บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
28 เมษายน 2556
 

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่(H7N9)__น่ากลัวไหมและทำไม


.
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเรื่อง "นักวิทยาศาสตร์ยืนยันไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ (N7N9) มาจากไก่", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Reuters ]
.
.
ภาพที่ 1: แผนที่แสดงสถานการณ์ไข้หวัดนก (N7N9) ในจีน ส่วนใหญ่เป็นเมืองทางตะวันออก ใกล้ทะเล
.
แผนที่จีนมีรูปร่างคล้ายแม่ไก่ หันหน้าไปทางตะวันออก (ภาพเล็ก แสดงแม่ไก่จ้องข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค ไปทางญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ) จะพบว่า ส่วนที่พบโรคอยู่ตรงหน้าอกของไก่
.

.
ภาพที่ 1: แผนที่แสดงการกระจายของโรคจนถึงวันที่ 25 เมษายน 2556, จำนวนคนไข้ (วงกลมสีน้ำเงิน) = 110 คน, คนเสียชีวิต (วงกลมสีแดง) = 23 คน
.
ไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ (H7N9) กระจายไปตามเมืองใหญ่ใกล้ทะเล ทางตะวันออกของจีน และเริ่มเข้าสู่ไต้หวันแล้ว
.

.
ภาพที่ 2: แนวคิดในการจัดการไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่รอบก่อนๆ ของจีน คือ ฉีดวัคซีนไก่, รอบนี้ใช้วิธีปิดตลาดสัตว์ปีกเป็นๆ (ไก่ เป็ด ฯลฯ), และฆ่าไก่ (บล็อกของเรารายงานสถานการณ์เฉยๆ ไม่ส่งเสริมการฆ่าไก่)
.
ประเทศที่มีไข้หวัดนกระบาด มักจะถูกห้ามส่งออกไก่, และถ้าระบาดมากขึ้น มักจะทำให้การท่องเที่ยว การเดินทางโดยเฉพาะทางเครื่องบินตกลง
.
ถ้าคนไทยช่วยกันล้างมือด้วยสบู่ให้มากพอ ไม่สัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายด้วยมือเปล่า ไม่เข้าไปในห้องแอร์ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี เช่น ไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ, และมีระบบตรวจคนเข้าเมืองดี เช่น การตรวจคัดกรอง (screen) คนที่เป็นไข้ ฯลฯ จะช่วยลดเสี่ยงไข้หวัดนกระบาดเข้าไทยได้มาก
.

.
ภาพที่ 4: อ.เดวิด แมคแคนเลส และ อ.ฟิลลิปปา โตมัส สรุปเรื่องไข้หวัดนก (H7N9) ว่า
.
(1). แหล่งสะสม-กลายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่-ไข้หวัดนก พบในคน (สีเขียวฟ้า), หมู (สีแดง), นก-ไก่-เป็ด-สัตว์ปีก (สีเทา) เป็น 3 ผู้เล่นหลัก
.
ไข้หวัดนก (สัตว์ปีก) มีลักษณะเด่น คือ โอกาสติดเชื้อจาก "ไก่-สู่-คน" ต่ำ แต่ถ้าติดแล้ว โอกาสตายสูง (อาจถึง 30-60%)
.
แหล่งสะสมเชื้อรองลงไปได้แก่ ม้า, สิงห์โตทะเล (seals), ค้างคาว (bats)
.
ตัวอย่างเช่น ไข้หวัดเอเชีย (Asian flu / H2N2) ที่พบในปี 1957/2500 ยังไม่หมดไปจากโลก ทว่า... มีแหล่งสะสมเชื้อในนก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นนกที่อพยพทางไกลได้ และอาจเกิดการกลายพันธุ์ แพร่พันธุ์ใหม่ได้อีกในอนาคต
.
(2). เมษายน 2556 > พบหมูตายหลายพันตัวในแม่น้ำ นอกเมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งทางการจีนไม่ได้ให้ข่าว
.
การพบหมูตายเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมของหมูใกล้เคียงกับคนมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ (ม้า สิงห์โตทะเล ค้างคาว), สัตว์ปีก (นก ไก่ เป็ด ฯลฯ)
.
การแพร่พันธุ์จาก "สัตว์ปีก(ไก่)-สู่-คน" ค่อนข้างยาก ทว่า... ถ้าพบการติดเชื้อในหมู จะมีโอกาสเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า "สะพานเชื่อม (bridge)" ได้
.
ปรากฏการณ์นี้ คือ เชื้อจะผ่านจากสัตว์ปีก (ไก่ นก ฯลฯ) เข้าสู่หมู และแพร่จำนวนขึ้นมาก ทำให้มีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้น
.
ไวรัสที่กลายพันธุ์บางส่วนจะมีความสามารถในการแพร่พันธุ์จาก "หมู-สู่-คน" มากขึ้น เมื่อเทียบกับไวรัสที่ไม่มีการแพร่เชื้อเข้าสู่หมู
.
สูตรง่ายๆ ในเรื่องไข้หวัดใหญ่ คือ "อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจหมู" เพราะไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหมูสำเร็จ มักจะแพร่เชื้อเข้าสู่คนได้มากกว่าไข้หวัดใหญ่จากสัตว์ชนิดอื่น
.
ตัวอย่างเช่น
  • ไข้หวัดสเปน (Spanish flu) ที่ระบาดจาก "หมู-สู่-คน" ในปี 1918/2461 ทำให้คนตาย 50-100 ล้านคน
  • ไข้หวัดเม็กซิโก หรือไข้หวัดหมู ที่ระบาดในปี 2009-2010/2552-2553 ทำให้คนตาย 15,000 คน
(3). ที่มาของเชื่อ 'H' & 'N' ได้แก่
  • 'H (hemagglutinin / ฮีแมกกลูทินิน)' เป็นสารภูมิต้านทานที่อยู่ในเซลล์
  • 'N (neuraminidase / นิวรามินิเดส)' เป็นสารภูมิต้านทานที่อยู่ภายนอก หรือเปลือกหุ้มเซลล์ไวรัส
'H7N9' ที่พบตอนนี้เป็นสายพันธุ์โหด คือ เป็นแล้วมีโอกาสตายสูง (แสดงด้วยอักษรตัวใหญ่) = 23/110 = 4.78:1 = 5:1 = ถ้าพบคนป่วย 5 คน จะพบคนตายจากโรค 1 คน

นักวิทยาศาสตร์จีนรายงาน (ตีพิมพ์ใน Lancet online) ว่า ไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้คนตาย 23 คน ส่วนหนึ่ง (60%) มีการแพร่เชื้อแบบ "ไก่-สู่-คน"
.
และมีความสามารถในการติดต่อ (transmission) สูงกว่าไข้หวัดนกสายพันธุ์เก่า (H5N1) ซึ่งทำให้คนตายไปหลายพันคนในปี 2003/2546
.
ข่าวดีตอนนี้ คือ ยังไม่พบหลักฐานการแพร่เชื้อแบบ "คน-สู่-คน" ซึ่งถ้ามีเมื่อไร จะเกิดโรคระบาดใหญ่ ถล่มการท่องเที่ยว การเดินทางในเอเชีย และการส่งออกไก่
.
อ.กวอก-ยุง เยิน (Kwok-Yung Yuen) หัวหน้าคณะวิจัยจากฮ่องกงรายงานว่า มาตรการที่ต้องทำตอนนี้ คือ ปิดตลาดสัตว์ปีกสด เช่น ไก่เป็นๆ ฯลฯ
.

.
ความเสี่ยง คือ ยิ่งมีจำนวนไวรัสมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์มาก
.
จำนวนไวรัสมักจะแปรตามจำนวนคนหรือสัตว์ที่ติดโรค...
.
โอกาสกลายพันธุ์จะน้อย ถ้าจำนวนคนหรือสัตว์ที่ติดโรคมีน้อย, โอกาสกลายพันธุ์จะมาก ถ้าจำนวนคนหรือสัตว์ที่ติดโรคมีมาก
.
ไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นไวรัสชนิด RNA ซึ่งกลายพันธุได้ค่อนข้างง่าย คือ ถ้าเชื้อแบ่งตัว 1,000-100,00 ครั้ง (เฉลี่ย 10,000 ครั้ง) จะมีโอกาสกลายพันธุ์ 1 ตำแหน่ง [ wiki ]
.

.
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า คนที่ติดเชื้อ 40% ไม่ได้สัมผัสกับสัตว์ปีก (poultry) เช่น ไก่ ฯลฯ
.
มีความเป็นไปได้ว่า น่าจะติดเชื้อจากสัตว์ปีกชนิดอื่น (ไม่ใช่ไก่เลี้ยง เป็ดเลี้ยง) มากกว่าติดจากคน
.
ความน่ากลัวของไวรัสไข้หวัดใหญ่-ไข้หวัดนก คือ ยิ่งมีการติดเชื้่อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น คน หมู ม้า ฯลฯ มากเท่าไร, โอกาสกลายพันธุ์จะมากขึ้น
.
ถ้าการกลายพันธุ์มากพอจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด (human pandemic)
.

.
อ.เยิน กล่าวว่า ลักษณะเด่นของไวรัสกลุ่มนี้ คือ
.
(1). เชื้อที่แรงหรือโหด เป็นแล้วตายมาก > มีโอกาสแพร่จาก "คน-สู่-คน" ต่ำ
.
(2). เชื้อที่ไม่ค่อยแรง หรือไม่ค่อยโหด โอกาสตายต่ำ > มีโอกาสแพร่จาก "คน-สู่-คน" สูง
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 28 เมษายน 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้




 

Create Date : 28 เมษายน 2556
0 comments
Last Update : 28 เมษายน 2556 22:22:53 น.
Counter : 3284 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com