|
กฏหมายรัฐธรรมนูญ
จุดมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ: เพื่อต้องการรักษาสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชน จากการใช้อำนาจปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540: บัญญัติว่า (ในมาตรา 3) "อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นโดยผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และ ศาล" รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 มีบัญญัติทั้งสิ้น 336 มาตรามีเจตนารมณ์คือการทำให้การเมืองเป็นของพลเมืองโดยเพิ่มสิทธิเสรีภาพ เพิ่มอำนาจพลเมืองให้ควบคุมการใช้อำนาจของระบบการเมืองและระบบราชการ และการทำให้รัฐบาล และ รัฐสภามีเสถียรภาพ
รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2549: คณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้นำความกราบบังคมทูล ให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว ในวันที่ 1 ตุลาคม 2549
แนวโน้มที่จะมาสู่รัฐธรรมนูญปี 50: ต้องได้รับเสียงข้างมากดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 31 "ในการออกเสียงประชามติ ถ้าประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบ ให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแล้วให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้ได้ เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญและสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 30 แล้วเสร็จ หรือเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 30 สุดแต่เวลาใดจะถึงก่อน ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดล" และ มาตรา 32 "ในกรณีที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 29 วรรค 1 ก็ดี สภาร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 28 วรรค 2 ก็ดี หรือการออกเสียงประชามติตามมาตรา 31 ประชาชนโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ดี ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงและให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป ในการประชุมร่วมกันตามวรรค 1 ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทำหน้าที่"
ระบบรัฐสภาอังกฤษ: เกิดขึ้นเป็นที่แรกในช่วงศตวรรษที่ 18 เมื่ออำนาจของกษัตริย์เริ่มเสื่อมลงไปและต้องประนีประนอมกับอำนาจขององค์กรตัวแทนอื่นๆ เป็นตัวแทนของระบบเสรีนิยมที่เข้ามาแทนระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระบบรัฐสภาของอังกฤษเป็นระบบแบบสองพรรค พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากจะได้ขึ้นสู่อำนาจและสามารถดำเนินการบริหารประเทศตามนโยบายที่ใช้หาเสียงไว้อย่างไม่ต้องกังวลกับเสถียรภาพของรัฐบาลเท่าไรนัก
ระบบรัฐสภาไทย: เป็นระบบรัฐสภาแบบหลายพรรคซึ่งจะมีความเป็นเอกภาพน้อยกว่าระบบรัฐสภาแบบสองพรรค ทำให้อาจเกิดปัญหาเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาลได้คือพรรคการเมืองฝ่ายที่ไม่ได้เข้าบริหารมักจะพยายามลดอำนาจหรือทำลายฝ่ายข้างมากที่อยู่ในสภาเป็นประจำ
การเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ: ต้องเป็นหัวหน้าพรรคซึ่งมี ส.ส. ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่สภามากที่สุด แล้วก็ผ่านการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ (Queen ในยุคนี้) แม้ไม่มีกฏหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษบัญญัติไว้ แต่ก็ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ
รัฐมนตรีอังกฤษ: มาจากการคัดเลือกของนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจมาจาก ส.ส. ส่วนหนึ่ง และ ส.ว. อีกส่วนหนึ่ง
ระบบประธานาธิบดีอเมริกา: เกิดขึ้นช่วงปลายศตวรรษที่ 18 (ค.ศ. 1787) เป็นการเกิดขึ้นอย่างสมัครใจของประชาชน (มากกว่าเกิดขึ้นโดยสถานการณ์ทางการเมือง) เป็นระบบที่ก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นผลมาจากความเป็นอิสระซึ่งกันและกัน และมีความแน่นอนว่าอำนาจทั้งสองฝ่ายจะปฏิบัติหน้าที่ของตนจนครบวาระ โดยอำนาจบริหารจะรวมศูนย์อยู่ที่ประธานาธิบดีผู้มีอำนาจเต็มที่ในการบริหารประเทศทั้งโดยตรงหรือโดยผ่านทางรัฐมนตรี ส่วนสภาจะมีอำนาจเต็มที่ในทางนิติบัญญัติโดยองค์กรแต่ละองค์กรจะไม่เข้าไปแทรกแซงกัน เช่นประธานาธิบดีจะไม่มีส่วนร่วมในการตรากฏหมาย สภาก็จะไม่เข้าไปแทรกแซงในหน้าที่การบริหาร ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภา และ สภาก็ไม่มีสิทธิ์ไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี
รัฐมนตรีอเมริกา: ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. ขอให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในหน้าที่ก็พอ
ระบบประธานาธิบดีฝรั่งเศส: เป็นระบบการเมืองแบบผสมระหว่างระบบรัฐสภา และ ระบบประธานาธิบดี (ในสมัยสาธารณรัฐที่ 5) ประธานาธิบดีใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่และบางครั้งก็เกินขอบเขต แต่ระบบการเมืองก็ดำเนินไปได้ตั้งแต่ ค.ศ 1958 จนถึงปี 1986
การแบ่งแยกอำนาจของมองเตรกิเออร์ (Montesquieu): ในหนังสือ "ว่าด้วยเจตนารมณ์ของกฏหมาย" ค.ศ. 1748 (ใช้เวลาเขียน 20 ปี) มุ่งวิเคราะห์ในทางทฤษฏีถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่เสรีภาพทางการเมืองของประชาชนจะได้รับการคุ้มครอง โดยพยายามหาคำตอบว่า รูปแบบของสถาบันทางการเมืองเช่นไรที่จะสามารถพิทักษ์เสรีภาพของประชาชนได้ดีกว่ากัน ดังนั้นอำนาจอธิปไตยต้องไม่ใช้โดยบุคคลหรือองค์กรแต่เพียงบุคคลหรือองค์กรเดียว และแต่ละองค์กรที่ใช้อำนาจต้องสามารถยับยั้งซึ่งกันและกันได้ โดยบทที่ 4 ของหมวด 11 ได้กล่าวไว้ว่า เสรีภาพจะมีอยู่ได้เมื่ออำนาจไม่ได้ถูกใช้ในทางที่ผิด แต่เป็นประสบการณ์ตลอดมาว่าทุกคนที่มีอำนาจอยู่ย่อมถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เขาจะใช้จนกระทั่งเขาพบขอบเขตของมัน ใครจะเป็นคนกำหนดขอบเขตนั้น แม้แต่คุณธรรม (la vertu) เองยังต้องการขอบเขต... ในแต่ละรัฐมีอำนาจอยู่ 3 ชนิด อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจปฏิบัติการที่ขึ้นอยู่กับกฏหมายมหาชน (อำนาจปฏิบัติการของรัฐ) และ อำนาจปฏิบัติการที่ขึ้นอยู่กับกฏหมายแพ่ง (อำนาจพิพากษา)
Create Date : 23 มีนาคม 2550 |
Last Update : 24 มีนาคม 2550 9:27:52 น. |
|
23 comments
|
Counter : 1361 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: nuinuinaka (nuinuinaka ) วันที่: 23 มีนาคม 2550 เวลา:22:27:08 น. |
|
|
|
โดย: naragorn วันที่: 24 มีนาคม 2550 เวลา:0:33:39 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 24 มีนาคม 2550 เวลา:8:18:13 น. |
|
|
|
โดย: O-Hung วันที่: 24 มีนาคม 2550 เวลา:15:32:21 น. |
|
|
|
โดย: ชาบุ วันที่: 24 มีนาคม 2550 เวลา:19:10:33 น. |
|
|
|
โดย: POL_US (POL_US ) วันที่: 25 มีนาคม 2550 เวลา:11:13:38 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 25 มีนาคม 2550 เวลา:14:53:38 น. |
|
|
|
โดย: Plin, :-p ตัวจริง (Plin, :-p ) วันที่: 25 มีนาคม 2550 เวลา:15:46:54 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 25 มีนาคม 2550 เวลา:20:55:35 น. |
|
|
|
โดย: คิดด้านเดียว IP: 124.121.60.214 วันที่: 26 มีนาคม 2550 เวลา:8:36:16 น. |
|
|
|
โดย: หนูเพ็ญ วันที่: 26 มีนาคม 2550 เวลา:13:23:57 น. |
|
|
|
โดย: คนหน้าเดิม IP: 203.185.68.99 วันที่: 26 มีนาคม 2550 เวลา:13:34:00 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 26 มีนาคม 2550 เวลา:23:15:14 น. |
|
|
|
โดย: ผู้ร่วมเดินทางลำดับที่ 16 IP: 124.157.236.9 วันที่: 6 สิงหาคม 2550 เวลา:16:17:54 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:11:21:41 น. |
|
|
|
โดย: เด IP: 202.28.47.11 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:51:10 น. |
|
|
|
โดย: เก่ง IP: 202.28.82.207 วันที่: 9 มกราคม 2551 เวลา:12:38:05 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:1:45:45 น. |
|
|
|
โดย: ven.somnuk IP: 58.9.188.127 วันที่: 21 ตุลาคม 2551 เวลา:23:13:48 น. |
|
|
|
โดย: เด็กนิติฯ IP: 127.0.0.1, 203.170.235.4 วันที่: 18 ธันวาคม 2552 เวลา:13:26:54 น. |
|
|
|
โดย: นิติ ม เจ้าพระยา IP: 113.53.114.200 วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:14:39:54 น. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
MY VIP Friends
 
|
|
|
|
อ่านแล้วไม่รู้ว่าจะแสดงความคิดเห็นอะไร???
แต่ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมนะคะ
ถือว่าแวะเข้ามาทักทายกันนะคะ