|
กฏหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกฏหมายระหว่างประเทศ
ระยะแรก: กฏหมายกรีกควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างนครรัฐ และ กฏหมายโรมันใช้บังคับระหว่างคนต่างด้าวกับคนโรมัน
ระยะสอง: หลังสงคราม 30 ปีระหว่างคาทอลิคและโปรเตสแต้น มีการลงสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลียโดยมีหลักการว่าภาคีในยุโรปเว้นอังกฤษและโปแลนด์จะช่วยเหลือป้องกันเอกราชซึ่งกันและกัน (ทำให้สงบสุขถึง 25 ปี)
ระยะสาม: กฏหมายระหว่างประเทศขยายไปทั่วโลก โดยเฉพาะภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1/2
ความหมายของกฏหมายระหว่างประเทศ
ทฤษฏีทวินิยม (Dualism): กฏหมายภายในประเทศและกฏหมายระหว่างประเทศมีฐานะเท่าเทียมกันและเป็นอิสระจากกัน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอีกกฏหมายนึงได้
ทฤษฏีเอกนิยม (Monism): กฏหมายภายในและกฏหมายระหว่างประเทศนั้นมีความสัมพันธ์กัน แต่มีความสูงต่ำต่างกัน
ประเทศที่ใช้ common law - กฏหมายภายในสำคัญกว่ากฏหมายระหว่างประเทศ
ประเทศที่ใช้ code law - ถือว่ากฏหมายระหว่างประเทศสำคัญกว่ากฏหมายภายใน
ศาลระหว่างประเทศ - ถือว่ากฏหมายระหว่างประเทศเหนือกว่ากฏหมายภายในประเทศ เช่นในคดี Alabama ระหว่างอเมริกากับอังกฤษ และ คดี AroaMines; และยังเหนือกว่ารัฐธรรมนูญ เช่นในคดี Montijo ระหว่างอเมริกากับโคลัมเบีย
ที่มาของกฏหมายระหว่างประเทศ (มาตรา 38, ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)
[1*] สนธิสัญญา (Treaties) อนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ [2*] จารีตประเพณีระหว่างประเทศ [3*] หลักกฏหมายทั่วไป [4] คำพิพากษาของศาล [5] ความเห็นของนักนิติศาสตร์ [6] ความยุติธรรม
สนธิสัญญา (มาตรา 2 ข้อ 1.ก กฏหมายสนธิสัญญากรุงเวียนนา) เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศทำเป็นลายลักษณ์อักษร*ระหว่างรัฐและอยู่ภายใต้บังคับของกฏหมายระหว่างประเทศทั้งนี้ไม่ว่าสนธิสัญญานั้นจะกระทำในรูปเอกสารฉบับเดียว สองฉบับ หรือหลายฉบับ และไม่ว่าจะมีชื่อเรียกเฉพาะเป็นอย่างใดก็ตาม
*Note: แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะกระทำด้วยวาจาไม่ได้ เช่นในคดีกรีนแลนด์ตะวันออก ที่คำประกาศของรัฐมนตรีนอร์เวย์กับเอกอัครราชตทูตเดนมาร์กมีผลผูกพันธ์
ประเภทของสนธิสัญญา
1) สนธิสัญญาประเภทสัญญา (มีผลเฉพาะคู่สัญญา) กับสนธิสัญญาประเภทกฏหมาย (มีผลต่อประเทศทั้งหมด) 2) สนธิสัญญาสองฝ่ายและสนธิสัญญาหลายฝ่าย 3) สนธิสัญญาแบบย่อ (ไม่ต้องทำสัตยาบัน) และ สนธิสัญญาที่ทำเต็มรูปแบบ (เจรจา โดยผู้มี full power; ลงนามในภาษาสากลหนึ่งในห้าภาษา - อังกฤษ จีน ฝรั่งเศษ รัสเซีย และ สเปน โดยต้องมีอารัมภบท ระบุนามฐานะของคู่สัญญา แสดงเหตุผลปรัชญาทางการเมืองหรือรากฐานในการทำสัญญา มีเป้าหมาย มีกำหนดวันเวลาบังคับใช้ ระยะเวลาที่มีผลบังคับ สถานที่ๆ วางสัตยาบันสาร Instrument of Retification -- ถ้าตัวแทนมีอำนาจก็ลงนามแบบเต็ม ถ้าไม่มีก็ลงนามแบบย่อแล้วก็ค่อยให้ลงนามจริงอีกครั้ง; ให้สัตยาบัน Retification/ให้รัฐสภารับรอง ซึ่งมีความสำคัญคือเป็นการแสดงอำนาจอธิปไตยของรัฐเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งก่อนเช่นฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือแบบผสม และ จดทะเบียนการให้สัตยาบัน) << ยกเว้นสนธิสัญญาที่ทำโดยองค์การสหประชาชาติที่ใช้เสียงข้างมากบังคับสมาชิคทั้งหมด
การเข้าร่วมสนธิสัญญา หรือการภาคยานุวัติ
การที่รัฐหนึ่งไม่ได้เป็นสมาชิคแต่แรก แต่ขอเข้าร่วมเป็นภาคีในภายหลัง มีสามรูปแบบดังนี้ +1+ ทำสนธิสัญญาพิเศษระหว่างรัฐที่เข้าร่วมกับภาคีเดิม (ต้องมีการให้สัตยาบันตามปกติ) +2+ ไม่ต้องทำสนธิสัญญาพิเศษ แต่ต้องมีการแลกเปลี่ยนปฏิญญา (declaration) แจ้งความจำนงเข้าไป +3+ (ใช้กันในปัจจุบัน) รัฐขอเข้าร่วมส่งปฏิญญาฝ่ายเดียวไปให้รัฐที่สนธิสัญญากำหนดให้เป็นนายทะเบียนทำหน้าที่คอยรับเรื่องการขอเข้าเป็นภาคี พอรับเรื่องแล้วรัฐนั้นจะแจ้งให้ประเทศภาคีทราบ
ข้อสงวน (Reservation)
คือข้อความซึ่งรัฐคู่สัญญาได้ประกาศออกมาว่าตนไม่ผูกพันในข้อความหนึ่งข้อความใดในสัญญา หรือจะรับปฏิบัติแต่เพียงความส่วน (แต่ห้ามขัดกันสนธิสัญญา)
ผลบังคับใช้
Momism - เห็นว่าบังคับใช้กับประชาชนโดยตรง Dualism - มีผลต่อรัฐเท่านั้น
การตีความสนธิสัญญา
1. ตีความโดยองค์การระหว่างประเทศ 2. ตีความโดยศาลภายในรัฐ
การสิ้นสุดของสนธิสัญญา
-1- สนธิสัญญากำหนดวาระสิ้นสุดไว้ -2- มีการทำสนธิสัญญาขึ้นใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามุ่งจะยกเลิกความตกลงฉบับก่อน -3- ภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา -4- มีการกระทำละเมิดต่อข้อสัญญา (รัฐอื่นมีสิทธิบอกเลิกได้) -5- มีเหตุการณ์อย่างอื่นเกิดขึ้นให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป (มีสงคราม) -6- มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยของประเทศคู่สัญญา -7- สนธิสัญญาขัดต่อหลักกฏหมายของประเทศที่เกิดใหม่
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญา - โดยมติเอกฉันท์ - โดยเสียงข้างมาก
องค์ประกอบของรัฐ (State) อนุสัญญามอนเตริเอโร มาตรา 1
1. พลเมือง/ประชากร 2. ดินแดน หรืออาณาเขต 3. รัฐบาล 4. อำนาจอธิปไตย
รูปแบบของรัฐ 1: รัฐเดี่ยว 2: รัฐรวม (สมาพันธรัฐ/สหรัฐ Federal of State และ สหพันธรัฐ)
การสิ้นสภาพความเป็นรัฐ 1] รวมเข้ากับรัฐอื่น 2] สูญเสียสภายรัฐ 3] รัฐเดี่ยวแยกเป็นหลายรัฐ
การได้ดินแดนของรัฐ {1} โดยกำลัง {2} ยกให้ {3} ครอบครองดินแดนไม่มีเจ้าของ {4} โดยธรรมชาติ {5} ครอบครองปรปักษ์ {6} โดยคำพิพากษาององค์การระหว่างประเทศ
ดินแดนของรัฐ + พื้นดิน + พื้นน้ำ + ทะเลอาณาเขต + อวกาศ (ยังตกลงกันเรื่องความสูงไม่ได้)
องค์กรของรัฐในความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
[องค์กรภายใน] 1. ประมุขของรัฐ 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
[องค์กรภายนอก] ผู้แทนทางกงสุล/การทูต 1. เอกอัครราชทูต (ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (nuncios) 2. รัฐทูต (envoys) อัครราชทูต (ministers) และ อัครสมณทูต (internucios) 3. อุปทูต (charges affaires)
การระงับกรณีพิพาทระหว่างรัฐโดยสันติวิธิ
[1] ข้อพิพาททางกฏหมาย ให้อนุญาโตตุลาการหรือศาลระหว่างประเทศพิจารณา [2] ข้อพิพาททางการเมือง ใช้วิธีการทูตหรือทางการเมือง - เจรจา Negotiation, ไกล่เกลี่ย, ไต่สวน, ประนีประนอม Conciliation, อนุญาโตตุลาการ, ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก
การระงับกรณีพิพาทโดยวิธีที่ไม่ถึงกับการทำสงคราม
1. การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต 2. Retorsion (เช่นด้านการค้า เศรษฐกิจการคลัง แรงงาน) 3. Reprisals (เช่นกักเรือ Embargo, ปิดอ่าว Pacfic Blockade) 4. แทรงแซง (Intervention)
กฏหมายสงคราม (ระหว่างประเทศ)
- สงครามเป็นการต่อสู้ - การต่อสู้นั้น ต่อสู้โดยกองทัพ - การต่อสู้ต้องเป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐ - สงครามเกิดจากเจตนาที่จะทำสงครามของทั้งสองฝ่าย - จุดมุ่งหมายของรัฐที่กระทำสงครามคือผลประโยชน์ของชาติ
Create Date : 02 ตุลาคม 2548 |
Last Update : 2 ตุลาคม 2548 19:01:50 น. |
|
21 comments
|
Counter : 4611 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:17:00:24 น. |
|
|
|
โดย: noom_no1 IP: 61.90.18.242 วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:18:49:16 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:19:02:56 น. |
|
|
|
โดย: ริวคุง IP: 58.10.175.106 วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:19:09:21 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:19:17:39 น. |
|
|
|
โดย: ขอบคุณครับ (noom_no1) IP: 61.90.18.242 วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:19:29:02 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:19:54:38 น. |
|
|
|
โดย: วรานนท์ วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:8:57:29 น. |
|
|
|
โดย: เป่าจิน วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:13:56:13 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:21:46:04 น. |
|
|
|
โดย: onikyo IP: 202.5.89.166 วันที่: 25 มิถุนายน 2549 เวลา:16:16:38 น. |
|
|
|
โดย: ploya IP: 203.144.211.132 วันที่: 30 ตุลาคม 2549 เวลา:16:25:07 น. |
|
|
|
โดย: ญา นิติปี4 IP: 58.10.155.131 วันที่: 29 มกราคม 2550 เวลา:21:15:07 น. |
|
|
|
โดย: สสสส IP: 203.150.112.102 วันที่: 29 กรกฎาคม 2550 เวลา:12:06:01 น. |
|
|
|
โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:12:01:43 น. |
|
|
|
โดย: เด็กนิติ IP: 203.113.50.15 วันที่: 4 ตุลาคม 2550 เวลา:10:13:12 น. |
|
|
|
โดย: PingPong IP: 124.121.34.188 วันที่: 6 ตุลาคม 2550 เวลา:12:00:06 น. |
|
|
|
โดย: นู๋ฝ้ายนิติ IP: 61.7.190.226 วันที่: 1 กันยายน 2551 เวลา:12:36:51 น. |
|
|
|
โดย: โย IP: 113.53.21.13 วันที่: 12 มกราคม 2553 เวลา:20:04:33 น. |
|
|
|
โดย: อายส์ซัง IP: 125.27.131.126 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:24:14 น. |
|
|
|
โดย: พัด IP: 110.77.160.224 วันที่: 26 กันยายน 2554 เวลา:22:34:45 น. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
MY VIP Friends
 
|
|
|
|