ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

เที่ยวพัทลุง ชมความงาม "น้ำตกโตนแพรทอง"



"น้ำตกโตนแพรทอง" อีกหนึ่งน้ำตกสวยซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง เป็นน้ำตกขนาดกลางมีลักษณะสายน้ำไหลระลอกลง ของแต่ละชั้น ตามแนวโขดหินด้านบนลงสู่ชั้นล่าง ซึ่งมีความสวยงามแตกต่างกันไป มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สามารถเล่นน้ำและพักผ่อนชมธรรมชาติ พื้นที่โดยรอบยังคงความสมบูรณ์มาก

     การเดินทาง - จากอำเภอเมืองพัทลุง ขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (พัทลุง-ตรัง) ประมาณ 18กิโลเมตรครับ มีทางแยกให้เลี้ยวซ้าย เข้าถนนสายคลองหมวยบ้าน-กงหรา ขับเข้าไประยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร จะถึงทางแยกบ้านโตนให้เลี้ยวขวาทางทิศตะวันตก ตามป้าบอกทาง ประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตก

ข้อมูลโดย : กรมการท่องเที่ยว





 

Create Date : 04 กันยายน 2554    
Last Update : 4 กันยายน 2554 11:03:08 น.
Counter : 2670 Pageviews.  

เที่ยวชมมรดกล้านนาที่ พิพิธภัณฑ์อูบคำ



พิพิธภัณฑ์อูบคำ เป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ ประกอบด้วยเครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าแพร่ เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้ม เจ้าเชียงใหม่ ผ้าโบราณอายุ 120 ปี เป็นซิ่นไหมคำจากราชสำนักมัณฑเลย์ และที่สำคัญไม่ควรพลาดชมคือ บัลลังก์กษัตริย์เป็นทองอร่าม อายุกว่า 200 ปี แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ในอดีต โดยมีอาจารย์จุลศักดิ์ สุริยไชย เป็นผู้รวบรวม

เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา อาจารย์จุลศักดิ์ สุริยะไชย ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ได้ไปพบเห็นชาวต่างชาติเข้ามาที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย กว้านซื้อของเก่า เช่น ผ้าโบราณ เครื่องประดับ เครื่องเงิน เครื่องเขิน ไปเป็นจำนวนมาก

อาจารย์จึงมีความคิดที่จะเริ่มเก็บสะสมของพวกนี้ไว้ เนื่องจากเกรงว่าของจะหมดไปจากประเทศไทย อนุชนรุ่นหลังต้องตามไปศึกษาหาดูของเหล่านี้ที่ต่างประเทศ อาจารย์จึง ได้รวบรวมสะสมสิ่งของ ข้าวของเครื่องใช้ของชาวล้านนา เจ้าฟ้า เจ้านาง แล้วเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์อูบคำมาตั้งแต่ พ.ศ.2540 เป็นต้นมา

โดยคำว่า อูบคำ นั้นเป็นชื่อที่มาจาก อูบทองคำ ที่อาจารย์จุลศักดิ์ ได้รับเป็นมรดกตกทอดจากบิดา ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระยาสุลวฤาชัย (หนานทิพย์ช้าง) เจ้านครลำปาง (พ.ศ.2275-2301) และใช้ชื่อดังกล่าวต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

เวลา และค่าเข้าชม - วันเวลาเปิดทำการ วันธรรมดา เปิดเวลา 08:00:00 ถึงเวลา 17:00:00 วันเสาร์ วันอาทิตย์ เปิดเวลา 08:00:00 ถึงเวลา 17:00:00 มีค่าเข้าชม ชาวไทย เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท ผู้สูงอายุ 100 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก ชาวต่างชาติ 100 บาท ผู้ใหญ่ ชาวต่างชาติ 100 บาท ยกเว้น/ลดค่าเข้าชมเป็นพิเศษ กรณี นักเรียน นักศึกษา เข้าชมเป็นหมู่คณะ อื่นๆ โปรดระบุ

ที่อยู่และการติดต่อ พิพิธภัณฑ์อูบคำ (Oubkham Museum)

81/1 ถนนหน้าค่าย รอบเวียง เมืองเชียงราย จ.เชียงราย 57100
โทรศัพท์ : 0-5371-3349, 08-1950-7968
email : suzuki2526@hotmail.com
WebSite : //www.OUBKHAMMUSEUM.COM

ข้อมูลโดย : ฐานข้อมูลเครื่อข่ายพิพิธภัณฑ์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
: เว็บไซต์ //www.ndmi.or.th/museums/search.php




 

Create Date : 03 กันยายน 2554    
Last Update : 3 กันยายน 2554 11:05:02 น.
Counter : 1487 Pageviews.  

"สวนวชิรเบญจทัศ" สวนแห่งครอบครัวกลางเมืองกรุง



ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสภาพแวดล้อมในรูปการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของชาวกรุงเทพฯ ให้ทัดเทียมมหานครใหญ่ในภูมิภาค จึงเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 และ 29 มกราคม 2534 สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้จัดสร้างสวนสาธารณะบนพื้นที่ “สนามกอล์ฟรถไฟ” ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม

โดยส่วนแรก 140 ไร่ ให้สร้างเป็นสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ส่วนที่เหลือ 375 ไร่ กรุงเทพมหานครรับมอบที่ดินจากกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2541 และจ่ายค่าชดเชยให้การรถไฟฯ จำนวน 555 ล้านบาท และเริ่มเข้าปรับปรุงพื้นที่สนามกอล์ฟเดิมเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2542

เดิมสวนสาธารณะแห่งนี้ประชาชนรู้จักในนามสวนรถไฟ กรุงเทพมหานครได้ขอพระราชทานนามสวนแห่งนี้จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “สวนวชิรเบญจทัศ” เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2545

ท่ามกลางตึกสูงระฟ้าย่านพหลโยธินที่สื่อถึงความเจริญด้านวัตถุ และการพัฒนาสู่ความเป็นเมือง อาคารคอนกรีต ซึ่งขนานยาวไปสองฝั่งถนนสร้างผิวสัมผัสมหาศาลที่เป็นตัวสะสมความร้อนให้วนเวียนอยู่ในตัวเมือง ขณะที่พื้นผิวละเอียดอ่อนนุ่มของใบไม้ใบหญ้าลดปริมาณลงเพื่อเปิดทางให้ความเจริญเหล่านี้มาแทนที่ นั่นคือ สาเหตุของอากาศร้อนรุนแรงภายในเมือง และพื้นที่สีเขียวดูจะสามารถบรรเทาปัญหานี้ได้

“สวนวชิรเบญจทัศ” จึงเป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงบทบาทของสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่มีคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตคนกรุง เพราะเพียงก้าวแรกสู่สวนฯ จะรู้สึกผ่อนคลาย ร่มรื่น เย็นสบาย ต่างจากความร้อนระอุที่แผดเผา อยู่ภายนอกและบรรยากาศที่ปะปนด้วยไอเสีย ฝุ่นควันจากยานยนต์ซึ่งวนเวียนบนผิวจราจรที่คับคั่ง ราวกับได้มาเยี่ยมโลกสีเขียวในวงล้อมป่าคอนกรีต

สวนสาธารณะแห่งนี้ถูกสร้างในแนวคิด “สวนแห่งครอบครัว” ที่ตระเตรียมกิจกรรมหลายหลายไว้ดึงดูดความสนใจของสมาชิกทุกวัยในครอบครัวแทรกอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในพื้นที่เปิดโล่งกว้างและเขียวขจี สดชื่น สบายตา ให้ความรู้สึกอิสระ มีเนินหญ้าสลับกับพื้นราบกว้าง มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานสำหรับสวนสาธารณะครบครัน และเป็น “สวนสาธารณะในฝันของนักปั่นจักรยาน” ด้วยเส้นทางจักรยานระยะทาง 3.6 กิโมเมตร ลัดเลาะดงไม้ ไต่เนินไปรอบนอกสวน หรือจะเลือกเดินชมธรรมชาติ วิ่งออกกำลังก็ทำได้ในเส้นทางใหญ่

- อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของสวนวชิรเบญจทัศ เป็นอาคารรูปโดม ขนาด 1 ไร่ ภายในแสดงนิทรรศการ ห้องวิดีทัศน์ให้ความรู้และกรงผีเสื้อแบบ walk in ที่จัดภูมิทัศน์งดงามด้วยน้ำตก ธารน้ำและมวลไม้ดอก นำเสนอโอกาสชื่นชมผีเสื้อสีสันสวยงามนับพันตัวในสภาพเป็นอยู่จริง มิใช่ในกล่องสะลมแมลงอีกต่อไป อีกทั้งยังการจัดอบรมความรู้ด้านการดูนกในสวน ความรู้เกี่ยวกับผีเสื้อและแมลงแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆสวนปิกนิก จัดไว้เพื่อปิกนิก ใต้ร่มไม้ริมบึงน้ำ ท่ามกลางทุ่งดอกไม้ป่า ปัจจุบันกลายที่ชุมนุมของครอบครัวในวันหยุด

- ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ ให้บริการด้านสถานที่ และอุปกรณ์กีฬาแก่สมาชิก มีสระว่ายน้ำ สนามฟุตซอล สนามฟุตบอล สนามสตรีทบอล ลานเปตอง ฟิตเนส (ติดต่อ 0-2272-4844)

- ศูนย์เยาวชนวชิรเบญจทัศ ให้บริการด้านกิจกรรมนันทนาการรูปแบบต่าง ๆ มีสระว่ายน้ำสำหรับเด็กที่ตกแต่งด้วยน้ำพุ ล่อใจสร้างความเพลิดเพลิน ติดตั้งจุดพ่นละอองน้ำเป็นระยะสร้างไอเย็นดับร้อนและน่าตื่นเต้น เรียกความสนใจจากเด็กได้ดี (ดูแลโดยสำนักงานเขตจตุจักร)

- สวนป่าในเมือง รวบรวมพันธุ์ไม้ในของสวนวชิรเบญจทัศ เกิดจากโครงการต่อชีวิตต้นไม้สร้างป่าใหญ่ในเมือง เพื่ออนุรักษ์ต้นไม้ขนาดใหญ่อายุนับร้อยปีที่ถูกรุกรานจากการพัฒนาเมือง ให้มามีชีวิตใหม่ใน “ป่าสาธิต” แห่งนี้ นำเสนอกิจกรรมศึกษาธรรมชาติ จำลองระบบนิเวศน์ของป่าไว้ให้เรียนรู้

- เมืองจราจรจำลอง เป็นสถานที่แห่งการสร้างจิตสำนึกในการเคารพกฎจราจรให้แก่เด็กและเยาวชน (ติดต่อ 0-2537-9128)

- น้ำพุสูงที่สุดในประเทศไทย ติดตั้งงกลางบึงน้ำพ่นน้ำสูงถึง 72 เมตร หมายถึง การเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา 72 พรรษา

- ประติมากรรม สร้างชีวิตชีวาให้สวนด้วยประติมากรรมที่สื่อถึงอารมณ์สนุกสนานในอิริยาบถร่าเริงของเด็กกระจายประดับอยู่ทั่วสวน


ที่ตั้ง ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร

พื้นที่ 375 – 0 – 0 ไร่
เวลาเปิดให้บริการ 04.30 – 21.00 น.
รถโดยสารประจำทาง ผ่านบริเวณใกล้เคียง (สวนจตุจักรด้านถนนพหลโยธิน) สาย 3 8 26 27 28 29 34 38 39 44 55 63 90 96 104 112 134 138 ปอ.2 ปอ.3 ปอ.9 ปอ.10 ปอ.12 ปอ.13

ข้อมูลโดย :
สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม
ศาลาว่ากรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง)
เลขที่ 123 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์กลาง 0-2221-2141-69


เว็บไซต์ :
//minpininteraction.com/bkk_static/index.asp




 

Create Date : 02 กันยายน 2554    
Last Update : 2 กันยายน 2554 7:30:13 น.
Counter : 1519 Pageviews.  

เที่ยวเมืองลำพูน ชมความงามบ้านชาวยองโบราณ




บ้านหลังนี้สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2480 โดยนายวัง ใจจิตร (ปู่ของนางบัวลา) ซึ่งมีอาชีพเป็นช่างสร้างบ้าน เป็นคนออกแบบและวางแปลนของบ้าน ต่อมาได้สร้างยุ้งข้าวขนาด ใหญ่ 2 ชั้น


ในปี พ.ศ. 2482 นายวัง และนายปัน ใจจิตร สองพ่อลูกเป็นช่างพื้นบ้านชาวยองที่มีฝีมือดี อีกทั้งมีความอุตสาหพยายามที่จะสร้างเรือนขนาดใหญ่ที่แข็งแรง สวยงาม แห่งนี้

โดยเริ่มสะสมไม้จำนวนมากเป็นเวลานานหลายปี การก่อสร้างได้รับความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้าน ญาติพี่น้องมาช่วยกัน อีกทั้งนายวังมีความประณีต บรรจง และใช้เทคนิควิธี การต่างๆ ทางด้านช่างปูน (เสาคอนกรีต) ไม้ และกระเบื้องหลังคาที่สามารถผลิตได้เอง จนกระทั่งต่อมาทำการผลิตขาย นำรายได้มาเลี้ยงครอบครัวเป็นอย่างดี เป็นบ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ของชาวบ้านที่สืบเชื้อสายมาจากชาวไตลื้อเมืองยอง ที่ดีฐานะดี

ปัจจุบันเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดูแลจัดการโดยเจ้าของบ้านและคนในครอบครัว เพื่อถ่ายทอดความรู้ เผยแพร่ข้อมูลสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองลำพูน ได้ศึกษารูปแบบ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนพื้นถิ่นที่นี่




การจัดแสดงนิทรรศการถาวร อาคารจัดแสดงเป็นเรือนพักอาศัยขนาดใหญ่ ทางเข้าด้านหน้าเรือนหรือบันไดหลักจะอยู่ด้านหลัง เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางสัญจรหรือถนนที่เข้า สู่อาคาร ที่ดินบางส่วนให้กับญาติพี่น้อง ถนนทางเข้าหลักปัจจุบัน คือ ทางขนส่งข้าวเปลือกสู่ยุ้งฉางขนาดใหญ่ของบ้าน

บริเวณโดยรอบยังประกอบไปด้วยบ่อน้ำ ที่ยังใช้อุปโภค บริโภค โดยมีเครื่องทุ่นแรงในการตักน้ำแบบสมัยเก่า และต๊อมอาบน้ำ ที่ยังมีสภาพดี และบ่งบอกว่าบริเวณนี้เป็นบริเวณ หลังบ้าน เรือนไม้จริงทั้งหลัง ยกใต้ถุนสูง ชั้นบนแบ่งเป็นห้องใช้งานต่างๆ ชั้นล่าง ใต้ถุนเรือนเป็นที่ทำกระเบื้องมุงหลังคา ซึ่งยังมีอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือให้ชมครบถ้วน ถึง แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่ได้ใช้งานแล้ว ไม่มีผู้สืบทอดทำกระเบื้องต่อจากรุ่นพ่อ


เวลา และค่าเข้าชม - ทุกวัน เวลา 09.00 – 17.00 น. ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

1. มีค่าเข้าชม (แล้วแต่จะให้)
2. กรุณาแจ้งการนัดหมายล่วงหน้าเป็นเวลา 1 วัน เนื่องจากเป็นบ้านพักอาศัย

ที่อยู่และการติดต่อ บ้านชาวยองโบราณ บ้านมะกอก 48 บ้านมะกอก หมู่ 4 ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 51120
โทรศัพท์ : 0-5357-2066

การเดินทางถึงพิพิธภัณฑ์/แหล่งเรียนรู้ - จากอำเภอเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 106 ถนนลำพูน – ป่าซาง ผ่านวัดป่าตาลไป เมื่อผ่านตลาด และทางแยกเข้าบ้านหวายทางซ้าย มือไปอีกเล็กน้อยจะพบทางเข้าวัดมะกอกทางขวา ให้เลี้ยวขวาเข้าไป ตรงไปตามทางถนนในซอย ถึงสามแยกให้เลี้ยวขวาเข้าไปทางไปวัดมะกอก เป็นถนนซอยขนาดเล็ก จะพบ บ้านป้าบัวลาอยู่ทางซ้ายก่อนถึงวัดมะกอก

ข้อมูลโดย : ฐานข้อมูลเครื่อข่ายพิพิธภัณฑ์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
: เว็บไซต์ //www.ndmi.or.th/museums/search.php


ขอบคุณ travel.thaiza.com





 

Create Date : 01 กันยายน 2554    
Last Update : 1 กันยายน 2554 13:12:56 น.
Counter : 1664 Pageviews.  

เปรี้ยวปาก เซอร์วิส (ญาญ่า อุรัสยา)วันที่ 28 สิงหาคม 2554










 

Create Date : 30 สิงหาคม 2554    
Last Update : 30 สิงหาคม 2554 20:41:29 น.
Counter : 1520 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.