ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

ท่องเมืองหมอกสามฤดู สัมผัสวิถีชีวิตชุมชน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คู่หูเดินทาง และ ททท.

ถ้าเอ่ยถึง "เมืองสามหมอก" หรือ "เมืองหมอกสามฤดู" ชื่อของ "แม่ฮ่องสอน" คงลอยเด่นมาแต่ไกล อาจเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง สลับซับซ้อน อากาศหนาวเย็นและมีหมอกปกคลุมตลอดทั้ง 3 ฤดูของปี รวมถึงมีทิวทัศน์ที่งดงามเกินบรรยาย จึงไม่แปลกที่แม่ฮ่องสอนจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดอันดับท็อปเท็นของประเทศไทย ที่ใคร ๆ ก็อยากไปท่องเที่ยว แต่วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือการไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของชุมชนหมู่บ้านต่าง ๆ ที่หลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ปาย

โดยเริ่มต้นกันด้วยอำเภอสุดฮิตอย่าง "ปาย" ที่เชื่อว่าใคร ๆ ก็อยากไปเยือนสักครั้งในชีวิต โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาว ซึ่งในอดีต เมืองปายมักรู้จักเฉพาะกันเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่ต่อมาก็กลายเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทยด้วย

ปาย

ปาย

ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาเที่ยวชม ถนนคนเดินปาย ซึ่งจัดขึ้นในถนนชัยสงคราม บริเวณท่ารถปาย ทั้งถนนจะปิดการจราจร ให้นักท่องเที่ยวเดินเลือกซื้อสินค้า ทั้งจากสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่นของชาวเขา ตลอดจนสินค้าอื่น ๆ ทั่วไป โดยเฉพาะของฝาก ของที่ระลึก เสื้อผ้า รูปภาพ โปสการ์ด ตลอดจนร้านอาหาร ที่พัก แหล่งบันเทิงต่าง ๆ จะมีอยู่เรียงรายในถนนเส้นนี้ ซึ่งกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวยอดนิยม คือการเขียนโปสการ์ดส่งไปจากปาย เมืองปายจึงมีร้านโปสการ์ดและร้านกาแฟ มีอยู่ทั่วไปในถนนคนเดิน

บ้านสันติชล

บ้านสันติชล

และไปเที่ยวต่อที่ หมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนนาน (บ้านสันติชล) อยู่ห่างจากตัวอำเภอปายประมาณ 4.5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวจีนที่อพยพถิ่นฐานมา แต่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น การแต่งกาย ภาษา ได้เป็นอย่างดี โดยนักท่องเที่ยวนิยมไปชมหมู่บ้านพร้อมรับประทานอาหารจีนยูนนานเป็นอาหารกลางวัน ทั้งนี้ ภายในยังมีศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนนานบ้านสันติชล จำหน่ายสินค้าที่ระลึก บริการบ้านพักในชุมชนอีกด้วย

จากนั้นแวะไป บ้านยอดดอย หรือ หมู่บ้านแม้วไมโครเวฟ เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ที่อาศัยอยู่บนดอยสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ โดยใช้เส้นทางแม่ฮ่องสอน-อำเภอขุนยวม ไปหมู่บ้านป่าลานประมาณ 32 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายขึ้นเขาอีก 8 กิโลเมตร

แม่ฮ่องสอน

ต่อด้วย หมู่บ้านรักไทย (แม่ออ) อยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 44 กิโลเมตร ซึ่งหมู่บ้านตั้งติดอยู่กับชายแดนไทย-พม่า ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่อพยพหนีภัยมาจากทางตอนใต้ของจีน ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบคอมมิวนิสต์ นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมวิถีชีวิตวัฒนธรรมจีนฮ่อ ซึ่งยังคงสืบทอดประเพณีไว้หลายอย่าง ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน ลักษณะบ้านบางส่วนเป็นบ้านแบบเก่าทำจากดินเหนียวผสมฟางข้าว รวมทั้งอาหารตำรับจีนตอนใต้แถบมณฑลยูนาน นอกจากนี้ ยังสามารถชิมชาเลิศรสจากชาพันธุ์ดีซึ่งมีจำหน่ายในหมู่บ้าน เช่น ชาชิง ชิง ชาอู่หลง รวมถึงบริเวณหมู่บ้านมีทะเลสาบสวยงามอีกด้วย

ก่อนจะไปเที่ยว บ้านกะเหรี่ยงแม่สะกั๊วะ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลท่าผาปุ้ม ห่างจากอำเภอแม่ลาน้อยประมาณ 13 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1266 เป็นทางขึ้นเขา บ้านเรือนแถบเชิงเขาดูแปลกตา ชาวบ้านยังคงความเคยชินกับธรรมชาติ และยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้เป็นอย่างดี ในฤดูแล้งจะมองเห็นดอกไม้ป่า ใบไม้เป็นสีส้มสวยงามมาก ใกล้ ๆ หมู่บ้านมีน้ำตกเล็ก ๆ ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นที่พักผ่อนด้วย

อะ ๆ อย่าลืมไป บ้านกะเหรี่ยงห้วยห้อม ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย ห่างจากบ้านละอูบประมาณ 4 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1266 ชาวไทยภูเขาในหมู่บ้านเคร่งครัดศาสนาและสุภาพอ่อนโยน อีกทั้งหมู่บ้านยังเป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาชาวเขา ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถทำผ้าจากขนแกะ ปลูกไม้ผลเมืองหนาว และอื่น ๆ จึงเป็นหมู่บ้านตัวอย่างของชาวเขาทั่วไปได้เป็นอย่างดี

แม่ฮ่องสอน

หมู่บ้านละว้า (ลัวะ) แม่ละอูบ ตำบลห้วยห้อม เป็นหมู่บ้านเขตติดต่อระหว่าง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง มีลักษณะวัฒนธรรม การสร้างที่อยู่อาศัย การแต่งกาย และอุปนิสัยที่แตกต่างไปจากชาวไทยภูเขาเผ่าอื่น ๆ โดยที่ตั้งอยู่บนยอดดอยสูง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม การคมนาคมสะดวก จึงเป็นที่แปลกตาแปลกใจแก่นักท่องเที่ยว และ โฮมสเตย์บ้านห้วยฮี้เป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง เรียกตัวเองว่า "ปกากญอ" เป็นหมู่บ้านจำนวน 28 หลังคาเรือน (ขนาดเล็ก) มีประชากรราว 50 คน อยู่ในพื้นที่ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน 26 กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง เส้นทางแม่ฮ่องสอน– เฟิร์นริมธารรีสอร์ท – บ้านแม่สะกึด-วัดจันทร์ ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที กิจกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญคือ พักโฮมสเตย์ ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยง, ชมกล้วยไม้ป่าร้อยกว่าชนิด, เดินป่าเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติดอยปุย, กางเต็นท์สัมผัสอากาศหนาวบนดอยปุยซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1,700 เมตร

ปางอุ๋ง

ปางอุ๋ง

ปิดท้ายกันที่ โครงการพระราชดำริปางตอง (ปางอุ๋ง) – บ้านรวมไทย สถานที่ท่องเที่ยวสุดฮอตอีกแห่งหนึ่งของแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ในที่สูง ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนประมาณ 44 กิโลเมตร ความชุ่มชื้นในหน้าฝน ทำให้เราต้องเดินทางฝ่าไอหมอก ไปยังหมู่บ้านที่อยู่เหนือเมฆ ประกอบด้วย 24 ครัวเรือนอยู่กันอย่างมีความสุข ด้วยความงามของป่าสนทั้ง 2 ใบ และ 3 ใบ ที่โอบล้อมรอบทะเลสาบ ภายในโครงการฯ มีสวนไม้ดอก ไม้ผลเมืองหนาวที่สวยงาม ให้ได้ศึกษาเป็นจำนวนมากแถมยังให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ด้วยข้อความที่น่าอ่าน สวนปางอุ๋ง เกิดขึ้นเพื่อให้มีพันธุ์พืชที่กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศบนที่สูง และโครงการฯ อนุญาตให้กางเต็นท์พักแรมในสถานที่ที่กำหนดได้ เว็บข้อมูลruamthai.maehongson-strategy.net

และนี่เป็นเพียงชุมชนชาวไทยภูเขาเพียงไม่แห่งในแม่ฮ่องสอนที่เรานำมาแนะนำกัน ถ้าอยากรู้ว่าแต่และแห่งจะสวยงามสมคำร่ำลือหรือไม่...อย่างไรนั้น ต้องไปสัมผัสด้วยตัวคุณเอง ^___^






ขอขอบคุณข้อมูลจาก
และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน




 

Create Date : 09 กันยายน 2554    
Last Update : 9 กันยายน 2554 7:30:31 น.
Counter : 1769 Pageviews.  

ย้อนรอยละคร "รอยไหม" ที่คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่




ประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เวียงโกศัย นั้นกล่าวว่า ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่างปี พ.ศ.1470-1560 พระนางจามเทวีเข้าครอบครองแคว้นล้านนาได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากเมืองพลนครเป็น โกศัยนคร หรือ เวียงโกศัย ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร นับแต่นั้นมาก็มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาโดยตลอดจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเจ้าพิริยะเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองเมืองแพร่องค์ที่ 18 เป็นเจ้าหลวงกำกับด้วยข้าหลวงซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ เป็นข้าหลวงองค์แรก

ต่อมาในปี พ.ศ.2445 พวกเงี้ยวได้ก่อการกบฏขึ้นโดยยึดสถานีตำรวจ ศาลากลาง ปล้นเงินคลังและปล่อยนักโทษออกจากคุก พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยวจับตัวและถูกบังคับให้ยกเมืองให้ แต่พระยาไชยบูรณ์ไม่ยินยอมจึงถูกจับประหารชีวิต เมื่อความทราบถึงในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงเข้าปราบปรามพวกเงี้ยวจนราบคาบ เจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ เกรงพระราชอาญาจึงลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบางและถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.2452 นับแต่นั้นมาก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกเลย




ปัจจุบันเมืองแพร่แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเมืองที่การท่องเที่ยวคึกคักมากนัก แต่ด้วยเป็นเมืองที่มีธรรมชาติขุนเขาป่าไม้เขียวขจี เมื่อรวมกับศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ที่คนเมืองแพร่ยึดถือปฏิบัติจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบแล้ว จึงเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเมืองแห่งนี้มากยิ่งขึ้น

ในเมืองแพร่ยังมีศิลปกรรมแบบกึ่งคลาสสิคที่สร้างเมื่อราวร้อยกว่าปีนี่เองก็คือคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ เป็นอาคารทรงอิตาเลี่ยนเก่าแก่ที่พำนักของเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะมีการก่อกบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2435 เป็นแบบยุโรปประยุกต์หลังคาสูงทรงปันหยา 2 ชั้น มีลวดลายเถาไม้แกะสลักประดับตัวบ้าน เช่นที่หน้าจั่ว ช่องลม ชายน้ำ ประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนทั้ง 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็ม แต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็งรองรับฐานเสาทั้งหลัง ภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่และภาพถ่ายที่หายากของเมืองแพร่




คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ เคยเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวเสด็จมาเยี่ยมเยืยนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2501 นอก จากนั้นอาคารหลังนี้ยังได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2536

เรื่องราวความลี้ลับของคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่นั้นเต็มไปด้วยตำนานที่น่าสะพรึ่งกลัว ด้วยในอดีตบริเวณใต้ถุนอาคารหลังนี้เคยเป็นที่คุมขังนักโทษมานานนับศตวรรษ ชาวบ้านทั่วไปไม่อาจที่จะล่วงรู้ คงมีแต่คำเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ล่วงลับดับขานไปแล้วเล่าสืบต่อกันมาถึงเกี่ยวกับภูตผีวิญญาณต่างๆ ของบรรดาผีทาสที่เสียชีวิตจากการถูกพันธนาการอย่างโหดเหี้ยม

คุกทาสที่กลายมาเป็นที่คุมขังนักโทษในตอนปลาย ๆ ก่อนจะหมดระบบศักดินาแห่งนี้ อยู่ใต้ถุนคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่หรืออาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่หลังเก่า เป็นเหมือนห้องใต้ดินขนาดใหญ่แบ่งเป็นห้อง ลึก 2 ชั้น มีพื้นที่โล่งด้านหน้าสำหรับควบคุมตรวจตราบรรดานักโทษ ห้องด้านหน้าด่านแรกแยกเป็น 3 ห้องเรียงกันกว้าง 15 เมตร แต่ละห้องมีปล่องซี่กรงเหล็กที่เพิ่งเจาะขึ้นทีหลัง แสดงว่าในสมัยก่อนที่ขังทาสไม่มีปล่องให้เห็นเดือนเห็นตะวัน




ภายใต้อาคารคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่หลังนี้เคยใช้เป็นที่คุมขังทาสมาไม่น้อยกว่า 50 ปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประกาศเลิกทาส คุกทาสแห่งนี้เลยกลายมาเป็นที่คุมขังนักโทษทั่วๆ ไปของเจ้าเมืองหรือข้าหลวงในสมัยต่อๆมา จนกระทั่งมีการสร้างเรือนจำเมืองแพร่ขึ้น คุกทาสอันยาวนานของคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่จึงว่างลง หลงเหลือไว้เพียงตำนานภาพหลอนและวิญญาณพยาบาท

กระทั่งถึงสมัยนายธวัช รอดพร้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ปี พ.ศ.2528 เรื่องราวปริศนาและอาถรรพณ์ลี้ลับก็เกิดขึ้นภายในคุ้มเจ้าหลวงแห่งนี้ ในบทความของสำเริง มณีวงศ์ ได้เขียนไว้ในสยามอารยะ ถึงอำนาจมืดภายใน คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ว่า หลังจากที่นายธวัช รอดพร้อม ได้เข้ามาพักอาศัยจวนหลังนี้ได้เพียงชั่วคืนก็เกิดเหตุการณ์ประหลาด เมื่อญาติของผู้ว่าคนหนึ่งกำลังเดินลงบันไดจากชั้นบนลงมาชั้นล่างเพื่อทำธุระส่วนตัว ก็เกิดหกล้มกลิ้งตกบันได ทุกคนต่างสะดุ้งตกใจสอบถามเรื่องราวได้ความว่า ขณะที่กำลังเดินลงบันไดอยู่เหมือนมีมือประหลาดยื่นออกมาจับขาไว้อย่างแรง จนสะดุดหกล้ม นอกจากนั้นยังมีเหตุการณ์แปลกๆ เกิดขึ้นภายในจวนผู้ว่าฯ อีกหลายประการ จนผู้ว่าราชการธวัช รอดพร้อม ได้อัญเชิญพระพุทธรูปวิโมกข์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์จากหลวงปู่โง่น โสรโยจากจังหวัดพิจิตร นำมาประดิษฐานบนแท่น ใต้ต้นโพธิยักษ์เก่าแก่อายุกว่า 200 ปีข้างๆ อาคารคุ้มเจ้าหลวงและจัดทำพิธีทำบุญล้างจวน
นับแต่นั้นมาเรื่องราวปริศนาแห่งอาถพรรณ์วิญญาณภายใน คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ก็กลายเป็นเรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อมากันมาจนถึงปัจจุบัน

อาคารคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ตั้งอยู่ในบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ถนนคุ้มเดิม ปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมบริเวณภายนอกในช่วงเวลาราชการตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น.















ขอคุณภาพจาก sadoodta




 

Create Date : 08 กันยายน 2554    
Last Update : 8 กันยายน 2554 7:38:51 น.
Counter : 2425 Pageviews.  

"เกาะเสม็ด" เกาะสวรรค์เมืองระยอง



กาะเสม็ด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อของจังหวัดระยองที่สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เชื่อกันว่า คือ เกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ ใน ปัจจุบันได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมาก

     ที่ตั้งของเกาะเสม็ดนั้น ตั้งอยู่ตำบลเพ อำเภอเมือง อยู่ห่างจากชายฝั่งบ้านเพประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,125 ไร่ มีลักษณะเป็นเกาะรูปสามเหลี่ยม เหตุที่มีชื่อว่า “ เกาะเสม็ด” เพราะเกาะนี้มีต้น "เสม็ดขาว" และ "เสม็ดแดง" ขึ้นอยู่มาก ซึ่งในอดีตชาวบ้านนำมาใช้ทำไต้จุดไฟ

     จุดเชื่อมต่อการเดินทางหลักของเกาะเสม็ดอยู่ที่หมู่บ้านหน้าด่าน ซึ่งจะมีเรือข้ามฟากจากท่าบ้านเพในตัวเมืองระยองมาจอดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งค่าโดยสารระหว่าง บ้านเพ-หาดทรายแก้ว (ท่าเรือหน้าด่าน)ไป-กลับ 100 บาท เรือเมล์เริ่มให้บริการตั้งแต่ 08.00 - 16.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที และเรือ speed boat ราคาประมาณ 1,500 - 2,600 บาทต่อเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับจำนวนคนและขนาดของเรือ

     จากบ้านเพไปหาดต่างๆ สามารถนั่งเรือมาลงท่าเรือหน้าด่าน ค่าโดยสารประมาณ 50 บาทต่อคน ใช้เวลาประมาณ 40 นาที สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ท่าเรือ นวลทิพย์ โทร. 0-3865-1508, 0-3865- 1956

ข้อมูลโดย : สีสันตะวันออก : Colours of the East






 

Create Date : 07 กันยายน 2554    
Last Update : 7 กันยายน 2554 8:31:32 น.
Counter : 2438 Pageviews.  

ปราสาทภูมิโปน




ปราสาทภูมิโปน ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และก่อศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13 ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็กที่ตั้งตรงกลางและปราสาทที่มีฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้นั้นสร้างขึ้นในสมัยหลัง

ปราสาทภูมิโปน คงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกายเช่นเดียวกับศาสนสถานแห่งอื่นในรุ่นเดียวกัน แม้ไม่พบรูปเคารพซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์อยู่ภายในปรางค์ แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนตร์ที่ต่อออกมาจากแท่นฐานรูปเคารพในห้องกลางติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ- บัวเชด) จนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ

ที่มา. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย







 

Create Date : 06 กันยายน 2554    
Last Update : 6 กันยายน 2554 7:26:40 น.
Counter : 1476 Pageviews.  

"ถ้ำละว้า"ถ้ำสวยแห่งอุทยานแห่งชาติไทรโยค

"ถ้ำละว้า" อีกหนึ่งถ้ำที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติไทรโยค อีกหนึ่งอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ 2 อำเภอของจังหวัดกาญจนบุรี คือ อำเภอไทรโยค และอำเภอทองผาภูมินั่นเอง


     ถ้ำละว้า เป็นถ้ำที่สวยงามมาก ถูกค้นพบโดยนายผิน ดอกเข็ม เมื่อปี พ.ศ. 2496 บริเวณปากถ้ำไม่กว้างนัก ต้องเดินเท้าขึ้นถ้ำประมาณ 50 เมตร แต่ภายในถ้ำกว้างขวางใหญ่โต มาก ถ้ำลึกประมาณ 450 เมตรแบ่งเป็นห้องต่างๆ เช่น ห้องท้องพระโรง ห้องดนตรี ห้องม่าน ห้องพระปรางค์

     โดยแต่ละห้องมีความงดงามของหินย้อยแตกต่างกันออกไป บ้างเหมือนม่านโรงละคร บ้างมีประกายระยิบระยับราวกับโรยด้วยกากเพชร นอกจากนี้ภายในถ้ำยังปรากฏหลักฐาน เช่น โลงศพมนุษย์โบราณ ฟันมนุษย์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า แต่เดิมน่าจะเคยมีมนุษย์โบราณอาศัยอยู่


     การเดินทาง ถ้ำละว้า อยู่ห่างจากน้ำตกไทรโยคไปทางตอนใต้โดยทางน้ำประมาณ 20 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 75 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ก่อน ถึงน้ำตกไทรโยคน้อย 1 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายไปทางท่าเรือปากแซงเพื่อเช่าเหมาเรือไปถ้ำละว้า ราคาประมาณ 1,000 บาท/ลำ นั่งได้ 10 - 12 คน ใช้เวลาประมาณ 45 นาที หรือขับรถไปทางสะพานแก่งระเบิด ลัดเลาะไปตามถนนลาดยางจนถึงถ้ำ ประมาณ 18 กิโลเมตร

ข้อมูลโดย : องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี
เว็บไซต์ : //www.kanchanaburicity.com/
ภาพ : กรมการท่องเที่ยว






 

Create Date : 05 กันยายน 2554    
Last Update : 5 กันยายน 2554 8:35:27 น.
Counter : 2787 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.