|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
สรุปสถานการณ์ ความเคลื่อนไหวทางทหารทั่วโลกในรอบปี
สิ้นปีแล้วครับ กองทัพของโลกอันบูด ๆ เบี้ยว ๆ ของเรานี้มีความเคลื่อนไหวหลายอย่างที่น่าสนใจ ซึ่งผมจะลองเขียนกระทู้ความเคลื่อนไหวทางทหารในรอบปี 2 กระทู้ครับ กระทู้แรกจะสรุปข่าวทั่วโลก ส่วนกระทู้ที่สองจะสรุปข่าวในอาเซียน เชิญติดตามครับ
จุดเริ่มต้นของยุคใหม่: F-22 ฝูงแรกของโลก
หลังจากการพัฒนาอันหฤโหดมานานกว่า 20 ปี ในต้นปีนี้ F-22 ฝูงแรกของกองทัพอากาศสหรัฐก็เขาประจำการเป็นฝูงแรกที่ฝูงบินขับไล่ที่ 27 ฐานทัพอากาศ Langley ในรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 อย่างเป็นทางการ
แม้จะถือเป็นสุดยอดเครื่องบินแบบหนึ่ง แต่ด้วยราคาที่แพงมหาโหดคือประมาณ 140 ล้านเหรียญสหรัฐ (งบประมาณทางทหารของไทยปีนี้ทั้งสามเหล่าทั้พซื้อ F-22 ได้ 1 ฝูงเท่านั้น!!!) เป็นผลให้จำนวนการสั่งซื้อลดลงจาก 700 กว่าเครื่องเหลือเพียงแค่ 187 เครื่องเท่านั้น ทำให้สหรัฐต้องพยายามหาลูกค้าต่างประเทศเพื่อทำให้ราคาการผลิดลดลง ซึ่ง Congress ได้ยกเลิกคำสั่งห้ามการส่งออก F-22 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และประเทศแรกสุดที่ F-22 น่าจะได้เข้าไปประจำการก็คือญี่ปุ่นที่กำลังประเมินค่าเครื่องบินขับไล่แบบใหม่อยู่นั่นเอง
การมาถึงของ F-35 Lightening II
F-35 คือโครงการเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐที่มีจุดมุ่งหมายที่จะทำเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาในสามารถจัดหาได้ให้กับพันธมิตรของสหรัฐทั่วโลก ซึ่งสหรัฐหวังว่า F-35 จะเดินตามรอยความสำเร็จของเครื่องบินรุ่นพี่อย่าง F-16
แม้วว่าจะมีปัญหาและอุปสรรคมากมายในการพัฒนา ทั้งจากปัญหาด้านเทคนิคและปัญหาด้านการผลิตในระดับนานาชาติ แต่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา F-35 เครื่องแรก (AA-1) ก็สามารถขึ้นบินสู่ท้องฟ้าได้เป็นครั้งแรกในเที่ยวบินทดสอบ และการพัฒนาก็จะดำเนินต่อไปจนคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2008
ในขั้นต้นนั้น F-35 จะถูกผลิตและส่งมอบให้กับประเทศที่เข้าร่วมโครงการก่อน (เป็น First Priority) ซึ่งถ้าตามกำหนดการแล้สจะมีคิวการผลิตยาวจนถึงปี 2015 และสหรัฐก็กำลังศึกษาแบบแผนของ F-35 รุ่นส่งออก (ลดคุณสมบัติ Stealth) ที่จะผลิตให้กับพันธมิตรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการอย่างทั่วถึง ซึ่งน่าจะทำให้ F-35 นั้นเป็นกำลังหลักของหลาย ๆ ประเทศทั้วโลกในอนาคต (ไม่ต้องห่วงรวมถึงประเทศไทยแน่นอน)
ก้าวแรกของ Eurofighter Typhoon
Eurofighter Typhoon คือโครงการร่วมของชาติยุโรป 4 ชาติคืออังกฤษ สเปน อิตาลี และเยอรมัน ในการผลิตเครื่องบินขับไล่ทดแทนเครื่องบินที่มีประจำการอยู่ในปัจจุบัน และแต่ละประเทศก็ได้เริ่มทะยอยรับมอบเครื่องบินเข้าประจำการไปแล้ว
Typhoon มีประสิทธิภาพที่น่าประทับใจ ทำให้นอกจากประเทศที่อยู่ในโครงการแล้ว ยังไม่อีกสองประเทศที่เป็นลูกค้าให้กับโครงการนี้คือ ออสเตรีย ซึ่งสั่งซื้อจำนวน 18 ลำและซาอุดิอารเบียซึ่งสั่งซื้อจำนวนถึง 72 ลำ
แต่ด้วยมูลค่าของเครื่องบินซึ่งมีราคาสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ออสเตรียเริ่มพิจารณาอย่างจริงจังถึงคำสั่งซื้อของตน และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการถอนคำสั่งซื้อแม้ว่าเครื่องที่ตนสั่งซื้อนั้นจะเริ่มผลิตไปบางส่วนแล้วก็ตาม

ปีที่น่าผิดหวังเล็กน้อยของ Rafale
เมื่อถอนตัวออกจากโครงการ Eurofighter ฝรั่งเศสจำดำเนินการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ของตนเองคือ Rafale โดยมีการพัฒนาทั้งรุ่นของกองทัพอากาศและกองทัพเรือ (รุ่นที่ใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน)
แต่ในการส่งออก Rafale นั้นไม่สามารถทำได้ดีเหมือนรุ่นพี่อย่าง Mirage แม้ว่าราคาจะถูกกว่าคู่แข่งอย่าง Typhoo คือราคาประมาณลำละ 60 - 80 ล้านเหรียญ แต่สุดท้าย Rafale ก็พ่ายแพ้เครื่องบินคู่แข่งเสมอ โดยเฉพาะพ่ายแพ้ F-15 ในเกาหลีใต้และสิงคโปร์ ทำให้ยังไม่มีการสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาเลย
ทั้งนี้ ยังเหลือประเทศที่มีโอกาสสั่งซื้อ Rafale คือ อินเดียที่มีโครงการจัดหาเครื่องบินจำนวน 126 ลำ และซาอุดิอารเบียที่มีข่าวว่าอาจจะจัดหามาใช้งานจำนวน 36 ลำ
ปีที่น่าจดจำของ Sukhoi
ปีนี้ เครื่องบินตระกูล Flanker ทั้ง Su-27, Su-30 หรือแม้แต่ Su-33 เอง ต่างขายดีเหมือนเททิ้ง เนื่องจาราคาที่ไม่แพง คือประมาณ 40 ล้านเหรียญ แต่ประสิทธิภาพนั้นยอดเยี่ยมระดับโลก บวกกับความไม่เรื่องมากของประเทศผู้ขายอย่างรัสเซีย ทำให้ปีนี้ Irkut ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบ Su-30 จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 32 ลำต่อปี
รายชื่อประเทศที่สั่งซื้อ Su-30 ในปีนี้ก็เช่น อินเดียที่สั่ง Su-30 MKI เพิ่มเติม แม็กซิโกสั่งซื้อ Su-27 จำนวน 24 ลำ เวเนซูเอล่าสั่งซื้อ Su-30 MKV จำนวน 36 ลำ อัลจีเรียสั่งซื้อ Su-30 MKA จำนวน 40 ลำ อินโดนิเซียสั่งซื้อ Su-30 MK จำนวน 6 ลำ รวม order ในปีนี้ถึงกว่า 100 ลำ มากกว่าใคร ๆ ในโลก (และอาจจะมี order ขนาดใหญ่มาจากอิหร่านในการสั่งซื้อ Su-30 MKP จำนวนกว่า 76 ลำ)
และแม้ไม่มีการรบ แต่เครื่องบินรัสเซียสามารถครองอากาศในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกได้อย่างสิ้นเชิง เบียดแชมป์เก่าอย่างสหรัฐตกกระป๋องไป และแทบทั้งหมดเป็น Su-30 ที่สามารถแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดจากสหรัฐมาได้หลายประเทศ

ปีทองของวงการบินทางทหารจีน
นอกจากรัสเซียที่ขายเครื่องบินจนนับเงินกันแทบไม่ทันแล้ว จีนเองก็เตรียมส่งเครื่องบินของตนเองเข้าสู่ตลาดเครื่องบินรบทั่วโลกอีก 2 เครื่อง คือ J-10 กับ JF-17
จีนซุ่มพัฒนา J-10 มานาน และได้เริ่มทะยอยเข้าประจำการแล้ว แต่มาในปีนี้ กองทัพอากาศปากีสถานเป็นกองทัพอากาศต่างชาติกองทัพแรกที่สั่งซื้อ J-10 หรือในชื่อที่ใช้ในการส่งออกว่า FC-10 จำนวน 36 ลำ พร้อมจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ SD-10 อีก 200 นัด
ทางด้าน JF-17 หรือ FC-1 นั้นจีนและปากีสถานก็ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ FC-1 Prototype 04 ได้บินทดสอบไปแล้ว ณ ฐานทัพอากาศในปากีสถาน และในปีหน้า ปากีสถานจะได้รับ FC-1 รุ่น Pre-production จำนวน 15 ลำ และน่าจะสามารถเริ่มการผลิตเต็มรูปแบบได้ในปี 2008
จีนหมายมั่นปั่นมือให้ FC-1 นั้นเป้นเครื่องบินขับไล่ราคาถูกแต่มีประสิทธิภาพสูงเข้าแข่งกันในตลาดเครื่องบินรบระดับล่างทั่วโลก ด้วยราคาที่ถูกคือประมาณลำละ 15 ล้านเหรียญ ทำให้เราน่าจะได้เห็นประเทศลูกค้าเก่า ๆ อย่างอิยิปต์ ประเทศในแอฟริกา บังคลาเทศ หรือพม่าจัดหา FC-1 ไปใช้งานก็เป็นได้
การจัดหาเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่ของ 3 ประเทศ
สหรัฐ อินเดีย และ อิตาลี กำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้างหรือนำเข้าประจำการของเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ของตน
สหรัฐนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำสุดท้ายในชั้น Nimitz คือ USS George H. W. Bush (CVN-77) เพื่อทดแทน USS Kitty Hawk เมื่อเรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้สร้างเสร็จ สหรัฐจะดำเนินการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นใหม่ต่อไป
สำหรับอินเดียนั้นกำลังดำเนินการ refit เรือบรรทุกเครื่องบินเก่าของรัสเซียคือ Admiral Gorshkov ซึ่งอินเดียจัดซื้อเข้าประจำการแทนเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Virat ซึ่งกำลังปลดประจำการในอีกไม่ช้านี้ โดยจะได้รับการตั้งชื่อว่า INS Vikramaditya ตามชื่อกษัตริย์ในอดีตของอินเดีย
ส่วนอิตาลีนั้น เรือบรรทุกเครื่องบินของตนอยู่ในช่วงการทดสอบในทะเล (Sea Trial) ของเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ของตนคือ Cavour

กองเรือจีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ปีนี้ จีนสั่งซื้อเรือชั้น Sovremenny จากรัสเซีย ส่วนที่กำลังต่ออยู่คือเรือพิฆาตชั้นลู่หยาง (Type 051C Luyang) จำนวน 2 ลำ ชั้นเจียงไค-II (Type 054A Jiangkai-II) อีกอย่างน้อย 2 ลำ
และที่สำคัญที่สุด จีนอยู่ในชั้นตอนการ refit เรือบรรทุกเครื่อบิน Varyag ซึ่งจีนน่าจะนำไปใช้ปฏิบัติการแทนที่จะนำไปทำสวนสนุกอย่างที่กล่าวไว้ นอกจากนั้นจีนกำลังแกะแบบและศึกษาจากเรือลำนี้เพื่อในอนาคตจีนจะสามารถต่อเรือบรรทุกเครื่องบินเองได้ และการเตรียมการขั้นสำคัญในการมีเรือบรรทุกเครื่องบินในปีนี้คือการสั่งซื้อเครื่องบินรุ่นใช้งานจากเรือบรรทุกเครื่องบินคือ Su-33 จากรัสเซียจำนวน 2 ลำ และมี option จะสั่งซื้อได้ถึง 50 ลำ
ทำให้เชื่อได้ว่าในอนาคตเราคงเห็นรูปร่างที่จัดเจนของเรือบรรทุกเครื่องบินจีนแน่นอน

สหรัฐ Deploy เรือรบ AEGIS จำนวน ลำเพื่อสกัดกั้นขีปนาวุธเกาหลีเหนือ
จากการที่เกาหลีเหนือชอบโชว์พาวบ่อย ๆ วันดีคืนดีก็ยิงขีปนาวุธข้ามแผ่นดินญี่ปุ่นอยู่เนื่อง ๆ ทำให้สหรัฐเตรียมการส่งเรือพิฆาต AEGIS ซึ่งติดจรวด SM-3 รุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการยิงขีปนาวุธข้ามทวีปได้เข้าไปเสริมกับที่มีอยู่แล้วจำนวน 1 ลำ
นอกจากนั้น เรือกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น (JSMDF) จำนวน 3 ลำในชั้นคองโกะ ซึ่งติดระบบ AEGIS ก็จะได้รับการติดตั้งจรวด SM-3 รุ่นใหม่อีกด้วย
BrahMos: พร้อมแข่งขันในตลาดโลก
อินเดียและรัสเซียจัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นเพื่อพัฒนาจรวดต่อต้านเรือรบ (SSM) BrahMos ขึ้นส่งขายในตลาดโลก
BrahMos เป็น SSM ที่เดินทางเร็วกว่าเสียง มีความเร็วประมาณ 2.5 มัค ติดหัวรบหนัก 300 กก. ที่ระยะยิงประมาณ 300 กม. ซึ่ง BrahMos เข้าประจำการแล้วในกองทัพเรืออินเดีย รวมถึงยังไม่รุ่นที่ยิงจากอากาศยานเช่น Su-30 ให้เลือกใช้งานด้วย
ทั้งนี้ มีหลายชาติให้ความสนใจในตัวจรวดรุ่นนี้ รวมถึง บราซิลและมาเลเซีย
ตลาดเรือดำน้ำโลกคึกคัก
ปีนี้มีความเคลื่อนไหวในด้านการเสริมกำลังเรือดำน้ำหลากหลาย เริ่มกันที่สหรัฐที่เสร็จสิ้นการเดินทางทดสอบแรกสำหรับเรือ USS Hawaii ซึ่งเป็นเรือชั้น Verginia ที่มีประสิทธิภาพสูง ทางด้านอังกฤษนั้นวางแผนที่จะมองหาเรือดำน้ำแทนที่เรือชั้น Vangruad ซึ่งเป็นเรือดำน้ำนิวเคลียติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ (SSBN) ที่คาดว่าจะปลดประจำการในราวปี 2025 (ที่เค้าวางแผนกันตอนนี้เพราะการออกแบบและผลิตเรือดำน้ำทดแทนจะใช้เวลาราว ๆ 20 ปี) และฝรั่งเศสสั่งซื้อเรือดำน้ำนิวเคลียชั้น Barracuda จำนวน 6 ลำ มูลค่า 11,000 ล้านเหรียญ
ถัดมาที่เอเชีย อิหร่านนั้นประจำการเรือดำน้ำขนาดเล็กที่คาดว่าน่าจะได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากเกาหลีเหนือ และอิสราเอลได้รับเรือดำน้ำชั้น Dolphin เข้าประจำการ ส่วนไต้หวันนั้นกำลังพิจารณาจัดซื้อเรือดำน้ำจากสหรัฐจำนวน 11 ลำ ในจำนวนนี้ 2 ลำเป็นเรือดำน้ำนิวเคลียจากสหรัฐเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามใต้สมุทรที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้นจากจีน ทางด้านสิงคโปร์ที่ได้รับเรือดำน้ำมือสองที่ปรับปรุงใหม่จากสวีเดน มาเลเซียกำลังเตรียมการรับเรือดำน้ำจากฝรั่งเศส และอินโดนิเซียที่สั่งซื้อเรือดำน้ำใหม่จำนวน 6 ลำ จากรัสเซีย
Create Date : 14 มกราคม 2550 |
Last Update : 27 เมษายน 2552 19:18:55 น. |
|
14 comments
|
Counter : 9499 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ทหารแดง IP: 202.5.85.104 วันที่: 15 มกราคม 2550 เวลา:18:59:44 น. |
|
|
|
โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 17 มกราคม 2550 เวลา:14:37:31 น. |
|
|
|
โดย: ทหารแดง IP: 202.5.95.205 วันที่: 18 มกราคม 2550 เวลา:18:47:37 น. |
|
|
|
โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 19 มกราคม 2550 เวลา:13:47:19 น. |
|
|
|
โดย: Micro_mo IP: 58.8.172.228 วันที่: 21 มกราคม 2550 เวลา:18:49:41 น. |
|
|
|
โดย: kingdom IP: 125.24.209.189 วันที่: 24 มกราคม 2550 เวลา:10:40:42 น. |
|
|
|
โดย: กิตติโชค IP: 203.147.0.44 วันที่: 24 มกราคม 2550 เวลา:19:55:35 น. |
|
|
|
โดย: ตอร์ปิโด IP: 61.19.52.182 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:13:25:59 น. |
|
|
|
โดย: รน IP: 58.10.155.57 วันที่: 21 มกราคม 2551 เวลา:12:24:01 น. |
|
|
|
โดย: peter IP: 168.120.109.22 วันที่: 26 มกราคม 2551 เวลา:22:53:03 น. |
|
|
|
โดย: joe1989 IP: 125.24.96.29 วันที่: 13 มีนาคม 2551 เวลา:10:56:04 น. |
|
|
|
โดย: joe1989 IP: 125.24.96.29 วันที่: 13 มีนาคม 2551 เวลา:11:02:43 น. |
|
|
|
โดย: bird IP: 119.42.67.148 วันที่: 29 สิงหาคม 2551 เวลา:14:56:05 น. |
|
|
|
โดย: bird IP: 119.42.67.148 วันที่: 29 สิงหาคม 2551 เวลา:15:00:17 น. |
|
|
|
|
|
|
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @

|
|
|
|
| |
|
|