ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

เทศกาลกินขนม...ชมแม่น้ำ ที่จังหวัดอ่างทอง

เทศกาลกินขนมชมแม่น้ำ

เทศกาลกินขนม...ชมแม่น้ำ ที่เมืองวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง (ททท.)

การท่องเทียวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุพรรณบุรี ขอเชิญร่วมงาน เทศกาล "กินขนม...ชมแม่น้ำ" โดยเทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญร่วมกับชาวตลาดศาลเจ้าโรงทอง กำหนดจัดกิจกรรมเทศกาล "กินขนม...ชมแม่น้ำ" ณ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง ตลาดจีน-ไทย สายใยร้อยปี วิถีวัฒนธรรม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ในระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 25 กันยายน 2554 ระหว่างเวลา 08.30-16.00 น. (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์)

กิจกรรมภายในงานเทศกาล "กินขนม...ชมแม่น้ำ" ท่านจะได้ลิ้มลองรสชาติของขนมไทยที่แสนอร่อยสูตรดั้งเดิม ชมการสาธิตการทำขนมของดีเมืองวิเศษชัยชาญ เช่น ขนมเกสรลำเจียก จ่ามงกุฎ ทองเอก ขนมไข่ปลา ขนมสามเกลอ เป็นต้น ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง การแข่งขันกีฬาเปตอง ชิงถ้วยและเงินรางวัล การแข่งขันเรือยาวพื้นบ้าน นั่งเรือสัมผัสวิถีชีวิตริมสองฝั่งแม่น้ำน้อยด้วยเรือท่องเที่ยว "วิเศษไชยชาญ"

เทศกาลกินขนมชมแม่น้ำ

นอกจากนี้ ท่านยังได้เที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง ในพื้นที่อำเภอวิเศษชัยชาญ อาทิเช่น นมัสการหลวงพ่อหนุ่มวัดนางใน สักการะศาลเจ้าพ่อกวนอูซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวตลาดศาลเจ้าโรงทอง นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง ชมภาพจิตรกรรมฝาผนัง และสักการะอนุสาวรีย์วีรชนนายดอกนายทองแก้ว วัดวิเศษชัยชาญ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามที่มีเรื่องราวทศชาติชาดกวัดเขียน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ (วัดม่วง) ...จะได้เป็นใหญ่เป็นโต และสัมผัสกับบรรยากาศตลาดน้ำ และจับจ่ายใช้สอยสินค้าชุมชนของจังหวัดอ่างทองได้ที่ตลาดน้ำ "เอนกฟาร์ม ทุ่งอ่างทอง"

ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ โทรศัพท์ 0 4563 1405 , 0 3563 1413 ติดต่อโดยตรงกับปลัดเทศบาล โทรศัพท์ 0 86 571 6771






ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก




 

Create Date : 29 สิงหาคม 2554    
Last Update : 29 สิงหาคม 2554 22:16:59 น.
Counter : 1692 Pageviews.  

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ 2554

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ (ททท.)

งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ เป็นงานประเพณีเก่าแก่ มีความแปลกที่ไม่มีในจังหวัดอื่น ๆ ชาวเพชรบูรณ์ไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลแค่ไหน ในวันสารทไทยของทุกปี ชาวเพชรบูรณ์จะแห่กันมาเที่ยวงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำมักเรียกชื่องานประเพณีต่าง ๆ กันไป ชาวบ้านเรียกว่า "อุ้มพระอาบน้ำฎ บ้างก็เรียกว่า "อุ้มพระสรงน้ำ" บางคนก็เรียกว่า "งานประเพณีสารทไทยวัดไตรภูมิ" หรือ "ประเพณีอันเชิญพระพุทธรูปลงสรงน้ำ" ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 นายปรีชา พงศ์อิศวรานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายชาญ โฆษิตานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ และคณะกรรมการจัดงานได้ร่วมประชุม แล้วมีมติให้ใช้ชื่อ "งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ" เป็นต้นมา

พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ใช้ในการประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จากคำบอกเล่าของชาวเพชรบูรณ์สืบต่อกันมาว่า เมื่อประมาณ 400 ปีที่ผ่านมาว่า มีชาวเพชรบูรณ์กลุ่มหนึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำอยู่ในลำน้ำป่าสัก อยู่มาวันหนึ่ง ชาวประมงกลุ่มนี้ได้ออกหาปลาตามปกติเช่นทุกวัน เผอิญวันนั้นเกิดเหตุการณ์ประหลาด ตั้งแต่เช้าถึงบ่ายไม่มีใครจับปลาได้เลยสักตัว ดังกับว่าพื้นใต้น้ำไม่มีสิ่งที่มีชีวิตอาศัยอยู่ สร้างความงุนงงแก่พวกเขาเป็นอย่างมาก ต่างพากันนั่งปรึกษาว่าจะทำประการใดดี ซึ่งบริเวณที่ชาวประมงนั่งปรึกษากันอยู่ ปัจจุบันคือ วังมะขามแฟบ (คำว่า มะขามแฟบ หมายถึง ไม้ระกำ) บริเวณดังกล่าวอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

ทันใดนั้น กระแสน้ำในแม่น้ำก็หยุดไหล นิ่งอยู่กับที่ แล้วค่อย ๆ มีพรายน้ำผุดขึ้นมาทีละฟอง ทวีมากขึ้น มองดูคล้ายกับน้ำกำลังเดือนอยู่บนเตาไฟ ไม่นานก็เปลี่ยนเป็นวังวนขนาดใหญ่และลึกมาก ณ ที่แห่งนั้นทุกคนต่างมองดูด้วยความมึนงง เหตุการณ์ดำเนินต่อไป จนกระแสวังวนแห่งนั้นได้เริ่มคืนสู่สภาพเดิม และดูดเอาพระพุทธรูปองค์หนึ่งขึ้นมาจากพื้นใต้น้ำแห่งนั้น ลอยขึ้นมาอยู่เหนือผิวน้ำ มีการดำผุดดำว่ายอยู่ตลอดเวลา เหมือนอาการของเด็กเล็ก ๆ ที่กำลังเล่นน้ำ เป็นที่แน่นอนว่าชาวประมงกลุ่มนั้นได้ประจักษ์ถึงความศักดิ์สิทธิ์ จึงได้ลงไปอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานไว้บนบก ให้ผู้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา และพร้อมใจกันอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ "วัดไตรภูมิ"

ในปีต่อมา ครั้งถึง "เทศกาลสารทไทย" พระพุทธรูปที่ถูกอัญเชิญขึ้นมาจากน้ำได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย ชาวบ้านชาวเมืองก็ออกตามหากันเจ้าละหวั่น ในที่สุดก็ไปพบพระพุทธรูปองค์นี้ตรงบริเวณที่พบครั้งแรก และกำลังดำผุดดำว่ายอยู่พอดี จึงได้อัญเชิญกับมายังวัดไตรภูมิอีกครั้งหนึ่ง

นับแต่นั้นมาเมื่อถึงเทศกาลสารไทยซึ่งตรงกับ วันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี ภายหลังจากถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์แล้ว เจ้าเมืองเพชรบูรณ์สมัยนั้น พร้อมด้วยข้าราชการ ตลอดจนประชาชนในเมืองเพชรบูรณ์ ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ ทำพิธีสรงน้ำที่วังมะขามแฟบ ตรงที่พบครั้งแรกเป็นประจำทุกปี หากปีใดน้ำน้อยเข้าไปไม่ได้ ก็จะอัญเชิญไปสรงน้ำ ณ บริเวณวัดโบสถ์ชนะมาร อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นผู้ทำพิธี

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

สำหรับในปี 2554 นี้ "งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ" และ "งานเทศการอาหารอร่อย" จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 -29 สิงหาคม 2554 ณ วัดไตรภูมิ และวัดโบสถ์ชนะมาร ส่วนพิธีอุ้มพระดำน้ำนั้น จะทำพิธีในวันที่ 27 สิงหาคม 2554 โดยมี นายกองเอกวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาลงดำน้ำทั้ง 4 ทิศ ที่แม่น้ำป่าสักหน้าวัดไตรภูมิแล้ว ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น พิธีทำบุญวันสารท ชมการบวงสรวงด้วยการฟ้อนรำชุดต่าง ๆ ในพิธีอุ้มพระดำน้ำ ลิ้มลองความอร่อยในเทศกาลอาหารอร่อยเพชรบูรณ์ ชมการแข่งเรือยาวประเพณี และมหรสพการละเล่นต่าง ๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ททท.สำนักงานพิษณุโลก โทรศัพท์ 0 5525 2743 และ ศูนย์บริการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ 0 5671 2866




ขอขอบคุณข้อมูลจาก




 

Create Date : 28 สิงหาคม 2554    
Last Update : 28 สิงหาคม 2554 10:18:07 น.
Counter : 1686 Pageviews.  

ย้อนรอยละครวนิดา ที่ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี





ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ถนนปราจีนอนุสรณ์ เป็นสถาปัตยกรรมตึกสองชั้นแบบยุโรปสมัยเรอเนสซองส์ มีมุขด้านหน้า ตรงกลางเป็นโดม ผนังด้านนอกเป็นปูนปั้นลายพฤกษาประดับซุ้มประตูและหน้าต่าง ภายในตกแต่งแบบตะวันตก




ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นตึกสองชั้นแบบยุโรป สมัยเรอเนสซองส์ มีมุขด้านหน้า ตรงกลางเป็นโดม ผนังด้านนอกเป็นปูนปั้นลายพฤกษาประดับซุ้มประตูและหน้าต่าง ภายในตกแต่งแบบตะวันตก เป็นตึกที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศรสร้างขึ้นโดยทรัพย์สินส่วนตัวในปี พ.ศ. 2452 เพื่อถวายเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากเสด็จประพาสมณฑลปราจีนอีกครั้ง แต่ไม่ทันได้เสด็จประทับพระองค์ก็เสด็จสวรรคตก่อน เมื่อ พ.ศ.2453
อย่างไรก็ตามที่นี่เคยใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.2455 รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์อีกหลายพระองค์ คราเสด็จมณฑลปราจีนบุรี โดยที่ท่านเจ้าของตึกนี้ไม่เคยใช้ที่นี่เป็นที่พำนักส่วนตัวเลย
ตึกนี้เคยใช้เป็นตึกอำนวยการ ชั้นล่างเป็นห้องตรวจโรค ห้องจำหน่ายยาและห้องผ่าตัด ชั้นบน ทำหน้าที่รับคนไข้หญิง จนถึงปี พ.ศ.2512 ที่ตึกอำนวยการหลังปัจจุบันเสร็จ
ปี พ.ศ.2533 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็นโบราณสถาน และได้มีการเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2539 โดยจัดทำเป็น พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร เป็นศูนย์การรวบรวมอนุรักษ์ตำราไทย สมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี อีกทั้งยังเป็นแหล่งการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรและการแพทย์ของท้องถิ่น
ชั้นล่าง จัดแสดงประวัติตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตำนานหมอหลวง การแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้านและตัวอย่างเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์แผนไทย เช่น ตู้ยา หินฝนยา หินชนวน มีดหมอ ชั้นบน จัดแสดงสมุดข่อย หนังสือและตำรายา หินบดยาในอดีตสมัยทวารวดี
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี ถนนปราจีนอนุสรณ์ เส้นทางหลวงหมายเลข 3069 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2.5 กิโลเมตร
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นโรงพยาบาลนำร่องเรื่องการแพทย์แผนไทย ผลงาน “โครงการทัวร์สุขภาพโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร” ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวครั้งที่ 4 ประจำปี 2546 รางวัลดีเด่นประเภทโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว โดยใช้สมุนไพรบำบัดยารักษาโรค มีการนวด อบ ประคบและฝังเข็ม แปรรูปสมุนไพรไทยเป็นเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0 3721 1088 ต่อ 3166 หรือ 0 3721 6164
และยังมีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในราคาย่อมเยาชั้นล่างของโรงพยาบาล
เปิดทุกวัน เวลา 08.30-20.30 น.หป โทร. 0 3721 1088 ต่อ 3166 หรือ //www.abhaiherb.com










 

Create Date : 27 สิงหาคม 2554    
Last Update : 27 สิงหาคม 2554 10:57:35 น.
Counter : 2095 Pageviews.  

เที่ยวลานดอกไม้หน้าฝนที่"อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว"




"อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว" อีกหนึ่งจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่มีความสวยงาม และนามาเยือนมากแห่งหนึ่งของภาคอีสาน เนื่องจากอุทยานแห่งชาติภูสระดอก บัวนั้นมีพื้นที่หลายแห่งที่มีลานหินขนาดใหญ่ ดังนั้นในทุกๆช่วงฤดูฝนจะเกิดปรากฏการณ์ที่เราเรียกกันว่า "ลานดอกไม้" ซึ่งได้รับการกล่าวขานในหมู่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

"ลานดอกไม้"
ส่วนใหญ่มักจะอยู่กระจัดกระจายไปตามบริเวณเทือกภูสระดอกบัวยังประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นลานหินกว้าง ซึ่งเต็มไปด้วยทุ่งดอกไม้ป่าต้นเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วลานหิน ซึ่งจะผลิดอกบานสะพรั่งในปลายฤดูฝนย่างเข้าฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของทุกๆ ปี

ข้อมูลภาพ : กรมการท่องเที่ยว / travel.thaiza




 

Create Date : 26 สิงหาคม 2554    
Last Update : 26 สิงหาคม 2554 7:46:28 น.
Counter : 1469 Pageviews.  

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด
เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

พอมีเวลาว่าง เสาร์ – อาทิตย์ ก็อยากจะเดินหาอะไรอร่อยๆ ชิม เดินเที่ยวริมน้ำรับลมเย็นๆ ใกล้กรุงเทพฯ ก็เลยตกลงปลงใจไปเกาะเล็กๆ กลางกรุง ที่คนกรุงเค้าไปพักผ่อนหย่อนใจกันบ่อย ๆ นั่นก็คือ เกาะเกร็ด นนทบุรีนั่นเองค่ะ

ใครได้มีโอกาสไปเกาะเกร็ดก็คงจะรู้ดีว่า ไม่เพียงแต่มีวิถีชีวิตชาวมอญ บรรยากาศริมน้ำสบายๆ และขนมอร่อย ๆเพียงเท่านั้น ก็ยังมีวัดวาอารามมากมาย บนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่เป็นแหล่งไหว้พระเก้าวัด แหล่งทำบุญชมวัดมอญ ที่มีเอกลักษณ์ที่สวยงาม ไม่แพ้ที่ใดในเมืองไทยเลยล่ะค่ะ

เมื่อเราเดินผ่านตามตลาดมาเรื่อยๆ ก็จะมี่ป้ายวัดติดเต็มไปหมด หนึ่งในนั้นที่หมูหินได้มีโอกาสเดินเข้าไปชมความสวยงามของวัดมอญ เจดีย์สวยงามด้านหน้าทำให้นักท่องเที่ยวเดินเข้าไปถ่ายรูปและสักการะพระพุทธ รูปด้านในกันจำนวนมากค่ะ วัดที่เราพูดถึงนี้ ชื่อว่า วัดไผ่ล้อมค่ะ

วัดไผ่ล้อม สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีโบสถ์ที่งดงามมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์รูปทรงคล้ายมะเฟือง ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ประดับลายปูนปั้น คนมอญเรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะโต้” กวานอาม่าน เป็นศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผามอญลายโบราณ เปิดให้ชมทุกวัน การปั้น เครื่องปั้นดินเผานั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี นับเป็นหัตถกรรม พื้นบ้าน ที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ลวดลายประณีตสวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และถูกนำไปเป็นตราประจำจังหวัดนนทบุรี สองข้างทางเดินบนเกาะมีบางบ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะของใช้ ในชีวิตประจำ เช่น กระถาง ครก โอ่งน้ำ ฯลฯ สามารถเข้าไปชมได้

ภายในวัดไผล้อมจะมีพระพุทธรูปหลวงพ่อโต อยู่ด้านหน้าโบสถ์ ให้นักท่องเที่ยวได้กราบสักการะก่อนเข้าไปกราบไหว้พระพุทธรูปด้านใน แล้วออกมาเดินชมความสวยงามของโบสถ์ เมื่อเดินไปทางด้านหลัง ก็จะพบกับเจดีย์ สีเหลืองอร่าม สวยงามมาก รอบๆ เจดีย์ จะเป็นพระประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน เรียกว่าศิลปะมอญ สวยงามมากเลยค่ะ โดยเฉพาะลักษณะของเจดีย์ ขนาดย่อมที่อยู่บริเวณด้านหน้าวัด ,,
นอกจากวัดไผ่ล้อมแล้ว ยังมีอีกหลายวัดบนเกาะเกร็ด ที่นักท่องเที่ยวสามารถ เดิน หรือเช่าจักรยานปั่นชม เที่ยวรอบ ๆเกาะได้.. แม้กระทั่งการนั่งเรือล่องไหว้พระ ก็มีให้บริการกันด้วยค่ะ วันว่างเสาร์-อาทิตย์ หาเวลามาเที่ยวเกาะเกร็ดกันนะคะ

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด
เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

การเดินทาง ลงเรือข้ามฟากได้สองท่า คือ ท่าเรือวัดสนามเหนือ (ไม่ไกลจากท่าน้ำปากเกร็ด) หรือท่าเรือวัดกลางเกร็ด มีเรือบริการระหว่าง 05.00-21.30 น.

ตัวอย่างรายการท่องเที่ยวบนเกาะเกร็ด


1. ลงเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ และมาขึ้นที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาสนมัสการพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี ชมพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 5

2. เดินเท้าจากวัดปรมัยยิกาวาสสู่หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ชม/ซื้อเครื่องปั้นดินเผาสองข้างทาง ชมพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

3. ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเสาธงทอง ล่องเรือไปทางท้ายเกาะสู่วัดใหญ่สว่างอารมณ์ ตำบลอ้อมเกร็ด ให้อาหารปลาหน้าวัด ซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด รายได้ถวายวัดฯ มีมะพร้าวน้ำหอมจำหน่าย

4. ล่องเรือไปทางใต้เลี้ยวขวาเข้าคลองบางบัวทอง หรือคลองขนมหวาน ชมหมู่บ้านขนมไทยสองฟากฝั่งคลอง และซื้อหาเป็นของฝากของขวัญ

5. ย้อนกลับออกมาตรงปากคลอง มีปล่องเตาอิฐที่ผลิตอิฐ บ.บ.ท. อิฐทนไฟแห่งแรกของเมืองไทยล่องเรือผ่านบ้านเกร็ดตระการ วิ่งตรงมาขึ้นท่าน้ำหน้าวัดฉิมพลี เลือกซื้อผลผลิตทางการเกษตร เดินเท้าจากวัดฉิมพลีถึงกลุ่มอาชีพหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา หมู่ที่ 1 ชมการสาธิตการแกะลายเครื่องปั้นดินเผา หมู่ที่ 1 และซื้อเป็นของฝากของขวัญ ล่องเรือข้ามฟากไปวัดกลางเกร็ด เดินทางกลับ

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด
เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด
เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด
เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด
เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด
เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด
เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด
เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด
เพี๊ยะโต๊ะ (วัดไผ่ล้อม) ณ เกาะเกร็ด

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก หนูหิน.com




 

Create Date : 25 สิงหาคม 2554    
Last Update : 25 สิงหาคม 2554 7:42:35 น.
Counter : 1918 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.