ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

เที่ยวตลาดร่มหุบ...Amazing แม่กลอง






ตลาดร่มหุบ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ตลาดแม่กลอง แต่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า ตลาดเสี่ยงตายเป็นตลาดที่ติดอยู่กับ สถานีรถไฟแม่กลอง และก็เป็นส่วนหนึ่งของตลาดเทศบาลจังหวัดสมุดสงคราม

ตลาดร่มหุบ เริ่มมาตั้งขาย บริเวณทางริมรถไฟประมาณปี พ.ศ. 2527 เป็นตลาดที่อยู่บนทางรถไฟ สายแม่กลอง-บ้านแหลมพ่อค้า-แม่ค้า ตั้งแผงสองข้างทางรถไฟ ส่วนลูกค้าก็อาศัยทางรถไฟเป็นถนน สำหรับจับจ่ายซื้อของ นักท่องเที่ยวหลายคน ใช้ วิธีท่องเที่ยว โดยการมาขึ้น รถไฟที่สถานีรถไฟบ้านแหลม มายังสถานีรถไฟแม่กลอง ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ กระจาด กระบุง ตะกร้า จะถูกจัดวางเข้าๆออกๆ อย่างเป็นระเบียบและรวดเร็วภายในพริบตา รถไฟขบวนนี้เป็น สายสั้น จากสถานีมหาชัยถึงสถานีแม่กลอง เมื่อได้ยินเสียงระฆังหรือธงที่โบกสะบัด จากนายสถานี ก็เริ่มจับตา มอง ต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เรียกได้ว่าเป็นงาน ประจำของพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายเหล่านี้ แต่เป็นเสน่ห์ และความสนุกสนานของบรรดานักท่องเที่ยวนั่นเองเมื่อรถไฟผ่านไป ทุกอย่างกลับคืนสู่สภาพเดิม
และถ้าใครอยากมาเที่ยวที่นี่ เพื่อดูร่มหุบแล้วล่ะก็ คงต้องมากันให้ถูกเวลา กำหนดเวลาเดินรถไฟสายแม่กลอง- บ้านแหลม เวลาเข้า-ออก (จำนวน 2 โบกี้) คือ ออก : 6.20 น.,9.00 น. ,11.30 น.,15.30 น. เข้า :8.30 น. 11.10 น.15.30 น. แน่นอนว่าเมื่อมีโอกาสมาตลาดแม่กลองแล้ว อาหารที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยติดอันดับนั่นก็คือ ปลาทูหน้างอ คอหัก ที่ต้องบอกว่าอร่อยที่สุด โดยเฉพาะหน้าหนาว



การเดินทาง

1. รถส่วนตัว

จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 ถนนพระราม 2 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ เดิม) ไปถึงหลัก กม.ที่ 63 ชิดซ้าย ใช้้ทางคู่ขนานต่างระดับ เข้าตัวเมืองสมุทรสงครามถึงสี่แยกแรกตรงไปเข้าตัวตลาดถึงสี่แยกที่สอง(แยก โรงพยาบาล สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า) เลี้ยวขวาและตรงไป ข้ามทางรถไฟ ก็จะถึง ตลาดแม่กลอง หรือตลาดรถไฟ

2. รถไฟ
รถไฟไปแม่กลอง จะเริ่มจากวงเวียนใหญ่ (นั่งจากหัวลำโพงไม่ได้) โดยไปลงที่มหาชัย และจากมหาชัยนั่งเรือข้ามฟากไปฝั่งท่าฉลอม เพื่อขึ้นรถไฟต่อจากสถานีบ้านแหลมไปยังแม่กลอง(ปลายทาง)ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 10บาท(ตอนนี้ฟรี) ถ้าคุณอยู่ที่โบกี้สุดท้าย แล้วมองผ่านกระจกหลังรถออกไป เวลาผ่าน ตลาด พอรถไฟผ่านไป พ่อค้าแม่ค้าก็จะกลับมาตั้งร้านเหมือนเดิม ชนิดไล่หลังรถไฟกันเลยทีเดียว


3.รถประจำทาง,รถตู้
บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-สมุทรสงคราม ลงที่ตลาดแม่กลองได้เลย โดยมีรถจากสถานี ขนส่งสายใต้ ตั้งแต่เวลา 05.50-21.00 น. โทร. 0 2435 1199, 0 2435 5605 รถปรับอากาศ (ดำเนินทัวร์) โทร. 0 2435 5031 หรือที่เว็บไซต์ //www.transport.co.th หรือนั่งรถตู้จากอนุสาวรีย์ชัย สายแม่กลอง มีรถออก ทุกชั่วโมง ไปลงที่ตลาดแม่กลอง



ขอบคุณ.paiduaykan และ ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต




ที่มา //variety.teenee.com/foodforbrain/39386.html




 

Create Date : 20 กันยายน 2554    
Last Update : 20 กันยายน 2554 8:02:54 น.
Counter : 1875 Pageviews.  

มนต์เสน่ห์ท้องทะเลงามที่ "แหลมแท่น"



"แหลมแท่น" สถานที่นี้อยู่บริเวณหาดบางแสนเลยมาทางเขาสามมุข เป็นจุดเที่ยวที่บางแสนอีกจุดหนึ่งของบางแสน และยังเป็นสถานที่มีความสวยงาม เป็นแหลมที่ยื่นออกไปไม่มากนัก บริเวณนี้มักจะมีผู้คนมาตกปลากันมาก ที่มีความโดดเด่นคือมีศาลาทรงไทยและลานชมทิวทัศน์ที่สวยงาม มีปติมากรรมรูปปลาโลมากับเกลียวคลื่นสวยงามมาก

     ซึ่งอนุสาวรีที่กล่าวมานี้เป็นอนุสาวรีย์ที่แสดงถึงความรักหวงแหนของชาวแสนสุข หรือ ชุมชนแห่งนี้ ในช่วงเย็นๆก็จะมีผู้คนจากที่ต่างๆ ในจังหวัดและที่อื่นมาพักผ่อนกันมากมาย มีร้านขายอาหารแต่จะมากก็ช่วงวันศุกร์-เสาร์ อาหารก็มีตั้งแต่ ส้มตำ อาหารทะเล เครื่องดื่มชนิดต่างๆ เพราะบรรยากาศดีและมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ที่สำคัญในวัน ศุกร์และวันเสาร์ยังใช้เป็นสถานที่จัดงาน walkingstreet อีกด้วย

     ในปัจจุบันนี้ต่างจากเมื่อก่อนมาก มีการจัดแต่งได้สวยงาม มีการดูแลความสะอาดที่ดี ที่สำคัญอย่าลืมถ่ายรูปคู่กับหินก้อนใหญ่เพราะเป็นสัญลักษณ์ของที่นี่ และเป็นจุดชมวิวที่ดีที เดียว ท่านสามารถมองจากที่นี่ไปที่เขาสามมุขได้โดยจะเห็นเขาทั้งลูก ส่วนทางด้านหาดบางแสนก็จะสามารถมองเห็นแนวหาดบางแสนเป็นแนวยาวสุดตา




ข้อมูลโดย :
สีสันตะวันออก : Colours of the East





ที่มา //travel.thaiza.com




 

Create Date : 19 กันยายน 2554    
Last Update : 19 กันยายน 2554 8:37:44 น.
Counter : 1912 Pageviews.  

วัดธาตุน้อย



วัดธาตุน้อย หรือวัดพระธาตุน้อย
ตั้งขึ้นโดยความประสงค์ของพ่อ ท่านคล้าย (พระครูพิศิษฐ์อรรถการ) พระเกจิอาจารย์ที่ชาวใต้เลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงยิ่งรูปหนึ่ง มีเนื้อที่ 46 ไร่ สร้างขึ้นบนที่ดินซึ่งนายกลับ งามพร้อม ถวายแด่พ่อท่านคล้าย ท่านจึงได้สร้างพระธาตุน้อยขึ้นใน ปี 2504 ลักษณะของพระธาตุน้อยเป็นการจำลองพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เพียงแต่งย่อส่วนให้เล็กลงเป็นเจดีย์ ทรงลังกา ฐานด้านกวางด้านละ 27 เมตร สูง 70 เมตร องค์เจดีย์สีขาวเด่นส่วนปลียอดแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกทาสีขาว ช่วงกลางหุ้มโมเสด ช่วงยอดสุดหุ้มด้วยทองคำหนัก 400 บาท ขณะนี้สรีระพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ สถานที่นี้จึงเป็นเจดีย์อนุสรณ์สถานพ่อท่านคล้ายอีกด้วย


ข้อมูลจาก: siamfreestyle.com




 

Create Date : 18 กันยายน 2554    
Last Update : 18 กันยายน 2554 10:17:30 น.
Counter : 1377 Pageviews.  

9 สถานที่สักการะ พระพิฆเนศ ในกรุงเทพ



พระพิฆเนศ หรือ พระพิฆนเศวร เป็นเทพที่มีผู้คนนับถือและเคารพมากที่สุด เนื่องจากเป็นเทพที่มีพระกรุณา และถือกันว่าเป็นปฐมเทพที่จะได้รับการบูชาก่อนเริ่มพิธีกรรมต่าง ๆ เพราะได้รับพรจากศิวเทพเรื่องความเฉลียวฉลาด และเป็นเทพที่มีสติปัญญาล้ำเลิศ ซึ่งหลายต่อหลายคนศรัทธาแรงกล้า ข้ามน้ำข้ามทะเลไปบูชาองค์พระพิฆเนศไกลถึงประเทศอินเดีย แต่วันนี้ไม่ต้องไปไกลขนาดนั้น เพราะกระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ เดินทางไปกราบนมัสการ "พระพิฆเนศ" ภายในกรุงเทพมหานครกันค่ะ

1. พระพิฆเนศ เทวสถานหรือโบสถ์พราหมณ์

ข้อมูลสถานที่ : เทวสถาน หรือ โบสถ์พราหมณ์ เป็นโบราณสถานสำคัญของไทย ดูแลโดยคณะพราหมณ์นำโดยพระราชครูวามเทพมุนี กองพระราชพิธีสำนักพระราชวัง ประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเนศที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ มีสถานให้สักการะ 3 สถานได้แก่ สถานพระอิศวร สถานพระคเณศ สถานพระนารายณ์ เขาไกรลาสจำลองด้านหน้ามีดอกไม้ธูปเทียนจำหน่าย เพื่อนำเงินเข้าบำรุงเทวสถาน

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระคเนศ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระสุรัสวดี พระอุมาภควดี พระลักษมีเทวี ฯลฯ หงส์สำหรับชิงช้าในวันตรียัมปวาย นางกระดานทั้งสามแผ่นและเทวรูปอื่น ๆ

ตั้งอยู่ที่ : ริมถนนดินสอ บริเวณเสาชิงช้า วัดสุทัศน์ และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

เวลาเปิด : วันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์จะเปิดให้เข้าไปสักการะได้ถึงในโบสถ์ แต่วันอื่น ๆ จะให้สักการะได้เฉพาะหน้าศาลพระพรหม ดูรายละเอียดเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้าเพิ่มเติมได้ที่นี่

2. พระพิฆเนศ วัดพระศรีอุมาเทวี (วัดแขก)

ข้อมูลสถานที่ : วัดพราหมณ์-ฮินดูที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย ประดิษฐานพระแม่มารีอัมมันเป็นองค์ประธาน ในบางคติจะเข้าใจว่าคืออีกภาคหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี ชายาแห่งพระศิวะ ภายในมีถาดผลไม้จำหน่ายชุดละ 60 บาทเพื่อร่วมทำบุญกับทางวัด วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่จัดเทศกาลนวราตรี หรืองานแห่เทวรูปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระแม่มารีอัมมัน พระศิวะ พระแม่อุมาเทวี พระพิฆเนศ พระขันทกุมาร พระวิษณุ พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวตี ด้านนอกโบสถ์มีศาลพระพรหมแบบฮินดูที่ถูกต้องที่สุดในไทย มีเทวาลัยประดิษฐาน ศิวลึงก์ เทวาลัย เทพนพเคราะห์ ยันต์พระแม่ลักษมีขนาดใหญ่มากแกะสลักอยู่ผนังอีกด้านหนึ่ง พร้อมทั้งรูปปั้นพระกัตวรายันและนักบวชเทพเทวดาต่าง ๆ

ตั้งอยู่ที่ : ถนนปั้นตัดกับถนนสีลม รถไฟฟ้าใกล้เคียงคือ BTS สถานีศาลาแดง รถไฟฟ้าใต้ดินคือ MRT สถานีสีลม หากเดินจากสถานีรถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดินไปยังวัดแขกใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที หรือนั่งรถเมล์-มอเตอร์ไซค์รับจ้างต่อไปได้

เวลาเปิด : ทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00 - 20.00 น. ทั้งนี้ มีกฏระเบียบคือแต่งกายสุภาพ และห้ามนำอาหารของคาวเข้าไป

3. พระพิฆเนศ หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์

ข้อมูลสถานที่ : แยกราชประสงค์ เป็นสี่แยกธุรกิจที่มีเทวรูปของศาสนาพราหมณ์ ประดิษฐานอยู่ถึง 7 องค์ด้วยกัน ที่นี่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้วัดแขกสีลม ผู้คนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลเข้ามาสักการะเทพทั้ง 7 พร้อมทั้งขอพรและได้รับความคุ้มครองกันถ้วนหน้า

เทวรูปที่ประดิษฐาน : หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ประดิษฐาน พระพิฆเนศ และ พระตรีมูรติ หน้าโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ ประดิษฐาน ท้าวมหาพรหม ที่โด่งดังไปทั่วโลก หน้าห้างสรรพสินค้าอมรินทร์พลาซ่า เป็นที่ประดิษฐาน ท้าวอัมรินทราธิราช หรือ พระอินทร์ จ้าวแห่งเทวดา ผู้ศรัทธากราบไหว้ขอพรให้มีแต่สิ่งดีงามขึ้นในชีวิต ตรงข้ามพระอินทร์ หน้าโรงแรมประดิษฐาน พระวิษณุทรงครุฑ หรือ พระนารายณ์ทรงสุบรรณ

บนห้างสรรพสินค้าเกษรพลาซ่า ประดิษฐาน พระแม่ลักษมี เทพีผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา ผู้เป็นพระชายาแห่งองค์พระวิษณุมหาเทพผู้รักษาโลก ผู้ศรัทธานิยมขอพรพระลักษมีให้มีความร่ำรวยและสมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กราบไหว้ พระนารายณ์ประทับยืนบนพญาอนันตนาคราช ซึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ว่า ในสถานที่ราชการแห่งนี้ มีเทวสถานของเทพศักดิ์สิทธิ์ประทับอยู่

ตั้งอยู่ที่ : สี่แยกราชประสงค์ ใกล้ประตูน้ำ รถไฟฟ้าที่ใกล้เคียงคือ BTS สถานีชิดลมและสถานีสยาม หากเดินจากสยามสแควร์มาแยกราชประสงค์ใช้เวลาประมาณ 10 นาที

เวลาเปิด : พระพิฆเนศ และ พระตรีมูรติ (พระปัญจมุขี) เดินเข้าไปสักการะได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ท้าวมหาพรหม หน้าโรงแรมเอราวัณ ตอนกลางคืนจะปิดรั้ว แต่อยู่นอกรั้วสักการะได้ มี รปภ.คอยเฝ้าดูแล สามารถยื่นดอกไม้ให้ รปภ.นำไปถวายหน้าเทวรูปพระพรหมได้ / พระอินทร์ หน้าห้างอมรินทร์พลาซ่า เข้าไปสักการะได้ตลอด 24 ชั่วโมง / พระแม่ลักษมี เปิด-ปิดตามเวลาของห้างเกษรพลาซ่า / พระนารายณ์ทรงสุบรรณ สักการะได้ตลอด 24 ชั่วโมง / พระนารายณ์ประทับยืนบนพญาอนันตนาคราช สักการะได้ตามเวลาราชการ

4. พระพิฆเนศ วัดวิษณุ สมาคมฮินดูธรรมสภา

ข้อมูลสถานที่ : วัดวิษณุ ก่อตั้งโดยสมาคมฮินดูธรรมสภา ภายในประดิษฐานเทวรูปแกะสลักจากหินอ่อน มีความงดงามตามแบบศิลปะอินเดียเหนือ เป็นโบสถ์ที่มีเทวรูปประดิษฐานมากที่สุดในประเทศไทย ภายในเย็นสบาย มีพัดลมบริการ สามารถนั่งสมาธิได้ และเป็นวักหนึ่งเดียวในไทยที่มีเทพครบทุกองค์

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ พระวิษณุ พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวดี พระพรหม พระศิวะ พระแม่ทุรกา พระพุทธเจ้า พระกฤษณะ พระราม เมื่อเดินลงมาจากโบสถ์ ให้เดินเข้าไปด้านข้างๆของโบสถ์ จะพบกลุ่มเทวาลัยเล็ก ๆ อีกมากมาย มีเทวาลัยพระแม่คงคาทรงจระเข้ องค์พระศิวะขนาดใหญ่ พระขันทกุมารหกเศียร ครอบครัวพระศิวะพระแม่อุมาเทวี เทพนพเคราะห์ มีศิวลึงก์ทำจากหินกระจายอยู่ตามต้นไม้ในวัด สามารถเอานมไปเทถวายศิวลึงก์ (บางองค์) เพื่อขอพร

ตั้งอยู่ที่ : ตรงข้ามวัดปรก ยานนาวา หากมาทางรถไฟฟ้า BTS ให้ลงสถานีสะพานตากสิน มีรถสองแถวบริการให้ระบุว่าลงที่วัดปรก หากใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่อยู่ใกล้กับ BTS ให้ระบุว่าไปวัดวิษณุตรงข้ามวัดปรก (ซอยวัดปรกอยู่ตรงถนนเจริญกรุง)

เวลาเปิด : ทุกวัน 06.00-19.00 น. (ปิด 3 ชั่วโมงระหว่าง 12.00-15.00) ควรไปหลังบ่ายสาม และเข้าร่วมบูชาไฟตอน 18.30 น.


5. พระพิฆเนศ วัดเทพมณเฑียร สมาคมฮินดูสมาช

ข้อมูลสถานที่ : ก่อตั้งโดยสมาคมฮินดูสมาช ภายในประดิษฐานเทวรูปแกะสลักจากหินอ่อน มีความงดงามตามแบบศิลปะอินเดียเหนือ พื้นปูพรมสามารถนั่งสมาธิได้ ผู้ศรัทธามักนำขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ ไปถวายสักการะเทพอยู่เสมอ (สามารถนำเทวรูปของตนไปให้พราหมณ์ที่นี่เบิกเนตรให้ได้ ทำบุญตามศรัทธา) เข้าร่วมพิธีอารตี หรือบูชาไฟ ได้ทุกวัน 18.30 น.

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ พระวิษณุ พระแม่ลักษมี พระแม่กาลี พระแม่สุรัสวดี พระพรหม พระศิวะ พระแม่ทุรกา พระพุทธเจ้า พระกฤษณะ พระราม ศิวลึงก์ หลุมศพพระนางสตี มีภาพจากมหาภารตะและมหาฤาษีสำคัญ ๆ บนผนังโบสถ์

ตั้งอยู่ที่ : ถนนศิริพงษ์ ใกล้โบสถ์พราหมณ์ วัดสุทัศน์ และเสาชิงช้า วัดเทพมณเฑียรตั้งอยู่ภายใน โรงเรียนภารตะวิทยาลัย ซึ่งโรงเรียนนี้อยู่ติดกับ โรงเรียนเบญจมราชาลัย และ สวนรมณีย์นาถ (จากเสาชิงช้าให้ไปทางพาหุรัด โรงเรียนภารตะวิทยาลัยจะอยู่ก่อนถึงสวนรมณีนาถ) ภายในเย็นสบาย มีพัดลมบริการ

เวลาเปิด : ทุกวัน 06.00-19.00 (ปิดสามชั่วโมงระหว่าง 12.00-15.00 น. เพื่อประกอบพิธีภายใน ซึ่งระหว่างที่ปิดเข้าได้เฉพาะชาวอินเดียและพราหมณ์เท่านั้น) ควรไปหลังบ่ายสาม ร่วมบูชาไฟตอนเวลา 18.30 น.

6. พระพิฆเนศ สี่แยกห้วยขวาง-รัชดา

ข้อมูลสถานที่ : เหตุที่ต้องสร้างพระพิฆเนศวรบริเวณสี่แยกห้วยขวาง-รัชดา เพราะสมัยก่อนบริเวณดังกล่าวเกิดอุบัตติเหตุบ่อยครั้ง อาจารย์สุชาติ รัตนสุข จึงมีความเห็นว่าควรมีรูปเคารพองค์เทพตั้งไว้เพื่อแก้เคล็ด ต่อมาท่านมอบองค์พระพิฆเนศวรให้มาประดิษฐานไว้บริเวณดังกล่าว

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศองค์ประธานของที่นี่เป็น ปางยืนประทานพร 1 เศียร 4 กร ทรงวัชระ บ่วง ขนมโมทกะ และงา ทรงมุทราประทานพร ก้าวเดินบนดอกบัว ตั้งอยู่ด้านหน้า ได้รับการกล่าวขานกันว่า เป็นพระพิฆเนศที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีเทวรูปพระศิวะ พระอุมา และพระคเนศประทับร่วมกันอยู่ภายในศาล มีเทวรูปพระคเนศ 3 เศียร (ตรีมุข) พระโคนนทิ พระยาภิเภก พระพรหมเทพ เหล่าฤษี และ เทวรูปพระคเนศประทับร่วมกับพระชายาทั้งสอง

ตั้งอยู่ที่ : ตรงหัวมุมบริเวณสี่แยกห้วยขวาง-รัชดา

เวลาเปิด : เดินเข้าไปสักการะได้ตลอด 24 ชั่วโมง

7. พระพิฆเนศ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรุงเทพ

ข้อมูลสถานที่ : วิทยาลัยนาฏศิลป์ เป็นสถาบันการศึกษาที่ยึดมั่นในองค์พระพิฆเณศวรอย่างสูงสุด สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้า เป็นที่ประดิษฐานพระพิฆเณศวร์ ซึ่งสร้างสรรค์โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยนายชื้น ชื่นประสิทธิ์ เป็นผู้ปั้นแบบ ประดิษฐานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ถือว่าเป็นประติมากรรมองค์พระพิฆเนศวร์ที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของไทย กาลต่อ ๆ มาก็ได้มีการจำลองเทวรูปของวิทยาลัยนาฏศิลป์แห่งนี้ไปประดิษฐานยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะวิทยาลัยนาฎศิลป์ทั่วประเทศ ก็ได้จำลององค์พระพิฆเณศวร์แบบเดียวกันนี้ไปประดิษฐานด้วย

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศวร ปั้นหล่อด้วยปูนซีเมนต์ สูงถึง 250 เซ็นติเมตร ประทับนั่งบนแท่นหิน สวมพระกุณฑล หรือ ต่างหูเป็นรูปหัวกะโหลก มี 4 พระกร ทรงวัชระ งาหัก บ่วงบาศ และชามขนม สวมสายธุรำเป็นรูปงู ด้านหลังเทวรูปเป็นแผ่นหินทรงกลม อันหมายถึงจักรวาลและความรู้อันใหญ่หลวง

ตั้งอยู่ที่ : บริเวณสนามหลวง เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ถนนราชินี เขตพระนคร กรุงเทพฯ (กรุณาแจ้ง รปภ.ก่อนว่าจะเข้ามาไหว้พระพิฆเนศ)

เวลาเปิด : เปิดตามเวลาสถาบันการศึกษา

8. เทวาลัยพระพิฆเนศวร วัดศรีสุดาราม

ข้อมูลสถานที่ : วัดนี้เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อ วัดชีปะขาว หรือ วัดชีผ้าขาว บางทีเรียก วัดปะขาว ก็มีสันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) ซึ่งเป็นพระพี่นางเธอของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์มาแต่ในรัชกาลนั้น ครั้นล่วงมาน้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้ามาจนถึงหน้าพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาขุนมนตรีเป็นแม่กองสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ โดยเลื่อนขึ้นจากที่เดิม ทรงโปรดให้เจ้าพนักงานปักกำหนดเขตรอบโรงพระอุโบสถลงใหม่ ใช้แทนวิสุงคามสีมาเดิม แล้วโปรดให้ลงเขื่อนหน้าวัด เพื่อป้องกันน้ำเซาะตลิ่งจนเป็นผลสำเร็จ ครั้นการทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดศรีสุดาราม ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เชื่อกันว่าสุนทรภู่เคยเรียนอยู่ที่นี่

เทวรูปที่ประดิษฐาน : เทวรูปพระพิฆเนศ ปางยืน มีพระพิฆเนศองค์เล็กสำหรับ "เสี่ยงทาย" โดยให้ทำการอธิษฐาน ผลการอธิษฐานเป็นเช่นไร ขอให้องค์พระพิฆเนศหนักเบา ดังนี้…

ยกครั้งที่ 1 ถ้าสิ่งที่อธิษฐานจะเป็นผลสำเร็จ จะสามารถยกพระพิฆเนศขึ้นจรดหน้าผากได้
ยกครั้งที่ 2 ถ้าสิ่งที่อธิษฐานจะเป็นผลสำเร็จ เทวรูปพระพิฆเนศจะหนักมาก ยกไม่ขึ้น

หากยกทั้งสองครั้ง เบาหนักสลับกัน หรือเบาทั้งสองครั้ง หรือหนักทั้งสองครั้ง สิ่งที่อธิษฐานจะไม่ประสบความสำเร็จ หรือประสบความสำเร็จยากต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างสูง

ตั้งอยู่ที่ : ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก เลขที่ 83 แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

เวลาเปิด : ตามเวลาวัด 06.00 - 18.00 น.

9. พระพิฆเนศวร วัดพระศรีมหาทุรคามณเฑียร

ข้อมูลสถานที่ : วัดแห่งนี้กำเนิดขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่มนักธุรกิจชาวอินเดีย สมาคมฮินดูสมาช และ สมาคมฮินดูธรรมสภา เพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวฮินดูในย่านนี้ วัดพระศรีมหาทุรคามณเฑียร กำลังดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ มีบัณฑิตพราหมณ์จากสมาคมฮินดูสมาช หรือ วัดเทพมณเฑียร เดินทางมาประกอบพิธีให้เป็นประจำ ชาวไทยสามารถเข้าไปสักการะองค์เทพภายในได้

เทวรูปที่ประดิษฐาน : เทพทุกพระองค์ แกะสลักจากหินอ่อน แต่ละองค์ขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ก็ล้วนเต็มไปด้วยพลังงานอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากวัดแห่งนี้ สร้างขึ้นจากความศรัทธาของชาวฮินดูที่รักในองค์เทพอย่างเต็มเปี่ยม

ตั้งอยู่ที่ : ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 5 เขตคลองสาน

เวลาเปิด : 15.00 - 19.00 น. (ร่วมพิธีอารตีได้ทุกวัน)



ที่มา //variety.teenee.com/foodforbrain/39310.html




 

Create Date : 17 กันยายน 2554    
Last Update : 17 กันยายน 2554 10:24:46 น.
Counter : 3227 Pageviews.  

วัดพระธาตุลำปางหลวง




เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่า มีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายได้แก่


พระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปรฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้าน ภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุน เป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อพระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่

วิหารหลวง วิหารขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเปนที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร

วิหารพระพุทธ
ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย
เมื่อหันหน้าเข้าหาวิหารหลวง ด้านขวามือ คือ วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (“แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ.2044 เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหลังหนึ่งทางภาคเหนือ ภายในเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดาน กำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลายทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก และประดิษฐานพระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร


ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น


กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปีมาแล้ว


วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. 1275 พระบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้


พิพิธภัณฑ์ รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่าง ๆ ที่หาชมได้ยาก เช่นสังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น


นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว ทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12 ตามคติความเชื่อของการไหว้พระธาตุปีเกิด พระธาตุลำปางหลวงเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีฉลู นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 07.30-17.00 น.

การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลำปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอำเภอเกาะคา จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอีก 1 กิโลเมตร หรือหากเดินทางโดย รถโดยสารประจำทาง สามารถใช้บริการรถสองแถวสีฟ้าที่ถนนรอบเวียงใกล้ตลาดออมสิน


ข้อมูลจาก: thai.tourismthailand










ขอบคุณภาพจาก siamfreestyle / และ huanjung




 

Create Date : 16 กันยายน 2554    
Last Update : 16 กันยายน 2554 7:48:19 น.
Counter : 1455 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.