ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

ท่องเที่ยว เกาะปันหยี ณ อ่าวพังงา

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ whymephoto, คุณ wandee007, คุณ pookiefoto, Pantip.com โดย คุณ ด.ช.ข้าวห่อไข่ และ คุณ Filmlandscape

เหนื่อยไหม...เบื่อไหม...อยากออกไปเที่ยวกันไหม..ถ้าเพื่อน ๆ กำลังตกอยู่ในภาวะอารมณ์เช่นนี้ เตรียมตัวให้พร้อม เก็บกระเป๋า สะพายกล้อง เพราะกระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปลัลลาท่องเที่ยว เพื่อสัมผัสกับวิถีชีวิตชุมชนเก่าแก่ เหนือผืนทะเลในอ่าวพังงา อย่าง "เกาะปันหยี" จังหวัดพังงา...กัน

เกาะปันหยี เป็น เกาะเล็ก ๆ มีที่ราบประมาณ 1 ไร่ หรือประมาณ 108 ตารางกิโลเมตร มีบ้านเรือน 300 หลังคา มีประชากรประมาณ 4,000 คน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอเมืองพังงา ประมาณ 7 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเขาหินปูนสูงชะลูด แวดล้อมด้วยเกาะน้อยใหญ่


เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี


ย้อนหลังกลับไปนับร้อยปี บรรพบุรุษของคนปันหยี ซึ่งเป็นครอบครัวชาวชวา จำนวน 3 ครอบครัว อพยพมาจากอินโดนีเซียโดยเรือใบ 3 ลำ เพื่อค้นหาแหล่งทำกินที่ดีกว่าเดิม พวกเขาตกลงกันว่าหากใครพบที่ทำกินก่อน ให้สื่อสัญญาณด้วยการปักธงที่ยอดเขา และในที่สุดครอบครัว "โต๊ะบาบู" ก็พบเกาะหนึ่งก่อนใคร จึงขึ้นไปปักธงไว้ที่ยอดเขา และตั้งชื่อเกาะนั้นว่า "ปันหยี" ที่แปลว่า "ธง"

พื้นที่ส่วนใหญ่ของ เกาะปันหยี ตั้งอยู่ในทะเลอ่าวพังงา และบริเวณป่าชายเลนอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีหมู่บ้านจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ บ้านท่าด่าน ตั้งอยู่บริเวณน้ำตื้นในอ่าวพังงา, เกาะปันหยี ตั้งอยู่บริเวณน้ำตื้นในอ่าวพังงา, เกาะไม้ไผ่ ตั้งอยู่บนเกาะและป่าชายเลนอ่าวพังงา และเกาะหมากน้อย ตั้งอยู่บนเกาะในอ่าวพังงา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และประมาณร้อยละ 2 นับถือศาสนาอื่น ๆ และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านประมง เป็นหลัก นอกจาก นี้ยังมีการประกอบอาชีพ เช่น ทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว อาชีพรับราชการ การค้าขายและรับจ้าง


เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี


และด้วยพื้นที่เป็นแผ่นดินอยู่น้อยนิดนี้ ชาว เกาะปันหยี ใช้เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางหมู่บ้านและศาสนา ส่วนบ้านเรือน ร้านค้า และโรงเรียนตั้งอยู่ในน้ำ เดิมทีมีทางเดินเชื่อมถึงกันด้วยสะพานไม้ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสะพานปูนในปัจจุบัน เวลาน้ำขึ้น "หมู่บ้านปันหยี" จึงแลดูเหมือนหมู่บ้านลอยน้ำ แต่พอน้ำลงจะเห็นว่าบ้านนับร้อยหลังนั้น ตั้งอยู่บนเสาที่ปักในเลนมาตั้งแต่อดีต


เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี


ด้านทิศตะวันออกของ เกาะปันหยี จะมีร้านค้าเรียงรายตลอดสองทางเดิน แต่หากต้องการเห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ก็ต้องเดินเลยย่านการค้าไปทางทิศตะวันตก และจะได้พบเห็นศาลาประชาคม สภากาแฟ ร้านค้าสำหรับชาวบ้าน ร้านตัดผม โรงเรียน และมัสยิด ที่อยู่คู่กับชุมชนกลางทะเลมาตั้งแต่อดีต


เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

ทั้งนี้ ชุมชนชาวมุสลิมที่ เกาะปันหยี เป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตภายใต้บริบทวัฒนธรรมอิสลาม และอาชีพประมง อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ที่จำกัดด้านนิเวศน์และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งทำให้ชุมชมสนิทสนมใกล้ชิดกัน อีกทั้งกาลเวลาได้ผูกพันผู้คนทั้งเกาะให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น


เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี


แปลกไหม? หากเด็ก ๆ บน เกาะปันหยี ไม่เคยเล่นดิน ไม่รู้จักไม้กวาด เพราะที่ เกาะปันหยี ไม่มีฝุ่นไม่มีชายหาดและทรายที่สวยงาม แต่ที่ เกาะปันหยี มีแหล่งชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามไม่แพ้ที่ไหน ๆ อีกทั้งวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของผู้คนในสังคม เกาะปันหยี ยังเป็นภูมิคุ้มกันให้ลูกหลานปลอดจากอบายมุข โดยบน เกาะปันหยี ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ซึ่งไม่ควรที่จะมีใครนำเข้าไปด้วย และถึงแม้จะอยู่ไกลจากฝั่ง แต่ชาวปันหยีก็มีไฟฟ้าใช้เป็นของตัวเอง

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

อย่างไรก็ตาม นอกจากไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของ หมู่บ้านเกาะปันหยี บ้านกลางน้ำของชุมชนมุสลิม ที่ถูกสร้างอยู่กลางทะเลโดยไม่มีพื้นดินมานานกว่า 200 ปี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก แวะมาเยี่ยมชมตลอดปีแล้ว ใกล้ ๆ กันยังมีสถานที่ท่องเที่ยวให้ได้ไปชมกัน เช่น ภูเขาเขียน ซึ่งมีภาพเขียนโบราณเป็นรูปคนและสัตว์ต่าง ๆ เช่น ลิง ปลาโลมา จระเข้ ฯลฯ อยู่ภายในถ้ำ เชื่อกันว่าเป็นภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ก่อนถึงตัวเกาะปันหยีประมาณ 400 เมตร อยู่บริเวณภูเขา ชาวบ้านเลยเรียกกันว่า "เขาเขียน" และ ถ้ำทะลุ มีเป็นลักษณะคล้ายเกาะตั้งอยู่ในทะเล มีช่องว่างระหว่างกลางเรียกว่า ถ้ำทะลุ นักท่องเที่ยวสามารถพายเรือซีแคนนู ชมบริเวณโดยรอบได้

และนี่คือ เกาะปันหยี หมู่บ้านกลางทะเล ณ อ่าวพังงา

เกาะปันหยี

ท่าเรือ


การเดินทาง

อุทยาน แห่งชาติอ่าวพังงา อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร จากทางหลวงหมายเลข 4 จะมีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4144 เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงท่าเรือท่าด่านศุลกากร สามารถเช่าเรือจากบริเวณท่าเรือได้ หรือเดินทางโดยรถสองแถว มีรถออกจากตัวเมืองไปท่าเรือท่าด่านศุลกากรทุกวัน

การเช่าเรือล่องอ่าวพังงา มีเรือบริการนำเที่ยวออกจากท่าเรือต่าง ๆ ดังนี้…

ท่า เรือท่าด่านศุลการกร ใกล้โรงแรมพังงาเบย์รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพังงา มีเรือนำเที่ยวหลายขนาด ถ้าเดินทางมาเป็นคณะใหญ่ควรลงเรือที่ท่านี้ เพราะมีเรือขนาดใหญ่คอยบริการ

ท่าเรือสุระกุล หรือท่าเรือกระโสม ในอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มีเรือให้เช่าขนาดนั่งได้ 21 – 30 คน

ท่าเรือในบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีเรือเร็ว บริการ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
และ อบต.เกาะปันหยี




 

Create Date : 17 มีนาคม 2554    
Last Update : 17 มีนาคม 2554 9:00:47 น.
Counter : 2225 Pageviews.  

หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย อ.ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี




“ควาย” ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย ซึ่งวิถีการดำรงชีวิตของชาวไทยชนบทในสมัยก่อน มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกับควาย จนถึงปัจจุบันนี้ควายก็ยังมีความผูกพันธ์กับคนไทยอยู่ดี ถึงแม้ว่าอาจจะน้อยลงกว่าเดิมมาก เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยเรามากขึ้น ทำให้เราเห็นความสำคัญของควายน้อยลง

วันนี้เราจะพาไปรำลึกวิถีชีวิตเก่าๆ ของคนไทยที่ผูกพันธ์กับควายมาช้านาน ที่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ตามมากันเลยค่ะ






หมู่ บ้านอนุรักษ์ควายไทย - สุพรรณบุรี ทำการเปิดโครงการ เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2545 อย่างเป็นทางการ มีพื้นที่ 70 ไร่ ติดถนนทางหลวงหมายเลข 340 (สุพรรณบุรี-ศรีประจันต์) กิโลเมตรที่ 115-116 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของอำเภอศรีประจันต์ และจังหวัดสุพรรณบุรี บ้านควาย – สุพรรณบุรี เป็นโครงการที่สะท้อนถึงวิถีการดำรงชีวิตของชาวไทยชนบทในสมัยก่อนซึ่งมีความ สัมพันธ์ และเชื่อมโยงกับควาย และเป็นสถานที่รวบรวมวิถีชีวิตแบบพื้นบ้านภาคกลาง

บ้านควาย – สุพรรณบุรี ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และรักษาขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมซื่งเป็น มรดกของประเทศไทย นอกจากนี้โครงการบ้านควายยังสนองนโยบายของรัฐโดยการสร้างงานสร้างรายได้และ สร้างโอกาศให้แก่ชุมชน และชุมชนใกล้เคียงในการทำมาหากินและประกอบอาชีพเพื่อยังชีพอย่างพอเพียง โดยแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น หมู่บ้านชาวนาแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีลานนวดข้าว คอกควาย โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านเรือนไทยภาคกลาง

พิธีเปิดโครงการ บ้านควาย – สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2545 ในงานมีการจัดแสดงสินค้าหัตถกรรม “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” และกิจกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น การประกวดควายงาม การแสดงความสามารถพิเศษของควาย และ วิ่งควาย





ผู้เข้าเยี่ยม ชมบ้านสามารถสัมผัสกับวิถีการดำเนินชีวิตแบบย้อนยุค และกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ เช่น การทำนาในแบบโบราณที่ยังใช้แรงงานจากควายและอุปกรณ์การทำนาแบบโบราณ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเข้าเยี่ยมพื้นที่จำลองในการแบ่งสันส่วน พื้นที่ทำเกษตกรรม ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช และสวนผีเสื้อนานาพันธุ์ สวนกล้วยไม้ หมู่บ้านชาวนา และสวนสมุนไพร




รอบการแสดง - และเวลาเปิดทำการของบ้านควาย

การเปิดทำการ เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด เวลาเปิด เวลา 09.00 – 18.00 น.ค่าเข้าชม 150 บาท

รอบการแสดง วันธรรมดา มี 2 รอบ (วันจันทร์ – วันศุกร์)

- เวลา 11.00 – 11.30 น. และเวลา 15.00 – 15.30 น.

รอบการแสดง วันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์ มี 3 รอบ

-รอบเช้า เวลา 11.00 – 12.00 น.

-รอบบ่ายเวลา 14.30 – 15.30 น. และ 16.00 – 17.30 น.

ค่าเข้าชมชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 100 บาท


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกรุงเทพฯ โทร. 0 2270 0395-7 สำนักงานสุพรรณบุรีโทร. 0 3558 1668




การเดินทางไปบ้านควาย

บ้าน ควาย ตั้งอยู่ริมถนนใหญ่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มีเนื้อที่ 114 ไร่ พื้นที่โครงการ 70% ของพื้นที่ทั้งหมด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรี 20 กิโลเมตร ห่างจากตัว อ.ศรีประจันต์ ประมาณ 2 ก.ม.

การเดินทางโดยรถส่วนตัว

ถยนต์ สามารถใช้เส้นทางในการเดินทางได้หลายเส้นทาง ดังนี้

1.จากกรุงเทพฯ ผ่านอ.บางบัวทอง ไปจนถึงตัวเมือง จ.สุพรรณบุรี หรือจากกรุงเทพฯ ผ่านนนทบุรี อ.บางบัวทอง ไปจนถึงตัวจ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 ก.ม.

2.จากกรุงเทพฯ ผ่านจ.ปทุมธานี อ.ลาดหลุมแก้ว ไปจนถึงตัวเมืองจ.สุพรรณบุรี
ระยะทางประมาณ 115 ก.ม.

3.จากกรุงเทพฯ ผ่านจ.พระนครศรีอยุธยา ไปจนถึงตัวเมืองจ.สุพรรณบุรี
ระยะทางประมาณ 132 ก.ม.

4.จากกรุงเทพฯ ผ่านจ.สิงห์บุรี อ.เดิมบางนางบวช จนถึงตัวเมืองจ.สุพรรณบุรี
ระยะทางประมาณ 228 ก.ม.

5.จากกรุงเทพฯ ผ่านจ.อ่างทอง ไปจนถึงตัวเมืองจ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 150 ก.ม.

6.จากกรุงเทพฯ ผ่านจ.นครปฐม อ.กำแพงแสนไปจนถึงตัวเมืองจ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 164 ก.ม.


การเดินทางโดยรถโยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด บริการรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งหมอชิตกำแพงเพชร 2 และสถานีขนส่งสายใต้ไปจังหวัดสุพรรณบุรีทุกวันมีทั้งรถธรรมดา และปรับอากาศไว้บริการ

-ติดต่อสอบถามราบละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 - 5378055

-รถธรรมดา โทร. 02 - 4345557 - 8

-รถปรับอากาศ โทร. 02-4351199-200

การเดินทางโดยรถไฟ

การ รถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปจ.สุพรรณบุรีทุกวัน วันละ 1 เที่ยวใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการเดินทางไปถึงสถานีรถไฟจ.สุพรรณบุรี และต้องต่อรถโดยสารไปอีก 20นาทีโดยประมาณเพื่อไปเที่ยวชมบ้านอนุรักษ์ควายไทยที่ อ.ศรีประจันต์ ซึ่งอาจจะดูไม่ค่อยสะดวกในการเดินทางนักสำหรับผู้ที่จะคิดเดินทางโดยรถไฟ





























ขอบคุณข้อมูลจาก :
www.buffalovillages.com




 

Create Date : 16 มีนาคม 2554    
Last Update : 16 มีนาคม 2554 15:39:47 น.
Counter : 3816 Pageviews.  

เสน่ห์หินปูน ณ อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

ดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง


อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

 อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง


อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง


เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Pantip.com โดย คุณ อั๋น ทรงวุฒิ, คุณ อั๋น ทรงวุฒิ, คุณ digimontamer และ อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีตำนานเล่าขาน ถึงความรุ่งเรืองมายาวนาน รวมทั้งยังเป็นเมืองกำเนิดของเรื่องราวแห่งความรัก อันยิ่งใหญ่ในวรรณคดีอย่าง "ลิลิตพระลอ" ใช่แล้ว! เรากำลังเอ่ยถึง "จังหวัดแพร่" ดินแดนที่เต็มไปด้วยร่องรอยทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ สายน้ำที่งดงาม จึงทำให้ "แพร่" กลายเป็นจังหวัดที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนได้ตลอดทั้งปี

และวันนี้กระปุกดอทคอมจะพานักเดินทาง ไปสัมผัสแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ ที่ถูกกล่าวขวัญถึงไม่แพ้ที่ไหน ๆ นั่นก็คือ อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 107 ของประเทศไทยกันค่ะ...


อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอลอง อำเภอเมือง และอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ มีเนื้อที่ประมาณ 117,982 ไร่ หรือ 188.77 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่เป็นเขาสูงชัน บางแห่งพื้นที่ราบ บนเขามีหินโผล่จากพื้นดินตามธรรมชาติ สลับซับซ้อนอย่างน่าอัศจรรย์ใจ และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม คือ สวนหินมหาราช มีเทือกเขาดอยผากลองเด่นเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต่าง ๆ ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำยม

ขณะที่สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณ มีพันธ์ไม้ที่สวยงาม เช่น จันทน์ผา กล้วยผา กล้วยไม้ดิน และสมุนไพร สัตว์ป่าที่พบ เช่น เลียงผา หมี เก้ง ไก่ป่า หมูป่า ชะมด และนกชนิดต่าง ๆ เช่น นกพญาไฟ ที่จะอพยพมาที่นี้ในฤดูหนาว

สถานที่ท่องเที่ยว ภายใน อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ได้แก่…


สวนหินมหาราช

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

 อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

สวนหินมหาราช เป็น บริเวณที่มีหินโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินตามธรรมชาติ อย่างสลับซับซ้อนน่าอัศจรรย์ บ้างคล้ายจระเข้ ไดโนเสาร์ และสัตว์ดึกดำบรรพ์ มองแล้วทำให้เกิดจิตนาการเหมือนอยู่ในเทพนิยาย บางก้อนเป็นถ้ำเล็ก ๆ ลึกเข้าไปข้างใน หินก้อนใหญ่อยู่บนหินก้อนเล็ก ดูน่าหวาดเสียวคล้ายจะหล่น แต่ก็สามารถทานน้ำหนักได้ ประกอบกับบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย การเดินทางสะดวกเพราะอยู่ติดกับทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1023 กิโลเมตรที่ 25 จากจังหวัดแพร่ - อำเภอลอง

แก่งหลวง และ ถ้ำเอราวัณ เป็นโขดหินกว้าง กลางแม่น้ำยม ในฤดูฝนน้ำหลากสายน้ำจะไหลปะทะแก่งจนเกิดเสียงดัง ฝั่งตรงข้ามกับ แก่งหลวง มี ถ้ำเอราวัณ ซึ่งมีโถงถ้ำใหญ่กว้างขวางและมีหินงอกหินย้อยงดงาม บางก้อนมองดูคล้ายกับช้างเอราวัณ สามารถติดต่อเรือจากบ้านแก่งหลวงข้ามไปเที่ยวชมถ้ำได้ แก่งหลวงตั้งอยู่ที่บ้านแก่งหลวง มีทางแยกเข้ามาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (เด่นชัย-ลำปาง) ไปประมาณ 8 กิโลเมตร ก็จะถึงแก่งหลวงริมลำน้ำยม


ภูเขาหินปะการัง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

ภูเขาหินปะการัง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง


ภูเขาหินปะการัง หรือ ร่องหินแตก เป็นกลุ่มของแผ่นหินที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน อันเนื่องมาจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในอดีต เมื่อผิวหินปูนถูกน้ำฝนกัดเซาเป็นเวลานาน จึงเกิดเป็นร่องแหลมคม แลดูคล้ายปะการังในทะเล และมีรูปทรงแตกต่างกันมากมาย ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทาง และสะพานเดินชมหินปะการังไปจนถึงยอดเขา ระหว่างทางมีพันธุ์ไม้ที่ขึ้นตามเขาหินปูนให้ชมหลายชนิด เช่น จันทน์ผา กระบองเพชร ฯลฯ บริเวณเชิงภูเขาหินปะการังมี ถ้ำผากลอง ซึ่งมีหินงอกหินย้อยสวยงาม


อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

ทั้งนี้ ภูเขาหินปะการัง อยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 18 – 19 มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ประมาณ 1,100 เมตร เป็นเส้นทางระยะสั้น แต่ค่อนข้างทรหด เพราะทางบางช่วงเป็นหินแหลมคม ผู้ที่มาท่องเที่ยวควรใส่รองเท้าผ้าใบให้รัดกุม และควรเดินในช่วงเช้าที่ยังไม่มีแดดจัด ระหว่างทางจะพบแอร์ธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากลมพัดเอาความชื้นออกมาจากถ้ำโดยผ่านปากถ้ำแคบ ๆ จะทำให้ผู้ที่สัมผัสอากาศนี้รู้สึกเย็น เหมือนได้รับความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ แต่มีความสดชื่นมากกว่า เลยไปจะเป็น จุดชมวิวหินปะการัง

ถ้ำจันทร์ผา เป็นถ้ำค้างคาวมีขนาดใหญ่พอสมควร มีมูลค้างคาวเป็นจำนวนมาก อยู่ทางทิศเหนือของสวนหิน เป็นถ้ำหินงอกหินย้อยสวยงาม

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

มี พื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ บริเวณเขาหินปะการัง รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

มี พื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

มีร้านอาหารและสุขาไว้บริการนักท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

การเดินทาง

จาก จังหวัดแพร่ เดินทางโดยรถยนต์ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1023 สายแพร่-อำเภอลอง เดินทางตามถนนสายนี้ จนถึงกิโลเมตรที่ 19-20 ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณสวนหินมหาราช ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นถนนลาดยางทั้งหมด เส้นทางนี้สามารถใช้ได้ตลอดปีและมีรถยนต์โดยสารประจำทางสายแพร่-อำเภอลอง ผ่าน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ตำบลต้าผามอก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150 โทรศัพท์ 0 5450 1145 และ 054-501701 อีเมล : reserve@dnp.go.th เว็บไซต์ : //www.dnp.go.th




 

Create Date : 15 มีนาคม 2554    
Last Update : 15 มีนาคม 2554 22:25:57 น.
Counter : 1823 Pageviews.  

'สวนหินผางาม' คุนหมิงเมืองไทย



สภาพ อากาศสลับขั้วไปมาร้อนบ้างเย็นบ้าง วันดีคืนดีฝนเทกระหน่ำ ทั้ง ๆ ที่เป็นวันเวลาของฤดูหนาว แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติไม่แน่นอน กะเกณฑ์กันไม่ได้ แต่เรื่องการเดินทาง ออกสู่ธรรมชาติคือสิ่งที่กำหนดได้


หาก เลือกเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดในภาคอีสาน จ.เลย คือจุดหมายต้น ๆ ของการเดินทาง เพียงเพราะใครบางคนหลงเสน่ห์ของแหล่งท่องเที่ยวใหม่อย่าง “เชียงคาน” เหมือนครั้งที่เมืองปายในจ.แม่ฮ่องสอนเคย ร่ายมนตร์สะกดเดียวกับเชียงคานมาแล้ว พักใหญ่

ปายให้บทเรียนกับ เชียงคานได้พอควร เชียงคานไม่มีถนนสายบาร์เบียร์ ที่ให้นักท่องเที่ยวปล่อยอารมณ์ชิล ชิล กับสายน้ำโขง มีเพียงร้านอาหารริมน้ำ กับเกสต์เฮาส์ในพื้นที่จำกัด

นอกจากเชียงคาน “เลย” ยังมีสถานที่บางแห่งที่ไม่น่าละเลยไปเยี่ยมเยือน “สวนหินผางาม” เรียกขานกันว่า “คุนหมิง เมืองไทย” ที่มาของคำเรียกดังกล่าวมาจากผู้หลักผู้ใหญ่ใน จ.เลย ได้ไปดูงานที่คุนหมิง ประเทศจีน เมื่อปี 2542 เห็นพ้องกันว่าสวนหินผางามมีทัศนียภาพไม่ต่างจากคุนหมิง

“สวนหินผางาม”ตั้ง อยู่ในพื้นที่บ้านผางาม หมู่10 ต.ปวนพุ อ.หนองหิน ห่างจากตัวเมืองเลยประมาณ 70 กม. อยู่ระหว่าง อ.วังสะพุงกับภูกระดึง เนื้อหาและจุดเด่น ของคุนหมิงเมืองไทย อยู่ที่ภูเขาหินปูนทอดตัวเป็นแนวยาวท่ามกลางทุ่งหญ้าสีเขียว ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 9,000 ไร่ ประกอบไปด้วยเขาหินปูนขนาดใหญ่ 3 ลูกด้วยกันคือ เขาคุนหมิง ผาบ่อง หินเต่า และยังมีภูเขาขนาดเล็กอีกไม่ต่ำกว่า 500 ลูก มีแนวเทือกเขาเดียวที่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไป เจาะลึกด้านในได้ ภายใต้เงื่อนไข ต้องใช้ไกด์ท้องถิ่นนำทาง นั้นเพราะเส้นทางเดินสลับซับซ้อนไม่ต่างจากเขาวงกต ไกด์ท้องถิ่นจะเป็นเหล่าเด็กนักเรียนในพื้นที่ สำหรับการเที่ยวชม กับเส้นทาง 1,300 เมตร จะได้ชมความมหัศจรรย์ของสวนหินงามประมาณ 21 จุด ด้วยค่าบริการนำเที่ยว 100 บาทต่อกรุ๊ป (ไม่เกิน 10 ท่าน)

ส่วน อีกเส้นทางคือนั่งรถเข้าชม (ค่ารถไปกลับ 10 บาท) นั่งรถอีแต๊ก (รถไถนาเดินตาม) สู่จุดชมวิว สำหรับคนสูงอายุหรือคนที่อยากเที่ยวแบบไม่ต้องการเสียเหงื่อมาก รถอีแต๊กจะพาสู่จุดชมวิวที่มองเห็นจุดที่ได้ชื่อว่าคุนหมิงเมืองไทย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารถจะเทียบท่าถึงจุดชมวิว ต้องปีนป่ายบันไดเหล็กขึ้นไปอีกประมาณ 2 หอบใหญ่ ๆ จึงจะได้เพลินกับวิวสวย ๆ ดังนั้นควรเตรียมพร้อมทั้งรองเท้า เสื้อผ้า และหัวใจกันไว้แต่เนิ่น ๆ

เส้น ทางเดินเท้าสำรวจใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงเศษ มีทั้งทางตรง ทางลาดชันและทางราบต่ำที่ต้องก้มตัว เอี้ยวตัวไปมาลอดช่อง ไต่บันได พอได้เหงื่อซึมท่ามกลางป่าเบญจพรรณ ที่มีพรรณไม้ดึกดำบรรพ์ อาทิ จันทน์ผา ปรง ตะบองเพชร แทรกตัวอยู่กับไม้ใหญ่ เมื่อเข้าสู่แดนสลับซับซ้อน จุดเรียกเหงื่อแรก ตั้งชื่อแบบหยามกันไม่ลงว่า “เนินวัดใจ” เพราะต้องปีนบันไดจนแทบท้อได้ หรือเรียกเล่น ๆ ว่า เนินท้อแท้ จุดนี้จะเห็นต้นจันทน์ผาขนาดใหญ่ชูช่อรอต้อนรับ

เดิน ลัดเลาะไหล่เขามา จะเจอซุ้มนักเลงเกรงใจ หรือซุ้มคารวะ ไม่ว่าใหญ่มาจากไหนก็ต้องก้มหัวลอดช่องหินลงมา เพื่อเดินลงบันไดเหล็กนำไปสู่ถ้ำ “อรทัย” ถ้ำที่ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับผู้มาสำรวจรุ่นแรกที่เป็นผู้หญิงในนามดัง กล่าว

ถัดมาจะพบกับ “ช่องสรีระ” เป็นช่องหินที่แคบมากจนไม่คิดว่าจะพาร่างกายเข้าไปได้ ต้องเอี้ยวตัวไปทางขวาเล็กน้อย แต่เมื่อ ก้มตัวมุดเข้าไปจะพบกับป่องเอี้ยมที่เป็นช่องหิน เมื่อมองลอดลงไปแล้วจะมองเห็นทางที่เดินผ่านมา

“ประตูโขง” คือปรากฏการณ์ก้อนหินเทินกัน มีช่องซุ้มประตู ก่อนที่จะพบกับผนังหินที่ทะลุเป็นช่องคล้ายรูปหัวใจที่ดูบูด ๆ เบี้ยว ๆ ชาวบ้านจึงเรียกขานมุมนั้นว่า “ถ้ำหัวใจสลาย” เดิน ชมนกชมไม้มาจะถึงจุดชมวิว ที่ต้องปีนบันไดเหล็กขึ้นไปสูดอากาศเย็นสบายบนที่สูง มองเห็นสวนหินงามได้ในมุมภาพ มีทั้งหินที่เทินกันเหมือนกับรูปเต่า และภูเขาหินสูงต่ำสลับซับซ้อน ถ่ายภาพเป็นระลึกเสร็จสรรพ ต้องไต่บันไดลงมาอีกทอด ตรงทางลงจะมีรถอีแต๊กไว้บริการ เพื่อมาส่งยังจุดเดิม

สำหรับสภาพอากาศบริเวณสวนหินงาม ถ้าอากาศไม่ปรวนแปรความหนาวเย็นจะเริ่มมาทักทายที่ราวเดือน พ.ย.-ม.ค. ของทุกปีท่ามกลางบรรยากาศการท่องเที่ยวที่น่ารัก ขับรถมาจะมองเห็นแนวทิวทุ่งบัวตองสีเหลือง บานสะพรั่ง และเร้าใจด้วยการนั่งรถอีแต๊กไปยังจุดชมวิว ส่วนสินค้าที่ระลึกเป็นของชาวบ้านแท้จริงไม่ว่าจะเป็นงานไหมพรมถัก มีทั้งหมวก ผ้าพันคอ งานหัตถกรรมไม้ไผ่…“ผาหินงาม” มุมหนึ่งของ “เลย” ไปแล้วจะรักแล้วรักเลยจริง ๆ

**สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-4289-4254 หรือ 08-4779-2633 เว็บไซต์ //www.puanpu.go.th

ขอบคุณที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์












 

Create Date : 15 มีนาคม 2554    
Last Update : 15 มีนาคม 2554 8:39:44 น.
Counter : 1846 Pageviews.  

เที่ยวฉะเชิงเทรา ไปไหว้พระพิฆเนศวรปางนอน

พระพิฆเนศ


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ททท.

พระพิฆนเศวร เป็นเทพที่มีผู้คนนับถือและเคารพมากที่สุด และเป็นที่ทราบกันดีว่า พระพิฆเนศวร มีหลายปาง ซึ่งส่วนใหญ่จะบูชาปางตามสายงานอาชีพของตน แต่วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปสักการะบูชา "องค์พระพิฆเนศวรปางนอนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย" ณ วัดสมานรัตนาราม ริมแม่น้ำบางปะกง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา กัน...ถ้าพร้อมแล้วตามเราไปเลย

องค์พระพิฆเนศวรปางนอนเสวยสุข ที่วัดสมานรัตนาราม ถือเป็นปางนอนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง ใกล้กับโครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง ซึ่งบริเวณใกล้ ๆ กันมี องค์พระพิฆเนศวรปางยืน สร้างที่ริมแม่น้ำบางปะกง ตำบลบางตลาด จังหวัดฉะเชิงเทรา และ องค์พระพิฆเนศวรปางนั่ง สร้าง ณ เชิงภูเขา วัดเขาแดง ตำบลสาลิกา จังหวัดนครนายก ให้ได้ไปกราบไหว้อีกด้วย

พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา

สำหรับ องค์พระพิฆเนศวรปางนอนเสวยสุข หมาย ถึง ความสุขสบาย ความสุขบริบูรณ์มั่งคั่งพร้อมทุกด้าน รื่นรมย์ ไร้ทุกข์ ไร้ความเศร้าหมอง อิ่มหนำ สำราญ มีกินมีโชคลาภ จะนำความสุขสบายมาสู่ผู้บูชา ซึ่งมีเนื้อชมพู มีขนาดความสูง 16 เมตร และความกว้าง 14 เมตร ลักษณะนั่งกึ่งนอนตะแคงบนฐาน พระหัตถ์บนด้านขวาทรงเชือกบ่วงบาศน์ ที่ทรงใช้ในการนำพามนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งธรรมะ และหลุดพ้นพร้อมทรงขจัดอุปสรรคในระหว่างทาง พระหัตถ์บนซ้ายทรงเชือกขอสับ ที่ใช้ในการป้องกันและพันฝ่าความยากลำบาก พระหัตถ์ขวาล่างทรงงาที่หักครึ่ง เป็นสัญญลักษณ์แห่งความเสียสละ พระหัตถ์ขวาด้านบนถือดอกบัว

อีกทั้งทรงมีใบหูที่กว้างใหญ่เหมือนใบพัดหมายความว่า ท่านพร้อมที่รับฟังสิ่งที่เราร้องเรียนและเรียกหา มีงูที่พันอยู่รอบท้องท่าน แสดงถึงพลังที่มีอยู่โดยรอบ และหนูที่ทรงใช้เป็นพาหนะ แสดงถึงความไม่ถือองค์ พร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เล็ก และเป็นที่รังเกียจของมนุษย์ส่วนมาก อีกทั้งบริเวณรอบ ๆ ฐานพิฆเนศองค์ใหญ่ จะมีพระพิฆเนศทั้ง 32 ปาง ประดิษฐานอยู่ เพื่อให้ผู้คนกราบไหว้

หนูมุสิกะ

หนูมุสิกะ

ทั้งนี้ หลังจากไปไหว้ องค์พระพิฆเนศวรปางนอนเสวยสุข แล้ว...ห้ามพลาด! กับการไปกระซิบหู "ท่านหนูมุสิกะ" ผู้เป็นต้นห้องขององค์พระพิฆเนศ เพื่อฝากคำขอพรต่าง ๆ ไปยังพระพิฆเนศ โดยยืนด้านหลังเอาปากพูดตรงหูหนู และเอามือปิดหูของหนูอีกข้างไว้ เพราะเชื่อกันว่า "ท่านหนูมุสิกะ" จะนำข้อความทั้งหมดไปบอกให้องค์พระพิฆเนศทราบ และคำขอพรจะสัมฤทธิ์ผล

อย่างไรก็ตาม เมื่อไปถึงวัดสมานรัตนาราม ควรไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดอื่น เช่น พระราหูองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย, หลวงพ่อโต ปางมารวิชัย อายุกว่า 120 ปี พระประธานในพระอุโบสถหลังเก่า, พระพุทธมหากรุณาคุณประสิทธิ์, หลวงพ่อดำ, หลวงพ่อโต จำลองภายในพระอุโบสถหลังใหม่ และจระเข้โหราเทพารักษ์

พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา

การเดินทาง

จากกรุงเทพฯ วิ่งถนนรามอินทรา ออกมีนบุรี ก่อนถึงมีนบุรีเลี้ยวซ้ายไปจังหวัดฉะเชิงเทรา สังเกตป้ายบอกทางเมื่อจะเข้าแปดริ้วเลี้ยวซ้ายบนสะพาน (ตรงไปจะไปชลบุรี ) ไปเรื่อย ๆ เลยไฟแดงชิดขวาขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ตรงไปถึงสี่แยกไฟแดงแยกคอมเพล็ก เลี้ยวซ้ายไปทางบางคล้า ตั้งไมล์ 4 กิโลเมตร จะถึงปากทางวัดจุกเฌอ เลี้ยวช้ายเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จะมีทางเบี่ยงขวาสังเกตป้าย วิ่งข้ามสะพานสูงซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำ ลงสะพานวิ่งต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงปากทางเข้าวัดสมานรัตนาราม




 

Create Date : 14 มีนาคม 2554    
Last Update : 14 มีนาคม 2554 8:46:24 น.
Counter : 2509 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.