ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

สวนสวย วังงามที่ "พระราชวังบางปะอิน"



ระราชวังบางปะอิน อยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าปราสาททองเป็นผู้สร้างพระราชวังแห่งนี้ เนื่องจากบริเวณเกาะบางปะอินเป็นที่ประสูติของพระองค์และเป็นเคหสถานเดิมของพระมารดา

      ซึ่งเป็นหญิงชาวบ้านที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพบเมื่อครั้งเสด็จพระ ราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งแล้วเรือเกิดล่มตรงเกาะบางปะอิน พระ เจ้าปราสาททองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นบนเกาะบางปะอินบริเวณเคหสถานเดิมของพระมารดาในปีพ.ศ.2175 พระราชทานชื่อว่า “วัดชุมพลนิกายาราม” และให้ขุดสระน้ำสร้างพระราชนิเวศน์ขึ้นกลางเกาะเป็นที่สำหรับเสด็จประพาส แล้วสร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งที่ริมสระน้ำนั้นพระราชทานนามว่า พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์

     พระราชวังบางปะอินได้รับการบูรณะฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับ มีเรือนแถวสำหรับฝ่ายในและมีพลับพลาริมน้ำ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้น ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ ซึ่งยังคงใช้เป็นที่ประทับและต้อนรับพระราชอาคันตุกะและพระราชทานเลี้ยง รับรองในโอกาสต่างๆเป็นครั้งคราว พระราชวังบางปะอินแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เขตพระราชฐานชั้นนอกและเขตพระราชฐานชั้นใน เขตพระราชฐานชั้นนอกใช้เป็นที่สำหรับการออกมหาสมาคมและพระราชพิธีต่างๆ ส่วนเขตพระราชฐานชั้นในใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์

     สิ่งที่น่าสนใจในเขตพระราชวังชั้นนอกของพระราชวังบางปะอินมีดังนี้

     หอเหมมณเฑียรเทวราช เป็นปรางค์ศิลาจำลองแบบจากปรางค์ขอม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.2423 เพื่อทรงอุทิศถวายแด่พระเจ้าปราสาททองกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

     พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงทรงจตุรมุขอยู่กลางสระน้ำ รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างเมื่อพ.ศ.2419 โดยจำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวังที่ กรุงเทพฯและพระราชทานนาม “ไอศวรรย์ทิพยอาสน์” ตามพระที่นั่งองค์แรกซึ่งพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เดิมพระที่นั่งสร้างด้วยไม้ทั้งองค์ ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนเสาและพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปหล่อสัมฤทธิ์ของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น

     พระที่นั่งวโรภาษพิมาน อยู่ทางตอนเหนือของ “สะพานเสด็จ” รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2419 เดิมเป็นเรือนไม้สองชั้นใช้เป็นที่ตั้งประทับและท้องพระโรงร่วมกันต่อมาโปรด เกล้าฯให้รื้อสร้างใหม่ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก ก่อด้วยอิฐ ทรงวิหารกรีกแบบคอรินเธียรออร์เดอร์ มีมุขตอนหน้า ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกขุนนางในงานพระราชพิธี และเคยเป็นที่รับรองแขกเมืองหลายครั้ง สิ่งที่น่าชมภายในพระที่นั่งวโรภาษพิมานได้แก่ อาวุธโบราณ ตุ๊กตาหินสลักด้วยฝีมือประณีตและภาพเขียนสีน้ำมันเป็นเรื่องราวภาพชุดพระราช พงศาวดาร อีกทั้งภาพวรรณคดีไทยเรื่องอิเหนา พระอภัยมณี สังข์ทอง และจันทรโครพ ตลอดจนเป็นที่เก็บเครื่องราชบรรณาการต่างๆ

     ส่วนเขตพระราชฐานชั้นในเชื่อมต่อกับเขตพระราชฐานชั้นนอกด้วยสะพานที่เชื่อมจาก พระที่นั่งวโรภาษพิมานกับประตูเทวราชครรไลซึ่งเป็นประตูทางเข้าพระราชฐาน สะพานนี้มีลักษณะพิเศษคือ มีแนวฉากคล้ายบานเกล็ดกั้นกลางตลอดแนวสะพานเพื่อแบ่งเป็นทางเดินของฝ่ายหน้า ด้านหนึ่งและฝ่ายในอีกด้านหนึ่งซึ่งฝ่ายในสามารถมองลอดออกมาโดยตัวเองไม่ถูก แลเห็น

     บริเวณพระราชฐานชั้นในประกอบด้วยที่ประทับ พลับพลาและศาลาต่างๆ สิ่งที่น่าสนใจได้แก่

     พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร อยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับสระน้ำ เป็นพระที่นั่งเรือนไม้ สองชั้นตามแบบชาเลต์ของสวิส คือมีเฉลียงชั้นบนและชั้นล่าง ทาสีเขียวอ่อนและสีเขียวแก่สลับกัน ภายในประดับตกแต่งด้วยเครื่องเรือนไม้มะฮอกกานีจัดสลับลายทองทับที่สั่งจาก ยุโรปทั้งสิ้น

     นอกนั้นเป็นสิ่งของหายากในประเทศอันเป็นเครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองต่างๆ ทั่วราชอาณาเขตรอบๆ มีสวนดอกไม้สวยงาม เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรได้เกิดเพลิงไหม้ ขณะที่มีการซ่อมแซมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2481 ทำให้พระที่นั่งเสียหายไปกับกองเพลิงหมดสิ้นทั้งองค์คงเหลือแต่หอน้ำลักษณะ คล้ายหอรบของยุโรปเท่านั้น ต่อมาในปีพ.ศ.2531 สำนักพระราชวังได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างขึ้น ใหม่ตามแบบเดิมทุกประการแต่เปลี่ยนวัสดุจากไม้เป็นอาคารคอนกรีตแทน

     พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ พระที่นั่งองค์นี้มีนามเป็นภาษาจีนว่า “เทียน เม่ง เต้ย” (เทียน=เวหา, เม่ง=จำรูญ, เต้ย=พระที่นั่ง) พระยาโชดึกราชเศรษฐี(ฟัก)เป็นนายงานสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวในปีพ.ศ.2432 เพื่อเป็นพระที่นั่งสำหรับประทับในฤดูหนาว พระที่นั่งนี้เคยใช้เป็นที่รับรองเจ้านายต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนมีลวดลายแกะสลักงดงามวิจิตรยิ่ง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2424

     หอวิฑูรทัศนา เป็นพระที่นั่งหอสูงยอดมน ตั้งอยู่กลางเกาะน้อยในสวนเขตพระราชวังชั้นใน ระหว่างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรกับพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่ง 3 ชั้น มีบันไดเวียน เป็นหอส่องกล้องชมภูมิประเทศบ้านเมืองโดยรอบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2424

     อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือเรียกเป็นสามัญว่า อนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวัง ก่อสร้างด้วยหินอ่อนก่อเป็นแท่ง 6 เหลี่ยม สูง 3 เมตร บรรจุพระสรีรังคารของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองไว้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

     อนุสาวรีย์พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์และเจ้าฟ้าสามพระองค์หรือ อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ ในปีพ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเศร้าโศกเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่ง อีกครั้งหนึ่ง ด้วยทรงสูญเสียพระอัครชายาเธอฯ พระราชโอรส และพระราชธิดาถึง 3 พระองค์ ในปีเดียวกัน คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 พระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2430 และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430 ดังนั้นในปี พ.ศ. 2431 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ที่ระลึกทำด้วยหินอ่อนแกะสลักพระรูปเหมือนไว้ใกล้กับ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

     พระราชวังบางปะอิน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00–17.00 น. (เปิดจำหน่ายบัตร 08.00–15.30 น.) อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก นักเรียน นิสิตนักศึกษา (ในเครื่องแบบ ต้องมีบัตรประจำตัวนักศึกษา) 20 บาท พระภิกษุ สามเณร ไม่เสียค่าเข้าชม ชาวต่างชาติ 100 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักพระราชวังบางปะอิน โทร. 0 3526 1044, 0 3526 1549, 0 3526 1673

     การเดินทาง

     รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นถนนพหลโยธิน เมื่อถึงประตูน้ำพระอินทร์แล้วให้ข้ามสะพานวงแหวนรอบนอกจะมีทางแยกโดยให้ เลี้ยวซ้ายประมาณบริเวณกิโลเมตรที่ 35 ไปพระราชวังบางปะอินเป็นระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร หรือจะผ่านเข้ามายังตัวเมืองอยุธยาพอมาถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายโดยผ่านวัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง ตัวอำเภอบางปะอินพอมาถึงสถานีรถไฟบางปะอินแล้วให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางจน ถึงพระราชวังบางปะอิน

     รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศกรุงเทพฯ-บางปะอิน ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน สอบถามรายละเอียดโทร. 0 2936 2852-66 สถานีขนส่งอยุธยา โทร.0 3533 5304 หรือ //www.transport.co.th

     รถไฟสามารถขึ้นรถไฟจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมาสถานีรถไฟอำเภอบางปะอิน จากนั้นต่อรถสองแถว รถสามล้อเครื่อง หรือรถจักรยานยนต์ไปยังพระราชวังบางปะอิน สอบถามรายละเอียดโทร. 1690, 0 220 4334, 0 2220 4444 สถานีรถไฟอยุธยา โทร. 0 3524 1520 หรือ //www.railway.co.th

ข้อมูลโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง
1600 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 662 250 5500 ต่อ 1336, 1337
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยว ททท. 1672
เว็บไซต์ : //www.TIEWPAKKLANG.COM






 

Create Date : 28 มกราคม 2554    
Last Update : 28 มกราคม 2554 22:30:12 น.
Counter : 2414 Pageviews.  

เสน่ห์ยามพลบค่ำที่ "ถนนคนเดินปากแพรก"



ถนนคนเดินปากแพรก (177 ปีปากแพรก ถนนเก่าเล่าเรื่องเมืองกาญจน์) ถนนปากแพรกเป็นถนนเก่าแก่สายหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ตลอดทั้งถนนยังคงมีอาคารบ้านเรือนเก่าๆ อายุกว่าร้อยปีที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับการก่อตั้งเมืองกาญจนบุรีตั้งแต่ ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประวัติศาสตร์สากลที่เกี่ยวพันกับสงครามโลกครั้งที่ 2

     และเป็นจุดกำเนิดของย่านการค้าเก่าแก่ที่เกี่ยวเนื่องกับแม่น้ำสายหลักของ เมืองกาญจนบุรี รวมทั้งภูมิหลังของบุคคลสำคัญๆ ระดับประเทศหลายต่อหลายคน โดยปัจจุบัน ได้เปิดเป็นถนนคนเดินในทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ สำหรับให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมสถาปัตยกรรม และศึกษาเรื่องราว ภูมิหลังของอาคารบ้านเรือนแต่ละหลัง มีการแสดงของเด็ก ๆ

     พร้อมเดินเลือกซื้อของกิน ของที่ระลึก จากร้านค้าในท้องถิ่น มีการแสดง บนเวทีของเด็กนักเรียนจากโรงเรียนเทศบาลต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี ระหว่างเวลาประมาณ 19.00 - 20.00 น. ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์

     การเดินทางไป "ถนนคนเดินปากแพรก" ขับรถเข้าตัวเมืองกาญจนบุรี ตามถนนแสงชูโต เมื่อถึงสี่แยกสถานีตำรวจภูธรกาญจนบุรี ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหลักเมือง ผ่านประตูเมืองก็จะเจอถนนปากแพรก

ข้อมูลโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี
336/1 ต.ปากแพรก อ.เมืองกาญจนบุรี
จ.กาญจนบุรี 71000
โทร. 0 3462 3041
อีเมล์ info@kanchanaburicity.com






 

Create Date : 27 มกราคม 2554    
Last Update : 27 มกราคม 2554 14:01:12 น.
Counter : 1821 Pageviews.  

พระอาทิตย์แสงสาดสีทองเหนือ...เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์



ดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดที่อยู่ในพระราชวังหลวงและเป็นวัดพุทธาวาสที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เปรียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานคร

     แต่เดิมสถานที่ตั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองสร้างขึ้น ตั้งแต่ครั้งสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีในปี พ.ศ. 1893 โดยโปรดให้สร้างปราสาทขึ้น 3 องค์ คงจะเป็นปราสาทเครื่องไม้มีชื่อว่า พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท และพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท ปีพ.ศ.1991 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงอุทิศที่พระราชมณเฑียรไปทางเหนือ ริมฝั่งแม่น้ำคือคลองเมืองในปัจจุบัน

     ในรัชกาลต่อมา จึงได้มีการสร้างวัดในเขตพระราชมณเฑียรเดิม เจดีย์ประธานของวัดเริ่มสร้างในแผ่นดินสมเด็จพระรา-มาธิปดีที่ 2 (พ.ศ.2034 – 2072) ในปี พ.ศ. 2042 มีการสร้างวิหารหลวง

      ปีต่อมามีการสร้างระพุทธรูปขนาดใหญ่ หล่อด้วยสำริดเพื่อประดิษฐานไว้ภายใน พระพุทธรูปดังกล่าวอยู่ในพระอิริยาบถยืน ใช้ทองหุ้มทั้งองค์มีพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ กล่าวกันว่า คราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย พระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์นี้ถูกศัตรูลอกเอาทองไปหมดสิ้น เหลือเพียงสภาพชำรุดทรุดโทรมมากของส่วนที่เป็นเนื้อสำริด

     ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้นำชิ้นส่วนพระศรีสรรเพชญลงมากรุงเทพฯ เพื่อบูรณะในคราวสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ แต่สถาพที่ทรุดโทรมทำให้ไม่อาจบูรณะได้ จึงโปรดให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์องค์นั้น และพระราชทานชื่อเจดีย์นั้นว่า เจดีย์สรรเพชญดาญาณ เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังแห่งนี้ ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ อาทิพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒสัตยา

ข้อมูลโดย :
สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ : WWW.TIEWPAKKLANG.COM






 

Create Date : 26 มกราคม 2554    
Last Update : 26 มกราคม 2554 8:47:53 น.
Counter : 1893 Pageviews.  

น้ำตกไดช่องถ่อง กับความงดงามเหนือชั้นหินปูน



น้ำตกไดช่องถ่อง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเขาแหลม อยู่ในเขตหมู่ที่ 4 ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยตัวน้ำตกนั้นอยู่เลยจากน้ำตกเกริงกระเวียไปตามเส้นทางทองผาภูมิ-สังขละบุรี 2 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปน้ำตกอีกประมาณ 3 กิโลเมตร

     เนื่องจากสภาพเส้นทางเข้าตัวน้ำตกไม่ดีนัก เดินทางลำบากโดยเฉพาะในฤดูฝนขึ้นอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ก่อนถึงอำเภอสังขละบุรี ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๓๒๓ (ทองผาภูมิ-สังขละบุรี) กิโลเมตรที่ 32-33 ก่อนถึงน้ำตกเกริงกระเวียเล็กน้อยจะมีป้ายทางซ้ายมือเข้าไปประมาณ 500 เมตร จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 500 เมตร และต้องเดินเท้าไปอีก 600 เมตร

     น้ำตกไดช่องถ่อง เป็นน้ำตกที่สูงประมาณ 15 เมตร กระแสน้ำไหลลดหลั่นตามชั้นหินปูนเป็นชั้นๆ ผ่านแนวต้นไม้อันร่มรื่นที่ขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีความสวยงามตามธรรมชาติ ก่อนจะไหลลงสู่ทะเลสาบเขื่อนแม่กลอง

     บริเวณรอบๆน้ำตกนั้นมีสภาพป่าสมบูรณ์ร่มรื่นสวยงามมากในช่วงฤดูฝน บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงสายทองผาภูมิ-สังขละบุรี มีสถานที่สำหรับกางเต็นท์พักแรม แต่นักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์มาเอง

ข้อมูลโดย : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนศรีนครินทร์





 

Create Date : 24 มกราคม 2554    
Last Update : 24 มกราคม 2554 21:49:20 น.
Counter : 1843 Pageviews.  

“ตลาดบ้านใหม่” แหล่งรวมของอร่อยที่อยากให้คุณมาเยือน

ตลาดสำคัญบรรยากาศอดีตอีกแห่งของเมืองฉะเชิงเทราก็คือ “ตลาดบ้านใหม่” ที่ตั้งอยู่เลียบลำน้ำบางปะกงแห่งนี้ มีประวัติอันยาวนานคู่เมืองกว่าร้อยปีของชาวไทยเชื้อสายจีนที่คับคั่งด้วย ผู้เดินทางมาค้าขายนับแต่อดีต ปัจจุบันเป็นแหล่งของอร่อยที่กล่าวได้อย่างไม่เกินเลยว่า ของหายากสำหรับตลาดนี้ก็คือของที่ไม่อร่อย...


     อาคารบ้านเรือนที่ปลูกสร้าง คือสิ่งที่แสดงบรรยากาศของอดีตได้เป็นอย่างดีโดยการเป็นแผ่นไม้กระดานที่ ปลูกสร้างให้ชิดติดกับริมลำน้ำมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และยังคงสภาพเดิมๆ ตั้งแต่ครั้งนั้นมาได้อย่างสมบูรณ์ จนกระทั่งถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์และละครอยู่เสมอเช่น เรื่อง อยู่กับก๋ง เจ้าสัวสยาม นางนาคเสียดาย ฯลฯ

     สินค้าสำคัญสำหรับที่นี่ คือ สินค้าประเภทอาหารและขนม ซึ่งทางชุมชนได้ร่วมมือกันในการจำหน่ายอาหารไม่ให้ซ้ำแบบกัน ส่งผลให้ตลาดแห่งนี้มีความหลากหลายไม่จำเจ และหลายๆ เมนูก็ยังเป็นชนิดหากินยาก ไม่พบเห็นได้ทั่วไปด้วย และที่แน่นอนคือรสชาติดีเป็นสำคัญ





     ตลาดบ้านใหม่ถูกฟื้นฟูขึ้นและได้รับการส่งเสริมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแหล่ง ใหม่ของฉะเชิงเทรา ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชน โดยแต่เดิมเปิดให้เที่ยวชมเฉพาะเสาร์และอาทิตย์เท่านั้น

     แต่ในปัจจุบันสามารถเข้าเที่ยวชมได้ทุกวันและจำนวนร้านรวงที่เพิ่มขึ้นจากเดิม จนแลดูคึกคัก เริ่มตั้งแต่ช่วงสายเป็นต้นไป สามารถเข้าถึงตลาดได้สองวิธีคือใช้เส้นทางถนนปกติ หรือล่องเรือจากวัดโสธรมาตามแม่น้ำบางปะกง แล้วมาขึ้นที่ท่าน้ำตลาดบ้านใหม่แห่งนี้

     จากกรุงเทพสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง

     - ถนน 304 มีนบุรี - ฉะเชิงเทรา / - ถนน 34 บางนา - ตราด เลี้ยวเข้าถนน 314 บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
     - ถนน 3 สมุทรปราการ - บางปะกง / - ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ - พัทยา
     รถโดยสารประจำทางมีออกจากหมอชิตและเอกมัย มีรถไฟจากหัวลำโพงมายังฉะเชิงเทราทุกวัน

ข้อมูลโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง
1600 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 662 250 5500 ต่อ 1336, 1337
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยว ททท. 1672
เว็บไซต์ : //www.TIEWPAKKLANG.COM






 

Create Date : 23 มกราคม 2554    
Last Update : 23 มกราคม 2554 19:06:45 น.
Counter : 2219 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.