จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
13 กุมภาพันธ์ 2549
 
All Blogs
 

กฏหมายทหาร

ภาค 1 ว่าด้วยข้อบังคับต่าง ๆ
มาตรา 1 ให้เรียกพระราชบัญญัตินี้ว่า "ประมวลกฎหมายอาญาทหาร"
มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน รัตนโกสินทรศก 131 เป็นต้นไป
มาตรา 3 ตั้งแต่วันที่ใช้กฎหมายนี้สืบไป ให้ยกเลิก
(1) กฎหมายลักษณะขบถศึก
(2) ข้อความในพระราชกำหนดกฎหมาย และกฎข้อบังคับอื่น ๆ ซึ่ง เกี่ยวกับบรรดาความผิด ที่กฎหมายนี้บัญญัติว่าต้องมีโทษ
มาตรา 4* ในกฎหมายนี้
คำว่า "ทหาร" หมายความว่า บุคคลที่อยู่ในอำนาจกฎหมายฝ่ายทหาร
คำว่า "เจ้าพนักงาน" ที่ใช้ในประมวลกฎหมายลักษณะอาญานั้น ท่านหมายความตลอดถึงบรรดานายทหารบก นายทหารเรือ ชั้นสัญญาบัตร และชั้นประทวนที่อยู่ในกองประจำการนั้นด้วย
คำว่า "ราชศัตรู" นั้น ท่านหมายความตลอดถึงบรรดาคนมีอาวุธ ที่แสดงความขัดแข็งต่ออำนาจผู้ใหญ่ หรือที่เป็นขบถหรือเป็นโจรสลัดหรือ ที่ก่อการจลาจล
คำว่า "ต่อหน้าราชศัตรู" นั้น ท่านหมายความตลอดถึงที่อยู่ในเขต ซึ่งกองทัพได้กระทำสงครามนั้นด้วย
คำว่า "คำสั่ง" นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อความที่ผู้ซึ่ง บังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควร เป็นผู้สั่งไปโดยสมควรแก่กาลสมัย และชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย คำสั่งเช่นนี้ท่านว่าเมื่อผู้รับคำสั่งนั้น ได้กระทำตามแล้ว ก็เป็นอันหมดเขตของการที่สั่งนั้น
คำว่า "ข้อบังคับ" นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อบังคับและ กฎต่าง ๆ ที่ให้ใช้อยู่เสมอ ซึ่งผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควร ได้ออกไว้โดยสมควรแก่กาลสมัย และชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย
มาตรา 5* ทหารคนใดกระทำความผิดอย่างใด ๆ นอกจากที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายอาญาทหารนี้ ท่านว่ามันควรรับอาญาตามลักษณะพระราช กำหนดกฎหมาย ถ้ากฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ให้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 5ทวิ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วย ธรรมนูญศาลทหาร ผู้ใดกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร
ในกรณีที่มิใช่ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 107 ถึง มาตรา 129 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ถ้าได้ มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือศาลใน ต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษและผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้น ในราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก แต่ถ้าผู้นั้นยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษ น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้
มาตรา 6 ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลทหารให้ลงอาชญาประหารชีวิต ท่านให้เอาไปยิงเสียให้ตาย
มาตรา 7* ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร มีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำความผิดต่อวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วย วินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำความผิดในหรือนอกราชอาณาจักร
มาตรา 8* การกระทำความผิดอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 21 มาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 39 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 46 และ มาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าผู้มีอำนาจบังคับบัญชา ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญให้ ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร และให้มีอำนาจลงทัณฑ์ตาม มาตรา 7 เว้นแต่ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารจะสั่งให้ส่งตัว ผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาล พลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จึงให้เป็นไปตามนั้น
มาตรา 9* ความที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 8 นั้น ให้ใช้ตลอดถึงความผิด ลหุโทษ และความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย
มาตรา 10* บรรดาบทในพระราชกำหนดกฎหมาย ที่ท่านกำหนด แต่โทษปรับสถานเดียว ถ้าจำเลยเป็นทหารซึ่งไม่ใช้ชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน ท่านว่าถ้าศาลวินิจฉัยเห็นสมควรจะให้จำเลยรับโทษจำคุกแทนค่าปรับ ตาม ลักษณะที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายลักษณะอาญานั้นก็ได้
มาตรา 11* ความผิดฐานลหุโทษก็ดี ความผิดอันต้องด้วยโทษจำคุก ไม่เกินกว่าเดือนหนึ่ง หรือปรับไม่เกินกว่าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นนั้น เป็นโทษที่หนักก็ดี ถ้าจำเลยเป็นทหาร ท่านให้ศาลวินิจฉัยตามเหตุการณ์ ถ้าเห็นสมควรจะเปลี่ยนให้เป็นโทษขังไม่เกินกว่าสามเดือนก็ได้
มาตรา 12 เมื่อศาลทหารพิพากษาเด็ดขาดให้ลงโทษแก่ทหารคนใด ท่านว่าให้ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหารผู้มีอำนาจสั่งให้ลงโทษตามคำพิพากษานั้นวินิจฉัย ตามเหตุการณ์ ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังต่อหน้าประชุม ทหารหมู่หนึ่งหมู่ใด ตามที่เห็นสมควรก็ได้

ภาค 2 ว่าด้วยลักษณะความผิดโดยเฉพาะ
มาตรา 13* เชลยศึกคนใดท่านปล่อยตัวไปโดยมันให้คำสัตย์ไว้ว่า จะไม่กระทำการรบพุ่งต่อท่านอีกจนตลอดเวลาสงครามคราวนั้น ถ้าและมัน เสียสัตย์นั้นไซร้ ท่านจับตัวมาได้ ท่านให้ประหารชีวิตมันเสีย หรือจำคุกมันไว้ จนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา 14* ผู้ใดเป็นราชศัตรู และมันปลอมตัวล่วงเข้าไปใน ป้อม ค่าย เรือรบ หรือสถานที่ใด ๆ อันเป็นของสำหรับทหาร หรือมีทหารของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ไซร้ ท่านว่ามันเป็นผู้ลักลอบสอดแนม ให้เอาตัว มันไปประหารชีวิตเสีย หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต
มาตรา 15* ผู้ใดปิดบังซ่อนเร้น หรือช่วยราชศัตรูที่กระทำเช่นว่า มาใน มาตรา 14 โดยที่มันรู้ชัดว่าเป็นราชศัตรูก็ดี มันปิดบังซ่อนเร้น หรือช่วย ผู้ลักลอบสอดแนมโดยที่รู้ชัดแล้วก็ดี ท่านว่าโทษมันถึงต้องประหารชีวิตหรือมิฉะนั้น ให้จำคุกมันไว้ตลอดชีวิต
มาตรา 16* ผู้ใดเป็นทหาร และมันบังอาจเกลี้ยกล่อมคนให้ไปเข้า เป็นพวกราชศัตรู ท่านว่าโทษมันถึงต้องประหารชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ ตลอดชีวิต
มาตรา 17* ผู้ใดท่านใช้ให้เป็นนายทหาร บังคับกองทหารใหญ่น้อย ป้อม ค่าย เรือรบ หรือสถานที่อย่างใด ๆ ของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้ายังมิทันสิ้นกำลังและสามารถที่มันจะป้องกันและต่อสู้ข้าศึกมันยอมแพ้ยกกองทหาร ป้อม ค่าย เรือรบ หรือสถานที่นั้น ๆ ให้แก่ราชศัตรูเสียไซร้ ท่านว่าโทษมันถึง ประหารชีวิต หรือจำคุกจนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป จนถึงยี่สิบปี
มาตรา 18 ผู้ใดยุยงหรือข่มขืนใจ หรือสมคบกันเพื่อยุยงหรือข่มขืนใจ ให้ผู้บังคับกองทหารใหญ่น้อย ป้อม ค่าย เรือรบ หรือสถานที่อย่างใด ๆ ของ ทหาร ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยอมแพ้แก่ราชศัตรู ท่านว่าโทษของมันถึงประหารชีวิต หรือจำคุกจนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา 19* ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือลำหนึ่งลำใดของ ทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะกระทำการรบพุ่ง ถ้าและมันถอยออก เสียจากที่รบนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ท่านว่าโทษของมันถึงประหารชีวิต หรือ จำคุกจนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา 20* ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือลำหนึ่งลำใด ของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมันจงใจกระทำหรือปล่อยให้เรือนั้น ชำรุดหรืออับปาง ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา 21 ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือลำหนึ่งลำใด ของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมันกระทำหรือปล่อยให้เรือนั้น ชำรุดหรืออับปางด้วยความประมาทของมันไซร้ ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุก ไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา 22 ผู้ใดเจตนากระทำหรือปล่อยให้เรือลำหนึ่งลำใดของ ทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชำรุดหรืออับปาง ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุก ตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงสิบห้าปี
มาตรา 23 ผู้ใดกระทำหรือปล่อยให้เรือลำหนึ่งลำใด ของทหาร ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชำรุดหรืออับปางด้วยความประมาทของมันไซร้ ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าสองปี
มาตรา 24 ถ้าเรือนั้นเป็นเรือสำหรับใช้เดินในลำน้ำ ท่านว่าควรลดอาญาอย่างหนักที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 20, 21, 22, 23, นั้นลงกึ่งหนึ่ง และมิให้ศาลต้องถือตามอาญาอย่างเบาที่บัญญัติไว้นั้น ๆ เป็น ประมาณ ในการที่จะปรับโทษผู้กระทำผิด
มาตรา 25 ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือเดินทะเล ลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้ามีเหตุร้ายเกิดขึ้น เช่น พายุเป็นต้น และมันไม่พากเพียรจนสุดสิ้นความสามารถที่จะแก้ไขให้เรือนั้น พ้นอันตรายเสียก่อน มันละทิ้งเรือนั้นไปเสียไซร้ ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุก ไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา 26 ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือเดินทะเล ลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้ามีเหตุร้ายเกิดขึ้น เช่น เรือเกยที่ตื้นหรือจวนอับปาง มันรู้ว่ายังมีคนอยู่ในเรือนั้น และมันจงใจไป เสียจากเรือนั้นไซร้ ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 27* ผู้ใดเป็นทหาร ถ้ามันมิได้มีเหตุอันสมควรที่จะกระทำได้ และมันบังอาจทำลายหรือละทิ้งเครื่องศาสตราวุธ กระสุนดินปืน เสบียง ม้า หรือเครื่องยุทธนาการอย่างใด ๆ ก็ดี หรือทำให้ของนั้น ๆ วิปลาศบุบสลายไป ก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญามัน เป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำใน เวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุก มันไว้จนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(3) ถ้ามันกระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่ายี่สิบปี
มาตรา 28 ธงซึ่งได้มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ในราชการเป็น เครื่องหมายสำหรับประเทศก็ดี รัฐบาลก็ดี หรือสำหรับเรือรบหลวง หรือ กรมกองทหารใด ๆ ก็ดี หรือเป็นเครื่องหมายสำหรับเกียรติยศ หรือตำแหน่ง หน้าที่ราชการของบุคคลใด ๆ ก็ดี เหล่านี้ ถ้าในเวลาเจ้าพนักงานได้ชักขึ้นไว้ หรือประดิษฐานไว้ หรือเชิญไปมาแห่งใด ๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายดังที่ว่านั้น ผู้หนึ่งผู้ใดบังอาจ ลด ล้ม หรือกระทำแก่ธงนั้นให้อันตราย ชำรุด หรือเปื้อน เปรอะเสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควรไซร้ ท่านว่ามันมีความผิดฐานสบประมาทธง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่า 1 ปี
อนึ่ง ถ้าธงที่มันสบประมาทนั้น เป็นธงเครื่องหมายสำหรับ พระเกียรติยศของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมาร หรือผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้า อยู่หัว หรือพระราชโอรสพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่ารัชกาลใด ๆ ก็ดี ท่านไม่ประสงค์จะให้เอาความในมาตรานี้ไปใช้ลบล้างอาญา ที่ท่านได้ บัญญัติไว้สำหรับความผิดฐานแสดงความอาฆาตมาดร้ายและหมิ่นประมาท ดังได้กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะอาญาสำหรับพระราชอาณาจักรสยาม มาตรา 98 หรือ มาตรา 100 นั้น
มาตรา 29* ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้อยู่ยามรักษาการก็ดี ท่าน มอบหมายให้กระทำการตามบังคับหรือคำสั่งอย่างใด ๆ ก็ดี ถ้าและมันละทิ้ง หน้าที่นั้นเสีย หรือมันไปเสียจากหน้าที่โดยมิได้รับอนุญาตก่อน ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญา มันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้ประหารชีวิตเสีย สถานหนึ่งให้จำคุก จนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำใน เวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุก มันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสิบปี
มาตรา 30* ผู้ใดเป็นทหาร และมันขัดขืนหรือละเลยมิกระทำตาม คำสั่งอย่างใด ๆ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็น สามสถาน คือ สถานหนึ่งให้ประหารชีวิตเสีย สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลา สงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 31 ผู้ใดเป็นทหาร และมันขัดขืนมิกระทำตามคำสั่งอย่างใด ๆ โดยมันแสดงความขัดขืนด้วยกิริยา หรือวาจาองอาจต่อหน้าหมู่ทหารถืออาวุธ ด้วยไซร้ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญา มันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำใน เวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุก มันตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสิบปี
มาตรา 32 ผู้ใดเป็นทหาร และมันขัดขืนหรือละเลยมิกระทำตาม ข้อบังคับอย่างใด ๆ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุก มันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำใน เวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึกไซร้ ท่านให้ลงอาญา จำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา 33 ผู้ใดเป็นทหาร และมันขัดขืนมิกระทำตามข้อบังคับ อย่างใด ๆ โดยมันแสดงความขัดขืนนั้นด้วยกิริยาหรือวาจาองอาจต่อหน้า หมู่ทหารถืออาวุธด้วยไซร้ ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษตามสมควร แก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุก มันตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำใน เวลาศึกสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญา จำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 34* ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้เป็นยามรักษาการ หรือ อยู่ยามประจำหน้าที่และมันหลับเสียในหน้าที่ก็ดี หรือเมาสุราในหน้าที่ก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญา จำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงเจ็ดปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำใน เวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุก มันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงสามปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลา หรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสองปี
มาตรา 35 ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้เป็นยามรักษาการ หรือ อยู่ยามประจำหน้าที่ และปรากฏว่ามันมิได้เอาใจใส่ หรือมันมีความประมาท ในหน้าที่นั้นไซร้ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะ ว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญา จำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำใน เวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุก มันไม่เกินกว่าสามปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลา หรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสองปี
มาตรา 36* ผู้ใดบังอาจใช้กำลังทำร้ายแก่ทหารยามรักษาการก็ดี หรือแก่ทหารอยู่ยามประจำหน้าที่ก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษตาม สมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญา มันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกมัน จนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกมันตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำ ในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลง อาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่น นอกจากที่ว่า มาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าห้าปี
ถ้าและในการประทุษร้ายนั้น มันทำให้เขาถึงตายหรือให้เขามี บาดเจ็บถึงสาหัสด้วยไซร้ ท่านว่าถ้ามันสมควรรับโทษหนักยิ่งกว่าที่บัญญัติ ไว้ในมาตรานี้แล้ว ก็ให้มันผู้กระทำผิดนั้นรับอาญาตามลักษณะที่ท่านบัญญัติ ไว้ใน มาตรา 250,251, และ 257 แห่งประมวลกฎหมายลักษณะะอาญา
มาตรา 37* ผู้ใดหมิ่นประมาทหรือขู่เข็ญว่า จะกระทำร้ายแก่ ทหารรักษาการก็ดี หรือแก่ทหารอยู่ยามประจำหน้าที่ก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญา จำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำ ในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญา จำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่า มาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา 38* ผู้ใดเป็นทหาร และมันบังอาจกระทำการประทุษร้าย ด้วยกำลังกายแก่ผู้ซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือมันไซร้ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญา มันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้ประหารชีวิตเสีย สถานหนึ่งให้จำคุก มันตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกมันตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำ ในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญา จำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่า มาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงเจ็ดปี
มาตรา 39* ผู้ใดเป็นทหาร และมันบังอาจใช้กำลังทำร้ายแก่ ทหารผู้ใดซึ่งเป็นผู้ใหญ่เหนือมันไซร้ ท่านว่ามันควรรับอาญาจำคุกไม่เกิน กว่าห้าปี
มาตรา 40 ถ้าและในการกระทำผิดเช่นว่ามาใน มาตรา 38 และ 39 นั้น เป็นเหตุให้ผู้ต้องประทุษร้ายถึงตาย หรือต้องบาดเจ็บถึงสาหัส ด้วยไซร้ ท่านว่า ถ้ามันสมควรรับโทษหนักยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้แล้ว ก็ให้ลงอาญาแก่มันผู้กระทำผิดนั้นตามลักษณะที่ท่านบัญญัติไว้ใน มาตรา 250, 251 และ 257 แห่งประมวลกฎหมายลักษณะอาญา
มาตรา 41 ผู้ใดเป็นทหาร และมันบังอาจแสดงความอาฆาต มาทร้ายต่อผู้บังคับบัญชา หรือต่อทหารที่เป็นใหญ่เหนือมัน หรือมันหมิ่นประมาท ใส่ความ หรือโฆษณาความหมิ่นประมาทอย่างใด ๆ ก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา 42 ถ้าทหารมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปใช้กำลัง ทำร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะทำร้ายก็ดี หรือมันกระทำการอย่างใด ๆ ขึ้นให้วุ่นวาย ในบ้านเมืองของท่านก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดฐานกำเริบ ต้องระวางโทษตาม สมควรแก่เหตุด้วยกันทุกคน ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญา มันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้ประหารชีวิตเสีย สถานหนึ่งให้จำคุกมันจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำ ในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลา หรือที่อื่น นอกจากที่ว่า มาแล้วท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 43 ถ้าและในพวกทหารที่ กระทำการกำเริบที่ว่ามา ใน มาตรา 42 นั้น มีศาสตราวุธไปด้วยตั้งแต่คนหนึ่งขึ้นไป ท่านว่าพวกนั้น ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุด้วยกันทุกคน ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญา มันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้ประหารชีวิตเสีย สถานหนึ่งให้จำคุก จนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำ ในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญา จำคุกมันตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
(3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่า มาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสิบปี
มาตรา 44 เมื่อเจ้าพนักงาน ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ได้บังคับทหาร ที่กระทำการกำเริบในที่ใด ๆ ให้เลิกไปเสีย ถ้าและพวกทหารที่กระทำ การกำเริบนั้น คนใดที่ยังมิได้ใช้กำลังทำร้ายอย่างใดแล้วเลิกไปตามบังคับนั้น โดยดี ท่านว่าให้ลงโทษแก่มันตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 42 และ 43 นั้นแต่ กึ่งหนึ่ง
มาตรา 45* ผู้ใดเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ชั้นประทวน ชั้นนายสิบ ชั้นจ่า หรือเป็นพลทหารก็ดี ถ้าและมันขาดจากหน้าที่ราชการโดยมิได้รับอนุญาต หรือมันขาดจากราชการในเมื่อพ้นกำหนดอนุญาตลาแล้วก็ดี แม้เป็นไปด้วย ความเจตนาจะหลีกเลี่ยงจากราชการตามคำสั่งให้เดินกองทหาร หรือเดินเรือ ไปจากที่ หรือคำสั่งเรียกระดมเตรียมศึกนั้นไซร้ ท่านว่ามันมีความผิดฐานหนี ราชการ อีกนัยหนึ่งมันขาดจากราชการ จนถึงกำหนดที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ขาด 24 ชั่วโมง ต่อหน้าราชศัตรู
(2) ขาด 3 วัน ถ้ามิใช่ต่อหน้าราชศัตรู แต่ในเวลาสงคราม หรือในเขตที่ใช้กฎอัยการศึก
(3) ขาด 15 วัน ในที่และเวลาอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ดังนี้ไซร้ ท่านก็ว่ามันมีความผิดฐานหนีราชการดุจกัน
มาตรา 46 ผู้ใดกระทำความผิดฐานหนีราชการ ท่านว่ามันต้อง ระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้ามันหลบหนีไปเข้าอยู่กับพวกราชศัตรู ท่านว่าโทษมันถึงตาย
(2) ถ้ามันกระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุก มันไว้จนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ยี่สิบปี
(3) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำใน เวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุก มันไว้ตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบห้าปี
(4) ถ้ามันกระทำความผิดนั้นในเวลา หรือที่อื่นนอกจากที่ว่า มาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันผู้กระทำผิดนั้นไว้ไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 47* ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้มีหน้าที่จัดซื้อหรือทำ หรือ ปกครองรักษาทรัพย์สิ่งใด ๆ ของทหาร ถ้าและมันบังอาจเอาของอื่น ปลอมหรือปนกับทรัพย์สิ่งนั้น ๆ ให้เสื่อมลงก็ดี หรือมันปล่อยให้ผู้อื่นกระทำ เช่นนั้นโดยมันรู้เห็นเป็นใจด้วยก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ร้อยบาทขึ้นไปจนถึง สองพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง
และทหารคนใดท่านใช้ให้มีหน้าที่จัดซื้อหรือทำ หรือปกครองรักษา สิ่งใด ๆ ของทหาร ถ้าและมันบังอาจจ่ายทรัพย์สิ่งใด ๆ ที่มันรู้อยู่ว่ามีของอื่น ปลอมหรือปนเช่นว่ามาแล้วก็ดี หรือมันปล่อยให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้นแล้วมันไม่รีบร้องเรียนต่อผู้ใหญ่ที่เหนือมันก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษเช่นว่า มาในมาตรานี้แล้วนั้นดุจกัน
มาตรา 48 ในเวลาสงคราม ถ้าผู้ใดกระทำการปราศจาก ความเมตตาแก่คนที่ถูกอาวุธบาดเจ็บ หรือแก่คนที่ป่วยเจ็บในกองทัพฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดก็ดี หรือกระทำการปล้นทรัพย์แย่งทรัพย์อย่างใด ๆ ที่ท่านบัญญัติไว้ใน มาตรา 249 ถึง มาตรา 259 และ มาตรา 288 ถึง มาตรา 303 แห่งประมวลกฎหมายลักษณะอาญานั้น ท่านให้เพิ่มโทษมันผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่ ท่านบัญญัติไว้สำหรับความเช่นนั้นขึ้นด้วยอีกกึ่งหนึ่ง
มาตรา 49 ในเวลาสงคราม ถ้าผู้ใดใช้ธงกาชาดหรือเครื่องหมายกาชาด โดยผิดข้อบังคับแห่งหนังสือสัญญานานาประเทศ ซึ่งทำที่เมืองเยนีวา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก 125 ท่านว่ามันมีความผิดต้องด้วยอาญาซึ่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 128 แห่งประมวลกฎหมายลักษณะอาญา
มาตรา 50 ผู้ใดเป็นทหาร ถ้ามันกระทำผิดในเวลาที่ท่านใช้ให้เป็นยามรักษาการ หรืออยู่ยามประจำที่ หรือให้กระทำการอย่างใด ๆ ที่มี ศาสตราวุธของหลวงประจำตัวโดยความผิดที่ท่านบัญญัติไว้ในมาตราต่าง ๆ แห่งกฎหมายลักษณะอาญาดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
มาตรา 98 ถึง มาตรา 100 ความผิดในฐานประทุษร้ายต่อ พระบรมราชตระกูล
มาตรา 102 ถึง มาตรา 104 ความผิดฐานกบฎภายในพระราชอาณาจักร
มาตรา 105 ถึง มาตรา 108 ความผิดฐานกบฎภายนอกพระราชอาณาจักร
มาตรา 112 ถึง มาตรา 115 ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับ ต่างประเทศ
มาตรา 116 ถึง มาตรา 128 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
มาตรา 151 ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาล
มาตรา 154 ความผิดฐานช่วยผู้อื่นให้พ้นอาชญาอันควรรับโทษตามกฎหมาย
มาตรา 165 ถึง มาตรา 169 ความผิดฐานหลบหนีจากที่คุมขัง
มาตรา 177 ถึง มาตรา 182 ความผิดฐานสมคบกันเป็นอั้งยี่และ เป็นซ่องโจรผู้ร้าย
มาตรา 183 และ มาตรา 184 ความผิดฐานก่อการจลาจล
มาตรา 185 ถึง มาตรา 201 ความผิดฐานกระทำให้เกิด ภยันตรายแก่สาธารณชนฐานกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสะดวก ในการไปมาและการส่งข่าวและของถึงกัน และฐานกระทำให้สาธารณชน ปราศจากความสุขสบาย
มาตรา 253 ความผิดฐานเกี่ยวข้องในที่วิวาทต่อสู้กันซึ่งมีผู้ถึงแก่ ความตาย
มาตรา 254 ถึง มาตรา 259 ความผิดฐานประทุษร้ายแก่ร่างกาย
มาตรา 268 ถึง มาตรา 277 ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสีย อิสรภาพ
มาตรา 288 ถึง มาตรา 296 ความผิดฐานลักทรัพย์
มาตรา 297 ถึง มาตรา 302 ความผิดฐานวิ่งราว ฐานชิงทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ และฐานสลัด
มาตรา 303 ความผิดฐานกรรโชก
มาตรา 327 ถึง มาตรา 330 ความผิดฐานบุกรุก
ท่านว่ามันผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่ท่านบัญญัติไว้สำหรับความ ผิดเช่นนั้น และให้เพิ่มโทษขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง
มาตรา 51 [ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ. 2476]
มาตรา 52 เมื่อความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้ระบุไว้ใน มาตรา 20, 22, 27 (2 หรือ 3), 29 (2 หรือ 3), 30 (2 หรือ 3), 31 (2 หรือ 3), 32, 33, 36 (2 หรือ 3), 37, 38 (2 หรือ 3), 39, 41, 42 (2 หรือ 3), 43 (2 หรือ 3), 46 (2 3 หรือ 4), หรือ 47 แห่งประมวลกฎหมายอาญาทหารนี้ได้กระทำลงด้วยความประสงค์ ที่จะบ่อนให้สมรรถภาพของกรมกองทหารเสื่อมทรามลงไซร้ ท่านให้เพิ่มโทษ ผู้กระทำผิดดังต่อไปนี้
ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงจำคุก ตลอดชีวิตไซร้ ท่านให้เพิ่มขึ้นเป็นโทษอย่างสูงสุดถึงประหารชีวิต
ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงจำคุก มีกำหนดยี่สิบปีไซร้ ท่านให้เพิ่มขึ้นเป็นโทษจำคุกไว้จนตลอดชีวิตเป็นอย่างสูงสุด
ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงจำคุก มีกำหนดเวลาอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว ท่านให้เพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษ ที่ได้วางไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
เมื่อความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้ระบุไว้ในวรรคต้นนี้ ได้กระทำ ไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่จะล้างล้มรัฐบาลก็ดี หรือจะให้เปลี่ยนประเพณี การเมือง หรือเศรษฐกิจแห่งพระราชอาณาจักรด้วยใช้กำลังบังคับหรือกระทำร้าย ก็ดี ท่านว่ามันผู้กระทำมีความผิดต้องระวางโทษถึงประหารชีวิตหรือจำคุกมันไว้จน ตลอดชีวิต




 

Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2549
20 comments
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2549 23:06:07 น.
Counter : 11296 Pageviews.

 

พรบ. ธรรมนูญศาลทหาร
ภาค 1 ศาลทหาร ลักษณะ 1 บททั่วไป
มาตรา 5 ศาลทหารทั้งหลายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สังกัดอยู่ใน กระทรวงกลาโหม ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบในงานธุรการของ ศาลทหารให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย แต่การพิจารณาคดีตลอดถึงการที่จะมีคำสั่ง หรือคำพิพากษาบังคับคดีนั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทหารโดยเฉพาะ
โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เจ้ากรมพระธรรมนูญ วางระเบียบราชการของศาลทหารและอัยการทหาร เพื่อให้กิจการของศาลทหาร และอัยการทหารดำเนินไปโดยเรียบร้อย
มาตรา 6* ศาลทหารตามพระราชบัญญัตินี้แบ่งออกเป็นสามชั้น คือ
(1) ศาลทหารชั้นต้น
(2) ศาลทหารกลาง
(3) ศาลทหารสูงสุด
ภายใต้บังคับ มาตรา 39 ในเวลาที่มีการรบหรือการสงคราม หรือ ประกาศใช้กฎอัยการศึก จะให้มีศาลอาญาศึกก็ได้
มาตรา 7* ศาลทหารชั้นต้นได้แก่
(1) ศาลจังหวัดทหาร
(2) ศาลมณฑลทหาร
(3) ศาลทหารกรุงเทพ
(4) ศาลประจำหน่วยทหาร
มาตรา 8* ทุกจังหวัดทหารให้มีศาลจังหวัดทหารศาลหนึ่ง เว้นแต่ จังหวัดทหารที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลทหาร และทุกมณฑลทหารให้มีศาลมณฑล ทหารศาลหนึ่ง เว้นแต่มณฑลทหารที่ตั้งศาลทหารกรุงเทพ
ศาลทหารเหล่านี้อาจไปนั่งพิจารณา ณ ที่ใดภายในเขตอำนาจได้ตาม ความจำเป็น
มาตรา 9* เมื่อหน่วยทหารปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกราชอาณาจักร หรือ กำลังเดินทางเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่นอกราชอาณาจักรและมีกำลังทหารไม่น้อยกว่า หนึ่งกองพัน จะให้ตั้งศาลประจำหน่วยทหารนั้นก็ได้
กำลังทหารกองทัพใดมีจำนวนเท่าใดจึงจะถือว่าไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพันนั้น ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
มาตรา 10 การแต่งตั้งและถอดถอนตุลาการศาลทหารสูงสุดและศาล ทหารกลางให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอน
ส่วนการแต่งตั้งและถอดถอนตุลาการศาลทหารอื่น ๆ พระมหากษัตริย์ อาจทรงมอบพระราชอำนาจแก่ผู้บังคับบัญชาทหารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนตามพระราชบัญญัตินี้ว่าด้วยการแต่งตั้งตุลาการ
มาตรา 11 ให้มีตุลาการพระธรรมนูญ อัยการทหาร นายทหารพระธรรมนูญ และจ่าศาลทหาร หรือผู้ช่วยตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ตามจำนวนที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด
คุณสมบัติ พื้นความรู้ และอำนาจหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวในวรรคก่อน ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
มาตรา 12 โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ผู้ที่สอบ ความรู้ทางกฎหมายได้ปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ฝึกหัด ดำเนินคดีในศาลทหารได้ และเมื่อแจ้งให้ศาลทราบแล้ว ก็ให้ผู้นั้นดำเนินคดีได้ ดั่งอัยการทหาร

ลักษณะ 2 อำนาจศาลทหาร
มาตรา 13* ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษ ผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิด เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษ บุคคลใด ๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 14* คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ
(1) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาล ทหารกระทำผิดด้วยกัน
(2) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
(3) คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน
(4) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
มาตรา 15* คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
เมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้ว แม้จะปรากฏตามทางพิจารณา ในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา พิพากษาได้

ภาค 2 ศาลทหารในเวลาปกติ ลักษณะ 1 เขตอำนาจศาล
มาตรา 16* บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ
(1) นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ
(2) นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อ คำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร
(3) นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการหรือประจำการ หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(4) นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
(5) ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ได้รับตัวไว้เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร
(6) พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ ราชการทหาร หรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือบริเวณ อาคาร ที่ตั้ง หน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
(7) บุคคลซึ่งต้องขังหรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร โดยชอบด้วยกฎหมาย
(8) เชลยศึกหรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหาร
มาตรา 17 ศาลทหารชั้นต้นมีเขตอำนาจ ดังนี้
(1) ศาลจังหวัดทหารและศาลมณฑลทหาร มีเขตอำนาจตามที่กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกา
(2) ศาลทหารกรุงเทพ มีเขตอำนาจไม่จำกัดพื้นที่ แต่โดยปกติถ้าการกระทำผิดนั้นเกิดขึ้นในท้องถิ่นที่มีศาลทหาร ก็ให้พิจารณาพิพากษาในศาลทหาร ท้องถิ่นนั้น
(3) ศาลประจำหน่วยทหาร มีอำนาจเหนือบุคคลที่สังกัดหน่วยทหารนั้น โดยไม่จำกัดพื้นที่
มาตรา 18 เมื่อมีคำร้องขอของอัยการทหารหรือผู้ต้องหา รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจสั่งให้ส่งผู้ต้องหาไปดำเนินคดีในศาลทหาร ตามที่ร้องขอได้
มาตรา 19 ศาลจังหวัดทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุก บทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร
คดีที่กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำ หรือกำหนดอัตราโทษ อย่างต่ำไว้ให้จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่เกินกำหนดนี้ ถ้าศาลจังหวัดทหารเห็นควรยกฟ้องโจทก์ หรือเห็นควรลงโทษ จำเลยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับไม่เกินกำหนดนี้ ก็ให้พิพากษาได้
คดีที่ศาลจังหวัดทหารไม่มีอำนาจพิพากษา ให้ศาลจังหวัดทหารทำ ความเห็นส่งสำนวนไปให้ศาลมณฑลทหารหรือศาลทหารกรุงเทพพิพากษา แล้วแต่กรณี
มาตรา 20 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจสั่งให้ตุลาการ พระธรรมนูญหนึ่งนายไปนั่งร่วมกับตุลาการศาลจังหวัดทหารอีกสองนายเป็นองค์ คณะพิจารณาพิพากษา ในกรณีเช่นนี้ให้ศาลจังหวัดทหารมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาล มณฑลทหาร
มาตรา 21 ศาลมณฑลทหารและศาลประจำหน่วยทหารมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นนายพลหรือ เทียบเท่า
มาตรา 22 ศาลทหารกรุงเทพมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุก บทกฎหมายโดยไม่จำกัดยศของจำเลย
มาตรา 23 ศาลทหารกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารชั้นต้น
มาตรา 24 ศาลทหารสูงสุดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารกลาง
คดีที่ศาลทหารสูงสุดได้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วให้เป็นอันถึงที่สุด

ลักษณะ 2 องค์คณะตุลาการ
มาตรา 25* ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ตุลาการนายเดียวมีอำนาจ
(1) ออกหมายเรียก ออกหมายอาญา ออกหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือ ไปยังจังหวัดอื่น
(2) ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี
ถ้าตุลาการนั้นเป็นตุลาการพระธรรมนูญ ก็ให้มีอำนาจทำการไต่สวนหรือ สืบพยานได้ด้วย
มาตรา 26 ศาลจังหวัดทหารต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะ พิจารณาพิพากษา คือ
นายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย
ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย
มาตรา 27 ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วย ทหาร ต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ
นายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย
ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย
มาตรา 28 ศาลทหารกลางต้องมีตุลาการห้านายเป็นองค์คณะพิจารณา พิพากษา คือ
นายทหารชั้นนายพลหนึ่งหรือสองนาย
นายทหารชั้นนายพัน นายนาวา หรือนายนาวาอากาศขึ้นไป หนึ่งหรือ สองนาย
ตุลาการพระธรรมนูญสองนาย
มาตรา 29 ศาลทหารสูงสุดต้องมีตุลาการห้านายเป็นองค์คณะพิจารณา พิพากษา คือ
นายทหารชั้นนายพลสองนาย
ตุลาการพระธรรมนูญสามนาย
...

ลักษณะ 4 การฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
มาตรา 49* ศาลทหารในเวลาปกติให้อัยการทหารหรือผู้เสียหายซึ่งเป็น บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา แต่ถ้าผู้เสียหายมิได้ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารแล้ว ต้องมอบคดีให้อัยการทหารเป็นโจทก์
ศาลทหารในเวลาไม่ปกติหรือศาลอาญาศึก หรือศาลที่พิจารณาพิพากษาคดี แทนศาลอาญาศึกตามความใน มาตรา 40 และ มาตรา 43 ให้อัยการทหารเท่านั้น มีอำนาจเป็นโจทก์ ผู้เสียหายจะเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ก็ตาม ต้องมอบคดีให้อัยการทหารเป็นโจทก์
มาตรา 50* เมื่ออัยการทหารเห็นว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินคดีนั้นตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีเช่นนี้พนักงานอัยการจะส่งสำนวนการ สอบสวนกลับคืนไปยังอัยการทหารเพื่อให้ดำเนินคดีนั้นมิได้
มาตรา 51 เมื่ออัยการทหารร้องขอศาลทหารมีอำนาจพิพากษาให้จำเลย คืนทรัพย์ ใช้ราคาทรัพย์ หรือใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่รัฐบาลได้ ในกรณีที่จำเลยกระทำผิด
มาตรา 52 ถ้าโจทก์ร้องขอให้ยึดทรัพย์จำเลย ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ตุลาการส่งคดีนั้นไปยังศาลพลเรือนในท้องถิ่นที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ และให้ศาลพลเรือน สั่งจัดการยึดทรัพย์ในคดีนั้นต่อไปตามกฎหมายโดยไม่ต้องฟ้องอีกสำนวนหนึ่ง ส่วน หน้าที่อัยการทหารให้มอบให้พนักงานอัยการจัดการว่าความในศาลพลเรือนชั้นยึด ทรัพย์ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด
มาตรา 53 ผู้เสียหายจะร้องขอให้จำเลยคืนทรัพย์ ใช้ราคาทรัพย์ หรือ ใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในศาลทหารไม่ได้
มาตรา 54 ในการพิพากษาคดีแพ่ง ศาลพลเรือนจำต้องถือข้อเท็จจริง ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหาร

ลักษณะ 5 การพิจารณา
มาตรา 55 ศาลทหารในเวลาปกติ ให้ผู้เสียหายซึ่งมีอำนาจเป็นโจทก์ ฟ้องคดีอาญาได้ตาม มาตรา 49 วรรคหนึ่ง
ศาลทหารในเวลาปกติและศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ให้จำเลยแต่ง ทนายได้
ทนายต้องเป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือทนายความ ที่กระทรวงกลาโหมกำหนด เมื่อทนายได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ให้ว่าต่างหรือ แก้ต่างได้
ศาลอาญาศึกหรือศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแทนศาลอาญาศึกตาม มาตรา 40 และ มาตรา 43 ห้ามแต่งทนาย
มาตรา 56 ภายใต้บังคับ มาตรา 55
(1) ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ก่อนเริ่ม พิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการก็ให้ศาล ตั้งทนายให้
(2) ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปีแต่ไม่ถึงสิบปี ถ้าจำเลย แถลงต่อศาลก่อนเริ่มพิจารณาว่าจำเลยยากจนและต้องการทนายก็ให้ศาลตั้ง ทนายให้ ในการนี้ศาลอาจไต่สวนเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยเป็นคนยากจนจริง
ให้ศาลจ่ายเงินรางวัลแก่ทนายที่ศาลตั้งตาม (1) และ (2) ตามที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด
มาตรา 57 เมื่อมีเหตุผลที่อาจเป็นการขัดขวางหรือไม่สะดวก หรือ ไม่อาจดำเนินคดีในศาลทหารท้องถิ่นได้ ถ้าโจทก์หรือจำเลยยื่นเรื่องราวต่อ ศาลทหารสูงสุดขอให้โอนคดีไปยังศาลทหารแห่งอื่น และศาลทหารสูงสุดอนุญาต ตามคำขอนั้น ก็ให้สั่งโอนคดีไปยังศาลดั่งที่ศาลทหารสูงสุดระบุไว้
คำสั่งของศาลทหารสูงสุดนี้ให้เป็นอันถึงที่สุด

มาตรา 58 ศาลทหารมีอำนาจส่งประเด็นให้ศาลทหารแห่งอื่นหรือ ศาลพลเรือนสืบพยาน ให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิม และ ให้มีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้
การส่งประเด็นไปยังศาลพลเรือนตามความในวรรคแรก ถ้าอัยการ ทหารไม่ไปดำเนินคดีเอง ก็ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนอัยการทหาร
มาตรา 59 การพิจารณาและสืบพยานในศาลทหาร ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพหรือไม่ติดใจฟัง จะไม่ทำต่อหน้าจำเลยนั้นก็ได้
มาตรา 60* ในการพิจารณาของศาลทหาร ถ้าปรากฏว่าข้อเท็จจริงใน ทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้องเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับ เวลาหรือสถานที่กระทำความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์

 

โดย: ไร้นาม 9 มีนาคม 2549 1:33:29 น.  

 

ข้อมูลละเอียดมากคับ ขอบคุณสำหรับความรู้ที่เผื่อแผ่คนอื่นนะคับ
เป็นคนดีแก่สังคมจริงๆๆ

 

โดย: สวัสดีปีใหม่คราบ IP: 124.157.143.204 15 มกราคม 2550 18:28:46 น.  

 

+++ คุณสวัสดีปีใหม่คราบ +++

ไม่เป็นไรค่ะ :)

 

โดย: ไร้นาม 26 สิงหาคม 2550 11:55:40 น.  

 

ขอรายละเอียดมาตรา 45 ทั้งหมด

 

โดย: ปลา IP: 202.57.178.184 28 สิงหาคม 2550 10:58:26 น.  

 

ทหารเกณฑ์ยังไม่พันกำหนดสองปีแต่ต้องคดีอาญามีสิทธ์ไปรับโทษทางคุกทหารได้ไหมค่ะถ้าจำคุกสี่ปีพอพ้นโทษต้องไปเป็นทหารต่อไหมค่ะ

 

โดย: แฟนทหาร IP: 124.121.60.218 13 กันยายน 2550 11:33:00 น.  

 

กฏหมายทหารที่ไม่เนมาตรามีปล่าวคะพรุ่งนี้จะเอาคำตอบ

 

โดย: ริน IP: 61.19.42.195 19 กันยายน 2550 13:01:59 น.  

 

ทหารกระทำตนเป็นชู้กับภรรยาคนอื่น
ผิดวินัย ข้อไหนครับ ขอรายละเอียดด้วยนะครับ
ขอบคุณมา ณ ที่นี้..

 

โดย: ผู้ร้องเรียน IP: 117.47.50.205 4 ธันวาคม 2550 10:27:07 น.  

 

ขอบคุณมากจริงๆ ถ้าไม่ได้พี่เนีย ผมไม่รู้จะหาจากไหนแล้ว

ขอบคุณนะ

 

โดย: คิว IP: 124.157.251.123 28 สิงหาคม 2551 21:26:37 น.  

 

พลทหารถูกจำหน่ายหนี้ราชการไปแล้ว แต่ถูกตำรวจจับคีดยาเสพติดแล้วถูกส่งตัวไปขัง ที่ รจ.มทบ. อยากทราบว่าทางหน่วยต้นสังกีดต้องเบิกเบี้ยเลี้ยงหรือไม่

 

โดย: ศาส IP: 118.173.32.155 5 กันยายน 2551 8:54:08 น.  

 

อยากทราบกฏหมายเกี่ยวกับการรักษาดินแดน ลุกล้ำดินแดน
ทหารประจำการและหัวหน้าหน่วย สามารถยันศัตรูไว้ ณ เวลาที่เขาลุกล้ำเองไม่ได้หรือ

 

โดย: mijiko IP: 124.120.196.100 6 กันยายน 2552 16:40:45 น.  

 

พลทหารทำร้ายร่างกายพลเรือนจะผิดกฎหมายข้อใดของทหาร
ผบ.ร้อยมีอำนาจขังพลทหารได้กี่วัน(ข้อหาผิดวินัยทำร่ายร่างกานผู้อื่น)

 

โดย: chote IP: 119.31.60.131 3 ตุลาคม 2552 19:28:00 น.  

 

ผมอยู่ ราบ11 51\\1 มีชื่อ3จังหวัดชายแดนแต่พวกรุ่นพี่ในกองร้อยตีด้วยเสามุ้งและสนับมือซะผมเย็บ16ไปหาหมอ ร.พ.พระมงกุฎเย็บ16เข็มผมก็ยังไม่ได้กลับกรมผมจะมีโทษอย่างไรบ้างครับ ติดคุกกี่ปี คดีความกี่ปีครับ ช่วยตอบด้วยนะครับ ผมอยากจะกลับอยู่ครับแต่ตอนนี้ทางบ้านแย่มากๆเลยครับ ช่วยให้คำตอบหน่อยครับ ผมไม่ค่อยมีความรู้ครับ

 

โดย: เมล์ IP: 206.53.152.97 26 ตุลาคม 2553 1:33:48 น.  

 

ขอบ คุณมากครับ สำหรับขอมูล ทั้งหมดครับ

 

โดย: ford IP: 192.168.2.24, 110.77.241.63 13 กุมภาพันธ์ 2554 10:32:49 น.  

 

สวัสดีครับ...
คือผมอยากจะถามว่าผมอยุ่อิตาลีครับตอนนี้ครับผม...ตอนนี้อายุ20ปีแล้วครับผมอยากรู้ว่าผมต้องไปรับหมายเกณทหารด้วยรึป่าวครับ....
แล้วผมก็ทำงานอยุ่ที่นี่ด้วยครับผมถ้าผมไม่รับหมายเลยนี่ผมจะโดนข้อหาหนี้ทหารหรือว่าอื่นๆไม่ครับ.....
ผมสามารถไม่รับเกณเลยได้รึป่าวครับ?

 

โดย: ทวินิจ IP: 192.168.1.241, 180.183.141.243 23 กุมภาพันธ์ 2554 19:42:33 น.  

 

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรูั

 

โดย: กิ๊ฟ IP: 223.206.146.19 22 กรกฎาคม 2554 10:23:18 น.  

 

อยากทราบพลทหารรับราชการ 4 เดือน ผลัด1/54 มีคดีทางพลเรือน ศาลตัดสินจำคุก 9 เดือน (ลดโทษ)อยากทราบว่า จะปลดหรือ ติดจำคุกทางพลเรือน
1. งดเบิกเงินทุกประเภท
2.ติดครบกำหนดจะกลับมารับราชการต่อหรือไม่
3.ทำเรื่องปลดได้เลยหรือไม่
ใครทราบรายละเอียดช่วยตอบด้วยขอบคุณ

 

โดย: bueak_226@hotmail.com IP: 223.204.120.189 24 สิงหาคม 2554 21:14:53 น.  

 

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลสุดยอดเลยครับ

 

โดย: วุฒิชัย สอนสุภาพ IP: 49.48.204.171 9 พฤศจิกายน 2555 14:26:13 น.  

 

สวัดดีครับ
เรื่องมีอยู่ว่า. ก่อนกระผมจะเข้ามาเป็นทหารผมเป็นโรคนิ้วไนไตและ
ผมได้แจ้งเจ้าหน้าที่ๆคัดตัวแล้วแต่ไม่เป็นผลและกระก็ได้ถูกคัดตัวเข้ามารับราชการทหารหลังจากผมเข้ารับราชการแล้วครอบครัวผมมีกันอย่
3คนคือ พ่อ และพี่ชายที่พิการ พ่อก็อายุ63ปีมากแล้วและป่วยเป็นกระดูกทับเส้นยกของหนักไม่ได้ไม่ได้ทำงานชึ้งตอนนีครอบครัวผมเดือดร้อนไม่มีไครดูแล
ผมอยากทราบว่ามีข้อกฎหมายไหนบ้างครับที่ยกเว้นหรือช่วยผมได้บ้างครับและขอไปดูแลครอบครัวได้ไหมคัฟ
ขอบคุณครับ

 

โดย: ชัย IP: 49.229.183.42 22 พฤษภาคม 2557 10:24:41 น.  

 

ทหาร(นายสิบ)ฆ่าทหารเกณฑ์ตายที่เพชรบูรณ์เมื่อ 5 ธ.ค.55เมื่อไหร่จะได้รับโทษ


โดยครูวันที่22พ.ค.2557

 

โดย: ครู IP: 223.204.233.73 23 กรกฎาคม 2557 20:27:49 น.  

 

เพื่อนผมหนีทหารตั้งแต่ปี 47 ตอนนี้คดีหมดอายุความหรือยังครับเค้าเป็นทหารผลัด 1/46 ครับไปเป็นอยู่ 1 ปีอยากรู้จริงๆครับ4

 

โดย: ต้น IP: 1.47.168.183 22 ธันวาคม 2557 21:45:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.