space
space
space
<<
ธันวาคม 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
30 ธันวาคม 2563
space
space
space

ม.ปลายของคุณลูกชายกับ รร.สาธิตฯ มธ.
เล่าเรื่อง รร. ม.ปลายของคุณลูกชาย 

ไปไล่ๆ อ่านเรื่องเดิม เออ เราเล่าตอน ม.ต้นเนอะ เวลาผ่านไป ตอนนี้ ม.ปลาย ชั้น ม. 4 แล้ว

เล่านิดนึงละกันเนอะ

เบื้องต้น รร.ไม่รับ นร. เข้า ม.4 นะคะ รับเฉพาะเข้า ม.1 เท่านั้น

ใส่เสื้อโปโลของ รร. เฉพาะวันจันทร์และพฤหัสเช่นเดิม วันอื่นๆ ตามสะดวกแต่สุภาพ ไปทัศนศึกษาก็เสื้อโปโล รร.

จากที่ 3 ปีผ่านไปในชีวิต ม.ต้น เราโอเคกะ รร. นะ จากที่ นร. ไม่เยอะ คุณครูดูแล นร. ได้โอเค เราจะเห็นพัฒนาการการเติบโตทั้งด้านการเรียนในกลุ่มวิชา เห็นการเติบโตด้านอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด

คุณครูจะนัดคุยกับ ผปค ทุกภาคการศึกษา เหมือนมาแชร์ไอเดียกันว่าน้องเป็นยังไงบ้าง ต้องการให้คุณครูช่วยเหลืออะไรบ้าง

ภาพรวม ม.ต้นเราก็โอเคนะคะ ส่วนคุณลูกชายเขาก็ happy มากกับการเรียน

ช่วงปลาย ม.ต้น เราก็ถามลูกว่าจะไป "ลอง" สอบที่ รร. อื่นบ้างมั๊ย เผื่ออยากเปลี่ยนบรรยากาศ แฮ่ ไม่ไปค่า บอกแค่ไป "ลอง" ก็ไม่เอาค่ะ

ได้มีโอกาสคุยกับคุณครูประจำชั้น เขาก็ถามว่าคุณแม่ไม่พาน้องไปสอบที่อื่นเหรอ ก็เล่าตามนั้นไป ก็ไม่มีอะไร คุณครูก็อยากให้ไปลองสอบ แต่เมื่อเจ้าตัวเขาไม่อยากไป ก็ไม่บังคับกันค่ะ 

จำนวน นร. ม.ต้นที่ไปเรียนต่อที่อื่น ประมาณ 10 คนจาก นร. 101 คน

บรรยายกาศการเรียน ม.ปลายที่ รร.สาธิตฯ มธ. เขาต้องย้ายมาเรียนที่ตึกคณะ เนื่องจากตึก 1 และ 2 มีรุ่นน้องมาเรียน สถานที่จะแน่นๆ และตึกของ รร. ยังสร้างไม่เสร็จด้วย

คณะฯ เพิ่งเปิดไม่นาน จำนวน นศ.ไม่มากนัก การที่มีน้องๆ ม.4 ไปเรียนจึงไม่เป็นปัญหาใดๆ

ก่อนขึ้น ม.4 เต็มตัว รร. จะให้ นร. เลือกคุณครูที่ปรึกษาในลักษณะ blind date คือ นร. จะทราบเพียงแค่คาแร็คเตอร์ของคุณครู แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร เช่นเดียวกับคุณครูที่จะต้องมาดูแล นร. ม.ปลาย รร.จะสอบถามว่าคุณครูท่านใดต้องการดูแล นร. จำนวนประมาณ 7-8 คนต่อคุณครู 1 ท่าน

หากคุณครูท่านใดประสงค์จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา รร.จะมีการคัดเลือก และเทรนนิ่งให้มีความพร้อมระดับหนึ่ง เพราะคุณครูจะนัด นร. พูดคุยเป็นกลุ่มและเป็นการส่วนตัวค่อนข้างบ่อย เพราะช่วง ม.4 มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความคิด ความรู้สึก วัยรุ่นด้วย

นร. จะได้รู้ว่าคนที่เขาเลือกเป็นใครเมื่อใกล้เปิดเทอม คุณครูที่ปรึกษาจะทำการนัด นร. ตามวันและเวลา เพื่อพูดคุยกันเป็นระยะๆ ติดตามเรื่องราวต่างๆ เราว่าบ่อยนะคะ แทบจะวีคละครั้งกันเลย

ส่วนการเรียน นร. จัดตารางเรียนเอง ไม่ได้นั่งเรียนยาวๆ เหมือน รร. อื่นๆ  บางวันน้องเรียนเช้า บางวันเรียนสาย บางวันเลิก 16.30 น. บางวันเรียนคาบเดียว ถ้า นร. ประสงค์จะกลับบ้านจะต้องแจ้งคุณครูที่ปรึกษาล่วงหน้า 1 วันและสอบถาม ผปค. ให้แน่ใจก่อนจะปล่อย นร.กลับ ส่วน นร. ที่รอ ผปค. สามารถรอได้ที่ตึกคณะ หรือจะไปห้องสมุดซึ่งอยู่ติดกันกับตึกคณะไปอ่านหนังสือรอ ผปค. ได้ ตารางเรียนจะเปลี่ยนทุกเดือน น้องเรียนเหมือนการเก็บเวลาและหน่วยกิตให้ครบ หากครบก็สิ้นสุดการเรียนวิชานั้น ไปต่อวิชาต่อไป

นร. ที่นี่สามารถเข้าใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัยได้เช่นเดียวกับพี่ๆ นศ.

อ้อ ที่นี่ไม่แยกสายเรียนนะคะ ทุกคนได้เรียนทุกสาย คือ วิทย์ ภาษา คำนวณ ตอนนี้น้องเลือกเรียนภาษาที่ 3 คือ ญี่ปุ่น (ชั้นเรียนปกติเรียนอังกฤษและจีน แบ่งตามระดับความรู้ นร.) ซึ่งก็แล้วแต่ นร. จะเลือกเรียนได้เลย ตามที่แจ้ง คือ จัดตารางเรียนเอง

นร.เข้าเรียนตามวิชาที่เลือก ไม่มีห้องทับหนึ่ง ทับสอง เหมือนชีวิตนักศึกษาเลยค่ะ เปลี่ยนห้องเรียนตามรายวิชาที่ลงทะเบียน 

มีเรียนพิเศษเสริมให้ คือ คณิตและภาษาอังกฤษ เรียนที่ รร. ตอน ม.ต้น ก่อนขึ้น ม.4 เราให้เรียนภาษาอังกฤษตอนเย็น เมื่อ นร. เรียนครบไม่ขาดเรียนหรือเรียน 80% จะได้รับค่าเรียนที่จ่ายไปคืน มีค่าใช้จ่ายค่าหนังสือเรียนเท่านั้น 

ภาษาอังกฤษมีการจัดระดับ นร. เพราะบางคนมาจาก รร. อินเตอร์หรือเรียนสองภาษามา ก็จะได้เรียนอีกระดับหนึ่งที่เหมาะสมกับความรู้ของ นร. 

การบ้านเป็นลักษณะ project มีทั้งงานกลุ่ม งานเดี่ยว การแสดงผลงาน แฮ่ น้องจะเล่าว่าเทอมที่เรียนไปแล้วเขาเรียนอะไรไปบ้าง ได้อะไรบ้าง

บทบาทคุณครูที่ปรึกษาก็จะมีการพบกับ ผปค. เป็นระยะๆ เพื่อพูดคุยกันถึงความเปลี่ยนแปลงของลูก มีช่องทางการสื่อสารกันหากต้องการขอรับคำแนะนำเพิ่มเติม

นร. จะต้องกำหนดเส้นทางชีวิต ค้นหาตัวเองว่าต้องการอะไร อยากทำอะไรเพื่อวางแผนการเตรียมตัวที่จะไปเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยคุณครูที่ปรึกษาจะแนะนำว่า นร. จะต้องไปหาข้อมูลอย่างไร นำข้อมูลมาคุยกันและให้คำแนะนำเพิ่มเติม

เมื่อขึ้น ม.5 อาจจะมี นร. บางส่วนไปลงเรียนวิชา genext ของ มธ. ที่มีรายวิชาเปิด (pre-degree) และมี mou ร่วมกันว่าให้ นร. ไปเรียนรายวิชาพื้นฐานร่วมกับพี่ๆ ได้ ส่วนการตัดเกรด/ให้คะแนนอยู่ที่การตกลงกันระหว่างคณะฯ ว่าจะทำอย่างไรให้เหมาะสม

ที่บอกว่าบางส่วนเนื่องจากคุณครูที่ปรึกษาจะให้คำแนะนำค่ะว่า นร. ควรจะไปลงหรือไม่ คือ พิจารณาตามศักยภาพ ความสนใจ เป้าหมาย เส้นทางชีวิตของ นร. ด้วยค่ะ ไม่ใช่ว่าต้องไปลงเรียนทุกคน

คุณลูกชาย โอเคมั๊ย เขาก็ชอบค่ะ สนุกกับการเรียน การใช้ชีวิต กิจกรรมต่างๆ ตัวตนก็เริ่มชัดเจนว่าสนใจอะไร อยากทำอะไร เริ่มเห็นความถนัด ต้องการ challenge ตัวเองในด้านอะไร

อาหารกลางวัน นร. เดินไปทานที่โรงอาหารของมหาวิทยาลัยได้ตามสะดวก และตามเวลาที่ นร.ไม่มีเรียนได้เลย มีหลายที่ให้ นร. เลือกได้เลยส่วนใหญ่ก็ไปเป็นกลุ่มหรือมีเพื่อนไป หรือสั่งมาทานกันที่คณะเป็นกลุ่มได้

สอบวัดผลเช่นเดียวกันค่ะ วัดตามระดับว่า นร.ได้ถึงตามเกณฑ์หรือยัง ระดับเป็นอย่างไร ซึ่ง นร.เขาจะต้องสะท้อนตัวเองให้คุณครูที่ปรึกษาได้ทราบว่าเขาควรจะต้องพัฒนาด้านใดให้เหมาะสมกับความต้องการและความถนัดของเขา

เรียน รด. เหมือนกันนะคะ

 


Create Date : 30 ธันวาคม 2563
Last Update : 30 ธันวาคม 2563 5:43:14 น. 2 comments
Counter : 1026 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse, คุณTui Laksi


 
ดีจังค่ะ เราอ่านแล้วได้เห็นพัฒนาการทางการศึกษาของไทยดีขึ้น
ลูกชายของเราเรียน สาธิตจุฬาฯ ป1-ม.6 ยาวเลยเช่นกัน

ของ มธ. จัดการเรียนการสอนได้ใกล้เคียงกับ นศ.ในมอ.เลย
เขาได้คุ้นชินนะคะ Managing Schedule เองด้วย
ขอบคุณค่ะ


โดย: Tui Laksi วันที่: 30 ธันวาคม 2563 เวลา:9:16:51 น.  

 
ผมว่าแบบนี้โอเคมากเลยครับ เหมือนจะเตรียมความพร้อมเข้าสู่มหาวิทยาลัยด้วยเลยครับ ที่ชอบอีกอย่างคือเรียนทั้งหมดเลยทั้งวิทย์ ศิลป์ภาษา ได้ไปเรียนในห้องเรียนรุ่นพี่ในมหาฯลัยด้วย โอเคมากครับ


โดย: The Kop Civil วันที่: 30 ธันวาคม 2563 เวลา:11:26:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Tonkaow20
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เพิ่งรู้การได้ออกเดินทาง ได้เพิ่มประสบการณ์ชีวิต ค่อยสะสมประสบการณ์

space
space
[Add Tonkaow20's blog to your web]
space
space
space
space
space