyurl.com/qxlls68  กรุณาลงทะเบียนก่อนการดาวน์โหลด

 

Download English version here

 
ข่าวประชาสัมพันธ์ - เมษายน 8, 2558
 



Create Date : 09 เมษายน 2558
Last Update : 9 เมษายน 2558 10:59:36 น. 0 comments
Counter : 794 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com