กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
เพชรพระมหามงกุฎ
แผ่นดินทอง
รัตนโกสินทร์ ๒๒๕ ยินดีต้อนรับ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระราชสกุล
เที่ยวเมืองพระร่วง
ตำนานวังหน้า
ความ-ทรงจำ ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
อธิบายเรื่องธงไทย
ตำนานภาษีอากร
บันทึกรับสั่งสมเด็จฯ
สารคดีที่น่ารู้ - ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
พระจอมเกล้าพระจอมปราชญ์
เทศาภิบาล
สิมอีสาน
ว่าด้วยตำนานเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน
ตำนานการสอบพระปริยัติธรรม
ตำนานพระแก้วมรกต
เรื่องทรงเที่ยวกลางคืน พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรจนถึงสวรรคต
พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสแหลมมลายูคราว ร.ศ. ๑๐๘
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนเสวยราชย์
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนเสวยราชย์
ว่าด้วยประเทศสยามในจดหมายเหตุจีน
ว่าด้วยหน้าที่และพระอัธยาศัยในกรมพระราชวังบวรฯ กรุงรัตนโกสินทร์
ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร
คำให้การหัวพันห้าทั้งหกในศึกฮ่อ
อำแดงเหมือน กับ นายริด
แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
ว่าด้วยตำนานการเดินทางของฝรั่งมาสู่สยาม และมูลเหตุที่รับเป็นไมตรี
สำเภาเจดีย์ที่วัดยานนาวา
กรุงศรีอยุธยา ครั้งบ้านเมืองดี
ร.ศ. ๑๑๒
อธิบายเรื่องพระบาท
อธิบายตำนานรำโคม
วิจารณ์ว่าด้วยหนังสือ พราหมณศาสตร์ทวาทสพิธี
วินิจฉัยประเพณีแต่งงานอย่างโบราณ
พระราชหัตถเลขาอันเป็นมูลเหตุที่ตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ
บรรดาศักดิ์ "เจ้าคุณ" ฝ่ายผู้หญิง
รับทูตฝรั่งครั้งกรุงรัตนโกสินทร์
ตำนานการที่ไทยเรียนภาษาอังกฤษ
ลักษณะการศึกษาของเจ้านายแต่โบราณ
คำให้การชาวอังวะ
แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรฐมหาราช
"กรมสมเด็จ" กับ "สมเด็จกรม"
พระบรมราชาธิบายเรื่อง ตั้งกรมเจ้านาย
เปรียบนามสกุลกับชื่อแซ่
พระราชปุจฉาอันเป็นมูล "พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ"
คำให้การเฒ่าสา เรื่องหนังราชสีห์
ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่างๆ
ตำนานพระโกศ
ศึกเจ้าอนุเวียงจันทน์
ศึกถลาง
อธิบายเรื่องพระมหาอุปราช
เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน สรุป
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน ตอนที่ ๒
กำเนิดหัวเมืองในมณฑลอีสาน ตอนที่ ๑
อธิบายเรื่องวรรณยุกต์
ประกาศพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
ประกาศขนานนามพระพุทธปฏิมากรประจำรัชกาล
ตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม
เหตุเกิดเมื่อศักราช ๙๐๗ พระเทียรราชาได้ราชสมบัติ
เสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน มณฑลอุดร ตอนที่ ๑
เสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน มณฑลอุดร ตอนที่ ๒
เมื่อแผ่นดินทรงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒ พระองค์
ว่าด้วยลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ
เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๓
พระราชมรดกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ตำหนักทองที่วัดไทร
ด่านพระเจดีย์สามองค์
๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ เมื่อแผ่นดินสยามร้องไห้
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
สร้างพระบรมรูปทรงม้า
สมเด็จพระปิยมหาราช
อั้งยี่
ตำนานเงินตรา
ตำนานอากรบ่อนเบี้ยและหวย
แผ่นดินพระร่วง
จดหมายเหตุเสด็จหว้ากอ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
แรกมีอนามัยในเมืองไทย
แรกมีโรงพยาบาลในเมืองไทย - ศิริราชพยาบาล
พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน
พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย
แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
แผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา
ตำนานกรุงศรีอยุธยา
ศึกคราวตีเมืองพม่า
ศึกเมืองทวาย
ศึกพม่าที่นครลำปางและป่าซาง
ศึกพม่าที่ท่าดินแดง
ศึกหินดาดลาดหญ้า
ค้นเมืองโบราณ
ว่าด้วยตำนานสามก๊ก
ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม
พระราชกรัณยานุสรณ์
หนังสือหอหลวง
ว่าด้วยยศเจ้านาย
วินิจฉัยประเพณีแต่งงานอย่างโบราณ
ภาพประกอบเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน แต่งงานพระไวย
ฝีมือครูเหม เวชกร สีน้ำและดินสอดำบนกระดาษ 17 x 24 ซม.
วินิจฉัยประเพณีแต่งงานอย่างโบราณ
ในบทเสภา (ฉบับหอสมุดพิมพ์) มีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวอยู่ในเล่ม ๑ (หน้า ๑๐๕) เมื่อพลายแก้วแต่งงานกับนางพิมพ์ตอน ๑ เมื่อขุนช้างแต่งงานกับนางวันทอง (หน้า ๒๕๓) ตอน ๑ กับในเล่ม ๓ เมื่อแต่งงานพระไวยกับนางศรีมาลา (หน้า ๒๐๙) อีกตอน ๑ พรรณนาถึงกระบวนพิธีแต่งงานบ่าวสาวอย่างโบราณอยู่ข้างถ้วนถี่ ตรงกับที่ได้เคยเห็นแต่ก่อนบ้าง เคยได้ยินเล่ากันมาบ้าง จึงเก็บเนื้อความมาแต่งวินิจฉัยต่อไปนี้ ยกเอากระบวนในตอนแต่งงานพลายแก้วกับนางพิมพ์ตั้งเป็นหลัก เอาความในตอนอื่นประกอบ
๑) เมื่อนางทองประสี (แม่เจ้าบ่าว) ไปขอนางพิมพ์ต่อนางศรีประจันต์ (แม่เจ้าสาว) หาผู้ใหญ่สูงอายุในตำบลนั้นชื่อตาสน ตาเสา ยามเม้า ยายมิ่ง อันเป็นที่นับถือด้วยกันทั้งสองฝ่าย (จึงเรียกว่าเถ้าแก่) ไปด้วย ๔ คน เมื่อนางทองประสีขอลูกสาว นางศรีประจันต์ว่า ตูจะขอถามความท่านยาย ลูกชายนั้นดีหรืออย่างไร ไม่เล่นเบี้ยกินเหล้าเมากัญชา ฝิ่นฝามันสูบบ้างหรือไม่ จะสูงต่ำดำขาวคราวใคร ตูยังไม่เห็นแก่ตาว่าตามจริงฯ ครานั้นตาสนกับตาเสา กับทั้งยายเม้าและยายมิ่ง ว่านานไปท่านจะได้พึ่งพิง ลูกทองประสีดีจริงนะคนนี้ ฯลฯ บทตรงนี้ส่อว่าผู้ปกครองนั้นเป็นผู้ขอ เถ้าแก่เป็นแต่ผู้รับประกัน
๒) เมื่อแม่ยอมยกลูกสาวให้แล้ว ผู้ปกครองทั้ง ๒ ฝ่าย ปรึกษากันต่อไปถึงกำหนดทุนสิน และหาฤกษ์กำหนดวันงาน แต่นั้นทางฝ่ายเจ้าบ่าวก็แต่ตัวไม้เรือนหอแล้วขนเอาไปเตรียมไว้ที่บ้านเจ้าสาว ฝ่ายข้างเจ้าสาวก็เตรียมทำของเลี้ยง
๓) ครั้นถึงวันฤกษ์แรก เจ้าบ่าวบอกแขกขอแรงพวกพ้องกันไปยังบ้านเจ้าสาวแต่ดึก พอได้แสงอรุณก็ตั้งพิธีทำขวัญเสา แล้วยกเสาปลูกเรือนหอจนแล้วเสร็จในวันนั้น ข้างฝ่ายเจ้าสาวเลี้ยงอาหารพวกปลูกเรือน
เรื่องปลูกเรือนหอไม้แล้วในวันเดียวนี้ เคยทราบว่าทำกันเป็นสามัญมาแต่ก่อน บางตระกูลถือแปลกออกไป ถึงให้ใช้แต่ไม้หมากทำเสาเรือนหอก็มี ส่วนเครื่องแต่งเรือนเป็นของฝ่ายเจ้าสาวจะต้องหา เป็นประเพณีทั่วไป สันนิษฐานว่าเรือนหอแต่งงานนั้นทำสำหรับให้อยู่เพียงชั่วคราว พอผู้ปกครองฝ่ายหญิงวางใจ เช่นมีลูกด้วยกันแล้วก็ดี หรือเห็นว่ารักใคร่คุ้นเคยกันสนิทสนมแล้วก็ดี ก็ยอมให้พากันไปตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นอิสระต่างหาก หรือไปอยู่บ้านของเจ้าบ่าว อันเป็นผู้มีถิ่นฐานของตนเองอยู่แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงไม่ทำเรือนหออย่างมั่นคงแต่แรก แต่โดยปกติต้องปลูกเรือนหออยู่ด้วยกันที่บ้านเจ้าสาวก่อนทั้งนั้น ประเพณีที่ยอมให้เจ้าสาวไปอยู่บ้านเจ้าบ่าวแต่แรกแต่งงาน น่าจะมีแต่ในตระกูลสูง เช่นเจ้าบ่าวต้องปกครองบ้านเมือง หรือสูงศักดิ์ไม่สมควรจะไปอยู่บ้านตระกูลเจ้าสาวซึ่งต่ำศักดิ์กว่า
๔) ในวันต่อมาจากวันปลูกหอมา ในบทเสภาว่า ครั้นรุ่งเช้าขึ้นพลันเป็นวันดี ทองประสีจัดเรือกันยาใหญ่ เอาขันหมากลงบรรทุกขลุกขลุ่ยไป หามโหรีใส่ท้ายกันยา (คนยก)ขันหมากเลือกเอา(หญิง)ที่รูปสวย นุ่งยกห่มผวยจับผิวหน้า ก็ออกเรือด้วยพลันทันเวลา ครู่หนึ่งถึงท่าศรีประจันต์ การแห่ขันหมากอย่างว่านี้ได้เคยเห็นมาหลายครั้ง แต่เสียดายอยู่ที่ไม่เคยเห็นสิ่งซึ่งเรียกว่าขันหมาก และยังไม่รู้ว่าขันหมากนั้นเอาไปทำอะไร (ถ้าพระองค์ท่านประทานอธิบายไม่ได้ ขอให้ลองทรงสืบดู บางทีจะยังมีตัวผู้รู้ ถึงกระนั้นขันหมากในชั้นหลังก็น่าจะไม่เหมือนอย่างโบราณเช่นว่าในเสภา) จะลองสันนิษฐานดู
คำที่เรียกว่า ขัน นั้นแปลกอยู่ ไทยข้างใต้เช่นชาวกรุงเทพฯ หมายความว่าภาชนะอย่างรูปคล้ายมะพร้าวครึ่งซีก แต่ไทยข้างเหนือเช่นชาวเชียงใหม่เขาหมายความว่า ภาชนะอย่างมีเชิงเช่นที่ไทยใต้เรียกว่า พาน นั้น ที่จริงเมื่อคิดดูก็เห็นว่าจะมาแต่มูลอันเดียวกันนั้น คือแต่เดิมมนุษย์ให้กะลามะพร้าวเป็นภาชนะใช้สอย ต่อมาเมื่อรู้จักหล่อโลหะใช้ก็ทำภาชนะนั้นด้วยโลหะ เรียกกันว่า ขัน ทั้งไทยใต้และไทยเหนือ ต่อมาอีกมีผู้คิดทำเชิงต่อขันให้สูงขึ้น ไทยเหนือเรียกคงอยู่ว่า ขัน ตามเดิม ไทยใต้เดิมเรียกว่า ขันเชิง ต่อมาเมื่อมีขันเชิงชนิดที่ใช้สำหรับวางของแห้งจึงเรียกกันว่า พาน ที่ว่านี้โดยเดา แต่ประหลาดอยู่ที่มีเครื่องราชูปโภคสิ่งหนึ่งซึ่งใช้ทั้ง ๒ คำนั้นรวมกันเรียกเป็นชื่อว่า พานพระขันหมาก ข้อนี้ส่อให้สันนิษฐานดังกล่าวมา
ถ้าว่าเฉพาะในบทเสภา ที่เรียกกันว่าขันหมากเห็นว่าจะเป็นขันหมากสำหรับเลี้ยงแขกที่เชิญมาในวันแต่งงานนั้นเอง จะใส่หมากด้วยขันหรือด้วยพานก็ได้ ขันหมากเอกสำหรับแขกที่ศักดิ์สูง งานไหนมีขันหมากเอกมากก็ยิ่งมีหน้ามีตา เพราะจะมีคนสูงศักดิ์มาช่วยมาก จึงได้ตกแต่งขันหมากเอกให้หรูหรา ผิดกับขันหมากสามัญ หญิงสาวที่ถือขันหมากไปตอนเช้า ก็เห็นจะเป็นสาวใช้ที่ตั้งพานหมากเลี้ยงแขกในตอนเย็นนั่นเอง
๕) เมื่อเรือขันหมากถึงบ้านเจ้าสาวบทเสภาว่า จึงจอดเข้าหน้าสะพานใหญ่ ตาผลวิ่งไปเอาไม้กั้น เสียเงินทองให้ขึ้นไปพลัน จนขันหมากนั้นขึ้นบนบันได(เรือน) ความตรงนี้วินิจฉัยข้อต้นส่อถึงเหตุที่มีเครื่องดนตรีประโคมไปในเรือขันหมาก ข้อหลังส่อถึงที่ตาผลเอาไม้กั้น อันประเพณีงานของพวกชาวบ้านที่ประโคมไปในเรือขันหมาก โดยปกติมักเป็นการบอกบุญ เหมือนเช่นแห่กฐินหรือผ้าป่า ประสงค์จะชักชวนพวกชาวบ้านให้มาช่วยกันทำบุญ แต่แห่ขันหมากไม่มีกิจเช่นนั้น จึงเห็นว่าเครื่องดนตรีนั้นน่าจะสำหรับประโคมบอกให้ยินดีเมื่อไปถึงบ้านเจ้าสาว ไม่เช่นนั้นก็จะต้องไปตะโกนเรียกให้เปิดประตูบ้านรับ ข้อที่มีผู้มากีดกั้นก็มิใช่ผู้อื่น คือผู้เป็นโทวาริกรักษาประตู ต้องดูแลให้รู้ว่าใครมาและไต่ถามให้ทราบกิจเสียก่อน แล้วจึงเปิดประตู พิธีส่วนนี้คงมาแต่มูลเหตุเช่นว่ามา
๖) เมื่อพวกนำขันหมากขึ้นเรือนเจ้าสาวแล้ว มีในบทเสภาต่อไป (แต่ในตอนขุนช้างแต่งงานกับนางวันทอง ความตรงนี้ชัดเจนดีกว่า จึงคัดเอาลง) ว่า ขันหมากตั้งเรียงเคียงกันมา เถ้าแก่นำหน้าขึ้นนั่งพรม เถ้าแก่ที่เรือก็ต้อนรับ จังนับโต๊ะเตียบใหญ่ใส่ขนม ทั้งหมูไก่เหล้าเข็มเต็มขวดกลม กล้วยส้มร้อยสิ่งตามสัญญา ทุนสินเงินตราผ้าไหว้ เอาออกนับรับใส่โต๊ะสามขา เถ้าแก่สองข้างต่างสนทนา ขนของเข้าเคหาด้วยทันใด แถมพกยกให้ตามทำนอง เอาข้าวของคาวหวานมาตั้งให้ เลี้ยงดูอิ่มหนำสำราญใจ เถ้าแก่กลับไปด้วยฉับพลัน ความตอนนี้ส่อว่าเถ้าแก่ (ทั้ง ๔ คนที่ไปเมื่อวันขอ) เป็นผู้นำขันหมากไป ทางฝ่ายเจ้าสาวก็หาเถ้าแก่ไว้รับ เถ้าแก่คนกลางทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นพนักงานตรวจตราสิ่งของที่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องให้ให้ถูกตามสัญญา และสิ่งของที่ให้นั้นเป็นของกินสำหรับเลี้ยงแขกประเภท ๑ เงิน ทุน (ซึ่งผู้ปกครองให้ฝ่ายละครึ่ง) สำหรับคู่บ่าวสาวจะได้ใช้ในการตังตัวประเภท ๑ สินสอด ของเจ้าบ่าวให้แก่ตัวเจ้าสาวประเภท ๑ ผ้าไหว้ คือผ้านุ่งกับผ้าห่มจัดเป็นสำรับ สำหรับคู่บ่าวสาวให้ผู้ใหญ่ในสกุลทั้ง ๒ ฝ่าย เวลาไปไหว้เมื่อแต่งงานกันแล้ว เมื่อฝ่ายเจ้าสาวรับเครื่องขันหมากเสร็จแล้วเลี้ยงอาหาร และแจกของแถมพกแก่พวกที่ไปรับขันหมากทั่วกัน
๗) ถึงเวลาเย็น (วันขันหมากไปนั้น) ทำพิธีสงฆ์นิมนต์พระสวดมนต์ ตัวเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวต่างมีเพื่อนบ่าวและเพื่อนสาวรวมฝ่ายละ ๑๐ คน ตัวหน้าหน้าเรียกว่า บ่าวนำ และ สาวนำ ห้อมล้อมพาตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาวไปนั่งตั้งวงแยกกันอยู่ข้างหน้าพระสงฆ์ (กระบวนพิธีตรงนี้เหมือนกันทั้งบทตอนแต่งงานพลายแก้วและแต่งงานพระไวย แต่บทเสภาตอนแต่งงานพระไวยพรรณนาชัดเจนกว่า จึงคัดมาลง) ครั้นถึงน้อมนั่งฟังพระธรรม พระสดัมภ์(ปลัดสังฆราช)จับมงคลคู่ใส่ สายสิญจน์โยงศรีมาลามาพระไวย พอฆ้องใหญ่หึ่งดังตั้งชยันโต หนุ่มสาวเคียงข้างเข้านั่งอัด พระสงฆ์เปิดตาลปัตรซัดน้ำโร่ พรำลงข้างสีกาห้าหกโอ ท่านยายโพสาวนำน้ำเข้าตา อึดอัดยัดเยียดเบียดกันกลุ้ม เอาหนามซุ่มแทงท้องร้องอุยห่า ที่ไม่ถูกเท้ายันดันเข้ามา ท่านยายสาออกมานั่งบังกันไว้ มหาดเล็กโลนโลนโดนกระแทก โอยพ่อขี้แตกทนไม่ได้ ท่านยายสาเต็มที่ลุกหนีไป จนพระไวยศรีมาลามาชิดกัน บทตอนนี้แสดงประเพรีแต่งงานอย่างโบราณที่ผิดกับที่ทำกันชั้นหลังเป็นข้อสำคัญคือ
ก. พระสวมมงคลคู่ให้บ่าวสาว
ข. การรดน้ำแต่งงานพระเป็นผู้รด
ค. รดน้ำด้วยเอาโอตักน้ำ ซัด เปียกทั้งตัว จนถึงต้องผลัดผ้าแต่งตัวใหม่ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาว
ฆ. การที่พวกเพื่อนบ่าวสาวเข้ารับน้ำมนต์เป็นอุบายที่จะแกล้งเบียดตัวเจ้าบ่าวกับตัวเจ้าสาวให้เข้าไปชิดติดกัน
รดน้ำอย่างว่ามาในบทเสภาเรียกว่า ซัดน้ำ (เห็นจะเป็นภาษาไทยคำเดียวกับ สาดน้ำ นั่นเอง) แต่น่าสันนิษฐานว่าจะเป็นประเพณีเดิมของไทยชั้นพลเมือง จึงประพฤติกันแพร่หลาย การที่ให้ผู้ใหญ่ในวงศ์ญาติรดน้ำสังข์แก่คู่บ่าวสาว น่าจะเป็นประเพณีที่พวกพราหมณาจารย์พามาแต่อินเดียอนุโลมต่อพิธีอภิเษก เห็นจะใช้แต่ในมณฑลบุคคลชั้นสูงเช่นเจ้านายเป็นต้น
เมื่อเสร็จพิธีซัดน้ำ ถวายไทยธรรมพระสงฆ์แล้ว เวลาค่ำมีการเลี้ยงแขก จัดเลี้ยงเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ตัวนายลงไปจนบ่าวไพร่
๘) รุ่งเช้าเลี้ยงพระที่ได้สวดมนต์เมื่อวันก่อน ตัวเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวต้องตักบาตรด้วยกัน เลี้ยงพระเป็นเสร็จการพิธี แต่การที่ส่งตัวเจ้าสาวรอหาอีกฤกษ์หนึ่งภายหลังวันทำพิธี ดูราวกับเพื่อจะเกลี้ยกล่อมให้เจ้าสาวยอมไปสู่ชายหายอดสูเสียก่อน ในระหว่านั้นเจ้าบ่าวต้องนอนคอยอยู่ที่เรือนหอ สองสามวันผู้ปกครองจึงพาตัวเจ้าสาวลอบไปส่งให้เจ้าบ่าวในเวลาค่ำวันหนึ่ง เรียกกันว่า ส่งตัวเข้าหอ ไม่บอกให้ใครแม้จนตัวเจ้าบ่าวรู้ล่วงหน้าก่อน
เมื่อเขียนวินิจฉัยประเพณีแต่งงานอย่างโบราณที่ปรากฏในบทเสภาแล้ว นึกขึ้นถึงเรื่องที่ได้ยินเล่ากันมาว่า เมื่อในรัชกาลที่ ๓ ผู้มีศักดิ์สูงเช่นเจ้านาย ถ้าอยากได้ลูกสาวใครสามารถจะพาพรรคพวกไปฉุดเอาตัวหญิงนั้นไปเป็นเมียตามอำเภอใจ และเล่ากันพิสดารต่อไปว่า ครั้งหนึ่งลูกเธอไปฉุดลูกสาวเขา ผู้ปกครองผู้หญิง (ทำนองจะเป็นข้าราชการ) ถวายฎีกา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ทำไมลูกของข้าไม่สมกับลูกของเจ้าหรือ ผู้ถวายฎีกาก็ต้องนิ่งไป คำเล่านี้ไม่น่าเชื่อ ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเห็นชอบ หรือแม้เพิกเฉยในการที่พระเจ้าลูกเธอเที่ยวข่มเหงผู้อื่นเช่นนั้น
แต่เรื่องฉุดลูกสาวเมื่อในรัชกาลที่ ๓ นั้นมีแน่ ยายผ่องมารดาของหม่อมเฉื่อย แกเล่าให้หม่อมฉันฟังว่า เมื่อแกเป็นสาว พระยาเพชรปาณีบิดาของแกกลัวเจ้านายจะฉุด ให้พาไปฝากไว้ในที่พระราชวัง จนเมื่อจะแต่งจึงให้ไปรับออกมา แกเคยไปเห็นที่วังฝึกหัดเด็กดี เมื่อแกทีลูกสาวจึงส่งเข้าไปไว้ในวังแต่เล็กทุกคน เพื่อระงับการฉุดลูกสาว เป็นเหตุอันหนึ่งซึ่งทูลกระหม่อมทรงตั้งประเพณีเสด็จออกรับฎีการาษฎรด้วยพระองค์เองทุกสัปดาหะ จึงสงบแต่รัชกาลที่ ๔ มา
เมื่อหม่อมฉันอ่านหนังสือเรื่องประเทศต่างๆ ไปพบกล่าวถึงประเพณีแต่งงานของมนุษย์พวกที่อยู่ตามทะเลทราย ว่าเจ้าบ่าวขี่ม้าคุมพรรคพวกไปรับตัวเจ้าสาวขึ้นหลังม้าไป เหมือนอย่างว่าสามารถชิงเอาไปเป็นเมียได้ด้วยมีฤทธิเดชมาก แล้วนึกไปถึงพระอินทร์ชิงลูกสาวท้าวเวปจิตติในนิทานธรรมบท (มีรูปเขียนไว้ ในพระอุโบสถวัดราชบูรณะ) และเรื่องอิเหนา ท้าวกะหมังกุหนิงยกกองทัพไปตีเมืองดาหา เพราะเหตุท้าวดาหาไม่ยอมยกนางบุษบาให้
ส่อให้เห็นว่าแต่โบราณนิยมกันว่า ถ้าใครสามารถอาจจะหาเมียได้ด้วยพลการนับว่าเป็นวิเศษ มูลของการฉุดลูกสาวน่าจะมาแต่ประเพณีซึ่งนิยมกันแต่ดึกดำบรรพ์ดังกล่าวมา พวกพราหมณาจารย์เอาเข้ามาแถลงจึงมาเกิดขึ้นในประเทศนี้ แต่ว่าชั้นเดิมเห็นจะประพฤติแต่ในระหว่างตระกูลอันยศศักดิ์สมกัน และพาไปเป็นเมียหลวง และเฉพาะแต่ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ยอมยกให้โดยดีเท่านั้น ครั้นนานมาเมื่อความรู้และความเลื่อมใสในจารีตโบราณเสื่อมคลาย ก็กลายเป็นวิธีสำหรับผู้มีอำนาจเที่ยวฉุดคร่าหาเมียน้อยเล่นตามชอบใจ
.........................................................................................................................................................
(คัดจากสาส์นสมเด็จ)
Create Date : 13 กรกฎาคม 2550
Last Update : 13 กรกฎาคม 2550 8:43:35 น.
2 comments
Counter : 4682 Pageviews.
Share
Tweet
สมัยนี้ถึงฉุดเขามา..เขาก็คงไม่ทนอยู่เหมือนสาวสมัยก่อนที่ถูกสอนมาว่า"ผัวเดียวเมียเดียว"หรอกนะคะคุณกัมม์
โดย:
Tante-Marz
วันที่: 17 กรกฎาคม 2550 เวลา:0:11:34 น.
เห็นด้วยครับ ป้าปุ้ม
สมัยก่อนรู้จักกันหมดบ้านหมดตำบล ลูกตานั่นลูกตานี่
หญิงที่โดนฉุดไป ก็คงต้องทนอยู่อย่างนั้น เพราะเขารู้กันทั่ว
ถึงจะหนีไปก็คงอาย และอีกอย่างเดินทางก็ลำบาก ตัวก็เป็นหญิง จะหนีไปทางไหน
พูดถึงเรื่องฉุดสาว นึกถึงบรรยากาศในนิยายของไม้เมืองเดิมนะครับ
โดย:
กัมม์
วันที่: 17 กรกฎาคม 2550 เวลา:12:40:27 น.
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
กัมม์
Location :
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [
?
]
วิชา ความรู้จะมีค่าเมื่อถูกถ่ายทอด
Bigmommy
NickyNick
เพ็ญชมพู
kenzen
สาวใหม
กระจ้อน
คนรักน้ำมัน
Why England
naragorn
biebie999
วรณัย
เซียงยอด
แม่สลิ่ม
รอยคำ
สุธน หิญ
นอกราชการ
BFBMOM
มณีไตรรงค์
karmapolice
เมื่อไรจะหายเหงา
เจ้าชายเล็ก
รักดี
ลุงนายช่าง
nidyada
mr.cozy
กวินทรากร
Mutation
พลังชีวิต
หนุ่มรัตนะ
Webmaster - BlogGang
[Add กัมม์'s blog to your web]
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
หอมรดกไทย
เวียงวัง
มอญ
กฎหมายไทย
ประตูสู่อีสาน
พจนานุกรมไทย-อังกฤษ
พจนานุกรมไทย-บาลี
คำไท - คำถิ่น
คนโคราช
หนังสือหายาก E - Book
ลิลิตตะเลงพ่าย
สามก๊ก
บ้านมหา (หมอลำออนไลน์)
หมากรุกไทย และหมากกระดาน
ราชกิจจานุเบกษา
สมุดภาพเมืองไทยในอดีต
พระราชวังพญาไท
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ฐานข้อมูลภาพถ่าย กรมศิลปากร
ปากเซ ดอท คอม
ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้
มวยไชยา
ดำรงราชานุภาพ
พิพิธภัณฑ์ธงสยาม
ห้องสมุดพันทิป
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
จิตรกรรมฝาผนังวัดบุปผาราม
พิพิธภัณฑ์ศาลไทย
จิตรธานี
Wikimapia
ราชบัณฑิตยสถาน
Bloggang.com
MY VIP Friend
สมัยนี้ถึงฉุดเขามา..เขาก็คงไม่ทนอยู่เหมือนสาวสมัยก่อนที่ถูกสอนมาว่า"ผัวเดียวเมียเดียว"หรอกนะคะคุณกัมม์