หมอรักษาคนไข้ ผลโควิด บวก ( Covid Positive ) ด้วยยา Paxlovid หรือ Monoclonal Antibody

 

หมอรักษาคนไข้
ผลโควิด บวก ( Covid Positive )
ด้วยยา
Paxlovid หรือ Monoclonal Antibody
 


ระยะนี้มีข่าวคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว แล้วติดโควิด(Covid Positive)
มีอาการไม่มากกัน และมียารักษา หายเป็นส่วนมาก ระยะนี้ไม่ได้ข่าวคน
เป็นหนักเลย หรือต้องเข้ารพ. ส่วนมากคุณหมอให้ยาแล้วให้แยกตัวที่บ้าน
ห้าวัน (ยาให้กินเช้า เช้าเย็น ติดต่อกัน 5 วัน)
มีบางส่วนที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่มาก ก็จะให้รักษาตามอาการ
และกักตัวที่บ้านเช่นกัน

Paxlovid เป็นยาที่หมอรักษาคนที่ตรวจพบผลโควิดบวก รัฐจ่าย ไม่เสียค่ายา
แต่ยาไม่ใช่ให้ได้ทุกคน เพราะถ้ากินยาหลายอย่างที่เขามีชื่อรายการยาที่คนใช้
ยานั้นจะกินยา Paxlovid ไม่ได้

การรักษาอีกอย่างคือให้ Monoclonal antibody ต้องไปให้ที่รพ. ไม่ต้องอยู่รพ
ได้ร้บยาเสร็จแล้วก็กลับบ้านได้ และแยกตัวที่บ้านห้าวัน

หลังจากได้ยาครบ กักตัวที่บ้าน 5 วัน ก็เลิกกักตัว แต่ยังต้องใส่แมสด้วย








*********





Thursday, 28 April 2022
ยาที่ WHO แนะนำสำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีความเสี่ยงสูง Paxlovid คือยาอะไร?
จิกิตสา วิทยา
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีคำแนะนำให้ใช้ตัวยา nirmatrelvir และ ritonavir ซึ่งขายภายใต้ชื่อ Paxlovid สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่รุนแรงและปานกลางที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยใช้คำว่า "แนะนำอย่างแข็งขัน" (a strong recommendation) และบอกว่า "เป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในปัจจุบัน" (1)

หลังจากที่ WHO แนะนำไปทำให้ Paxlovid อยู่ในความสนใจของรัฐบาลและสื่อระดับโลก แม้ว่ายาตัวนี้ (ที่ผลิตโดย Pfizer) จะวางจำหน่ายมาระยะหนึ่งแล้ว ตัวอย่างเช่น รัฐบาลสหรัฐจะผลักดันให้ยาตัวนี้เข้าถึงร้านขายยาให้แพร่หลายมากขึ้น หลังจากที่อนุมัติการใช้งานไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว แต่ไม่สามารถทำให้เข้าถึงมือชาวอเมริกันที่จำเป็นต้องรับการรักษาได้ (2) ซึ่งดูเหมือนว่านี่จะเป็นความกังวลเดียวกับ WHO

WHO กล่าวในแถลงการณ์ว่า "อย่างไรก็ตาม ความพร้อมใช้งาน การขาดความโปร่งใสด้านราคาในข้อตกลงทวิภาคีที่ทำโดยผู้ผลิต และความจำเป็นในการทดสอบที่รวดเร็วและแม่นยำก่อนดำเนินการ ส่งผลให้ยาช่วยชีวิตนี้กลายเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง" (1) ดังนั้น แม้ว่ามันจะเป็นยาแห่งความหวังและได้รับการแนะนำอย่างยิ่ง แต่การเข้าถึงยังมีปัญหา

แต่ยา Paxlovid คืออะไร และประสิทธิภาพของมันมีมากแค่ไหน?

1. ยายี่ห้อ Paxlovid เป็นยาเม็ดสำหรับรับประทานประกอบด้วยตัวยา Nirmatrelvir กับ Ritonavir เป็นยาต้านไวรัสทั้งคู่ โดย Nirmatrelvir พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Pfizer ซึ่งเริ่มการวิจัยและพัฒนาในเดือนมีนาคม 2563 และทำการทดสอบครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ส่วน Ritonavir มีมาก่อนแล้วโดยขายภายใต้ชื่อแบรนด์ Norvir เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้ร่วมกับยาอื่นๆ เพื่อรักษาเอชไอวี/เอดส์

2. ในเดือนกันยายน 2564 บริษัท Pfizer เริ่มการทดสอบผสมตัวยา Nirmatrelvir ร่วมกับ Ritonavir ในการทดลองระยะที่ II/III โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 โดย Pfizer ประกาศว่าผลการศึกษาระยะที่ II/III พบว่ามีความเสี่ยงที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตลดลง และในเดือนธันวาคมก็ทำการทดสอบระยะที่ III ในเดือนเดียวกันนั้นก็ทำการเผยแพร่ประสิทธิภาพของยา โดยระบุว่าหากให้ยาภายใน 5 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ประสิทธิผลของยาต่อการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตในผู้ใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 88% (3)

3. ในเดือนธันวาคม 2564 ยา Paxlovid ได้รับอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) สำหรับการรักษาโควิด-19 และได้รับการอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหราชอาณาจักรในเดือนธันวาคมเช่นกัน และได้รับการอนุมัติในสหภาพยุโรปและแคนาดาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565


4. ยา Nirmatrelvir กับ Ritonavir ที่บรรจุร่วมในชื่อ Paxlovid ระบุไว้สำหรับการรักษาโควิด-19 เล็กน้อยถึงปานกลางในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 40 กิโลกรัมโดยมีผลบวกหลังจากการการทดสอบว่าติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยตรง และที่มีความเสี่ยงสูงต่อการลุกลามสู่โรคโควิด-19 ขั้นรุนแรง รวมทั้งความเสี่ยงที่จะต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิต (4) ในสหภาพยุโรประบุไว้ว่ายานี้สำหรับการรักษาโควิด-19 ในผู้ใหญ่ที่ไม่ต้องการออกซิเจนเสริม และผู้ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่ไปถึงมีอาการรุนแรง (5)

5. สำหรับประเทศที่อนุมัติให้ใช้ยานี้ เริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 Pfizer ได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) เพื่อขออนุญาตใช้ในกรณีฉุกเฉิน ได้รับอนุญาตเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 หน่วยงาน European Medicines Agency (EMA) ได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาในสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 กระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอลอนุมัติการใช้ยาแบบบรรจุร่วมในวันที่ 26 ธันวาคม 2564 เกาหลีใต้อนุมัติการใช้ยานี้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2564

6. สำนักงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (MHRA) ได้อนุมัติให้ใช้ยาในเดือนธันวาคม 2564 องค์การสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) อนุมัติการใช้ยาในเดือนมกราคม 2565 หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งสิงคโปร์ (HSA ) อนุมัติการใช้ยาเพื่อรักษาผู้ใหญ่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จีนอนุมัติยาสำหรับรักษาผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโควิด-19 ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรงได้ (6)


7. ในเดือนเมษายน 2565 WHO ระบุว่า "ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานของ Pfizer (การผสมผสานระหว่างยาเม็ด Nirmatrelvir และ Ritonavir) เป็นยาที่ได้รับการแนะนำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่รุนแรง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเป็นโรคร้ายแรงและต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีน ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง คำแนะนำนี้อิงจากข้อมูลใหม่จากการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย 3,078 ราย ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงของการรักษาในโรงพยาบาลลดลง 85% หลังการรักษานี้ ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (ความเสี่ยงมากกว่า 10% ของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล) นั่นหมายถึงการรักษาในโรงพยาบาลน้อยลง 84 รายต่อผู้ป่วย 1,000 ราย" (1)


8. แต่กลายเป็นว่าความต้องการ Paxlovid น้อยอย่างไม่คาดคิดเนื่องจากข้อกำหนดคุณสมบัติที่ซับซ้อน การตรวจสอบการติดเชื้อที่ลดลง (7) นี่เป็นข้อกังวลของ WHO ซึ่งระบุว่า อุปสรรคประการหนึ่งสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางคือ สามารถให้ยาได้ในขณะที่โรคยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น การทดสอบที่รวดเร็วและแม่นยำจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จกับการรักษานี้ ข้อมูลที่รวบรวมโดย FIND (ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับโลกด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์) แสดงให้เห็นว่าอัตราการทดสอบรายวันโดยเฉลี่ยในประเทศที่มีรายได้ต่ำนั้นต่ำเพียง 1 ใน 8 ของอัตราในประเทศที่มีรายได้สูง การปรับปรุงการเข้าถึงการทดสอบและวินิจฉัยเบื้องต้นในสถานบริการปฐมภูมิจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเปิดตัวการรักษาด้วยยานี้ทั่วโลก (1)

อ้างอิง

1. "WHO recommends highly successful COVID-19 therapy and calls for wide geographical distribution and transparency from originator" (April 22, 2022). WHO.

2. Keith, Tamara. McDaniel, Eric. (April 26, 2022). "Biden will make Paxlovid, a highly effective COVID drug, available to more pharmacies". NPR.

3. Fact sheet for healthcare providers: Emergency Use Authorization for Paxlovid (PDF) (Technical report). Pfizer. 22 December 2021.

4. "FDA Authorizes First Oral Antiviral for Treatment of COVID-19". U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Press release). 22 December 2021. Retrieved 22 December 2021.

5. "Paxlovid EPAR". European Medicines Agency (EMA). 24 January 2022. Retrieved 3 February 2022.

6. Wikipedia contributors. "Nirmatrelvir/ritonavir." Wikipedia, The Free Encyclopedia. Wikipedia, The Free Encyclopedia, 26 Apr. 2022. Web. 26 Apr. 2022.

7. Explained Desk. (April 26, 2022). "Explained: What is Paxlovid, strongly recommended by WHO as the best therapeutic choice for high-risk Covid-19 patients?". The Indian Express.

ภาพ Kches16414/wikimedia.org

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.hfocus.org/content/2022/04/24993

Monoclonal Antibody คือ ยาอะไร

ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี หรือที่ภาษาอังกฤษเขียนว่า monoclonal antibody เป็นยาที่ใช้รักษาในกลุ่มผู้ป่วยหนักมาก ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งประโยชน์ของยาจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 50 ถึง 70 ขึ้นทะเบียนกับ อย.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) จะเป็นการเสนอให้เริ่มใช้ทดลองในไทย

โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) เป็นโปรตีนชีววัตถุเพื่อการรักษาโรค ที่ผลิตเลียนแบบสารภูมิต้านทานที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่สร้างขึ้นตามธรรมชาติ ไว้ใช้ต่อสู้กับไวรัส ปัจจุบันได้ถูกนำมารักษาโรคบ้างแล้ว เนื่องจากความสามารถในการจำเพาะต่อตำแหน่งเนื้อเยื่อที่ศึกษา เช่น ใช้รักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคทางระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ โรคภูมิต้านตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น


การทำงานของโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody)

กลุ่มยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ จะทำหน้าที่ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมของร่างกายอย่างจำเพาะเจาะจง ตัวโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ที่ได้มาจากเซลล์ภูมิคุ้มกันจะถูกนำมาผ่านกระบวนการโคลนนิ่ง เพื่อให้ได้เซลล์ที่มีลักษณะเดียวกันจำนวนมากและมีความสามารถในการหลั่งสารแอนติบอดี้จำเพาะออกมา โมโนโคลนอลแอนติบอดี้แต่ละชนิดนั้นมีความจำเพาะต่อเซลล์เป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป


แต่เนื่องจากยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) ยังเป็นยาใหม่ จึงมีราคาสูง และผลข้างเคียงของยาอาจยังไม่ชัดเจน การใช้ยาจึงควรใช้ในความควบคุมของแพทย์เฉพาะทางอย่างเคร่งครัด

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://news.trueid.net/detail/B2aVZeyxnANP

 
 
Health Blog/Education Blog
 
newyorknurse



Create Date : 15 พฤษภาคม 2565
Last Update : 15 พฤษภาคม 2565 5:04:49 น. 9 comments
Counter : 665 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณpeaceplay, คุณปัญญา Dh, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณเริงฤดีนะ, คุณกะว่าก๋า, คุณหอมกร, คุณปรศุราม, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณtuk-tuk@korat, คุณอุ้มสี, คุณtoor36, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills


 
เจิม
มีคำถามแบบโง่ๆ
เอ๊ย!!เชยๆค่ะ
ไม่รู้..ตอนนี้มียาPaxlovidตัวนี้เข้ามาใช้หรือยัง?



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:58:42 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

มาดามฉีดเข็ม 3 โมเดอน่า
หมิงไฟเซอร์ 2 เข็มก็ติดโควิดทั้งคู่
แต่อาการไม่หนัก
และได้ฟราวิฯมากินที่บ้าน
แต่หลังจากนั้นฟราวิฯก็ไม่มีแจกให้ประชาชนอีก
ตอนนี้ที่ไทยไม่ประกาศตัวเลขผู้ติดเชื้อทุกวันแล้ว
เปลี่ยนมาแจ้งข้อมูลเดือนละครั้งแทน
และผมคิดว่ารัฐบาลไทยยังไม่สามารถจัดซื้อ Paxlovid
เข้ามาได้นะครับในตอนนี้



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:7:05:30 น.  

 
ยาฝรั่งนี่เขาว่าผลข้างเคียงสูงค่ะพี่น้อย



โดย: หอมกร วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:10:40:06 น.  

 
สวัสดีครับพี่น้อย

เข้ามาอ่านข้อมูลความรู้ครับ
ช่วงนี้ในไทยกราฟผู้ป่วยเริ่มลดลงแล้ว
ดีใจที่หลังสงกรานต์ไม่ได้พุ่งสูงอย่างที่หลายคนคำนวณไว้ครับ
ขอให้ยอดผู้ป่วยลดลงเรื่อยๆ ในทุกๆวัน

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:12:01:09 น.  

 
ขอบคุณที่นำมาฝากค่ะพี่น้อย


โดย: อุ้มสี วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:37:30 น.  

 
ก็หวังว่ามันจะพัฒนาจะดีขึ้นเรื่อยๆ ผลข้างเคียงลดน้อยลงนะครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:55:24 น.  

 
ดีครับมียาใหม่ แต่จะเข้าไทยได้หรือยังนี่ซิ....

ของไทยมีขั้นตอนบางอย่างเหมือนเอื้ออะไรบางอย่าง.. แต่ตอนนี้ในไทย ดูจะมีคนติดง่ายแต่หายไว... จ่ายยากลับไปอยู่บ้านไม่กี่วัน
ก็น่าจะหาย ไปไหนมาไหนได้บ้างแล้ว


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:17:00:43 น.  

 
บ้านเรา ยาฟาวิขาดตลาดครับ ให้เฉพาะคนที่เชื้อลงปอด
Paxlovid/Monoclonal น่าจะยังไม่มีในไทยครับ


โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:23:27:01 น.  

 
ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีถ้าเข้าในไทย
จะได้เป็นตัวช่วยในการรักษานะคะ
ขอบคุณพี่น้อยสำหรับข้อมูลค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 22 พฤษภาคม 2565 เวลา:0:33:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
15 พฤษภาคม 2565
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.