กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
กรีนพีซโต้กรมวิชาการเกษตรเซ็นเอ็มโอยูกับคอร์แนล ไทยเสียประโยชน์

กรีนพีซโต้กรมวิชาการเกษตรเซ็นเอ็มโอยูกับคอร์แนล ไทยเสียประโยชน์

กรุงเทพฯ – กรีนพีซประณามกรมวิชาการเกษตร กรณียื่นร่างเอ็มโอยู ที่ตกลงเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ในมะละกอจีเอ็มโอร่วมกับมหาวิทยาลัยคอร์แนล พร้อมย้ำว่าภาคเกษตรกรรมไทยจะเสียผลประโยชน์หากมีการเปิดรับพืชจีเอ็มโอ
กรีนพีซเรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยรายละเอียดของบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ระหว่างกรมวิชาการเกษตร และมหาวิทยาลัยคอร์แนลให้สาธารณชนรับทราบโดยเร็วเนื่องจากประเด็นดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อทั้งภาคเกษตรกรรมและมูลค่าของสินค้าเกษตรไทย และก่อนที่กระทรวงเกษตรจะวิ่งโร่ไปหาคอร์แนล คนไทยควรได้รับทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับอนาคตของพวกเขา

กรีนพีซได้เรียกร้องกรมวิชาการเกษตรให้เปิดเผยร่างบันทึกข้อตกลงมาหลายครั้งแล้ว แต่ได้รับคำปฏิเสธทุกครั้ง

“ดูเหมือนกรมวิชาการเกษตรไม่เคยจดจำบทเรียนจากกรณีมะละกอปนเปื้อนจีเอ็มโอที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเกิดจากการไร้ความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร เป็นที่น่าสงสัยว่าการที่กรมวิชาการเกษตรพยายามทำข้อตกลงดังกล่าวกับคอร์แนลครั้งนี้ จะเอื้อประโยชน์ต่อการยกเลิกมติครม. 3 เมษายน 2544 ที่ห้ามทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิดและเปิดทางให้มะละกอจีเอ็มโอเข้าประเทศไทยได้ง่ายยิ่งขึ้น เราขอให้ทางกรมวิชาการเกษตรเปิดเผยข้อมูลในร่างเอ็มโอยูนี้ก่อน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจและอธิบายให้สาธารณชนได้รับทราบ” นางสาวณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม (จีเอ็มโอ) กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

จากการรายงานของกระทรวงเกษตรฯ ที่กล่าวอ้างว่าการลงนามบันทึกข้อตกลงเอ็มโอยูกับมหาวิทยาลัยคอร์แนลนั้นประเทศไทยได้รับส่วนแบ่งจากผลกำไรจากการค้ามะละกอจีเอ็มโอ แต่สิทธิบัตรนั้นจะเป็นสิทธิบัตรร่วมกันกับมหาวิทยาลัย

“หากเรื่องดังกล่าวเป็นจริง ถือว่าเป็นโชคร้ายของเกษตรกรและคนไทย เนื่องจากเกษตรกรจะต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรให้แก่สถาบันต่างชาติทั้งๆที่ไม่ควรจะจ่าย เท่านั้นยังไม่พอหากมีการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอเกิดขึ้น ประเทศไทยก็จะสูญเสียตลาดส่งออกทั่วโลกที่ไม่ยอมรับผลผลิตจีเอ็มโอ นี่หรือคือข้อตกลงที่กระทรวงเกษตรฯ ต้องการหยิบยื่นให้แก่คนไทย” ณัฐวิภากล่าวเสริม

กรีนพีซรณรงค์เพื่อต่อต้านพืชจีเอ็มโอรวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของพืชจีเอ็มโอทั้งหมด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญบนหลักการของความยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย การตัดต่อพันธุกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยและไม่เป็นที่ต้องการของสังคมโลกอีกทั้งยังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความเสี่ยงให้กับผู้บริโภค

-----------
กรีนพีซเป็นองค์กรที่ยืนหยัดอยู่ได้ด้วยการรับเงินบริจาคจากผู้ที่รักสิ่งแวดล้อม และปฏิเสธที่จะรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลและภาคเอกชนเราจึงเป็นองค์กรที่ดำเนินงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง

เราเชื่อว่าโลกอันแสนเปราะบางใบนี้รอการปกป้องและแก้ไขปัญหาด้วยการลงมือกระทำ....มาช่วยกันรักษา สิ่งแวดล้อมเมืองไทยกันเถอะ

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




Create Date : 04 ตุลาคม 2550
Last Update : 4 ตุลาคม 2550 14:48:19 น. 2 comments
Counter : 830 Pageviews.  
 
 
 
 
กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวสุพัตรา ธนเสนีย์วัฒน์ ในโอกาสที่ ครม. มีมติให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554
 
 

โดย: กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ IP: 210.246.186.4 วันที่: 13 กันยายน 2554 เวลา:17:27:10 น.  

 
 
 
กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ ขอแสดงความยินดีกับ นายดำรง จิระสุทัศน์ ในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555 อนุมัติให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารสูง) กรมวิชาการเกษตร
 
 

โดย: กลุ่มเพื่อน 5.63 อ.ต. IP: 210.246.186.4 วันที่: 5 กันยายน 2555 เวลา:21:33:41 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com