ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

ปราสาทเขาพนมรุ้ง

งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2554 (ททท.)

จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และกรมศิลปากร กำหนดจัด งาน ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ประจำปี 2554 ขึ้นในวันที่ 3 - 5 เมษายน 2554 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ที่มีการจัดสืบทอดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของจังหวัดบุรีรัมย์

การจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งในปี 2554 จะจัดให้มีความยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา ภายใต้ชื่องานว่า "หนึ่งมหัศจรรย์ สองศักดิ์สิทธิ์แห่งวนัมรุง" เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเฉพาะปราสาทหินพนมรุ้งให้เพิ่มมากขึ้น และเพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามด้วย

กิจกรรมสำคัญโดดเด่นที่จัดให้มีขึ้นภายในงาน เช่น การชมแสงอาทิตย์ส่องลอด 15 ประตูของปราสาทพนมรุ้ง (ดวงอาทิตย์ขึ้น วันที่ 3 - 4 - 5 เมษายน 2554 เวลา 06.00 น.), พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย, ชมริ้วขบวนหลวงของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี และ นางจริยา นำเครื่องบวงสรวงประกอบด้วย เทพพาหนะทั้ง 10 นางสนมกำนัล เหล่าทหาร ข้าทาสบริวาร ดำเนินผ่านเสานางเรียงประดับด้วยโคมไฟและธงทิวยิ่งใหญ่อลังการ, การแสดง แสง เสียง ชุด "งานรมยคีรีราตรีแห่งวนัมรุง", การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านรับประทานอาหารแบบโฮปบายดินเนอร์, การแสดงตลาดนัดโบราณและสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมายตลอดการจัดงาน

นอก จากนั้น ในวันที่ 3 - 5 เมษายน จังหวัดบุรีรัมย์ ขอเชิญร่วมพิสูจน์ปรากฏการณ์มหัศจรรย์โดยมีแสงพระอาทิตย์ ส่องตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง ผ่านศิวลึงค์ ซึ่งอยู่กลางปราสาทองค์ประธาน ถือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นบนยอดเขาพนมรุ้ง เพียงปีละ 4 ครั้งเท่านั้น นับว่าเป็นการรับพลังแสงอาทิตย์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองช่วงหน้าร้อนนี้ได้เป็นอย่างดี

ปราสาทเขาพนมรุ้ง

สำหรับปีนี้จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้น ดั้งนี้...

ครั้งที่ 1 ดวงอาทิตย์ตก ตรง 15 ช่องประตู ในวันที่ 5 - 6 - 7 มีนาคม
ครั้งที่ 2 ดวงอาทิตย์ขึ้น ตรง 15 ช่องประตู ในวันที่ 3 - 4 - 5 เมษายน
ครั้งที่ 3 ดวงอาทิตย์ขึ้น ตรง 15 ช่องประตู ในวันที่ 8 - 9 - 10 กันยายน
ครั้งที่ 4 ดวงอาทิตย์ตก ตรง 15 ช่องประตู ในวันที่ 5 - 6 - 7 ตุลาคม

กำหนดการ

งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2554 "1 มหัศจรรย์ 2 ศักดิ์สิทธิ์แห่งวนัมรุง" The Miracle & Sacred of Phnom Rung วันที่ 3 - 4 เมษายน 2554 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2554

เวลา 08.30 น.

ตั้งเครื่องบวงสรวง ณ บริเวณด้านหน้าปราสาทพนมรุ้ง
หัวหน้าส่วนราชการและผู้ร่วมพิธี นั่งประจำที่บริเวณพิธี

เวลา 08.45 น.

ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ (นายธานี สามารถเหลือง) ประธานในพิธี เดินทางมาถึงบริเวณพิธี
พราหมณ์นำประกอบพิธีบวงสรวง / ผู้ร่วมพิธีนั่งภาวนาจนเสร็จพิธี

เวลา 13.00 น.

ประกอบพิธีบวงสรวง (รอบที่ 2) สำหรับประชาชนที่สนใจทั่วไป
พราหมณ์นำประกอบประกอบพิธีและนั่งภาวนาจนเสร็จพิธี

เวลา 14.00 น.

ขบวนแห่พระนางภูปตินธรลักษมีเทวี และเทพพาหนะทั้งสิบ
พิธีเปิดงาน "ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ประจำปี 2554" โดย นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร

เวลา 19.00 น.

การแสดงแสง สี เสียง งาน "รมยคีรีราตรีแห่งวนัมรุง"

ปราสาทเขาพนมรุ้ง

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2554

เวลา 08.30 น.

ตั้งเครื่องบวงสรวง ณ บริเวณด้านหน้าปราสาทพนมรุ้ง
ประชาชนผู้สนใจทั่วไปนั่งประจำที่บริเวณพิธี

เวลา 09.00 น.

พราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวง / ผู้ร่วมพิธีนั่งภาวนาจนเสร็จพิธี

เวลา 13.00 น.

ประกอบพิธีบวงสรวง (รอบที่ 2) สำหรับประชาชนที่สนใจทั่วไป
พราหมณ์นำประกอบประกอบพิธีและนั่งภาวนาจนเสร็จพิธี

เวลา 18.00 น.

การแสดงแสง สี เสียง งาน "รมยคีรีราตรีแห่งวนัมรุง" จนเสร็จสิ้น

ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ โทรศัพท์ +66 4461 1957 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ โทรศัพท์ +66 4451 4447-8




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก




 

Create Date : 31 มีนาคม 2554    
Last Update : 31 มีนาคม 2554 9:12:13 น.
Counter : 2133 Pageviews.  

เลียบ หาดไร่เลย์ ปีนผา สัมผัสท้องทะลใส

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

หาดไร่เลย์


หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

หาดไร่เลย์


หาดไร่เลย์ กระบี่

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

หาดไร่เลย์


หาดไร่เลย์ กระบี่

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

หาดไร่เลย์


หาดไร่เลย์ กระบี่


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ ฝนแสนห่า

จังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดที่ได้รับการกล่าวขานเรื่องความสวยงามของสถานที่ และความซับซ้อนของหน้าผา ซึ่งเป็นผาธรรมชาติ และหากจะเอ่ยถึงแหล่งท่องเที่ยว "ปีนผา" ที่ขึ้นชื่อคงหนีไม่พ้น "ไร่เลย์" หรือ "หาดไร่เลย์" แต่จะสวยงามน่าท่องเที่ยวขนาดไหน อย่ารอช้าตามเราไปชมกันดีกว่า...

หาดไร่เลย์ ตั้ง อยู่ใน ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นหาดทรายสีขาวละเอียดริมโตรกผา ซึ่ง หาดไร่เลย์ เป็นที่รู้จักดีในหมู่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมปีนหน้าผา และ หาดไร่เลย์ แบ่งออกเป็น หาดไร่เลย์ตะวันออก (หาดน้ำเมา) และ หาดไร่เลย์ตะวันตก มีโขดหินคั่นระหว่างหาดทั้งสอง บริเวณหาดมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวหลายแห่ง เดินทางเข้าถึงได้โดยทางเรือจากอ่าวนางใช้เวลา 10 นาที

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

หากจะพูดถึง ไร่เลย์ หรือ หาดไร่เลย์ อาจกล่าวได้ว่ายังไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยกันเท่าไหร่นัก หากแต่ในสายตาของชาวต่างประเทศแล้ว หาดไร่เลย์ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาช้านาน มีรีสอร์ทสวยงามหลายระดับราคาอยู่มากมาย อาจเพราะความเงียบสงบ และแวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สวยงาม

หาดไร่เลย์ หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็น "เกาะ" แต่จริง ๆ แล้ว หาดไร่เลย์ ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดิน แต่ที่ต้องเดินทางด้วยเรือ เพราะ หาดไร่เลย์ ถูกภูเขาล้อมรอบทุกด้าน ทำให้ผู้คนที่จะเดินทางมาเที่ยว หาดไร่เลย์ ต้องนั่งเรือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งนี่อาจเป็นอีกผลหนึ่งทำให้ชาวบ้านที่ หาดไร่เลย์ ยัง ไม่ถูกเทคโนโลยีหรือความเจริญกลืนกิน รวมถึงวิถีชีวิตของหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ที่ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย โดยที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และการใช้ชีวิตได้อย่างลงตัว

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

อย่างไรก็ตาม นอกจากน้ำสวย ทะเลใสแล้ว หาดไร่เลย์ ยังได้ชื่อว่ามี "พระอาทิตย์ตก" ที่สวยงามบาดตา เพราะเมื่อพระอาทิตย์ตก แสงแดดจะสะท้อนเงาจากหินลงไปที่อ่าว ภาพต้นมะพร้าวเรียงกันเป็นทิวแถว เรือประมงจอดเรียงรายที่ชายฝั่ง ภาพดังกล่าวเป็นเหมือนแดนสวรรค์อันสุขสงบ

นอกจากนี้ หาดไร่เลย์ ยังมีจุดเด่นที่กิจกรรมการปีนผา เพราะที่ หาดไร่เลย์ มีผาหินปูนมากมาย ซึ่งการปีนผาที่ ไร่เลย์ สามารถทำได้ทั้งปี โดยในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรม "ปีนผา" และบริเวณที่นิยมปีนผาคือบริเวณ ไร่เลย์ตะวันออก อ่าวต้นไทร และ เขาแถวถ้ำพระนางใน

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

ทั้งนี้ การปีนผามีวิวัฒนาการมาจากการปีนเขา ซึ่งมีประวัติยางนานนับพันปี การปีนเขาของคนในยุคก่อน ๆ นั้น มีหลากหลายเหตุผล นับตั้งแต่เพื่อความอยู่รอดตามธรรมชาติ เพื่อการหลบภัย หรือบ้างก็เพื่อความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา แต่การปีนเขาในยุคต่อมาส่วนใหญ่ มีเหตุผลเพื่อการค้นคว้าสำรวจ ซึ่งเหตุผลที่สำคัญของการปีนเขาคือ เพื่อการพิชิตความสูง และการสร้างสถิติ

และนี่คือ...หาดไร่เลย์ จังหวัดกระบี่ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย อีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดไปเยือน

หาดไร่เลย์

หาดไร่เลย์ กระบี่

การเดินทาง

ต้องเดินทางโดยทางเรือเท่านั้น สามารถขึ้นเรือได้ที่ท่าเรือเจ้าฟ้า ในตัวเมืองกระบี่ หรือที่ท่าเรืออ่าวน้ำเมา ท่าเรือที่อ่าวนาง และท่าเรือที่หาดนพรัตน์ธารา ซึ่งการเดินทางใช้เวลาประมาณ 15 นาที ถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง แล้วแต่จุดที่ออกเรือ อย่างไรก็ตาม หากนั่งเรือหางยาวไป หาดไร่เลย์ ลงเรือที่อ่าวนางสะดวกที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ลงเรือที่นี่ ทำให้ไม่ต้องรอนาน และใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาทีเท่านั้น

ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกระบี่ ถนนอุตรกิจ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 โทรศัพท์ 0 – 7562 – 2163




ขอขอบคุณข้อมูลจาก




 

Create Date : 30 มีนาคม 2554    
Last Update : 30 มีนาคม 2554 8:52:06 น.
Counter : 1860 Pageviews.  

ความหลังครั้งเก่ากันที่ตลาด 100 ปี ตลาด



หาก ใครมีโอกาสได้มาเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี ย่อมจะพลาดไม่ได้ที่จะมาจับจ่ายใช้สอย หาซื้อของฝาก ติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่บ้านกันที่ตลาดสามชุก(ตลาดร้อยปี) เพราะตลาด สามชุกนับได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมอีกที่หนึ่งของหวัดสุพรรณบุรี ใครมาที่สุพรรณบุรีแล้วไม่ได้มาเที่ยวที่ตลาดสามชุกก็ถือว่ามาไม่ถึง เพราะนอกจากจะได้ของฝากกลับบ้านแล้ว ยังได้มาชื่นชมบรรยากาศของตลาดเก่าในสมัยโบราณอีกด้วย

ก้าวแรกที่หมูหินเดินเข้ามาที่ตลาดสามชุก ก็ รู้สึกว่าเหมือนย้อนเวลากลับมาในอดีต เพราะตลาดสามชุกยังมีบรรยากาศเก่าๆ พ่อค้า แม่ค้าต่างนำสินค้ามาขายกันที่หน้าบ้านของตนเอง และที่สำคัญสภาพบ้านเรือนก็ยังคงสภาพเป็นห้องแถวสร้างด้วยไม้ หลังคามุงด้วยสังกะสี และยังมีวิถีชีวิตที่ผสมผสานกันระหว่างคนไทยกับคนจีน จนทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนขี้น


ตลาดสามชุก เป็นตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในอดีต ตั้งแต่เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถนนคือ เส้นทางจราจรทางบกที่เข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้ำ ทำให้คนหันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีน ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำเริ่มลดลง บรรยากาศการค้าขายในตลาดสามชุกก็เริ่มซบเซา และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และตลาดนัดภายนอก ทำให้ร้านค้าภายในตลาดต้องหาทางปรับตัว และเมื่อราชพัสดุ เจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านเช่าที่ดินมายาวนาน ดำริจะรื้ออาคารตลาดเก่า สร้างตลาดใหม่ จึงทำให้ชาวบ้านพ่อค้าที่อยู่ในตลาดสามชุก ครูอาจารย์ที่เห็นคุณค่าตลาดเก่า รวมตัวเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ระดมความคิด หาทางอนุรักษ์ตลาดและที่อยู่ของตนไว้ และหาทางฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง เป็นที่มาของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ร้านค้าในตลาดมีประมาณ 300 ร้าน เจ้าของร้าน 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาวตลาดสามชุก อีก 20 เปอร์เซ็นต์เป็นชุมชนรอบข้าง ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนถิ่นอื่นเข้ามาร่วมทำมาหากิน

เดินเข้ามาในตลาดเรื่อยๆ บรรยากาศก็จะเป็นแบบตลาดเก่า มีข้าวของเก่าๆ แต่ยังคงสภาพดี ที่เราไม่ค่อยได้เห็นกันแล้ว อย่างเช่น ของเล่นไขลาน โมเดลเครื่องบิน ตุ๊กตาไม้ไผ่เป็นรูปต่างๆ มาวางขายและให้ได้ชมกัน แต่หลักๆ ก็คือ ของกิน เพราะของกินเยอะมาก เดินเข้ามาในตลาดเนี่ยมีแต่ของน่ากิน น่าทานทั้งนั้น เห็นทีน้ำหนักจะเพิ่มก็คราวนี้ล่ะ ที่แรกที่หมูหินต้องแวะชิม แวะถามก็เพราะสายตามันไปสะดุดกับป้ายที่เค้าเขียนว่า “ลูกลานลอยแก้ว” ด้วยความงงและสงสัยก็เลยเข้าไปถามว่ามันคืออะไร ได้ความว่าเป็น ลูกของต้นลาน (ต้นไม้ที่ใช้ใบมาทำพัด เรียกว่าใบลาน) 40-50 ปีจะออกลูกครั้งนึง พอออกลูกมาแล้วต้นก็จะตาย โอ้โห! หากินยากแบบนี้มีหรือจะพลาด ต้องลองชิม รสชาติก็จะคล้ายๆกับลูกตาล แต่จะนุ่มแล้วก็ร่วนกว่า อร่อยทีเดียวครับ

ถัดเข้ามาข้างในอีกหน่อยก็จะมีร้านกาแฟท่ารือส่ง “ศิวะนันต์พานิช” ที่บรรยากาศ เทียบได้กับสภากาแฟในสมัยก่อน เพราะยังมีคนมานั่งจิบกาแฟและพูดคุยกัน ร้านนี้ถือว่าเป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนพูดคุย ของชาวตลาดก็ว่าได้ ร้านกาแฟท่าเรือส่งนี้เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ.2508 ขายตั้งแต่ราคาสามสตางค์ ห้าสตางค์ ตอนนี้ราคา 7-10 บาทแล้ว เปิดร้านกันตั้งแต่ 7 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น วันหนึ่งๆ เปลี่ยนคนชงสามกะผลัดกันดูแลร้าน เรียกได้ว่าเป็นร้านกาแฟคู่ตลาดสามชุกจริงๆ


ข้างๆร้านกาแฟก็จะมีร้านขายขนมไทย เช่น บัวลอยไข่หวาน กล้วยบวชชี ฝักทองแกงบวช เต้าส่วน สาคูเปียกข้าวโพด และอื่นๆอีกหลายอย่าง แต่ละอย่างน่ากินทั้งนั้น แอบถามเจ้าของร้านว่า แต่ละอย่างเนี่ยวันนึงขายหมดไม๊ เพราะที่เห็นน่ะเยอะมาก ได้คำตอบว่าขายไม่พอ วันนึงต้องเติมใหม่กัน 2-3 เที่ยวเชียวล่ะ (ขายดีอย่างนี้น่าจะเปลี่ยนอาชีพมาขายขนมดีไม๊เนี่ย..หุหุ) รสชาติของขนมก็อร่อยดี ไม่หวานมากจนเกินไป หมูหินคอนเฟิร์มครับ

ส่วนตรงมุมข้างหน้าร้านกาแฟก็จะขายเป็ดย่างชื่อร้านว่า “เป็นย่างจ่าเฉิด” ค้าร่ำลือกันว่าเป็ดย่างเจ้านี้อร่อยมาก มีทั้งเป็ดย่าง เป็ดพะโล้ เครื่องใแต่ หมูหินไม่ได้ลองชิม เพราะใจคิดว่ากะจะเดินเล่นเรื่อยๆ เก็บภาพบรรยากาศมาฝากเพื่อนๆ ครั้นจะซื้อกลับบ้านก็ขี้เกียจแบก เลยเอาเป็นว่าแค่เก็บภาพมาให้ดูแล้วกันนะ


เดินเลี้ยวซ้ายเข้ามาหน่อยก็จะเป็นร้านขาย “ทองม้วนโบราณร้อยปี” หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่าขนมเบื้องโบราณก็ได้ ป้าแป๊ด เจ้าของร้านเล่าให้ฟังว่า ขนม ทองม้วนโบราณต้นตำรับตลาดสามชุกนั้นมีสูตรไม่เหมือนใคร เพราะความพิเศษอยู่ที่ตัวแป้งและไส้ จะไม่ใส่แป้งมันเหมือนทองม้วนทั่วไป ไส้ก็จะเป็นใส้งาดำคั่วกับมะพร้าว วิธีทำก็จะไม่ใช้แม่พิมพ์แต่จะใช้เตาขนมเบื้อง หลายๆคนก็เลยอาจจะเรียกว่าขนมเบื้องโบราณ รสชาติก็อร่อยทีเดียว ตัวแป้งก็ กรอบ หอม เข้ากันได้ดีกับตัวไส้ที่มีรส หวาน มัน เค็ม ราคาขายก็อยู่ที่ 3 ถุง 100 ครับ วันสาร์-อาทิตย์ ทำขายแทบไม่ทันเชียวล่ะ


ติดๆกันก็จะเป็นร้านขายหมี่กรอบ ที่ประทับใจไม่ใช่อะไรหรอกครับ แต่เป็น “เจ้าหมีกรอบ” ที่ทำมาจากหมี่กรอบนำมาอัดเป็นรูปหมี เห็นเจ้าของร้านบอกว่าจะทำหมีขึ้นมาตัวนึงเนี่ย ใช้หมีกรอบทั้งกะละมังเลย ถ้าใครจะสั่งทำหมีกรอบ ก็ต้องสั่งล่วงหน้า ลองถามราคาเล่นๆ เจ้าหมีตัวนี้ก็ 1500 บาท ใครสนใจจะเอาไปเป็นของขวัญวันเกิดก็สั่งได้ครับ


อีกแห่งหนึ่งในตลาดสามชุกที่น่าแวะชมก็คือ พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ ซึ่ง ยังคงสภาพเป็นบ้านและปรับปรุงมาเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของโบราณ มีทั้งตู้เย็น เตียง โต๊ะ เก้าอี้ ถ้วย ชามลายคราม ไว้ให้สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมเพื่อศึกษาหาความรู้

ประวัติขุนจำนง จีนารักษ์ ขุนจำนง จีนารักษ์ นามเดิมว่า หุย แซ่เฮง เป็นคนจีนเกิดใน ประเทศไทย ใกล้วัดโพธิ์คอย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ประกอบอาชีพค้าขาย มีโรงเหล้า และโรงยาฝิ่น เมื่อเยาว์วัยศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศจีน กลับมาเมืองไทยเมื่ออายุ 20 กว่าปี ต่อมาได้สมรสกับคุณกุ้ยเอง แซ่เจ็ง เป็นคน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี มีบุตรธิดา 3 ต่อมาได้เช่าที่ราชพัสดุปลูกบ้าน 3 ชั้น (คอนกรีตเสริมเหล็ก)ใน พ.ศ.2459 กิจการค้าขายของท่านเจริญรุ่งเรืองไปถึง 6 อำเภอ ท่านจึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ประกอบกับท่านเป็นคนดีมีเมตตา ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก จึงได้เป็นผู้นำชุมชน คุณงามความดีของท่าน ทำให้ท่านได้รับบรรดาศักดิ์ เป็น ขุนจำนงจีนารักษ์ ตำแหน่งกรรมการพิเศษจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อรัฐบาลประกาศยกเลิกการสูบฝิ่น ท่านจึงหันมาทำสวนทำไร่ และเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2517 รวมอายุได้ 83 ปี บ้านของท่านในส่วนของ คุณเคียวยี้ ซึ่งเป็นบุตรสาวของนาย โต้วซ้ง จีนารักษ์ อนุญาติให้คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยใช้ชื่อ พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนง จีนารักษ์ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของโบราณ สำหรับผู้ที่สนใจเข้า ชมเพื่อศึกษาหาความรู้มาจนถึงปัจจุบันนี้


เท่าๆที่เดินเก็บบรรยากาศของตลาดสามชุก ยัง มีอีกหลายร้านที่น่าสนใจ ถ้าจะเล่าให้ฟังหมดทุกร้าน ก็คงต้องเล่ากันยาว เอาเป็นว่าเก็บภาพมาฝากแล้วกัน และที่สัมผัสได้เมื่อมาที่ตลาดสามชุก ก็คือ ความมีชีวิตชีวาของผู้คนในตลาด รวมไปถึงความมีมนต์ขลังและสภาพความเป็นตลาดเก่าที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ได้อย่าง สมบูรณ์ เป็นอีกที่หนึ่งที่น่าแวะมาเยี่ยมชม มาเที่ยวซื้อของ และศึกษาวัฒนธรรมเก่าๆ รับรองว่าถ้ามาถึงที่ตลาดสามชุกแล้ว ไม่ผิดหวังจริงๆครับ

การเดินทางด้วยรถยนต์
การ เดินทางด้วยรถยนตร์ สู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก





ข้อมูลจาก หมูหินดอทคอม















 

Create Date : 28 มีนาคม 2554    
Last Update : 28 มีนาคม 2554 8:12:15 น.
Counter : 1715 Pageviews.  

"น้ำตกพรหมโลก" น้ำตกสวยแห่งนครศรีธรรมราช

หากคุณเป็นอีกคนที่รักการเที่ยวน้ำตก แน่นอนว่า "น้ำตกพรหมโลก" ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่ามาเยือนเช่นกัน โดยน้ำตกนั้นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช น้ำตกแห่งนี้นับว่าเป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม โดยขนาดใหญ่และสูงมาก เมื่อเทียบกับน้ำตกแต่ละแห่งภายในจังหวัด

     น้ำตกพรหมโลก เป็นน้ำตกที่มีจำนวนชั้นทั้งหมด 50 ชั้น แต่มีเพียง 4 ชั้นเท่านั้นที่เปิดให้ท่องเที่ยวได้ นั่นคือ หนานบ่อน้ำวน หนานวังไม้ปัก หนานวังหัวบัว และหนานวังอ้ายแล น้ำที่ไหลผ่านชั้นน้ำตกกระทบกับชั้นก้อนหิน ก่อให้เกิดเสียงแห่งธรรมชาติที่ก้องกังวานไปทั่ว สายน้ำนี้จะไหลผ่านหมู่บ้าน ลงสู่คลองท่าแพ และบรรจบที่แม่น้ำปากพูนที่อ่าวไทย

     นอกจากนี้แล้ว ในปี พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระ บรมราชินีนาถ ได้เสด็จประพาสน้ำตกแห่งนี้ และทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ภ.ป.ร.” และ “ส.ก.” ไว้ที่หน้าผาน้ำตกชั้นที่ 1 (หนานวังน้ำวน)

     การเดินทาง : ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4016 ผ่านนครศรีธรรมราช-พรหมคีรี ถึงกิโลเมตรที่ 20 เจอทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 4132 จากหน้าที่ว่าการอำเภอพรหมโลกใช้ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

ข้อมูลโดย
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช






 

Create Date : 26 มีนาคม 2554    
Last Update : 26 มีนาคม 2554 12:28:04 น.
Counter : 1673 Pageviews.  

ฉลอง "จังหวัดบึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 ของไทย



หลัง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ให้เป็นจังหวัดบึงกาฬ วันนี้จะถือว่าประเทศไทยจะมีจังหวัดใหม่ที่ชื่อจังหวัดบึงกาฬอย่างเป็นทาง การเป็นวันแรก


ที่ว่าการอำเภอบึงกาฬ หรือในชื่อใหม่ คือที่ว่าการอำเภอเมืองบึงกาฬ ถูกใช้ให้เป็นสถานที่จัดงานเฉลิมฉลองต้อนรับจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดใหม่ที่แยกตัวออกมาจากจังหวัดหนองคาย ซึ่งหลังจากมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้วเมื่อวานนี้ (22 มี.ค.) วันนี้ (23 มี.ค.) จะถือว่าประเทศไทยมีจังหวัดที่ 77 อย่างเป็นทางการแล้ว

เบื้อง ต้นกระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งให้นายสมพงษ์ อรุณโรจน์ปัญญา ที่ปรึกษาระดับ 10 ด้านการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ ทำหน้าที่รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ

สำหรับจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร รับผิดชอบ 8 อำเภอ คือ อำเภอบึงกาฬ หรืออำเภอเมืองบึงกาฬ, อำเภอเซกา, อำเภอโซ่พิสัย, อำเภอบุ่งคล้า, อำเภอบึงโขงหลง, อำเภอปากคาด, อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล

จังหวัด บึงกาฬมีคำขวัญประจำจังหวัดว่า "สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่ แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล"



ที่มา
//www.thaipbs.or.th/


จังหวัด บึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 ตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย

จากการสำรวจความเห็นของประชาชน จำนวน 366,903 คน ปรากฏว่าประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ร้อยละ 98.83 หากมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ จะมีประชากรประมาณ 399,233 คน ประกอบด้วย 8 อำเภอ ส่วนจังหวัดหนองคาย จะประกอบด้วย 9 อำเภอ ประชากร 506,343 คน


สภาพทั่วไป
บึง กาฬ เป็นอำเภอที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา เป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง และแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว



อำเภอเมืองบึงกาฬ
อำเภอ เมืองบึงกาฬ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา เป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง และอีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงจะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) มีการคมนาคมสะดวก



ประวัติ

เดิม อำเภอบึงกาฬมีชื่อเดิมว่า ไชยบุรีซึ่งขึ้นกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2482

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการร้องขอให้จัดตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ ตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย แต่กระทรวงมหาดไทย ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี

จน กระทั่ง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.ส่วน พรรคกิจสังคมได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และทางกระทรวงมหาดไทยเห็นด้วย กำลังอยู่ในกระบวนการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อไป

ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีก็มีมติให้ทำการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้นซึ่งมีผลนับตั้งแต่นี้ เป็นต้นไป จึงทำให้อำเภอบึงกาฬ ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ


สถานที่ท่องเที่ยว
- ภูทอก
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง มีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง
- วัดสว่างอารมณ์
- บึงโขงหลง












 

Create Date : 25 มีนาคม 2554    
Last Update : 25 มีนาคม 2554 8:39:16 น.
Counter : 3043 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.