Group Blog
 
<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
10 กันยายน 2557
 
All Blogs
 

โรคอิไตอิไต ภัยร้ายจากสารแคดเมียม


    โรคอิไตอิไต ภัยร้ายจากสารแคดเมียมที่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะคนที่ชอบส้มตำถาดสียิ่งควรระวัง !
    โรคอิไตอิไต เป็นโรคที่มาจากสารแคดเมียมที่อยู่ในสีที่เคลือบอยู่บนถาด เมื่อมันถูกกัดกร่อนด้วยกรดที่มาจากน้ำมะนาว หรือจากน้ำส้มสายชู ก็จะทำให้สารแคดเมียมที่เคลือบอยู่ละลายออกมาปะปนกับส้มตำ เป็นสาเหตุของโรคอิไตอิไต






    โรคอิไตอิไต คืออะไร

    โรคอิไตอิไต (itai itai) เป็นโรคที่สารแคดเมียมที่เข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายจนถึงระดับอันตราย และสารแคดเมียมได้ทำลายอวัยวะ และ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจนทำให้เกิดอาการเพลีย น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน ไอเรื้อรัง เกิดวงสีเหลืองที่บริเวณฟัน มีภาวะเลือดจาง และความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดอักเสบ นอกจากนี้แคดเมียมยังทำให้เกิดมะเร็งของต่อมลูกหมากได้ และโรคอิไตอิไตยังเป็นโรคที่ส่งผลร้ายกับกระดูกโดยตรง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดในกระดูก กระดูกเสื่อมสภาพและเสียรูปไปในที่สุด 

    โรคอิไตอิไตนี้ถูกพบครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2463 จากเหตุการณ์พิษของแคดเมียมระบาดในประเทศญี่ปุ่น โดยครั้งนั้นเกิดขึ้นบริเวณตามริมฝั่งของแม่น้ำจินสุ อันมีสาเหตุมาจากการทําเหมืองและถลุงโลหะของบริษัทมิตซุย ซึ่งทำอุตสาหกรรมผลิตโลหะทองแดง ตะกั่วและสังกะสี ได้แอบลักลอบนํากากโลหะจากโรงงานมาทิ้งลงแม่นํ้าเป็นเวลานาน จนชาวบ้านที่อาศัยในแถบนั้นที่เป็นเพศหญิง โดยเฉพาะหญิงที่มีบุตรหลายคนและวัยหมดประจําเดือน เกิดอาการปวดกระดูกตามน่อง ซี่โครงและสันหลัง การระบาดในครั้งนี้ทําให้มีคนเสียชีวิต 100 กว่าราย และมากกว่า 180 ราย มีอาการถึงปัจจุบัน โดยมีการค้นพบว่าสาเหตุมาจากการบริโภคข้าวที่ปนเปื้อนสารแคดเมียมเป็นเวลานานมากกว่า 30 ปี

    สาเหตุของโรคอิไตอิไต

    โรคอิไตอิไตมีสาเหตุมาจากสารแคดเมียมที่ปนเปื้อนมากับสิ่งต่าง ๆ ที่เรานำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะน้ำ อาหาร หรืออากาศที่เราหายใจเข้าไป โดยอาการของโรคจะสามารถเกิดจากความเป็นพิษเฉียบพลันและความเป็นพิษจากเรื้อรังได้ ซึ่งความเป็นพิษแบบเรื้อรังจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายถูกทำลาย และมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น 


    สารแคดเมียมคืออะไร 

    แคดเมียม (Cadmium) เป็นโลหะหนัก มีสีขาว ฟ้า วาว มีลักษณะเนื้ออ่อน สามารถบิดโค้งงอได้และถูกตัดได้ง่ายด้วยมีด มักอยู่ในรูปแท่ง แผ่น เส้นลวด หรือเป็นผงเม็ดเล็ก ๆ ถูกค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2360 แต่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมเมื่อครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา

              ปัจจุบันแคดเมียมเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้กันมาก เนื่องจากสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ที่พบในชุบสังกะสี ซึ่งใช้แคดเมียมผสมกับโลหะอื่น เพื่อเพิ่มความเหนียวและทนทานต่อการสึกกร่อน ใช้ทำแบตเตอรี่อัลคาไลน์ โดยการใช้ร่วมกับนิกเกิลเพื่อใช้ในการทำเม็ดสี พลาสติก ยาง และหมึกพิมพ์ นอกจากนี้ใช้เป็นสารประกอบในการผลิตสารกำจัดแมลงบางชนิด และใช้การหลอมโลหะบางชนิดอย่างเช่น ตะกั่ว ทองแดง และสังกะสี เป็นต้น

    ลักษณะพิเศษของแคดเมียมคือ มีจุดหลอมเหลวต่ำ อยู่ที่ 302 องศาเซลเซียส และมีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในกรดอินทรีย์ และกรดอนินทรีย์ อย่างเช่น กรดของน้ำมะนาวหรือกรดของน้ำส้มสายชู และเมื่อนำแคดเมียมมาเผาจะได้แคดเมียมออกไซด์ซึ่งมีสีน้ำตาล ในอากาศที่มีความชื้น แคดเมียมจะถูกออกซิไดซ์ช้า ๆ ให้แคดเมียมออกไซด์ ในธรรมชาติ แคดเมียมมักจะอยู่รวมกับกำมะถันเป็นแคดเมียมซัลไฟด์ หรือเจือปนอยู่ในสินแร่สังกะสี ตะกั่ว หรือทองแดง การนำเอาแคดเมียมมาใช้จะทำให้มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อม ทั้งในอากาศ น้ำ ดิน รวมทั้งในอาหารด้วย และเมื่อเกิดการสะสมในร่างกายมากเกินไปสารชนิดนี้จะส่งผลร้ายต่อร่างกาย


    กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอิไตอิไต

    โรคอิไตอิไตเป็นโรคที่มักจะเกิดกับผู้ที่มีโอกาสสัมผัสหรือเสี่ยงกับสารชนิดนี้ เช่นผู้ที่ทำงานอยู่ในอุตสหกรรมที่มีการใช้และต้องสัมผัสกับแคดเมียมโดยตรง ได้แก่ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ผลิตแบตเตอรี่อัลคาไลน์ หรือผู้ที่ต้องอยู่กับงานไฟฟ้า เชื่อมหรือหลอมโลหะ ทาสี งานชุบสังกะสี เป็นต้น แต่ในปัจจุบันความเสี่ยงยิ่งเข้ามาใกล้ตัวมาขึ้น จากการรับประทานอาหารโดยใช้ภาชนะที่เป็นโลหะเคลือบสี อย่างเช่น ส้มตำถาด อาหารที่อยู่ในจานชามโลหะเคลือบสี หากในอาหารมีส่วนผสมของกรดน้ำมะนาว หรือ กรดน้ำส้มสายชู อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะได้รับสารแคดเมียมสะสมในร่างกายจนเกิดโรคอิไตอิไตได้เช่นกัน




    โรคอิไตอิไต กับอาการที่ปรากฏ

    เมื่อแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต โดยจะไปจับกับแกมม่าโกลบุลิน (Grammar-globulin) และจะมีแคดเมียมบางส่วนจะไปจับกับฮีโมโกลบิน หรือ เมทัลโลไธโอนีน (metallothionein) ในเม็ดเลือดแดง โดยแคดเมียมส่วนใหญ่จะไปสะสมอยู่ในไต และบางส่วนที่ไปสะสมยังตับอ่อนและต่อมไทรอยด์ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ 

    ในการตรวจเพื่อเฝ้าระวังปัญหาพิษจากแคดเมียมจึงไม่ใช้การตรวจหาปริมาณแคดเมียมในเลือดหรือในปัสสาวะ  แต่ใช้การตรวจปริมาณโปรตีนที่ขับออกมาในปัสสาวะ โดยเฉพาะเบตาไมโครโกรบูลิน จากการศึกษาพบว่าการดูดซึมของแคดเมียมในระบบทางเดินอาหารเป็นไปได้น้อยมาก ประมาณร้อยละ 5-10 ของปริมาณแคดเมียมที่กินเข้าไป  การดูดซึมแคดเมียมในลำไส้จะดีขึ้นถ้าปริมาณแคลเซียมในอาหารต่ำ

              สำหรับการดูดซึมแคดเมียมในปอดโดยการหายใจสูดดม แคดเมียมจะถูกดูดซึมได้มากขึ้นถึงร้อยละ 10-40 และถ้าหากร่างกายมนุษย์มีปริมาณของแคดเมียมสูงเกินไป จะทำให้เกิดอันตรายต่อไตขึ้นได้ โดยที่จะทำให้เกิดการทำลายเนื้อไต ทำให้มีโปรตีน กรดอะมิโนและแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นนิ่วในปัสสาวะได้ และถ้าหากติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของกระดูกในที่สุด 

    นอกจากนี้หากได้รับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูงอย่างเฉียบพลันอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีน้ำลายไหล ปวดท้อง ช็อก มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจสั้น มีกลิ่นโลหะในปาก ไอมีเสมหะเป็นฟองหรือมีเสมหะเป็นเลือด อ่อนเพลีย ปวดเจ็บขา ต่อมาปัสสาวะจะเริ่มน้อยลงและมีไข้ จากนั้นจะเกิดอาการปอดอักเสบ จากนั้นตับและไตจะถูกทำลาย ซึ่งถ้าหากเกิดอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนเพื่อทำการรักษาต่อไป


    วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคอิไตอิไต

    ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากแคดเมียมสามารถไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย โดยใช้วิธีการเช่น การฉายภาพรังสีทรวงอก ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด ตรวจปัสสาวะ และเลือด เพื่อหาระดับของแคดเมียมที่อยู่ในร่างกาย โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่ามาตรฐานของแคดเมียมในร่างกายไว้ที่ดังนี้ หากเป็นคนปกติทั่วไปต้องมีระดับแคดเมียมในปัสสาวะ < 2 ไมโครกรัม/กรัม ครีอะตินีน และไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/กรัม ครีอะตินีน และต้องมีระดับแคดเมียมในเลือด 5 ไมโครกรัม/ลิตร แต่ไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/ลิตร  





    วิธีการรักษาโรคอิไตอิไต

    โรคอิไตอิไตแบ่งออกเป็นอาการพิษแบบเฉียบพลัน และอาการพิษแบบเรื้อรัง ซึ่งวิธีการรักษาในแต่ละประเภทก็แตกต่างกันออกไป ดังนี้

    อาการพิษแบบเฉียบพลัน

    วิธีการรักษา

    หากได้รับพิษแคดเมียมผ่านทางการหายใจ ควรนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารแคดเมียมอยู่ในอากาศและนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน  แพทย์จะทำการรักษาอาการปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema) และจะให้แคลเซียมไดโซเดียมอีดีเทต (Calcium disodium edetate) เช่น อีดีทีเอ (EDTA) ทางหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ในปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 1 สัปดาห์ และอาจให้ซ้ำอีกครั้งได้  

    หากได้รับพิษแคดเมียมผ่านทางการรับประทาน ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้ผู้ช่วยเหลือให้นมหรือไข่ที่ตีแล้วแก่ผู้ป่วย เพื่อลดการระคายเคืองของทางเดินอาหาร หลังจากนั้นให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แพทย์จะให้ทำการถ่ายท้องด้วย Fleet's Phosphosoda (เจือจาง 1:4 ด้วยน้ำ) 30-60 มิลลิลิตร เพื่อลดการดูดซึมแคดเมียม ซึ่งถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นจำเป็นที่จะต้องให้แคลเซียมไดโซเดียมอีดีเทต (Calcium disodium edetate) เช่น อีดีทีเอ (EDTA) เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับพิษแคดเมียมทางการหายใจ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงจะเริ่มรักษาอาการของตับ และไตที่ถูกทำลายต่อไป

    อาการพิษแบบเรื้อรัง

    วิธีการรักษา

    หากผู้ป่วยได้รับพิษแคดเมียมและมีอาการเรื้อรังก็อาจจะทำให้อาการกระดูกเสื่อมและผิดรูปไปได้  วิธีการรักษาแบบ ไคโรแพรคติก (Chiropractic) ซึ่งเป็นการจัดกระดูกสันหลังที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคให้กลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม วิธีนี้จะทำให้อาการของโรคดีขึ้นได้ แต่ถ้าหากพิษเรื้อรังนั้นเข้าสู่ระบบหายใจ จะทำให้ปอดถูกทำลายอย่างรวดเร็วจนเกิดอาการปอดอักเสบเรื้อรังหรือเฉียบพลันได้ อาการในขั้นนี้จะมีทั้งการไอแห้ง ๆ อาการแพ้ ระคายเคืองบริเวณลำคอและโพรงจมูก ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น และเจ็บหน้าอก หากเข้าขั้นวิกฤตอาจจะถึงขนาดที่ตับหรือไตวายเฉียบพลันได้ ส่งผลถึงการติดเชื้อในกระแสโลหิต และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ดังนั้นหากเริ่มมีอาการเริ่มแรกของอาการปอดอักเสบควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป

    โรคอิไตอิไต ป้องกันได้หรือไม่

    โรคอิไตอิไตเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารแคดเมียมโดยตรงไม่ว่ากรณีใดก็ตาม หลีกไกลจากสารแคดเมียม กลุ่มอุตสาหกรรมก็ต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบอย่างจริงจัง โดยวิธีที่ดีที่สุดคือการลดปริมาณการใช้สารแคดเมียม หรือใช้สารทดแทนในกรณีที่ทำได้ และควรหลีกเลี่ยงอาหารและน้ำ หรืออยู่ในบริเวณที่มีสารแคดเมียม งดใช้ภาชนะ วัสดุหรือสิ่งของที่มีแคดเมียมปนเปื้อนอยู่ หากต้องเข้าไปอยู่ใกล้บริเวณที่มีสารแคดเมียมกระจายอยู่ในอากาศ ควรใช้หน้ากากป้องกันสารพิษเพื่อป้องกันพิษจากแคดเมียมด้วย

    ไคโรแพรคติก (Chiropractic) รักษาโรคอิไตอิไตได้จริงหรือ?

    แม้ว่ายังไม่มีการพิสูจน์ใด ๆ พิสูจน์ได้ว่า การรักษาโรคอิไตอิไต ด้วยวิธีไคโรแพรคติก (Chiropractic) ซึ่งเป็นวิธีนวดจัดกระดูกด้วยมือนั้นจะสามารถทำให้หายจากโรคนี้ได้ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นการช่วยทำให้ในการปรับสมดุลของร่างกายได้ และทำให้อาการความเป็นพิษของแคดเมียมลดลงได้ระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนทำการรักษาด้วยวิธีนี้ เพราะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคอิไตอิไตนั้นจะมีอาการของภาวะกระดูกเสื่อมร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้กระดูกเกิดความเสียหายจากการรักษาได้

    กินส้มตำถาดอย่างไรให้ห่างไกลโรคอิไตอิไต

    ถึงแม้ว่าสารแคดเมียมจะมีความอันตราย แต่ก็เชื่อว่าคงมีอีกหลายคนที่ไม่อาจหักห้ามใจให้เลิกกินเจ้าส้มตำถาดได้ ดังนั้นเพื่อให้เราปลอดภัยจากโรคอิไตอิไตเราก็ควรที่จะระมัดระวังตัวให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยการหลีกเลี่ยงการกินส้มตำถาดที่ใช้ถาดโลหะเคลือบสี หรือถาดที่ทำจากพลาสติก 

    ได้รู้จักโรคอิไตอิไตกันมากขึ้นแล้ว หวังว่าหลายคนที่กำลังชื่นชอบส้มตำถาดสีก็คงจะเริ่มระมัดระวังกันมากขึ้นแล้วนะคะ รวมทั้งผู้ที่ทำงานซึ่งเกี่ยวข้องกับสารแคดเมียม แม้ว่าโรคนี้จะไม่แสดงอาการป่วยให้เห็นในระยะเวลาอันสั้น แต่หากสะสมเข้าไปมาก ๆ นานหลายสิบปี อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของเรานั้นนับว่าน่ากลัวจริง ๆ 

    หวังให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ
















 

Create Date : 10 กันยายน 2557
57 comments
Last Update : 10 กันยายน 2557 0:27:16 น.
Counter : 12846 Pageviews.

 

เจิมป่าวคะน้องปาน

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

pantawan Health Blog ดู Blog
..................

เพิ่งฟังรายการวันนี้เรื่องส้มตำถาด
กับสารแคดเมี่ยมค่ะน้องปาน
แม้จะมีใบตองรองรับ กรดจากความเปรี้ยวก็อาจซึมผ่านใบตองได้นะคะ
หากมีพลาสติกรองก่อน จะช่วยได้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลมีประโยชน์ค่ะน้องปาน

 

โดย: Sweet_pills 10 กันยายน 2557 0:44:16 น.  

 

สวัสดีครับคุณปาน
ขอบคุณข้อมุล เรื่องส้มตำถาดที่ใช้ถาดโลหะเคลือบสี
หรือถาดที่ทำจากพลาสติก เกิดโรคโรคอิไตอิไต
แต่เห็นส้มตำถาด น่ากินๆ หิวข้าวแต่เช้าเลยครับผม
pantawan Health Blog ดู Blog

 

โดย: moresaw 10 กันยายน 2557 6:32:01 น.  

 

ถาดแบบนี้ตอนที่ป้ายังเล็กมีใช้กันแทบทุกบ้าน ยิ่งที่วัดจะมีเป็นตั้งเลย


โรคนี้เพิ่งได้ยินชื่อค่ะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
รู้นะว่าคิดถึง Pet Blog ดู Blog
blueberryblossom Photo Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: ร่มไม้เย็น 10 กันยายน 2557 13:53:48 น.  

 

เคยได้ยินชื่อโรคนี้นะคะ
ไม่นึกไม่ฝันว่าจะอยู่ในส้มตำถาดด้วย
ดีที่พี่ไม่เคยกินส้มตำถาดแบบนี้ค่ะ
รู้สึกช่วงนี้กำลังเป็นที่นิยม

ทราบข้อมูลไว้แบบนี้ดีมากๆเลย
คราวหลังจะได้ระมัดระวังไว้ค่ะ

 

โดย: มัลลิกา ป 402 10 กันยายน 2557 21:37:34 น.  

 

นิคก็ว่าโรคอะไรหนอ อิไตอิไต
นึกว่าโรคไตค่ะ เชยชะมัดเลยนิค
ที่แท้โรคจากสารแคดเมี่ยมนี่เอง

ส้มตำถาด มีฮิตอยู่พักนึงค่ะ ฮือฮากันมาก
แล้วก็เป็นข่าวว่าอันตราย
นิคก็ไม่รู้ข้อมูลละเอียดหรอกนะ
ขอบคุณคุณปานนะคะที่นำมาฝากนำมาเตือนกัน



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mambymam Music Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: ที่เห็นและเป็นมา 10 กันยายน 2557 22:34:48 น.  

 

เคยดูข่าวเรื่องสารพิษจากส้มตำถาดมาเหมือนกันค่ะ ฟังแล้วน่ากลัวเอาเรื่อง ขอบคุณคุณปานมากนะคะสำหรับข้อมูลที่หามาฝากกันค่ะ

 

โดย: haiku 10 กันยายน 2557 23:04:06 น.  

 

เป็นภัยใกล้ตัวที่น่ากลัวมากค่ะ
อาจเรียกมันว่ามัจจุราชเงียบได้เหมือนกัน

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog

 

โดย: ฝากเธอ 10 กันยายน 2557 23:22:44 น.  

 

ร้านค้าบางร้านใช้ใส่ขายของ
โหวต pantawan Health Blog ดู Blog

 

โดย: เศษเสี้ยว 11 กันยายน 2557 0:03:35 น.  

 

โรคนี้กำลังฮอตเลยเนอะ ส้มตำถาดก็ฮิตมาก
เรายังไม่เคยลองกินกับเค้าซักที ว่าจะๆๆอยู่
เพราะชอบกินส้มตำกับของหลายๆอย่าง
แต่พอมีข่าวออกมา เลยชักหวั่นๆจ้ะ
น่ากลัวเหมือนกัน

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ซองขาวเบอร์ 9 Literature Blog ดู Blog
คนบ้า(น)ป่า Music Blog ดู Blog
Sweet_pills Food Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


บล็อกหน้าจะพาชมสวนแล้วจ้ะ
ไว้ไปชมด้วยกันน้า
ขอบคุณที่แวะไปฟังเพลงค่ะ

 

โดย: mambymam 11 กันยายน 2557 0:34:21 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog

มารับความรู้ดีๆจ้า..

 

โดย: ก้นกะลา 11 กันยายน 2557 3:09:58 น.  

 

มาอ่านแล้วก็ลงชื่อไว้ก่อนนะคะ
ไว้มาส่งกำลังใจอีกทีค่ะ

 

โดย: เนินน้ำ 11 กันยายน 2557 7:20:44 น.  

 

pantawan Health Blog เมือ่วานแวะมาละคะ
อดเปรี้ยวปากไม่ได้ แต่แฝงด้วยอันตรายนะคะ

 

โดย: mariabamboo 11 กันยายน 2557 11:38:58 น.  

 

อานุภาพ สังกะสีเคลือบ ผสมกรดมะนาว มันแรงขนาดนี้เลยหรอคะ

อิไตอิไต นี่ได้ยินจากเรื่องโรคนี้จากญี่ปุ่นสมัยโดนสารกัมตภาพรังสีฯโน่นแน่ะ
ไม่นึกว่าจะมาอยู่ใกล้ตัวจากสิ่งใกล้ตัวได้ด้วย

โหวต บล็อกสุขภาพ ให้จ้า

 

โดย: กาบริเอล 11 กันยายน 2557 12:31:21 น.  

 

pantawan Health Blog ดู Blog


น่ากลัวนะคะน้องปาน โรคชื่อประหลาดเนี่ย อวัยวะสำคัญๆถูกทำลายโดยไม่รู้ตัว

 

โดย: ดอยสะเก็ด 11 กันยายน 2557 15:59:25 น.  

 

เกิดมาก็เพิ่งเคยได้ยินชื่อโรคนี้ครั้งนี้หล่ะ
ชื่อแปลก
อิไตอิไต

 

โดย: พันคม 11 กันยายน 2557 16:09:53 น.  

 

สวัสดีค่า คุณปาน ^^
มาติดตามข่าวสารสุขภาพค่ะ
น่าคิดค่ะ แต่ละโรคสมัยนี้บางทีเพราะคนเราแท้ๆเลย
อย่างส้มตำถาดสีนี่อันตรายมากด้วยค่ะ
น่าจะเปลี่ยนภาชนะจะดีกว่า

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่า

 

โดย: lovereason 11 กันยายน 2557 21:04:14 น.  

 

สวัสดีค่ะ คุณปาน ^^

แรก ๆ พอนิยมกันมากก็เห่อทำกัน
ปรัซซี่ยังเคยทำเลยค่ะ ใช้ถาดเก่า ๆ
แบบในภาพนี่เลย เหอเหอ พอมีข่าวออกมา
เรื่องโรคอิไตอิไตนี่หลาย ๆ ร้านแก้ปัญหา
ด้วยการเปลี่ยนถาด หรือวางใบตองก่อน
ใส่อาหารค่ะ

=====================

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
คนบ้า(น)ป่า Music Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog

 

โดย: ปรัซซี่ 11 กันยายน 2557 21:33:27 น.  

 

pantawan Health Blog ดู Blog


เราคงได้รับสารต่างๆที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากมายหลายชนิดโดยไม่รู้ตัวจากภาชนะบรรจุอาหาร แย่จัง เข้าตำราตายผ่อนส่งหรือเปล่าคะเนี่ย

 

โดย: เวียงแว่นฟ้า 11 กันยายน 2557 21:50:16 น.  

 

สวัสดีค่ะน้องปาน ขอบคุณมากนะคะที่ไปโหวตให้กำลังใจพี่กิ่งค่ะ


ตามมาอ่านเรื่องของโรคอิใดอิใตชื่อแปลกๆดีค่ะ แต่ว่าน่ากลัวมากกกกกเกิดจากสารปนเปื้อนในถาดอาหารน่ากลังจริงๆแล้วเราก็ไม่รู้ว่าได้สะสมเอาสารนี้เข้าไปเท่าไหร่แล้ว

พี่กิ่งโหวตให้นะคะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

หลับฝันดีค่ะ

 

โดย: กิ่งฟ้า 12 กันยายน 2557 0:45:30 น.  

 

ต้องระวังมาก ๆ นะคะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เริงฤดีนะ Movie Blog ดู Blog
ที่เห็นและเป็นมา Art Blog ดู Blog
Sweet_pills Food Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog

 

โดย: ALDI 12 กันยายน 2557 3:32:42 น.  

 

โชคดีที่ไม่เคยกินส้มตำถาดสี
เดี๋ยวนี้อันตรายรอบตัวไปหมดเลยเนาะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog

 

โดย: เนินน้ำ 12 กันยายน 2557 5:53:11 น.  

 

ไม่เคยสนใจเมนูนี้เลยครับ
ก็ไม่เคยรู้หรอกว่ามันมีอันตราย
แต่ไม่คุ้นกับถ้วยชามสีฉูกฉาด
มาแต่ไหนแต่ไร

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog

ขอ share ไปก้วยเด้อครับ

 

โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) 12 กันยายน 2557 8:29:38 น.  

 

ทำบล็อคดี ดี แบบนี้ตลอดไปนะจ๊ะ
...........
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog

 

โดย: รู้นะว่าคิดถึง 12 กันยายน 2557 12:51:28 น.  

 

pantawan Health Blog



น่ากลัวอ๊ะ

 

โดย: เริงฤดีนะ 12 กันยายน 2557 16:32:53 น.  

 

เห็นความร้ายแรงของสารปนเปื้อนตัวนี้ แล้ว คงต้องระวังเรื่องภาชนะอาหารหรือสิ่งแวดล้อมมากขึ้นนะคะน้องปาน ... ให้อันตรายแบบสะสมด้วยเนาะ

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog

 

โดย: Tristy 12 กันยายน 2557 21:23:40 น.  

 

เพิ่งเคยได้ยินครับโรคนี้ จะได้ระวังสาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดโรคครับ
pantawan Health Blog

 

โดย: Insignia_Museum 13 กันยายน 2557 9:30:30 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
ดูน่ากลัวค่ะ ชอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog


 

โดย: หอมกร 13 กันยายน 2557 9:31:16 น.  

 

สวัสดีจ้าคุณปานตะวันผู้น่ารัก คิดถึงงงง

โห!!โรคอิไตอิไต มาจากภาชนะทีี่ใส่
น่ากลัวอ่ะค่ะ แพมอ่านไปนิดนึงแล้ว
ตอนพี่หนูหล่อแชร์ไปที่เฟส สาระประโยชน์มากๆ

อ่านแล้วคิดถึงส้มตำด้วยกินแล้วมีอันตรายได้อีก
แต่ตอนนี้แพมกินส้มตำแพ็คเย็นจากโฟมบ่อยๆหละ
ส่งกำลังใจให้คนน่ารักนะคร้า ++ไลค์
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: mastana 13 กันยายน 2557 13:21:42 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
หอมกร Movie Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
:)

 

โดย: puzzle man (เตยจ๋า ) 13 กันยายน 2557 17:49:31 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Tristy Food Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

อ่านแล้วกลัวไม่อยากทานส้มตำถาดเลยค่า
ขอบคุณที่นำมาแชร์นะคะ

 

โดย: prizella 13 กันยายน 2557 18:10:44 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
หอมกร Movie Blog ดู Blog
มัลลิกา ป 402 Blog about TV ดู Blog
Sweet_pills Food Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog
คนบ้า(น)ป่า Music Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
อรุณสวัสดิ์ค่ะ

 

โดย: Opey 14 กันยายน 2557 5:24:31 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สุนันยา Literature Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog
ALDI Food Blog ดู Blog
เฉลิมลาภ ทราบแล้วเปลี่ยน Music Blog ดู Blog
หอมกร Movie Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
อรุณสวัสดิ์ขอรับ

 

โดย: ขุนเพชรขุนราม 14 กันยายน 2557 5:58:38 น.  

 

ทราบว่าโรคนี้เกิดครั้งแรกที่ญี่ปุ่น . . .

แต่มาอ่านรายละเอียดจากคุณปานค่ะ

โหวตให้ข้อมูลสุขภาพดีๆนะคะ


............................................

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
tuk-tuk@korat Music Blog ดู Blog
พันคม Literature Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


 

โดย: กาปอมซ่า 14 กันยายน 2557 19:35:51 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปชมทุ่งนาจ้ะคุณปาน

 

โดย: mambymam 15 กันยายน 2557 4:19:15 น.  

 

สวัสดียามเช้าจ๊ะ
สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีนะจ๊ะ

 

โดย: รู้นะว่าคิดถึง 15 กันยายน 2557 8:34:35 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Tui Laksi Photo Blog ดู Blog
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

อันตรายมากเลยนะคะ ส้มตำถาดเห็นเค้าฮิตกันมากๆเลย

โหวตให้ค่ะคุณปาน

 

โดย: LoveParadise 15 กันยายน 2557 15:24:15 น.  

 

สวัสดีจ้าน้องปาน

โห ช่วงนี้กำลังฮิตเลยนะนี่

ไปร้านไหนร้านไหน ก็มีแต่ส้มตำถาด

แล้วก็โรคนี้น่ากลัวมาก เป้นแล้วเป็นเลย

รักษาไม่ได้ด้วยเนอะ

อย่างนี้ต้องเรียกว่า เพชรฆาตมากับความแซ่บ ชิมิ 555

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ฟ้าใสวันใหม่ Home & Garden Blog ดู Blog
Close To Heaven Parenting Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog

 

โดย: multiple 15 กันยายน 2557 18:44:24 น.  

 

สวัสดียามคำครับคุณปาน

 

โดย: moresaw 15 กันยายน 2557 19:54:37 น.  

 

หวัดดีค่าคุณปาน

ตอนนี้ฮิตกันมากกกกก ส้มตำถาดนี่นะ เรียกว่าเป็นกระแสกันเยอะด้วยที่ไหนก็มี อิอิ
จริงๆก็น่านะตักส้มตำใส่จานอีกทีและวางบนถาดก็ได้นะคะแล้วเอาเครื่องเคียงต่างๆใสถาดตามปกติ
ก็ไม่เห็นมีใครทำ
แต่ก็มีเอาถาดอลูมิเนียมที่ไม่เป็นสีแบบนี้มาใส่กันต่ออ้างไม่มีสารตะกั่ว เห้อ


โรคนี้เป็นแล้วอันตรายมากด้วย คือเรากินสารเหล่านั้นเข้าไปเต็มๆ เลย
กินไรในภาชนะอย่างไรก็อันตราย
พลาสติกเอย โดนความร้อนเอยก็เจอสารพิษอีกค่า



ส่งกำลังใจให้คุณปานค่ะ




บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog


 

โดย: Rinsa Yoyolive 16 กันยายน 2557 20:48:17 น.  

 

อร๊ายยยยยยยยยย ตำถาด เคยกินอยู่ครั้งหนึ่งค่ะ 5555

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog

 

โดย: มี้เก๋ + ป๊าโอ๋ = ซีทะเล (kae+aoe ) 17 กันยายน 2557 12:39:41 น.  

 

มีมื้อดึกมาฝากคุณปานจ้า

 

โดย: กาปอมซ่า 17 กันยายน 2557 20:55:12 น.  

 

สวัสดีค่ะ คุณปาน ^^

 

โดย: ปรัซซี่ 17 กันยายน 2557 22:08:26 น.  

 

ขอบคุณน้องปานสำหรับกำลังใจนะคะ
นอนหลับฝันดีคืนนี้ค่ะ

 

โดย: Sweet_pills 17 กันยายน 2557 23:54:39 น.  

 

ขอบคุณจ้ะคุณปาน


 

โดย: mambymam 18 กันยายน 2557 4:27:09 น.  

 

ตะกี้ในทีวีก็ยังพูดเรื่องภัยจากส้มตำถาดค่ะ


งวดนี้วางหน้านี้ไว้หลายวันนะคะ

 

โดย: ร่มไม้เย็น 18 กันยายน 2557 17:55:21 น.  

 

น่ากลัวจัง

มีข้อมูลดีๆให้ได้รับรู้
ยังไม่เคยกินส้มตำถาดเลยค่ะ แต่ภัยที่มาจากทางอื่น อันนั้น่ากลัวน่ะ
โดยเฉพาะในอากาศค่ะ

pantawan Health Blog ดู Blog

 

โดย: ซองขาวเบอร์ 9 18 กันยายน 2557 19:13:40 น.  

 

สบายดีบ่ กวาดบ้านได้แล้วเน้อ

 

โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) 18 กันยายน 2557 20:17:11 น.  

 

แวะมาราตรีสวัสดิ์ครับ คุณปาน

 

โดย: เศษเสี้ยว 18 กันยายน 2557 23:39:07 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมบ้านภัทรานิตย์ค่ะ

 

โดย: patthanid 19 กันยายน 2557 1:01:35 น.  

 

หนังใหม่รอหน่อยนะคะ
กำลังคัดสรรอยู่ค่ะ

 

โดย: หอมกร 19 กันยายน 2557 8:37:11 น.  

 

pantawan Health Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

ตอนแรกตำถาดดังมาก

พอรู้ว่ามีสารปนเปื้อนได้ เริ่มเปลี่ยนแล้วค่ะ

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 861805 19 กันยายน 2557 8:48:24 น.  

 

สวัสดีค่ะน้องปาน ขอบคุณมากนะคะที่ไปโหวตให้กำลังใจเพลงโปรดค่ะ

ตามมาอ่านเรื่องของโรคน่ากลัวอีกครั้งค่ะพี่กิ่งเดี๋ยวนั้ไม่กินส้มตำถาดอีกเลยค่ะ

ขอบคุณบทความดีๆนะคะ

ขอให้น้องปานมีความสุขวันศุกร์ค่ะ

 

โดย: กิ่งฟ้า 19 กันยายน 2557 8:52:05 น.  

 

แวะมาทักทายค่ะ


ถามเหมือนคนข้างบนค่ะ


...ยังไม่กวาดบ้านหรือคะ ?????

 

โดย: ร่มไม้เย็น 20 กันยายน 2557 16:10:46 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog
สวัสดีค่ะ ยังจำกันได้ไหมคะ วันนี้แวะมาเยี่ยมและทักทายคุณปานค่ะ สบายดีนะคะ คิดถึงเสมอนะคะ แค่ไม่ได้เล่นบล็อกแล้วน่ะค่ะ รักษาสุขภาพนะคะจุ๊บๆ BYE

 

โดย: หญิงแก่น 20 กันยายน 2557 18:55:36 น.  

 

สวัสดีดีจ้าคุณปานตะวันคนน่ารัก
ช่วงนี้งานค่อนข้างเยอะแหละ ^^
เป็นเหมือนกันรึป่าวค่ะ แพมมารออ่าน
งานดีมีคุณภาพน๊า มีความสุขมากๆนะค่ะ

 

โดย: mastana 20 กันยายน 2557 20:10:41 น.  

 

สวัสดีค่ะ คุณปาน ^^

 

โดย: ปรัซซี่ 20 กันยายน 2557 22:15:17 น.  

 

สวัสดีวันหยุดค่ะน้องปาน
ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ
ยังไม่มีบล็อกใหม่เหรอ
อยากโหวตบ้าง 555

 

โดย: เนินน้ำ 21 กันยายน 2557 9:47:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


pantawan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]




free counters
เริ่มทำ Blog ครั้งแรกเมื่อ 27 ก.ค.54
เริ่มนับ 2 มี.ค.55
ขอบคุณภาพประกอบจากบล็อค คุณญามี่ คุณยายเก๋า คุณนุช oranuch_sri กรอบภาพจากบล็อค คุณ Lozacat คุณ KungGuenter
New Comments
Friends' blogs
[Add pantawan's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.